"พืชฉลาด สัตว์เฉลียว"


 

           สิ่งมีชีวิตบนโลกที่เรารู้คือ พืชและสัตว์ ทั้งสองกำเนิดและวิวัฒนาการมาร่วมกับโลกที่ยาวนาน นั่นหมายความว่า พวกเขาย่อมรู้วิธีในการปรับตัวให้อยู่รอดได้ จนพวกเขาขยายสายพันธุ์ไปทั่วโลก และนั่นคือ พวกเขาเป็นพื้นฐานในการกำเนิดของเราด้วย 

           จากกาลเวลาที่พวกเขาได้พัฒนามาหลายล้านปี จนรู้ทักษะในการเอาตัวรอด แล้วถ่ายทอดไปยังลูกหลานของตน เป็นเรื่องที่ละเอียดและน่าทึ่งในการอยู่บนโลกที่เต็มไปด้วยภัยต่างๆได้ จึงขอยกย่องความฉลาดเฉลียวของพืชและสัตว์ดังนี้

           พืชฉลาดในเรื่องใหญ่ๆ ดังนี้

          ๑) "ปรับตัว" คือ พืชสามารถปรับตนเองตามท้องถิ่นได้ดี เพราะมันไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ง่ายเหมือนสัตว์ เมื่อถูกคุกคาม ทางเดียวที่พวกมันต้องทำคือ การปรับตัวเองให้อยู่รอด เช่น อยู่ท่ามกลางแดดร้อน อากาศหนาวถึงจุดเย็นเยือก ลมแรง น้ำเค็ม ถูกไฟเผา ฯ เป็นต้น พวกเขาทำได้อย่างเดียวคือ ปรับตัวเองภายในนั่นเอง

           ๒) "ปรับตามกาล" คือ พืชใช้กาลเวลาให้เป็นเครื่องมือในการเอาตัวรอด กาลเวลา ในหนึ่งปีมีฤดูกาลต่างๆ ในแต่ละฤดูกาลเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อพืชที่ต้องปรับตัวเองให้อยู่รอด พวกมันรู้จักกาลเวลา ในการออกดอก ออกผล ผลิใบ ลอกคาบ หยุดเจิญเติบโต ฯ เพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับกาลเวลา เช่น หน้าหนาว หน้าร้อน พืชจะออกดอก ออกผล เพื่อให้ลูกผลของตนได้อาหารในหน้าฝน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้านอาหาร (ปุ๋ย) แต่ถ้าหน้าฝนๆที่มีน้ำมาก พืชบางชนิดอาจหยุดโต เพื่อมิให้ตนเองสำลักน้ำตาย หรือติดเชื้อง่าย

           ๓) "ใช้สัตว์ช่วย" คือ พืชใช้แรงสัตว์ ในการขยายพันธุ์ เรียนรู้ถึงการเอาตัวรอด จนกลายเป็นความสัมพันธ์แบบถาวร เช่น ผีเสื้อ ผึ้งกับดอกไม้ นก ค้างคาว หนู กระรอก กระแต ลิง บ่าง ค่าง ชะนี ฯ ล้วนเป็นการอาศัยสัตว์แบบแลกเปลี่ยนกันได้อย่างสมดุล สัตว์และแมลงได้อาหาร ส่วนพืชได้รับการผสมเกสร นี่คือ มิตรภาพอันน่าเคารพยิ่งระหว่างพืชและสัตว์

           ๔) "ใช้การวางแผน" คือ พืชมีทักษะในการวางแผน ให้สายพันธุ์อยู่รอด โดยอาศัยกาลเวลาพัฒนาต้นแบบนี้ จนสามารถถ่ายทอดให้ลูกตนเอง เหมือนต้นแบบของพ่อแม่ได้อย่างเหมือนเดิม เช่น ต้นมะพร้าวออกแบบให้ลูก เตรียมตัวให้ลูกมีอาหาร มีน้ำ พร้อมกับการวางแผนป้องกันให้ลูก ในการเดินทาง ไปได้ทั้งทางบก ทางน้ำ ผ่านดงไฟ ฯ ได้อย่างปลอดภัย พืชสามารถผลิตสิ่งที่สัตว์ต้องการได้ เพื่อตอบสนองพวกมัน นี่คือ การวางแผนของพืชที่ฉลาดทีเดียว

            ๕) "ป้องกันตัว" คือ พืชมีวิธีการ ป้องกันตัวเองได้อย่างฉลาด สร้างภูมิคุ้นกันด้วยพิษหรือสารต่างๆ เช่น ยางไม้ รสขม ฉุน เผ็ด กลิ่นเหม็น มีหนาม เปลือกหนา เปลือกแข็ง มีสารพิษ ฯ นี่คือ วิธีการป้องกันตัวเอง จากสัตว์กินพืช

            ส่วนสัตว์ทั้งหลายที่อยู่รอดบนโลกได้ ก็เพราะมีความฉลาดเฉลียว ดังนี้

            ๑) "ปรับตัว" คือ สัตว์เองก็รู้จักในการปรับตัวเอง ไปตามท้องถิ่นที่อาศัย จนกลายเป็นลักษณะพิเศษของตนไป เช่น สัตว์น้ำ มีครีบ มีหาง มีเมือก เพื่อเคลื่อนไหวไปอย่างสะดวก ส่วนสัตว์บนบก มีเท้า มีฟันเขี้ยว มีหนัง มีลวดลายอำพรางตน และยังต้องปรับตัวเองไปตามฤดูกาลต่างๆ เช่น ออกไข่ในหน้าฝน อยู่ในครรภ์แม่ หรือออกมาเป็นไข่ ก่อนจะออกเป็นตัว ฯ ทั้งหมดล้วนเป็นการปรับตัวทั้งสิ้น เราเรียกว่า วิวัฒนาการ ตามที่ดาร์วินกล่าวไว้

            ๒) "ต่อสู้" คือ สัตว์ต้องการความอยู่รอด ด้วยการใช้สัญชาตญาณในการต่อสู้ เพื่อให้ตนเองรอด วิธีการอยู่รอดก็ต่างกัน หลายแบบ เช่น การเลือกคู่ที่แข็งแรง สมบูรณ์ การต่อสู้กัน การฆ่าสัตว์อื่น เพื่อให้ตนเองรอด จนนำไปสู่การหนี การล่า ทั้งสองก็ได้พัฒนาอยู่เสมอเช่น การวิ่งให้เร็วขึ้นของกวางและเสือ การออกลูกให้น้อย หรือให้มาก เพื่อรับประกันความอยู่รอด เป็นต้น

            ๓) "ใช้อาวุธ" คือ สัตว์ใช้อาวุธในการป้องกันตนเอง เพราะบนโลกมีแต่อันตราย การสร้างอาวุธ การพรางตัว การพัฒนาทักษะในการต่อสู้ จึงเป็นนโยบายแห่งความอยู่รอด เช่น ไดโนเสาร์ มีอาวุธของตนเอง สัตว์ในทะเลมีเขี้ยว มีพิษ เพื่อป้องกันตน สัตว์บนบกก็สร้างอาวุธเคมีในการปกป้องตนเองได้ เช่น พิษในงูเห่า ในหนอน ในปลา วัว ควายมีเขา ช้างมีงา เสือมีเล็บและเขี้ยว ฯ เพื่อความอยู่รอดของตน ด้วยการล่า การฆ่า การป้องกัน หรือการหนีให้รอดพ้น

            ๔) "ผู้นำ" คือ สัตว์ย่อมมีที่พึ่ง มีจ่าฝูง มีผู้นำ ในการนำพา หาอาหาร หาที่ปลอดภัย เช่น มีโพรง มีรู มีรัง มีพ่อแม่ คอยป้องกันหรือมีจ่าฝูงคอยดูแลสมาชิก เรียกว่า จ่าฝูง ราชินี เพราะผู้นำ คือ ผู้พาให้สมาชิกอยู่ได้ ป้องกันศัตรูได้ เช่น แม่ช้างที่มีประสบการณ์ย่อมพาฝูงหาแหล่งน้ำได้ สิงห์โตตัวผู้คือ ผู้คอยปกป้องฝูง เป็นต้น

            ๕) "ตื่นตัว" คือ สัตว์ทุกชนิดมีลักษณะที่เหมือนกันคือ มีสัญชาตญาณ ในการเอาตัวรอดเฉพาะตัว มีความตื่นตัว ระมัด ระวังภัยอยู่ตลอดเวลา เช่น ในป่าลึก ในทะเล ในอากาศ สัตว์ย่อมมีระบบประสาทที่อ่อนไหว ไวอยู่เสมอ เพื่อจะได้ระวังว่า ศัตรูอยู่ที่ไหน มาจากไหน เพื่อจะได้หนีทัน ความตื่นตัว ความระมัดระวัง คือ คุณสมบัติ ของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับเรา 

            ดังนั้น ไม่ว่าพืชหรือสัตว์ แม้กระทั่งมนุษย์ คือ สิ่งมีชีวิตที่อยู่บนโลกร่วมกัน ด้วยการวิวัฒนาการมายาวนาน จนสามารถดำรงอยู่บนโลกนี้ได้อย่างชาญฉลาดเฉลียว และสามารถถ่ายทอดเผ่าพันธุ์ของตนจนถึงปัจจุบันได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเราเห็นพืชและสัตว์ต่อสู้มาได้เช่นนี้ เราในฐานะมนุษย์ที่เกิดทีหลัง ควรอย่างยิ่งที่จะหันไปศึกษาเส้นทางในการเอาตัวรอดของพวกเขาอย่างรู้ค่าจริงๆ เพื่อให้เราดำรงอยู่บนโลกอย่างสมดุลและยาวนานต่อไป

หมายเลขบันทึก: 558147เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2014 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2014 09:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

พืชฉลาด สัตว์เฉลียว คนฉลุย เวลาเฉลิมฉลอง ต้องใช้พืชและสัตว์มาทำเป็นอาหาร

ใช่คุณวอญ่า ฯ หากเราถูกพืชและสัตว์จับทำเป็นอาหารบ้าง เราจะแก้ปัญหาอย่างไร ผู้เขียนเพียงเสนอในแง่การปรับตัว ให้อยู่รอดบนโลกที่มีภัย..แน่นอนมนุษย์มีความรู้ ทักษะในการเอาตัวรอดได้ไวกว่า แต่มนุษย์ฉลาดแบบยั่งยืนแค่ไหน แม้แต่บ้าน (โลก) ยังทำลายกัน ไม่ต้องกล่าวถึงสิ่งแวดล้อม คงหมดโลกไม่นาน นั่นคือ ความฉลาดของมนุษย์จริงหรือ เห็นทีเราต้องไปถามนักชีววิทยา และนักพฤกษาศาสตร์ว่า พืชและสัตว์มีวิวัฒนาการอย่างชาญฉลาดอย่างไร เพื่อเอาความรู้นั้นมาปรับใช้ (จึงได้ชื่อว่า ฉลาดจริง) ไม่ใช่ใช้กำลังห้ำหั่น จะกิน จะฆ่า อีท่าเดียว..

ทุกสิ่งทุกอย่างมีวิถีชีวิตเป็นของตนเอง ที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน และเพื่อการอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ของตนเอง

พืชและสัตว์ ... ปรับตัวเก่งนะคะ ... ขอบคุณค่ะ

.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท