ความเป็นมาของหลักสูตร รหัสทางการแพทย์


๑.ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการอบรมหลักสูตการให้รหัสทางการแพทย์

                ๑.ความสำคัญของเวชระเบียน

เวชระเบียน เป็นเอกสารที่มีความสำคัญ ในการเป็นเครื่องมือสื่อสารสำหรับทีมผู้ดูแลรักษาสุขภาพ ในสถานบริการสุขภาพ เป็นแหล่งข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ วางแผนการรักษา ให้การพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจนและครบถ้วน ตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งปัจจุบันเมื่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านำเอาระบบ DRG มาใช้เป็นเกณฑ์ในการเบิกจ่ายงบประมาณให้แก่สถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ความถูกต้องสมบูรณ์ของเวชระเบียนจึงมีความสำคัญและจำเป็นนอกจาก เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้รับบริการ ผู้ให้บริการแล้วยังใช้เป็นข้อมูลที่ผู้บริหาร สามารถนำมาใช้ในการบริหารงาน ได้อย่างทันเวลาและทันต่อความต้องการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกด้วย

                ๒.เทคโนโลยี่และความก้าวหน้าทางการแพทย์

การจัดการเวชระเบียน ในปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยี่สารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บ รักษาข้อมูลสุขภาพของผู้รับบริการ เป็นฐานข้อมูลสนับสนุนการปฏิบัติงาน และใช้ในการบริหารงาน ในทุกกระบวนการในสถานบริการสุขภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเวชระเบียน สนับสนุนการดำเนินงานในระบบบริการสุขภาพ สาขาเวชระเบียนเกี่ยวกับการให้รหัสทางการแพทย์ การจัดการเวชระเบียนด้วยนำการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับงานเวชระเบียนให้สามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ  โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานด้านเวชระเบียนควบคู่กับการนำระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเข้ามาใช้เพื่อให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนซึ่งจำเป็นต้องมีข้อมูลของผู้ใช้บริการให้ครอบคลุม รอบด้านและทันเวลาโดยข้อมูลสถิติและรายงานเหล่านี้จะต้องจัดส่งให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณโดยเฉพาะในโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งส่วนใหญ่จะมีเจ้าหน้าที่ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรประกาศนียบัตรเวชระเบียนหรือ วิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาเวชระเบียน และเป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถให้รหัสโรค รหัสผ่าตัด หัตถการและการจัดทำสถิติรายงานข้อมูลได้เป็นอย่างดี                 ในขณะที่โรงพยาบาลนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเฉพาะโรงพยาบาลภาคเอกชนยังขาดแคลนบุคลากรกลุ่มนี้เป็นจำนวนมากจึงทำให้ข้อมูลด้านสุขภาพของประเทศในปัจจุบันยังมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงส่งผลต่อการดำเนินการด้านระบบสุขภาพของประเทศ ผลจากการตรวจสอบเวชระเบียนของ สปสช.ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 พบว่า เวชระเบียนของหน่วยบริการมีความคลาดเคลื่อนเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดดังผลการตรวจสอบตั้งแต่ปี 2549-2554 พบความผิดพลาดร้อยละ 43, 65, 61, 87, 90 และ 91 ตามลำดับ

ดังนั้นเพื่อให้หน่วยบริการสาธารณสุขทุกระดับของประเทศมีบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านเวชระเบียน มารับหน้าที่ในการบันทึก การจัดเก็บการให้รหัสโรค รหัสผ่าตัด และหัตถการ รวมถึงการจัดทำสถิติรายงานด้านสุขภาพได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลโรคสาเหตุการเกิดโรคและการรักษาเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้และนำมาใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดให้มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเวชระเบียนขึ้นซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะมีบทบาทในการจัดฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรด้านเวชระเบียนจัดทำหลักสูตรผู้ตรวจสอบเวชระเบียน รวมถึงการวิจัย ประเมินผลการจัดอบรม และพัฒนาหลักสูตรการอบรมอย่างต่อเนื่อง

หมายเลขบันทึก: 558516เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2014 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มกราคม 2014 08:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท