เตรียมโครงการป้องกันกระดูกหักซ้ำ


 

Fragility fracture : holistic secondary fracture prevention program

 

ปัญหา

ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนที่มีกระดูกหักโดยเฉพาะกระดูกสันหลังแลกระดูกสะโพกหัก มักก่อให้เกิดปัญหาความพิการและทุพพลภาพตามมา และผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก ร้อยละ 20 จะตายภายในหนึ่งปี ร้อยละ 30 จะเกิดการหักซ้ำ ทำให้เกิดภาวะผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มมากขึ้น และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาจึงสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว นอกจากนี้มากกว่าร้อยละ 80-90 ของผู้ป่วยไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ทำให้เสียโอกาสรับการรักษาอย่างถูกต้อง

มีงานวิจัยในต่างประเทศอาทิเช่น สก๊อตแลนด์ อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย อเมริกา เป็นต้น ได้ตื่นตัวและศึกษาโครงการป้องการกระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ( โครงการดังกล่าวมีหลายชื่อ เช่น Fracture Liason Service , Capture the Fracture , Orthogeriatrics ) พบว่าโครงการดังกล่าวจะลดอุบัติการกระดูกหักซ้ำได้ ร้อยละ 8-15 และลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาได้ ขึ้นกับแนวทางดูแลของแต่ละประเทศ

จะทำอะไร

                มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทยฯ มีแนวคิดที่จะกำหนดรูปแบบการดูแลและป้องกันกระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ตั้งแต่ระดับในโรงพยาบาลถึงระดับชุมชน โดยหวังว่ารูปแบบดังกล่าว

  1. ช่วยป้องกันกระดูกหักซ้ำได้ ( คณะทำงานต้องกำหนดเป้าหมาย )
  2. ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลต่อปี ( น่าจะมีการศึกษาค่าใช้จ่ายปัจจุบัน และกำหนดลดค่าใช้จ่ายในอนาคต )
  3. ต้องทำงานกันเป็นทีม
  4. สร้างระบบที่นำไปปฏิบัติได้ในบริบทของคนไทย

กำหนดการประชุมคณะทำงานครั้งแรก  วันพฤหัสที่ 30 มกราคม 2557 เวลา 13.00-15.00 น.

สถานที่  มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทยฯ

12.00-13.00 น.                    รับประทานอาหารกลางวัน

13.00-13.10 น.                    แนะนำคณะทำงานและนำเข้าสู่เรื่อง                  พญ.สุขจันทร์ พงษ์ประไพ

13.10-13.30 น.                    Fragility fracture ; care gap                 นพ. สุทร บวรรัตนเวช

13.30-13.45 น.                    Short review of Fracture liason service   นพ. ทวี ทรงพัฒนาศิลป์

13.45-14.00 น.                    Bangkok hospital model                        Nurse coordinator รพ.กรุงเทพ

14.00-15.00 น.                    Group discussion & first round wrap up

 

ทีมทำงานประกอบด้วย :

แพทย์ด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์

แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

แพทย์ด้านผู้สูงอายุ

พยาบาล

นักกายภาพบำบัด

นักโภชนากร

อื่นๆที่ทีมเห็นว่าเหมาะสม หลังประชุมรอบแรก

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 558730เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2014 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2014 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท