เนื้อหาวิชา การให้รหัสทางการแพทย์


หัวข้อวิชาและเนื้อหาของ หลักสูตรรหัสทางการแพทย์ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

๑.๑ ความรู้พื้นฐานทางการแพทย์

ความรู้ที่จำเป็นทางการศึกษาของผู้ให้รหัสทางการแพทย์ ผู้ศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในศัพท์และคำเรียกเฉพาะทางการแพทย์ (Medical terms) ความรู้ความเข้าใจเรื่องกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา ความรู้เบื้องต้นด้านการรักษาและการพยาบาล การฟื้นฟูสุขภาพ พยาธิวิทยาเบื้องต้น และเภสัชวิทยาเบื้องต้น ฯลฯ ซึ่งหากผู้ศึกษาไม่มีพื้นฐานความรู้ดังกล่าวก็ย่อมยากที่จะเข้าใจและจินตนาการได้ถึงตำแหน่งของอวัยวะ ลักษณะการเกิดโรค และอาการและอาการแสดง สาเหตุความผิดปกติของเนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายของมนุษย์ได้

               

                                ๒.๑.๑ กายวิภาคศาสตร์

                การบรรยายถึงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย พยาธิสภาพ และสิ่งตรวจพบทางการแพทย์นั้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นคำศัพท์ที่มีรากฐานมาจากภาษากรีก หรือภาษาละติน เนื่องจากเป็นยุคเริ่มแรกของการพัฒนาศาตร์การแพทย์ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ทางตะวันตก ที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบัน การจำแนกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตามหลักกายวิภาคศาสตร์นั้น ก็มีศัพท์เฉพาะที่ระบุให้ทราบถึง ตำแหน่งที่อยู่และระนาบต่าง ๆ ดังนี้

ท่ายืนทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical position) หมายถึง การยืนตัวตรง มองตรงไปข้างหน้า แยกขาและเท้าออกจากกันพอประมาณ แขนเหยียดตรงออกสองข้างลำตัว หงายฝ่ามือออกด้านหน้า

ระนาบต่าง ๆ ของร่างกาย

               

                               

๒.๑.๒ ศัพท์ทางการแพทย์

ศัพท์แพทย์ทั่วไป กับศัพท์เรียกชื่อโรคที่พบในหนังสือ ICD – 10 เล่ม  ๑ อาจมีตัวสะกดที่แตกต่างกันได้ทั้ง ๆ ที่เป็นคำเดียวกัน เพราะศัพทย์แพทย์ส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศไทย มักเป็นภาษาอังกฤษแนวอเมริกัน ส่วนศัพท์เฉพาะของ ICD มักเป็นตัวสะกดจากภาษากรีก ละติน จึงมีความแตกต่างกัน

การวิเคราะห์รากศัพท์

                การทำความเข้าใจศัพท์ทางการแพทย์นั้น ผู้ศึกษาควรเรียนรู้ถึงกฎ กติกา ในการนำเอาคำอุปสรรค     ( Prefix) มาประกอบด้านหน้าคำหลัก (Word root) และเรียนรู้การนำเอาคำปัจจัย (Suffix) มาต่อท้ายคำหลัก เพื่อสร้างเป็นคำศัพท์ใหม่ ที่ทั้งกะทัดรัด และสามารถสื่อให้เห็นภาพร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องได้ โดยการศึกษาวิธีการดังกล่าว บางครั้งก็ต้องอาศัยการสังเกต และเรียนรู้ธรรมเนียมบางอย่างที่นิยมสืบมาแต่โบราณไว้บ้างเช่นกัน เพราะบางครั้งกลุ่มคำที่ดูจะมีความคล้ายคลึกกันเป็นอย่างมานั้น อาจจะมีความแตกต่างกันไปเป็นคนละเรื่องเลยก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า Homeostasis ,Homeothermic และ Hemostasis

เพราะในขณะที่ Homeostasis หมายถึง การรักษาสมดุลภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต โดยพิจารณาจากความสมดุลย์ของเคมีตั้งแต่ระดับเซลล์ที่เป็นหน่วยย่อยที่สุดของชีวิต, Homeothermic ก็หมายถึง ภาวะที่สัตว์บางชนิดบนโลกสามารถรักษาสภาพอุณหภูมิแกนกลางร่างกายไว้ได้ค่อนข้างจะคงที่ หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า “สัตว์เลือดอุ่น” (ตรงกันข้ามกับสัตว์ที่เปลี่ยนอุณหภูมิไปตามสิ่งแวดล้อม ที่เรียกว่า “Poikilothermic” หรือ สัตว์เลือดเย็น )ส่วน Hemostasis หมายถึง ภาวการณ์รักษาเลือดให้คงอยู่ภายในเส้นเลือดที่ต้องอาศัยความสมบูรณ์ขององค์ประกอบหลักสามอย่างด้วยกันคือ เส้นเลือด เกร็ดเลือดและโปรตีนที่เป็นปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด ( Clotting factor)

ส่วนคำที่มีราก( Root ) มาจากศัพท์ Osteo ที่แปลว่า “กระดูก” และประกอบเข้ากับปัจจัย ที่ดูคล้ายคลึงกันจนแทบจะแยกไม่ออกอย่างเช่น Osteotomy ,Osteostomy,Ostectomy,Osteocentesis,Osteoplasty นั้นก็มีความแตกต่างกันในความหมายได้อย่างมาก

 

                                ๒.๑.๒ พยาธิวิทยาเบื้องต้น

                                ๒.๑.๓ เภสัชวิทยาเบื้องต้น

๒.๒ การให้รหัสทางการแพทย์

                                ๒.๒.๑บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับแก้ไขครั้งที่ ๑๐

ICD -10 ย่อมาจาก Internation classification of Diseases and Related Health Problem 10 Revision

                                                -ประวัติความเป็นมา

แนวคิดในการจัดกลุ่มโรคเป็นหมวดหมู่ เริ่มพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ ในราวปี ค.ศ. 1785 หรือ ปี พ.ศ. ๒๓๒๘

                                                - หนังสือ ICD -10

ประกอบด้วยหนังสือ ๓ เล่ม ดังนี้

                                ๒.๒.๒ การให้รหัสการผ่าตัดและหัตถการต่าง ๆ

                                                - ICD – 9- TM

                                ๒.๒.๓ ระบบ ICD – 10 – TM สำหรับสถานบริการระดับปฐมภูมิ

หมายเลขบันทึก: 558517เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2014 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มกราคม 2014 09:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท