สื่อโซเชียลมีเดียหรือในหลักสูตรและการสอน ( Social Media in Curriculum and Instruction )


สื่อโซเชียลมีเดียหรือสื่อสังคมในหลักสูตรและกำรสอน ( Social Media in Curriculum and Instruction )

             เนื่องจากวิวัฒนาการของสื่อใหม่หรือสื่อทางสังคมในปัจจุบันได้ก้าวรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วและเป็นที่นิยมในการนามาใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมทุกกลุ่ม ดังนั้นจึงได้มีการนามาปรับใช้ในวงการศึกษาเรียนรู้จากสื่อประเภทดังกล่าวนี้ ซึ่งเหตุผลประการสาคัญของการนาเอาสื่อสังคมหรือ Social Media มาใช้ร่วมกันในหลักสูตรและการเรียนการสอนนั้นมีหลายประการ แต่มีเหตุผล 2 ประการสาคัญที่ Kommers ( 2011 : online ) คือ

1. สื่อโซเชียลมีเดีย ( เช่น Blog , Wikis , Facebook , Twitter , MSN , Linkedln , Flicker , etc )เป็นสื่อที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทาให้ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ซึ่งการนาเอาสื่อประเภทเหล่านี้เข้ามาใช้ในโรงเรียน จะสนองต่อจุดประสงค์สาคัญและเป้าหมายที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้
2. การนำเอาสื่อโซเชียลมีเดียมาใช้ในโรงเรียน ยังเป็นการจำกัดช่องทางและมีความเหมาะสมสำหรับผู้ใช้ ( นักเรียน ) ที่จะสามารถพัฒนารูปแบบการสื่อสารได้ด้วยตนเองโดยเฉพาะการสื่อสารจากการใช้เว็บไซต์ และยังเป็นระบบการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนระดับต้นได้อีกด้วย

ประเภทของสื่อโซเชียลมีเดีย ( Social Media )

ที่นามาใช้ในในวงการศึกษาหรือการเรียนการสอนในปัจจุบันมีหลายประเภท ที่สาคัญได้แก่

1. Blogs / Weblogs 11. e-Books

2. Wikis 12. Instant Messaging

3. Podcasts 13. Skype

4. e-Portfolios 14. Games

5. Social Networking 15. Mashups

6. Social Bookmarking 16. Mobile Learning

7. Photo Sharing 17. RSS Feeds

8. Second Life 18. You Tube

9. Online Forums 19. Audio Graphics

10. Video Messaging

11. e-Books

12. Instant Messaging

13. Skype

14. Games

15. Mashups

16. Mobile Learning

17. RSS Feeds

18. You Tube

19. Audio Graphics

         สื่อโซเชียลมีเดียที่กล่าวถึงเหล่านี้ เป็นสื่อที่กาลังมีบทบาทสำคัญต่อผู้ใช้ในการสื่อสารและเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาเรียนรู้ในรูปแบบหรือลักษณะต่างๆในปัจจุบัน ซึ่งสื่อแต่ละประเภทต่างก็มีจุดอ่อนจุดแข็งในตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ใช้ต้องพิจารณาใช้ให้เหมาะสม

อย่างไรก็ตามสื่อโซเชียลมีเดียเหล่านี้ หากจำแนกหรือจัดประเภทของลักษณะการใช้หรือการให้บริการแล้ว สามารถจำแนกได้ดังนี้
1. การตีพิมพ์ : เช่น บล็อก , วิกิพีเดีย , เว็บรวมที่ให้ทุกคนโพสต์ข่าวหรือข้อความ

2. การแบ่งปัน : เช่น วิดีโอ , รูปภาพ , ดนตรี , ลิงก์

3. การอภิปราย : เช่น การเสวนา , โปรแกรมการสนทนาออนไลน์

4. เครือข่ายสังคม : เครือข่ายสังคมโดยทั่วไป และเครือข่ายสังคมเฉพาะด้าน

5. การตีพิมพ์แบบไมโคร : เช่น ไมโครบล็อก

6. เครื่องมือที่รวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่งโซเชียลมีเดียเข้าด้วยกัน ( Social Aggregation Tools )

แนวคิดในการปรับใช้สื่อโซเชียลมีเดียเพื่อการเรียนรู้

แนวคิด 5 ประการสำหรับ Facebook เพื่อกำรเรียนการสอน
1. ใช้ Facebook เสมือนหนึ่งเป็นการสร้างระบบบริหารจัดการความรู้ ( Use as Learning Management Systems : LMS )
2. ใช้ Facebook เพื่อเป็นแหล่งสำหรับการสืบค้นอ้างอิง ( Reference Citations )
3. ใช้สาหรับการประกาศหรือประชาสัมพันธ์ ( Announcements )
4. ใช้ในการสื่อสารข้อความภายหลังการสอนหรือจบบทเรียนในชั้นเรียน ( Post Class Notes )
5. ใช้ในการอภิปรายกลุ่มเชิงสร้างสรรค์ ( Create Group Discussions )

แนวคิด 5 ประกำรสำหรับ Twitter เพื่อกำรเรียนกำรสอน
1. Twitter เป็นสื่อสร้างองค์ความรู้ต่างๆของการเรียนรู้ในประเด็นที่สนใจสำหรับผู้เรียน
2. ใช้ Twitter ในการถามตอบข้อสงสัยสั้นๆ ( Quiz ) หรือซักถามประเด็นปัญหาที่ผู้เรียนสนใจ
3. เป็นแนวทางในการเสริมสร้างมโนทัศน์ ( Track a Concept ) โดยใช้ Twitter เป็นตัวเชื่อมโยงแนวคิดที่นาเสนอของผู้เรียน – ผู้สอน
4. เป็นสื่อเชื่อมโยงด้านเวลา ( Track Time ) โดยสื่อ Twitter สามารถเชื่อมโยงด้านเวลา รวมทั้งการกำหนดเวลาได้เหมาะสมสำหรับผู้ใช้
5. เป็นสื่อที่ช่วยกำหนดปฏิทินหรือตารางการเรียนรู้ ( Learning Diary ) โดยผู้เรียนสามารถจัดการและเก็บรวบรวมองค์ความรู้จากการใช้ Twitter ได้อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง

            กล่าวโดยสรุปแล้ว สื่อสังคม หรือสื่อ Social Media เป็นสื่อทางการศึกษาเรียนรู้ในยุคแห่งสังคมออนไลน์ที่กาลังก้าวรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วในการปรับใช้ในวงการศึกษา ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ต้องตระหนักและมองเห็นความสาคัญต่อสื่อดังกล่าวรวมทั้งการกำหนดแนวทางของการปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ทางสังคมในปัจจุบัน ซึ่ง Social Media ในหลากหลายประเภทที่กล่าวถึงในเบื้องต้นนั้นคงเป็นสื่อการศึกษาที่ต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาเรียนรู้ในสังคมอย่างแน่นอนจึงเป็นประเด็นสาคัญที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักและเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

หมายเลขบันทึก: 558465เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2014 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มกราคม 2014 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท