ฮักนะเชียงยืน 11


หลักกิโลเเรก..

ฟันเฟืองตัวสุดท้าย (เเต่ไม่ท้ายสุด)

         เดินมา เดินมา เดินไป เดินอยู่ในทางที่เเสนยาวไกล หลายครั้งก็เหมือนอยู่ในเขาวงกตที่ยากจะหาทางออก หลายครั้งก็เหมือนเดินอยู่ในที่โล่งเเจ้งที่มีเเต่เเสงสว่าง เเล้วอีกในหลายๆครั้งก็เหมือนเดินหลงทางกันให้วุ่นวายตลอดเส้นทาง เดินมาจนถึงหลักกิโลที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ตั้งเเต่การระดมสมอง วางเเผนงาน เดินมาถึงฝั่งเเรกของเส้นทางในฮักนะเชียงยืนรุ่นที่ ๑ "ค่ายกิจกรรมปลูกรักษ์บ้านเกิด" ถือกำเนิดขึ้นอย่างมีความผสมสานวิธีการที่จะสื่อสารกับชุมชน จากกิจกรรมเเรกที่ได้ทำ สิ่งที่ได้ศึกษาเเรกๆที่ได้ศึกษา รวบรวมมาถ่ายทอดให้ชุมชน โดยมีความหวังว่าชุมชนจะเข้าใจมากยิ่งขึ้นในสิ่งที่ฮักนะเชียงยืนได้ทำมาตลอดระยะเวลาหนึ่งปีเต็ม ออกมาเป็นรูปแบบของกิจกรรมที่มีทั้งการเเสดงละคร  กิจกรรมฐาน การเดินรณรงค์ เวทีเสวนา  นิทรรศการ เเละเอกสารเเจ้งผลการตรวจดินที่ฮักนะเชียงยืนได้ตรวจเเก่ชาวบ้านในกลุ่มตัวอย่างในชุมชน เป็นค่ายสรุปโครงการลดมลพิษฟื้นชีวิตดิน ณ โรงเรียนบ้านเเบกสมบูรณ์วิทย์ ในกิจกรรมนี้มีน้องฮักนะเชียงยืนรุ่นที่ ๒ เข้ามาช่วย มีพี่กลุ่มเครือข่ายเข้ามาช่วย อีกทางหนึ่งเพื่อให้งานออกมาได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด ในฮักนะเชียงยืนปีเเรกที่จัดทำค่ายสรุปโครงการนี้มีสิ่งที่ได้เรียนรู้สำคัญ คือ ชาวบ้านไม่สามารถเลิกได้ เเต่ชาวบ้านสามารถลดได้ ด้วยการลดนี้เองจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำให้บรรลุเป้าหมายต่อไปในฮักนะเชียงยืนรุ่นที่ ๒ ความฝันของรุ่นที่ ๑ ซึ่งถือว่ายังไม่บรรลุเป้าหมาย คือ ตลาดเขียว ซึ่งคาดหวังว่าฮักนะเชียงยืนรุ่นต่อไปจะเข้ามาพัฒนางานต่อไป  

          กิจกรรมค่ายปลูกรักษ์บ้านเกิดเป็นการคืนข้อมูลสู่ชุมชนโดยที่เราศึกษามาเเล้ว  เราดำเนินมาเเล้ว เราต้องมีการสรุปผล มีการคืนข้อมูลสู่ชุมชนในสิ่งที่ได้ศึกษา โดยปลูกรักษ์บ้านเกิดม่รายละเอียดกิจกรรมดังนี้

         การเดินรณรงค์ เป็นการเชิญชวนประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมงาน ให้เข้ามาดูงานกิจกรรมเเห่งนี้มากยิ่งขึ้นโดยกลุ่มเด็กเยาวชนที่เป็นเครือข่ายของฮักนะเชียงยืน การเดินรณรงค์ในครั้งนี้เป็นการเดินป้ายให้ชาวบ้านได้มองเห็นว่าชุมชนของเรานั้นเป็นอย่างไร ตลอดจนการเชิญชวนรณรงค์ให้ชาวบ้านมาเข้าร่วมกิจกรรม ณ ครั้งนั้นกลุ่มเด็กๆตรงเวลาเป็นอย่างยิ่ง พี่ๆนัดเวลาเช้าก็มาเช้าเหมือนมีนาฬิกาอยู่ในหัว "เเววตาของเเต่ละคนนั้น อ่อนโยนเหมือนต้นกล้า" ที่พร้อมจะเจริญเติบโต

         การเเสดงละคร เป็นการละครที่สะท้อนปัญหาให้ชาวบ้านได้มองตนเอง มองชุมชน มองลูกหลาน ในผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆ ชื่อละครว่า เบิกฟ้าเบิกอรุณ ซึ่งเบิกฟ้านี้เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชุมชนที่เป็นต้นกำเนิด จนกลายมาเป็นวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวจังหวักมหาสารคาม คือ บุญเบิกฟ้า ส่วนเบิกอรุณ เปรียบเหมือนกับเช้าของวันใหม่ที่สดใส ฟ้าใหม่ที่สดชื่น งดงาม เบิกฟ้าเบิกอรุณจึงเป็นการละครที่สะท้อนวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวบ้านในชุมชนในสังคมปัจจุบันที่ทำเกษตรเเบบพันธะสัญญา ที่ได้เรียนรู้กระบวนการละครเมื่อครั้งที่พวกพี่ๆกองทุนไทยมาถ่ายทอด "เสียงหัวเราะ" ของชาวบ้านในชุมชนเเสดงถึงว่าชาวบ้านมีความสนใจฟังเเละสนใจชม ถ้าเกิดว่าเด็กในชุมชนนั้นมาเเสดงเองอาจทำให้ชาวบ้านออกมาชมเเละสนใจมากยิ่งขึ้น

        เวทีเสวนา เป็นเวทีของชาวบ้านที่เเลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเเละกันโดยมีผู้ใหญ่บ้าน มีชาวบ้าน มีครู  มีรพ.สต. เข้ามาร่วมการพูดคุยกัน เป็นวงเปิดใจเปิดความคิด เเลกเปลี่ยนซึ่งกันเเละกัน เวทีนี้ถือเป็นเวทีเเรกที่ฮักนะเชียงยืนได้เรียนรู้ว่า เวทีเสาวนานั้นจะต้องมีคนคอยถามเเละคนคอยต้อน ซึ่งต้องมีทักษะไหวพริบมากพอสมควร จึงจะสามารถประคองเวทีนี้ได้  ชาวบ้านที่มาส่วนใหญ่เป็นคนเเก่คนเฒ่า  ที่เป็นกลุ่มที่ไม่ได้ทำเเล้ว จึงถือว่าไม่ได้ตรงตามเป้าหมายที่คาดไว้  ชาวบ้านเข้ามาร่วมถือว่ายังน้อยอยู่ เป้าหมายที่ได้คาดหวังไว้นั้น "ไม่ตรงตามเป้าสักเท่าไร" จึงเป็นบ่อเกิดการเรียนรู้ที่สำคัญๆ คือ การประชาสัมพันธ์ควรให้เข้าถึงมากนี้นี้ การให้ผู้ใหญ่บ้านประชาสัมพันธ์นั้นไม่เพียงพอ จะต้องลงไปที่เเต่ละครัวเรือนย่อย เพื่อเน้นย้ำอีกครั้ง

        กิจกรรมฐาน เป้นกิจกรรมที่นำเด็กกลุ่มเยาวชน มาเรียนรู้ร่วมกันผ่านกิจกรรม ในช่วงเวลาของผู้ใหญ่ โดยให้เด็กเเยกออกมาอีกแห่งเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน โดยเเต่ละฐานนั้นมีฐาน ดิน  ฐานสารเคมี  ผลตรวจเลือด - ผลตรวจดิน ฯ ซึ่งมีประมาณ 3 - 4 ฐาน เป็นฐานที่ให้เด็กสนุกสนานเป็นส่วนใหญ่สอดเเทรกไปด้วยความรู้อ้อมๆ ตามเเบบเด็กๆ

        นิทรรศการ เเละเอกสารเเจ้งผลการตรวจดิน นั้นอยู่ในรูปแบบของบอร์ดที่ให้ความรู้ในเรื่องของดิน สารเคมี ผลกระทบของสารเคมี สิ่งมีชีวิตในดิน เเล้วยังมีการคืนข้อมูลจากการเก็บตัวอย่างดินของชาวบ้านบางส่วนมาตรวจเพื่อถ่ายทอดให้กับชาวบ้าน โดยมีกลุ่มเด็กฮักนะเชียงยืนเข้าไปอธิบายเป็นรายบุคคลกับชาวบ้านที่มาเข้าร่วมเพื่อที่จะได้เข้าใจเเละเข้าถึงมากยิ่งขึ้น สิ่งที่เป็นข้อสังเกตุอีกสิ่งหนึ่ง คือ ชาวบ้านหลายๆคนเข้ามาเอาผลตรวจดินของตนเองเเล้วก็เดินออกไปจึงเป็นมุมสะท้อนอีกมุมหนึ่งว่า ชาวบ้านยังมีความสนใจในดินของตนอยู่ถึงเเม้ว่าจะไม่มีความสนใจในกิจกรรมก็ตาม เมื่อมีความสนใจในดินของตนอยู่เเสดงว่าชาวบ้านก็อยากรู้เช่นเดียวกันว่าดินของตนเองเป็นอย่างไร เมื่อมีความสนใจเเล้วนั้นในอีกมุมหนึ่งเเสดงว่าชาวบ้านรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นจึงมาติดตาม หรือชาวบ้านยังรักษ์ดินตนเองอยู่  หรืออีกมุมหนึ่งชาวบ้านอาจมาดูว่าเกิดอะไรขึ้นเเล้วจะนำสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไปปรับปรุงดิน ฯ 

        ในช่วงเวลาของกิจกรรมมีคนอาสาต่างๆเข้ามาช่วยทำให้งานสามารถเคลื่อนไปได้อย่างยืดหยุ่น ทุกๆคนมีบทบาทมีหน้าที่ เเต่ไม่ยึดติดกับบทบาทหน้าที่ของตนเองจนเกินไป "รอยยิ้ม" ที่ได้เห็นจากพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ เป็นรอยยิ้ม "ที่วิเศษที่สุด" เป็นรอยยิ้มเเห่งนักพัฒนา เเววตาของน้องทำให้พี่มีเเรงบันดาลใจต่อไป  ๑ ปีเต็มที่ได้เคลื่อนฟันเฟืองมา ระยะเวลาไม่ใช่เครื่องกำหนดเพียงอย่างเดียวยังมีสิ่งหนึ่งที่กำหนด คือ ระยะทางเเห่งการเดินทาง  การเดินทางที่ถึงหลักกิโลนี้เป็นเพียงหลักกิโลเเรกที่ถึง เป็นเเพียงประตูเเรกที่ถึง เเต่งานอาสาต้องมีประตูถัดไป มีหลักกิโลต่อไป อย่างไม่มีวันสิ้นสุด...

 

 

หมายเลขบันทึก: 557929เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2014 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มกราคม 2014 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ยินดีด้วยกับชีวิตอาสาที่มีความสุขตลอดปีใหม่ครับผม

ขอคุณครับอาจารย์... ขอให้มีความสุขครับ... เงินทองไหลมาไม่ขาดสายครับ..

ทำงานเก่งจังนะคะน้องชาย

สวัสดีปีใหม่จ้ะน้องธีระวุฒิ ขอบใจมาก ๆ ที่แวะไปให้กำลังใจพี่มะเดื่อ ขอให้น้องชายสุขกาย สบายใจ มี

ความสุขมาก ๆ ตลอดปี ตลอดไปนะจ๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท