ในปี พ.ศ. 2482 หลักของการสหกรณ์มี 4 ข้อ


1.สหกรณ์มุ่งถึงการรวมคนเป็นสำคัญ
2. การปกครองสหกรณ์นั้น คือสมาชิกทุกคนมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนคนละเสียงเสมอกัน ในที่ประชุมใหญ่  กิจการทั้งปวงต้องอนุโลมตามความเห็นของคนข้างมาก
3.ผู้ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกสหกรณ์ต้องเข้าโดยความเต็มใจของตนเอง ไม่ใช่โดยการบังคับ
4.สหกรณ์ทำเพื่อประโยชน์แก่สหกรณ์เองเท่านั้น 

การปกครองของสหกรณ์ในปี พ.ศ. 2482 
ใช้คำว่า   เป็นความเห็นของคนข้างมาก 
ไม่ได้ใช้คำว่า  เป็นความเห็นของเสียงข้างมาก    เหมือนในสมัยนี้ครับ    รายละเอียด  อ่านได้จาก หนังสือด้านล่างนี้

จากหนังสือหลักของการสหกรณ์ และ สหกรณ์ร้านค้า
พิมพ์แจกในงานพระกฐินพระราชทาน
กรมสหกรณ์
กระทรวงเกษตราธิการ
ทอดที่วัดรัชฏาธิฐาน  คลองบางพรหม  อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี
วันที่ 14 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2482

หน้า1

หลักของการสหกรณ์
ประเพณีที่มนุษย์รวบรวมกันประกอบกิจธุระเพื่อประโยชน์ร่วมกันนั้นได้มีมาแต่โบราณกาลแล้ว  เช่น ร่วมแรงกันทำการล่าสัตว์และจับปลา  กับการร่วมกันประกอบอาชีพในบางประการ  ส่วนในประเทศเราก็มีการลงแขกดำนาเกี่ยวข้าวและสร้างบ้านเรือนในชนบท เป็นต้น แต่การร่วมแรงร่วมงานกันดังกล่าวนี้เป็นการขั่วครั้งชั่วคราว  หาได้จัดตั้งขึ้นเป็นองค์การอันมีระเบียบแบบแผนไม่  แนวความคิดในเรื่องการสหกรณ์ในสมัยปัจจุบันนี้ ก็มีเค้ามาแต่ประเพณีในสมัยโบราณนั่นเอง แต่ได้ดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในสมัยนี้โดยจัดตั้งเป็นองค์การหรือสมาคมขึ้น
                องค์การหรือสมาคม  ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจธุระ ทางเศรษฐกิจ  เพื่อสามัญประโยชน์ของมวลสมาชิก อันมีนามว่า “สหกรณ์” นี้ เพิ่งเกิดขึ้นในราวตอน

หน้า 2

ปลายศตวรรษที่ 24 แห่งพุทธกาล  ฉะนั้นการสหกรณ์จึงเพิ่งมีอายุได้ราวร้อยปี  แต่วิธีการสหกรณ์นี้ได้เจริญแพร่หลายไป
ในนานาประเทศอย่างรวดเร็ว  ซี่งบัดนี้อาจกล่าวได้ว่า  การสหกรณ์ได้จัดอยู่ในประเทศต่าง ๆเกือบทั่วโลก
                สหกรณ์ที่จัดอยู่ในประเทศ ต่าง ๆ นั้นมีหลายรูปด้วยกัน  และประเทศหนึ่ง ๆ ต่างก็เลือกจัดสหกรณ์หนักไปในรูปใดรูปหนึ่ง  ตามภาวะความเป็นอยู่และความต้องการของประชาชนพลเมืองแห่งประเทศนั้น ๆ โดยเหตุนี้   จึงมักจะมีผู้เข้าใจคำว่า “สหกรณ์” โดยนัยะต่าง ๆ กัน  เช่นในประเทศเรานี้  ถ้าพูดถึงสหกรณ์ ประชาชนมักคิดไปว่า  หมายถึงสหกรณ์ประเภทหาทุน  ส่วนในประเทศอังกฤษ  ก็คิดไปถึงร้านสหกรณ์  ทั้งนี้ก็เพราะสหกรณ์รูปที่กล่าวนี้  เป็นรูปสำคัญที่จัดอยู่ในประเทศนั้น ๆ การที่เป็นเช่นนี้ ไม่ฉะเพาะแต่สามัญชน เท่านั้น  แม้นักเศรษฐศาสตร์  หรือนักสหกรณ์บางท่านก็วิเคราะห์ศัพท์คำว่า       ”สหกรณ์ “  โดยอนุโลมตาม

หน้า 3

รูปสหกรณ์ที่จัดแพร่หลายที่สุดในประเทศของตนหรือบางทีก็หนักไปในรูปที่ตนเห็นว่าสำคัญที่สุด  ได้มีผู้พยายามหาคำอธิบายที่สามารถคลุมไปถึงสหกรณ์ทุกรูปอยู่เหมือนกัน  เช่น มีนักสหกรณ์เรืองนามชาวไอริชผู้หนึ่ง ชื่อเซอร์  ฮอเรสปลังเกตต์  ได้ให้วิเคราะห์ศัพท์ ว่า “การสหกรณ์   คือการช่วยตัวเองซึ่งบังเกิดผลโดยการรวบรวมกันตัดตั้งขึ้นเป็นองค์การ”  เซอร์  ฮอเรส  พยายามอธิบายคำว่า  “สหกรณ์” อย่างสั้นที่สุด  กับทั้งให้มีความหมายกว้างด้วยแต่ก็กว้างเกินไปนยากที่จะเข้าใจว่า สหกรณ์คืออะไร  นายฮิวเบอต  คัลเวอต  ซึ่งเคยเป็นนายทะเบียนสหกรณ์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของประเทศอินเดีย ได้ให้วิเคราะห์ศัพท์  ว่า  “สหกรณ์เป็นวิธีจัดการรูปหนึ่ง  ซึ่งบุคคล หลายคนเข้ารวมกันโดยความสมัครของตนเอง  ในฐานะที่เป็นมนุษย์เท่านั้น  และโดยความมีสิทธิเสมอหน้ากันหมด  เพื่อบำรุงตัวเองให้เกิดความจำเริญในทางทรัพย์”

หน้า 4

วิเคราะห์ศัพท์นี้  ได้สรุปหลักสำคัญของสหกรณ์ไว้ 4 ประการ  คือ
            หลักที่ 1  สหกรณ์มุ่งถึงการรวมคนเป็นสำคัญ การสหกรณ์เกิดจากความอัตคัดเป็นมูลเหตุ  ความอัตคัตทำให้คนคิดหาช่องทางที่จะปลดเปลื้องความลำบากต่าง   ๆ  โดยรวมกันเข้าเป็นสมาคมสหกรณ์ เมื่อสมาชิกสหกรณ์เป็นเป็นผู้อัตคัตขัดสนทุนรอนฉะนี้แล้วเงินทุนย่อมจะเป็นหลักแห่งการรวมกันไม่ได้อยู่เอง  อีกนัยหนึ่งคนอัตคัตจะรวมกันเป็นหมู่คณะในฐานะคนมีทุนย่อมไม่ได้  เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีทางอื่น  นอกจากจะรวมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์เท่านั้น

            หลักที่ 2  เนื่องจากหลักที่ 1 กล่าวคือเมื่อบุคคลได้เข้ามารวมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์ธรรมดา เพื่อให้สำเร็จความประสงค์อย่างเดียวกันในหมู่ของตนก็ไม่ควรจะมีความผิดเพี้ยนกันในระหว่างสมาชิกในทางที่จะให้สำเร็จสามัญประสงค์  เหตุฉะนี้บุคคลที่รวมกันเป็นสหกรณ์จึงเสมอหน้ากันหมด  ไม่ว่าคนมั่งมีหรือ

หน้า 5

คนยากจน  ย่อมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและออกเสียงตามข้อบังคับซึ่งให้ความเสมอภาคทั่วหน้ากันทั้งสิ้น  หลักของการปกครองสหกรณ์นั้น  คือสมาชิกทุกคนมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนคนละเสียงเสียงเสมอกันในที่ประชุมใหญ่  กิจการทั้งปวงต้องอนุโลมตามความเห็นของคนข้างมาก  คณะกรรมการซึ่งทำหน้าที่แทน แทนสหกรณ์จะปฏิบัติการให้ผิดไปจากความประสงค์หรือนอกเหนืออำนาจซึ่งสหกรณ์ได้มอบหมายไว้ไม่ได้  หรือจะมอบหมายให้ผู้หนึ่งผู้ใดมาออกเสียงแทนตน  ก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน

                หลักที่ 3 ผู้ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกสหกรณ์ต้องเข้าโดยความเต็มใจของตนเอง  ไม่ใช่โดยการบังคับ  ผู้ที่เข้าเป็นสมาชิกโดยมิได้มีความสมัครใจอันแท้จริงนั้นคงจะไม่ได้รับประโยชน์จากสหกรณ์หรือเป็นประโยชน์แก่สหกรณ์อย่างจริงจัง  ฉะนั้นสหกรณ์จะรับแต่ผู้ที่สมัครด้วยความเต็มใจจริง ๆ ก่อนที่จะเข้า

หน้า 6

เป็นสมาชิก  ผู้สมัครจะต้องเข้าใจความมุ่งหมายและวิธีการสหกรณ์อย่างแจ่มแจ้งโดยตลอด  ต้องรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนว่ามีเพียงใด  และเมื่อเข้าเป็นสมาชิกแล้วจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนตามข้อบังคับเสมอไป
                หลักที่ 4 สหกรณ์ทำการเพื่อประโยชน์แก่สหกรณ์เองเท่านั้น  ทั้งนี้หมายถึงการทำเพื่อประโยชน์แก่บรรดาสมาชิกของสหกรณ์โดยฉะเพาะ  ไม่เผื่อแผ่ไปถึงบุคคลภายนอก   เป็นต้นว่า   เงินของสหกรณ์จะจ่ายให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกู้ไปไม่ได้  หลักข้อนี้อาจมีผู้แย้งว่า  การที่สหกรณ์ไม่คิดเผื่อแผ่ถึงคนคนอื่นเช่นนี้  เป็นการแสดงว่า  การสหกรณ์เป็นวิธีการซึ่งเห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว  เรื่องนี้อาจชี้แจงได้ว่า  สหกรณ์เปิดโอกาสรับบุคคลภายนอกเข้าเป็นสมาชิกอยู่เสมอ  ถ้าผู้สมัครมีลักษณะถูกต้อง ตามขัอบังคับก็อาจเข้ามาเป็นสมาชิกสหกรณ์ได้  อนึ่ง สหกรณ์ไม่ใช่กองการกุศลแต่เป็นองค์การซึ่งรวมบุคคลเพื่อช่วยเหลือซึ่งกัน

หน้า 7

และกัน  ผู้ที่มิได้เข้ามาเป็นส่วนช่วยสหกรณ์  จะให้สหกรณ์ช่วยข้างเดียวย่อมไม่ได้อยู่เอง
                นอกจากหลักสำคัญ  4  ประการ  ซึ่งสรุปได้จากวิเคราะห์ศัพท์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว  ยังมีหลักของสหกรณ์อีกบางประการซี่งเป็นสิ่งสำคัญมากเหมือนกันคือความซื่อสัตย์ของสมาชิก  และการช่วยกันช่วยตัวเอง
                ความสำเร็จของสหกรณ์นั้น ย่อมอาศัยความซื่อสัตย์และความภักดีของมวลสมาชิก  ถ้าสมาชิกผู้ใดขาดความซื่อสัตย์และความภักดีต่อสหกรณ์  ผู้นั้นจะไม่ได้รับประโยชน์จากสหกรณ์ยืนยาวไป  และจะนำมาซึ่งความเสียหายแก่สหกรณ์และเพื่อนสมาชิกเป็นอันมาก

หมายเหตุ   คำบางคำเช่นคำว่า  เฉพาะ  ในต้นฉบับ  จะเขียนว่า ฉะ-เพาะ  

หมายเลขบันทึก: 557989เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2014 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2017 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีปีใหม่อาจารย์ พีรพงศ์

ขอบคุณที่นำหลักการสหกรณ์ของคนต้นคิดมาให้เรียนรู้กัน

สุรัสมิ์ ประเสริฐธรรม

.ในปี ๒๔๘๒ นี้ ประเทศสยามได้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทย มีการแย่งชิงอำนาจในทางการเมือง สหกรณ์ เป็นที่รวมคนพลเมืองเป็นสมาชิก(ส้องสุมคน)ที่ยึดหลักประชาธิปไตยฉบับของแท้ เป็นฐานเสียงของฝ่ายนิยมศักดินา...รัฐบาล หลวงพิบูลย์สงคราม ยศทหารพันตรี ศักดินาน้อยกว่า พวกรัฐบาล สาวก พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา รัฐบาลทหาร ป.พิบูลย์ฯ ต้องการทำหมัน สหกรณ์ ....ต่อมา นายกรัฐมนตรี ควบเป็น รัฐมนตรี กระทรวงสหกรณ์ด้วยเพื่อหวัง ทำแท้ง สหกรณ์คุณภาพ...ตัดแขนขวาตัดขาซ้าย สหกรณ์ ให้เป็นคนพิการ(หร่อย)ไม่ให้เกี่ยวยึดกับเอื้ออาทร สัมพันธ์ ตัดขาดกับ สังคมชุมชนท้องถิ่น....ต่อมา แก้ไขยกเลิกพ.ร.บ. สหกรณ์๒๔๗๗ ที่ ให้สหกรณ์หักกำไรสุทธิ๕ % สมทบ ให้ องค์กรปกครองท้องถิ่นเป้น ทุนสาธารณะ เพราะกลัง ประธานสหกรณ์ มีฐานเสียง เลือกตั้งแพ้พวกสหกรณ์...สหกรณ์ จึงมี กระบวนทัศฯ์ เห็นแก่ตัว ตาม นิสัยถาวร(สันดาน)นักการเมืองเลว ตั้งแต่สมัย เผด็จการครองเมือง โฆษณา ชวนเชื่ือใช้ประชาธิปไตย เป็นเครื่องมือ ว่าประชาชนมีอำนาจ แล้วมอบอำนาจให้ นักการเมือง มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มาบริหาร กำหนด นโยบาย อย่างไรก็ได้ เพราะมีอำนาจของประชาฃนมอบให้มาบริหาร....สหกรณ์องค์กร ประชาธิปไตย พันธ์แท้ จะครบรอบ ๑๐๐ ปี เป็นโอกาสดีที่จะฟื้นฟู DNA ประชาธิปไตยพันธ์แท้ ให้สมาชิกได้ประโยชน์ทางความเสมอภาค ทางเศรษฐกิจ ด้วยพลังประชาธิปไตยพันธ์แท้ ในโอกาสนี้....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท