อนุทินล่าสุด


อ.1
เขียนเมื่อ

Relationship between visceral fat and bmd.pdfNegative association between trunk fat.pdf

 

ความอ้วน (Obesity) และโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นปัญหาสุขภาพสำคัญโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและเพศหญิง แต่เดิมมีรายงานว่า ภาวะอ้วนเป็นปัจจัยป้องกันโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงวัยหมดประจำเดือน (postmenopausal obese women)Mechanical loading จากน้ำหนักตัวที่มีมากของคนอ้วนจะช่วยกระตุ้นกระบวนการสร้างกระดูก (bone formation) ต่อมาเริ่มมีรายงานว่า ผู้ที่มีระดับของ fat mass สูงเกินไป อาจจะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกเปราะ เนื้อเยื่อไขมันทำหน้าที่เสมือนเป็นต่อมไร้ท่อ หลั่งสารกลุ่ม adipokines ซึ่งมีบทบาทในกระบวนการอักเสบ อาจไปรบกวนสมดุลของเซลล์กระดูก (bone cells homeostasis) และส่งเสริมให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้

จากรายงานวิจัย พบว่า ภาวะอ้วนลงพุง (trunk fat) ในผู้หญิง มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความหนาแน่นกระดูก (bone mineral density) และ เช่นกันจากการศึกษาในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต พบว่า ภาวะอ้วนลงพุง (abdominal obesity) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความหนาแน่นกระดูก และเด้กที่อ้วนลงพุงมีแนวโน้มที่จะมีภาวะกระดูกพรุนได้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท