เกมทายใจ


            เช้าวันหนึ่ง ในห้องเรียนของนักศึกษากิจกรรมบำบัด อาจารย์ป๊อบได้เข้ามาสอนในหัวข้อ กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัด พร้อมกับยกตัวอย่างกรณีศึกษามา 10 ตัวอย่าง วิธีการก็คือ ให้นำกรอบอ้างอิงที่ได้ศึกษามาเพื่อประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษาทั้ง 10 ตัวอย่าง แล้วอย่างไรละ กรอบอ้างอิง อ่านผ่านก็เป็นเพียงตัวอักษรเหมือนทฤษฐีที่อ่านได้ยาก แล้วเราจะนำมาใช้ช่วยเหลือทั้ง 10 เคส ได้อย่างไร ??? 

            ลองมาดูตัวอย่างกรณีนี้กัน !!

ข้อมูล : เด็กผู้หญิง อายุ 2ปีครึ่ง คลอดก่อนกำหนด ไม่มีข้อมูลวินิจฉัยทางการแพทย์

ข้อมูลจากการสังเกตในวิดีโอ :

- ความสามารถ : เดินไม่ได้ พูดช้า ทำเสียงอ้อแอ้ได้ ได้ยินไม่ชัด ตอบสนองโดยมองจ้องตา สบตา ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันด้วยตนเองไม่ได้ เล่นของเล่นไม่เป็น หยิบของได้(มีอาการอ่อนแรง) มือเกร็งข้างหนึ่ง น้ำลายไหลตลอดเวลา นั่งฐานกว้าง

- ความสุข : ชอบให้คนเล่นด้วย มีปฏิสัมพันธ์ ส่งเสียงเรียก

เป้าประสงค์ที่ต้องการ : ให้สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตพื้นฐานได้ด้วยตนเองและมีพัฒนาการเป็นไปตามช่วงวัย

 

+++ จากข้อมูลที่มีอยู่ จะนำกรอบอ้างอิงใดมาใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าประสงค์ ???  +++ 

 

1. PEO/PEOP ฝึกนั่ง ฝึกยืน ฝึกการทำงานของมือในการหยิบจับส่งของ กระตุ้นกลืน ฝึกพูด เพื่อให้สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต

2. Developmental frame of reference ตรวจกล้ามเนื้อ(gross motor) ตรวจreflex ประเมินการพูด

3.Sensory Integration ประเมินsensory การหันหาเสียง การเลียนแบบเสียง การทรงตัว(balance)

 

หลังจากการเรียนการสอนคาบนี้ผ่านไป ฉันก็ได้เข้าใจมากขึ้นถึงวิธิการของนักกิจกรรมบำบัดในการให้บริการกับผู้รับบริการทางกิจกรรมบำบัด แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น.. ยังมีอีกหลายสิ่งที่รอฉันอยู่ :D

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 558150เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2014 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2014 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท