ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

เก็บตกโรงเรียนชาวนา


การทำนาจะให้ผลผลิตดี ต้องประกอบด้วยหลายปัจจัยแต่ปัจจัยที่ที่มีความสำคัญต่อการเจริญของข้าวนั้นแน่นอนต้องเป็นธาตุอาหาร

สองวันอยู่กับนา  บางท่านอาจจะแปลกใจครับว่าอยู่กับนาได้ยังไง ไหนบอกว่าอยู่ที่ สคส. ซึ่ง สคส.ก็อยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ โน้น... แถมยังอยู่บนตึก SM TOWER ถึงชั้นที่ 23 แน่ แอ้ม...ตอนนี้กำลัง IN กับนาครับ ซึ่งสองวันที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสได้เล่าถึงโรงเรียนชาวนา ของมูลนิธิข้าวขวัญ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีคุณเดชา   ศิริภัทร เป็นหัวเรือใหญ่ ซึ่งเห็นความสำเร็จในการจัดการความรู้ (KM)แล้วก็ชื่นชด้วยครับ แล้วผมก็คิดต่อครับว่าเราจะเอาตัวอย่างที่ดีๆ นี้ไปขยายผลต่อได้อย่างไร

ข้าวงามมันอยู่ที่ดินดี  พอบอกว่าข้าวงามอยู่ที่ดินดี บางคนที่พึ่งเปิดอ่านในวันนี้อาจมีคำถามว่า อ้าว...แล้วดินดีมันเป็นอย่างไรล่ะ และก็คงต้องบอกต่ออีกนั่นแหละครับว่าให้ไปอ่าน Blog ของผมรื่อง "ดินมีชีวิต" เนื่องจากว่าวันนี้ที่อยากจะเล่าสู่พี่น้องชาว KM ฟังก็คือว่าในการที่เราจะปลูกพืชชนิดใดๆ ก็ตาม เราก็คงต้องมาดูที่ดินก่อนรับว่าสภาพดินของเรามีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชนิดนั้นๆ หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นค่าความเป็นกรด เป็นด่าง (pH) โครงสร้างของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความจำเป็น อันจะส่งผลถึงกำลังใจในการที่จะผลิตต่อ ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านต้องจัดการความรู้เรื่องดินตามโรงเรียนชาวนา หรือปรึกษาหมอดินใกล้บ้านได้เลยนะครับ

นึกถึงพันธมิตรเดิม พอพูดถึงเรื่องการทำนา และการจัดการเรื่องปุ๋ยผมอดจะนึกถึงพันธมิตรเก่าเสียไม่ได้ ซึ่งพันธมิตรเก่าที่ว่านี้ก็ถือว่าเซียนในการทำนาอินทรีย์เช่นกัน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ตำบลปอแดง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ถ้าไปเขตละแวกนั้นถามใครก็พอจะรู้คนที่ชื่อว่า พ่อเส็ง  ผาวัน ซึ่งเป็นคนทำนาที่ไม่ต้องให้ปุ๋ย โดยพ่อเส็งมีเทคนิคในการจัดการความรู้เรื่องนี้โดยการเลี้ยงกบควบคู่กับการทำนาซึ่งกับก็จะขับถ่ายทั้งเยี่ย และมูลออกมาต้นข้าวก็จะนำไปใช้ในการเจริญเติบโตต่อไป อีกทั้งกบนี้ก็ไปตะกุยดิน เสมือนการพรวนดินให้กับต้นข้าวได้อย่างดี ความงามและความแข็งแรงของข้าวนั้นไม่ต้องพูดถึงครับ ได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 600 กก.ต่อไร่ครับ

จากแนวทางการจัดการความรู้ของพ่อเส็ง ดังกล่าวถือว่าเป็นการจัดการความรู้ จากภูมิปัญญาอย่างแท้จริง และไม่สงวนลิขสิทธิ์ด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

26 ตุลาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 55865เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2006 18:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อยากเลี้ยงกบในนาข้าวค่ะอาจารย์อุทัย  แต่คงจากรอดปากเหยี่ยวปากกา (คน) ได้ไม่กี่ตัว คงต้องเลี้ยงปริมาณมาก ๆและเฝ้าตลอดเวลาเป็นแน่ค่ะจึงจะได้ผล

ให้ระวัง

ความรู้กับความเชื่อ  อย่าปนกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท