อาสาสมัครช่วยน้องเรียนสนุก


ใช้เวลาปิดภาคฤดูร้อนของนักเรียน ที่เพิ่งเรียนจบชั้นใดชั้นหนึ่ง มาร่วมกันออกแบบ และทดลองวิธีจัดการเรียนรู้ที่ “ทั้งสนุกสุดขีดและได้สาระสุดๆ” แก่รุ่นน้องในชั้นเดียวกัน (คือชั้นที่ตนเพิ่งผ่านมาหมาดๆ) โดยมีครูเป็นหัวหน้าโครงการ

อาสาสมัครช่วยน้องเรียนสนุก

เด็กรุ่นใหม่ มองการเรียนเป็น ๒ ขั้ว คือ น่าเบื่อ หรือ เรียนสนุก   ที่เด็กต้องการคือ เรียนสนุก

เรียนสนุกมี ๒ ขั้วคือ สนุกแบบไร้สาระ กับ สนุกอย่างได้สาระ   ได้เรียนครบ ๘ หน่วยสาระ และได้งอกงามทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

ครูมีข้อจำกัด (มาก!!!) ในการจัดการเรียนรู้ให้สนุกด้วย ได้สาระด้วย     เพราะครูกับศิษย์เป็นมนุษย์คนละเผ่าพันธุ์ (ในทางสมอง)    เพราะเกิดมาคนละยุค   ครุเป็นมนุษย์ analog   แต่ศิษย์เป็นมนุษย์ digital

หนังสือทางการศึกษาสมัยใหม่จึงแนะนำให้ใช้พลังของศิษย์นั่นเอง เป็นแรงขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนรู้/การศึกษา

วิธีใช้พลังสร้างสรรค์ของศิษย์เพื่อเปลี่ยนโฉมการศึกษาไทย มีได้เป็นร้อยเป็นพันแบบ    ผมขอเสนอ ๑ แบบ    คือแบบ “จิตอาสาของพี่”  

หลักการคือ ใช้เวลาปิดภาคฤดูร้อนของนักเรียน ที่เพิ่งเรียนจบชั้นใดชั้นหนึ่ง มาร่วมกันออกแบบ และทดลองวิธีจัดการเรียนรู้ที่ “ทั้งสนุกสุดขีดและได้สาระสุดๆ” แก่รุ่นน้องในชั้นเดียวกัน (คือชั้นที่ตนเพิ่งผ่านมาหมาดๆ)   โดยมีครูเป็นหัวหน้าโครงการ

ครูเป็นหัวหน้าผู้เสนอโครงการ   รับสมัครนักเรียนจากชั้นเรียนของตน และจากชั้นเรียนอื่นในโรงเรียนเดียวกัน และจากโรงเรียนใกล้เคียงในรัศมีไม่เกิน ๓๐ กิโลเมตร    จำนวนนักเรียนระะหว่าง ๒๐ - ๓๐ คน    โดยต้องมาจากโรงเรียนอื่นไม่ต่ำกว่าครึ่ง    มีเงินสนับสนุนโครงการละ ๑๐,๐๐๐ บาท และมีค่าใช้จ่ายสนับสนุนโครงการที่ผลงานเข้าเกณฑ์คุณภาพ   ให้ไปนำเสนอใน ตลาดนัดความรู้พี่ช่วยน้องเรียนสนุก” ซึ่งจัดที่เขาใหญ่ร่วมกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  โดยมีกิจกรรมเดินป่าแถมให้ ๑ วัน    นอกเหนือจากตลาดนัดความรู้ ๓ วัน   รวมเป็น ๔ วัน    โดยจะชวนสถานีโทรทัศน์ ไทย พีบีเอส เข้าร่วม

โครงการต้องดำเนินการไม่ต่ำกว่า ๖๐ วัน และไม่เกิน ๗๕ วัน 

รับสมัครไม่เกิน ๒๐ ทีม

เป้าหมายของโครงการมีหลายชั้น

  1. เพื่อใช้พลังสร้างสรรค์ของนักเรียนในการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้
  2. เพื่อให้ครูพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่สนุกและศิษย์ได้เรียนรู้ครบตามเป้าหมาย
  3. เพื่อสร้างจิตอาสา แก่นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และทีมงานทั้งหมด
  4. เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้แบบรู้จริง (mastery learning)
  5. เพื่อสร้างเครือข่ายปฏิรูปการเรียนรู้
  6. อื่นๆ

คาดว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑ - ๒ ล้านบาท ต่อปี

ควรมีคณะกรรมการชี้ทิศทาง ประชุม ๓ ครั้งต่อปี    และไปร่วมตลาดนัดด้วย    คณะกรรมการควรมีผู้ปกครองนักเรียน และ co-educator อื่นๆ ด้วย

ผลงานที่เข้าเกณฑ์ดีเด่น   จะได้รับการถ่ายทำวีดิทัศน์ ออกรายการทีวี ไทย พีบีเอส  และนำลง YouTube  

ทั้งหมดข้างบนนั้น เป็นจินตนาการ หรือฝันเฟื่อง    ใครจะเอาไปปรับใช้ไม่หวงห้าม   

วิจารณ์ พานิช

๑๕ ธ.ค. ๕๖

 

หมายเลขบันทึก: 556469เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2013 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2013 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท