ปริศนาธรรม ในองค์พระสมเด็จวัดระฆัง


ผมใช้เวลาคิดเรื่องนี้มานานพอสมควร ว่า "พุทธศิลป์" นั้น น่าจะเป็นทั้ง


1. อริยาบทของพระพุทธเจ้า ที่เป็นขั้นต้น หยาบๆ ตามจินตนาการของ "ช่างศิลป์" ที่ "ละเอียดละออ" ในงานศิลปะทั่วไป

และ 


2. เป็นปริศนาธรรมของ "ท่านผู้รู้" ลึกซึ้งในธรรมะ ที่แฝง "หลักธรรม" ไว้ให้คนคิด เรียน และปฏิบัติ

ที่ผมเชื่อว่า ส่วนใหญ่จะมีทั้งสองอย่าง มากบ้างน้อยบ้าง

นอกจากพระเก๊ เท่านั้น ที่จะไม่มีทั้งสองอย่าง
------------------------------------------



ในกรณีพระสมเด็จวัดระฆังนั้น ผมพบว่า เป็น พระเครื่องที่มีความละเอียด ลึกซึ้งทั้งสองมิติข้างต้น อย่างลงตัวที่สุด ในจำนวนพระเครื่องที่มีทั้งหมด ที่ผมศึกษามา

ที่ผมได้พยายามนั่งอ่านอยู่นานมาก โดยศึกษาหลัก "พระอภิธรรม" ควบคู่กันไป

จึงพอจะเทียบเคียง และพอจับประเด็นได้ "นิดหน่อย" ว่า

1. ครอบแก้ว หรือ ซุ้มกอ นั้น แทน "โลก" ครอบชีวิตของคนทั่วไป


2. ติ่งเล็กๆ ที่ฐานชั้นล่าง ต่อกับมุมฐานของกรอบครอบแก้วนั้นก็น่าจะสอนว่า "การอยู่ในโลกได้ดีต้องมี ศีล"
เพราะฐานสี่เหลี่ยมนั้น น่าจะแทน "ศีล" ที่เป็นฐานแข็งแรง และมั่นคง ให้กับชีวิต


3. ฐานล่างสุดคือ ศีล ดังกล่าวแล้ว เป็นแท่งสี่เหลี่ยม ที่มีมุมซ้ายต่อกับมุมซ้ายของโลก หรือบางพิมพ์ก็มีทั้งสองมุม


4. ฐานชั้นกลางคือ สมาธิ เป็นรูปสันสามเหลี่ยม แทนการทำสมาธิ เพราะการมีสมาธินั้น คือก็คือการทำจากกว้างๆไปรวมกันเป็นแคบๆ ที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า concentraton


5. ฐานชั้นบนคือ ปัญญา ที่แทนด้วยรูป เรือ พาสัตว์โลกข้ามทะเลทุกข์ ให้พ้น วัฏสงสาร

ที่เป็นหลักปฏิบัติของ ปุถุชน ทั่วไป

ทีนี้ในชั้นต่อไป ก็เริ่มเข้าสู่การปฏิบัติขั้นสูง ของ พระอริยะ บนฐานของการปฏิบัติขั้นต่ำ

6. ขา หรือ เข่าของพระพุทธรูป ก็คือ ฐานชั้นแรก "อธิศีล" ของผู้ปฏิบัติขั้นสูง ที่ต้องพัฒนามาจาก "ปัญญา" ในขั้นต้น จึงมีลักษณะ ล้อตามกันกับเรือ ของฐานชั้นบน ในทุกพิมพ์

หรือไม่ก็......

เป็นการศึกษาธรรมะ ขั้น ปริยัติ เพื่อเข้าใจทฤษฎี หลักการต่างๆ ในพระไตรปิฎก


7. องค์พระที่มีวงแขน คือ วงจรการวิปัสสนา และสมาธิ หมุนวนเป็นลำดับ จนเป็น "อธิสมาธิ" ที่แทนด้วย "ท่าสมาธิ" ของพระพุทธรูป

หรือไม่ก็.......

เป็น การฝึกธรรมะ ขั้น ปฏิบัติ วิปัสสนา หรือ สมถะ กัมมัฏฐาน


8. เศียร คือ อธิปัญญา ปัญญาขั้นสูง แห่งการอยู่ในโลกอย่างเข้าใจโลก เป็น โลกะวิทู

หรือไม่ก็.....

เป็น การฝึกธรรมะขั้น ปฏิเวธ จนเกิดการพัฒนาตนในขั้นสูง บรรลุขั้นฌาณต่างๆ


9. เกศ คือการหลุดพ้นจากโลก มีทั้งระดับ พระโพธิสัตว์ ไม่ชนซุ้ม (ยังวนเวียนอยู่ในโลก) ระดับ พระอริยะ จรดซุ้ม (เข้าใจโลก) และ พระอรหันต์ ทะลุซุ้ม (พ้นโลก)

และ สุดท้าย 
10. กรอบสี่เหลี่ยม น่าจะหมายถึง อิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา มากกว่า หลักธรรม 4 หมวดอื่นๆ
--------------------------------------------

เมื่อนั่งดูพระตามหลักพระอภิธรรมแล้ว ก็เกิดความ "ซาบซึ้ง" ทั้งในหลักธรรม และองค์พระเครื่อง

ที่มีไว้เติอนตนตลอดเวลาที่ใช้ชีวิตในโลก

นี่คือสิ่งที่ผมซาบซึ้ง และเข้าใจ พระสมเด็จ วัดระฆัง

วัดอื่นๆ ผมยังอ่านไม่ค่อยออกครับ

ใครทราบก็ช่วยกันหน่อยครับ

เราจะได้เรียนกันให้ถูกทางมากขึ้นครับ

หมายเลขบันทึก: 558892เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2014 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2014 07:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จินตนาการลึกซึ้ง ข้าน้อยขอคาราวะ การผูกโยงเรื่องนำมาซึ่งการจดจำและเข้าใจอย่างลึกซึ้งในองค์ความรู้นั้นๆ โชคดีและอยู่อย่างสงบทุกท่าน...สวัสดี

ก็แค่คิดไปเรื่อยๆ ตามประสา "นักเรียน" นะครับ ถูกผิดอย่างไร หวังว่าจะมีผู้รู้มาช่วยพิจารณานะครับ

สุดยอดแห่งความคิดและจินตนาการครับอาจารย์ อย่างนี้หรือเปล่าครับที่เขาเรียก คิดดีคิดแต่เรื่องธรรมะ ขอให้อาจารย์มีความสุขครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท