ปรัชญาการศึกษาลัทธินิรันตรวาท (Perennialism)


ปรัชญาการศึกษาลัทธินิรันตรวาท

ปรัชญาการศึกษาลัทธินิรันตรวาท (Perennialism)

 

 

 

ปรัชญาการศึกษาลัทธินิรันตรวาท  ถือว่าเป็นสำนักปรัชญาการศึกษาที่มีแนวคิดในเรื่องของการยอมรับว่าเรื่องราว สิ่งที่มาจากอดีต  มีความสัมพันธ์กันระหว่างศาสนา หมายความว่าสิ่งใดที่ศาสนายอมรับว่าดี ผู้รับการศึกษาก็ต้องรับเอาสิ่งเหล่านั้นไปปฏิบัติก็จะเกิดผลดี ทั้งแก่ตนเองและสังคม ซึ่งแนวคิดของลัทธินี้ได้รับอิทธิพลทางศาสนาในยุคหลังที่ถือว่ารุ่งเรืองมาก   แต่ก่อนหน้านั้นก็รับเอาแนวคิดของเพลโตและอริสโตเติลมาใช้  ซึ่งเมื่อเอามาผสมผสานกับแนวคิดทางคริสต์ศาสนา ก็ก่อให้เกิดการนำปรัชญามาเป็นเครื่องมือแก่ศาสนา หรือที่เรียกว่า เป็นสาวใช้ของศาสนา

 

 

ประวัติความเป็นมาของลัทธินิรันตรวาท

 

จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของลัทธินิรันตรวาท  เราจะพบว่า มีแนวคิดมาจากรากฐานแนวคิดของปรัชญาของเพลโต ส่วนหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่แล้ว  จะเป็นปรัชญาของ ฝ่ายวัตถุนิยมแบบคลาสสิค   อันมี อาริสโตเติลและเซนต์โทมัส  อะไควนัส เป็นหลัก ซึ่งเป็นฝ่ายคริสต์ศาสนาและผู้ให้กำเนิดฝ่ายโทมัสนิยมใหม่  และมีส่วนสำคัญโดยตรงต่อแนวคิดของนักการศึกษา   และนักปรัชญา  ที่เป็นผู้นำของฝ่ายนี้ ซึ่งมีอยู่จำนวนมากด้วยกัน  ที่มีชื่อเสียงก็ เช่น  Robert  M. Hutchin,  Mortimer J. Adler ซึ่งเป็นผู้นำทางการศึกษาของสหรัฐอเมริกา  และ  Sir  Richard  Livingstone  นักปรัชญาชาวอังกฤษ  เป็นต้น

 

สำหรับลัทธินิรันตรวาทเป็นปรัชญาสาขาที่เชื่อว่าวิชาการ มีความสำคัญแต่ไม่ใช่เนื้อแท้ของการศึกษา เนื้อหาเป็นเพียงพาหนะที่จะนำผู้เรียนไปสู่สิ่งที่เหนือกว่าซึ่งฝ่ายนิยมลัทธินิรันตรวาท เห็นว่า   ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ก็ดี  ความสับสนวุ่นวายในสังคมปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมอุตสาหกรรมก็ดี  เป็นเหตุให้สิ่งดีงามทางอารยธรรมและทางวัฒนธรรมทั้งหลายเสื่อมทรามลงไป  ขณะเดียวกันก็มองเห็นว่า  แนวทางดำเนินชีวิตงามตามแบบอย่างของอารยธรรมในสมัยกลางว่าเป็นแบบอย่างที่ดีงามไม่เสื่อมสลาย  และสามารถจะนำความรุ่งเรืองมาสู่มวลมนุษย์ในสมัยใหม่  ได้ดีกว่า

 

ดังนั้น  นักการศึกษาลัทธินี้  จึงมีแนวความคิดที่จะกลับไปยึดถือความเชื่อเกี่ยวกับสัจธรรม  ความรู้  ค่านิยม  และวัฒนธรรมตามแบบของสมัยกลาง  ที่ประสบผลสำเร็จในการเผยแพร่คำสอนได้อย่างดี

 

คำว่า Perennial แปลตามศัพท์ว่า  “คงอยู่ชั่วนิรันดร”  หรือ  Everlastiog  คำว่า  Perennialism  จึงมีความหมายตรงตามแนวความเชื่อของฝ่ายนี้  กล่าวคือ  เชื่อในแบบอย่างที่ดีงามอันเป็นนิรันดร โดยฝ่ายนิรันตรวาทเห็นว่า  ควรจะฟื้นฟูสิ่งที่ดีงามอันเป็นอมตะทั้งหลายของสมัยกลางมาใช้ในยุคนี้ 

 

ดังนั้น เราจึงอาจกล่าวได้ว่าแนวคิดเช่นนี้จึงมีลักษณะถอยหลังกลับไปสู่อดีต เพื่อนำเอาแบบอย่างของอดีตมาใช้ในสังคมปัจจุบัน   ซึ่ง Brameld ให้ทรรศนะไว้ว่า ปรัชญาลัทธินิรันตรวาท  เปรียบเสมือนมรรคาที่ย้อนกลับไปสู่วัฒนธรรมอันดีงามในอดีต

 

จากการศึกษามาทั้งหมดจึงสรุปได้ว่า  ปรัชญาการศึกษาลัทธินิรันตรวาทเป็นแนวคิดที่เชื่อว่า สิ่งที่ผ่านการยอมรับที่มาจากอดีตว่าสิ่งเหล่านั้น  เป็นสิ่งที่มีคุณค่าเพียงพอ  เหมาะสม กับสังคม หรือแก่ชีวิต ที่จะดำรงอยู่แล้ว คนในยุคหลังมีหน้าที่เพียงอย่างเดียว คือ รับเอาไปแล้วปฏิบัติตามนั้น ซึ่งแนวคิดส่วนหนึ่งของลัทธินิรันตรวาทยอมรับก็คือ การเชื่อว่าเหตุผล หรือสติปัญญาของมนุษย์ไม่สามารถมีความสมบูรณ์เพียงพอกับการเข้าถึงความจริงได้  หากยังไม่ได้ดำเนินชีวิตของตนไปในหนทางแห่งพระเจ้า  ซึ่งหนทางการดำเนินชีวิตอย่างนี้เท่านั้น  จะสามารถนำพาเอาผู้เรียนไปสู่หนทางที่ดีงามแห่งชีวิต ได้เพียงอย่างเดียว

 

ด้วยเมตตาธรรมค้ำจุนโลกา

 

หมายเลขบันทึก: 559509เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2014 14:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2019 04:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อดีต..เป็นที่แน่นอนนั้นเปลี่ยนแปลงมิได้ เพียงแต่เราต้องเลือกพฤติกรรมนั้นๆให้ถูกต้อง เหมาะสม ดีงาม..แล้วนำใช้ให้มีประโยชน์... ความงาม...ความจริง..อันเป็นคุณสมบัติของนิรันตรวาท.ได้มอบให้กับศาสนาไปเมื่อ ฟรังซิล เบคอนได้รับมอบจาก Plato นานแล้วจนถึงยุคปลายแห่งปรัชญาเริ่มเสื่อม..ส่วน Perennial แปลตามศัพท์ว่า “คงอยู่ชั่วนิรันดร”เป็นความชาญฉลาดของฟรังซิล เบคอนได้ มิให้กระบวนการปรัชญาประเภท จิตนิยมนี้สูญหาย เลยได้มอบให้กับศาสนาไปในลักษณะผู้รับใช้...โดยรู้ว่าศาสนามีแกนนำอย่างมีตัวตนนั่นคือเหตและผลต่อการยืนยันและอ้างอิง..แต่ปรัชญาหาเป็นเช่นนั้นไม่...เป็นเพียงแค่วิชาการ..แนวคิด..ที่จะเข้าหาสิ่งนั้นๆหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากระบวนการค้นหาให้ได้ความจริงดังเช่นโต๊ะย่อมมี 4 ขา..เป็นศาสนา..2ขาของ 1 พันธุ์ไม้..เป็นปรัชญา..2ขาของอีก 1 พันธุ์ไม้..โต๊ะนั้นย่อมวางสิ่งของใช้งานได้..วิชาและกระบวนการอื่นก็เช่นกัน...เข้าใจอย่างนี้...ถูกใหมครับพระอาจารย์..ช่วยสั่งสอนด้วย..

แล้วผู้ที่มอบพรให้พระพุทธเจ้าสำเร็จนั้น อยู่ที่ใด จงกตัญญูไปพลางๆก่อนเถิด อย่าเร่งรีบเนรคุณ ปิดกั้น

เพราะวันนั้น พระพุทธเจ้าไม่มีรูปปั้นพระพุทธรูป อิฐหินปูนทรายใดใดมาตั้งตรงหน้าตอนขอพรนี่นา แล้วท่านได้พรมาจากไหน

จงมีขันติธรรม รอพบ อย่าเร่งรีบมีจริตที่เนรคุณ เพราะเราท่าน เสพของอัลลอฮ์ เข้าไปแล้วจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท