ความอ้วนกับความเสี่ยงกระดูกหัก


1-ความอ้วนและความเสี่ยงของกระดูกหัก

ที่ผ่านมา พูดกันแค่หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ผอมบางหรือดัชนีมวลกายต่ำ มีความเสี่ยงสูงกับการหักของกระดูก และส่วนใหญ่มีรายงานว่า ความอ้วนมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความแข็งแรงของกระดูก

ปัจจุบัน มีการศีกษากันมากขึ้น เกี่ยวกับบทบาทของเซลล์ไขมัน ที่มีการสะสมมากเกินไปในร่างกาย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 kg/m2 ว่ามีผลเชิงลบกับความแข็งแรงของกระดูกและมีความเสี่ยงกับการหักของกระดูกมากขึ้น แม้แต่ในกลุ่มเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต ที่พบว่าเซลล์ไขมันอาจมีผลกับการหลั่งสารบางชนิดที่ไปลดฮอร์โมนเจริญเติบโตด้วย ซึ่งทำให้เพิ่มโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคต

นอกจากนั้น มีบทความวิชาการที่รายงานเกี่ยวกับสถิติการเกิดกระดูกหักของหญิงวัยหมดประจำเดือน ว่า ประมาณเกีอบ 1 ใน 4 ของหญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีกระดูกหัก มีภาวะอ้วน ตำแหน่งที่เกิดการหักของกระดูกที่พบมาก คือบริเวณ กระดูกข้อเท้า และกระดูกต้นขา (ankle and upper leg fractures) และยังมีรายงานว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของหญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี มักมีกระดูกหักอย่างน้อย 1 ครั้ง

หมายเลขบันทึก: 557375เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2013 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ธันวาคม 2013 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

ดีนะเนี่ยไม่อ้วน 555

อีกหนึ่งข้อควรระวังสำหรับคนอ้วน...ขอบคุณค่ะ

-สวัสดีครับ..

-ปีหน้าตั้งใจว่าจะ"ลด"55

-ขอบคุณครับ

อ้วนหรือผอมเกินไป ไม่ดีต่อสุขภาพทั้งนั้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท