ระบอบทักษิณ ผิดอะไร ....


การเรียนรู้การเมืองภาคสนาม (วันนี้สนามหน้าจอคอมฯ) ทำให้ผมรู้เรื่องการเมืองเพิ่มขึ้นถึงขั้น "มาก" จึงอยากจะบันทึกบอกต่อครับ คนพูดวันนี้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยหลายท่าน จะเป็นใครไม่จำเป็นต้องเอ่ยชื่อ เพราะวิธีที่ควรใช้ในการฟัง คือ "การฟังเอาเรื่อง ฟังเอาความ" จะสนับสนุนหรือต่อต้านอย่างไรค่อยตัดสินใจหลังจากพิจารณา....

ก่อนอาจบันทึกนี้่ต่อ หากใครยังไม่รู้จักระบอบทักษิณ หรือไม่แน่ใจว่าระบอบทักษิณมีจริงหรือไม่ ให้อ่านบันทึกเหล่านี้ครับ "ระบบทักษิณเป็นอย่างไร" "ขยายความระบอบทักษิณ"  "ระบอบทักษิณจาก มุมมอง ดร.ไสว บญมา" และ "ระบบสมจร" จากอาจารย์ธีรยุทธ์ บุญมี ที่เสนอวันนี้ ที่นี่

ระบอบทักษิณผิดอะไร?  คำตอบสั้นๆ คือ ผิดรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ผิดหยิบย่อย แต่ระบอบทักษิณผิด "หลักการ" แห่งรัฐธรรมนูญไทย ดังจะขออภิปราย ดังนี้ 

๑) ผิดหลักสมานฉัน
    หลักการสมานฉันเป็นหลักแห่งความรักกันและกัน หลักแห่งความสามัคคี คนไทยไม่ว่าจะอยู่ภาคไหนๆ ก็รักและให้อภัยกัน คนไทยรักกันเพราะมีศูนย์รวมใจคือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์  ระบอบทักษิณบริหารงานแบบทุนนิยมสุดโต่ง ส่งเสริมลัทธิธรรมกายที่บิดเบือนหลักคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และโดยเฉพาะคนในระบอบทักษิณหลายคนไม่ให้ความเคารพรักในหลวง (ผู้สงสัยสืบค้นดูหลักฐานได้ง่ายใน youtube) ซึ่งเป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งชาติ... เพียง ๑๐ ปี ที่เริ่มมีระบอบทักษิณ คนไทยแบ่งออกเป็นฝักฝ่าย เป็นสีเป็นข้าง มีการจาบจ้วงสถาบนกษัตริย์อย่างโจ่งแจ้ง....หากปล่อยไว้ต่อไป ประเทศไทยจะแตกเป็นเสี่ยงๆ....

๒) ผิดหลักเสมอภาค
    ระบอบทักษิณทำลายความเสมอภาคทางการเมือง ใช้การเมืองรับใช้ทุน (ธุรกิจการเมือง) ใช้ทุน (เงิน) รวบรวมนักการเมืองเข้ามาอยู่ในพรรคและใช้มติพรรคและเสียงข้างมากที่มีอยู่ออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อเครือข่ายทุนของตระกูลตนเองและพวกพ้อง ความจริงเสียงข้างมากควรเป็นเสถียรภาพทางการเมือง แต่ระบอบทักษิณกลับใช้เสียงข้างมากเป็น "เผด็จการรัฐสภา"
    ระบอบทักษิณทำลายความเสมอภาคทางกฏหมาย การใช้เผด็จการรัฐสภาออกกฎหมายที่ไม่เป็นไปเพื่อความเสมอภาค ตัวอย่างที่เด่นชัดคือ เจตนาในการเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่คนโกง  โดยไม่ฟังเหตุฟังผลซึ่งเป็นหลักสำคัญของกฎหมาย เมื่อการดำเนินงานต่างๆ ของกรรมการธิการพิจารณางบประมาณหรือกฎหมายต่างๆ ถูกตั้งธงหรือสั่งการด้วยคนๆ เดียว จึงไม่รับฟังเสียงข้างน้อย ไม่ฟังเหตุผลของเสียงส่วนน้อย
   ระบอบทักษิณทำลาย "การฟังเอาความ" "ฟังเอาเรื่อง" "ฟังเอาเหตุและผล" ทำลายการอธิปรายแบบตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์ ดิสเครดิตและทำลายความน่าเชื่อถือของคนพูดโดยไม่ได้คำนึงว่าผู้พูดๆ เรื่องอะไร ด้วยเหตุและผลอะไรอย่างไร  จึงเป็นระบอบที่ตัดสินคน ส่งเสริมการดูถูกคน ทำให้ประชาชนแบ่งชนชั้นแและขัดแย้งกันมากขึ้นๆ ....  เป็นแบบนี้ต่อไปจะเกิดระบบไพร่ทาสกับราษฎรไทย
  นอกจากนี้ ระบอบทักษิณยังบริหารจัดการงบประมาณแผ่นดินแบบเผื่อเลือก หากเลือกพรรคของตนเองจะได้รับการจัดสรรฯ เป็นพิเศษ มีการจัดตั้งหมู่บ้านเสื้อสีโดยมีผลประโยชน์ล่อใจ หากจังหวัดใดไม่ได้เลือก ให้รอการจัดสรรไว้ก่อน (..ค้นหาหลักฐานได้ไม่ยาก จากบทสัมภาษณ์ของรองนายก ป.)

๓) ผิดหลักสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
    ระบอบทักษิณทำลายระบบการแข่งขันอย่างเป็นธรรม เพียงไม่กี่ปีที่ระบอบนี้มาปกครอง ระดับความโปร่งใสของประเทศไทยลดลง ๑๘ อันดับ (สืบค้นทางกูเกิลง่ายมาก) บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการรักษาความเสมอภาคของประชาชน การรับบุคลากรเข้ารับราชการหรือทำงานในหน่วยงานของรัฐเกิดระบบอุปถัมภ์ เส้นสาย และสินบนอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน (ตัวอย่างการแต่งตั้ง ผบ.ชน. ที่เป็นข่าวดัง)
   ระบบทักษิณใช้เงินในการสร้างสื่อและซื้อสื่อ  กีดกันสิทธิในการรับข้อมูลข่าวสารของประชาชนอย่างรอบด้าน (ตัวอย่างที่ชัดเจนคือการถอดถอนรายการคนค้นคนที่รณรงค์ต่อต้านเขื่อนแม่วงศ์ออกจากผังช่อง ๙ อสมท.)  ใช้ทุนเข้าครอบครองสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ  เชิญเฉพาะนักวิชาการที่สนับสนุนตนเองให้แสดงความคิดเห็นโน้มน้าวประชาชน
   ระบอบทักษิณใช้อำนาจไม่เสมอภาคกับประชาชน เช่น กรณีการไม่ดูแลเหตุการณ์ขัดแย้งรุนแรงที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง จนอธิการ ม.รามฯ ต้องขอความช่วยเหลือจากทหาร (ส่วนกรณีการวางเรือใบขัดขวางไม่ให้ประชาชนเดินทางมาร่วมชุมชนนั้น ผมยังไม่ได้เห็นหลักฐาน)  อีกตัวอย่างที่สำคัญที่ทั่วโลกกล่าวถึงคือกรณี "ฆ่าตัดตอน" กว่า ๒๕๐๐ คน เมื่อครั้งดำเนินนโยบายปราบปรามยาเสพติด นอกจากนี้ยังมีข้อกล่าวหากรณี กรือแซะ ตากใบ

๔) ผิดหลักคุณธรรม
   ระบอบทักษิณโกงกินบ้านเมืองอย่างเป็นระบบ มีทั้งที่ศาลตัดสินแล้ว และส่งศาลแล้วหลายคดี แต่ยังไม่ได้ดำเนินคดีเนื่องจากการหนีออกนอกประเทศ ระบบยุติธรรมไทยไม่เอื้อต่อการพิจารณาโทษ ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดคือ ความเสียหายจากโครงการจำนำข้าวมากกว่าแสนล้านบาท ในระบอบทักษิณเงินเป็นใหญ่ เงินคือทุน ทุนนิยมคือวัตถุนิยม ตัวอย่างที่เห็นชัดคือโครงการ "หวยบนดิน" ที่ผลการวิจัยชี้ว่า อายุเฉลี่ยของคนเล่นการพนันชนิดนี้ต่ำลงและมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก
   ภายใน ๑๐ ปี ระดับคุณธรรม จริยธรรม ของประชาชนคนไทยลดลงอย่างน่าตกใจ ผลสำรวจชี้ว่า ประชาชนยอมรับค่านิยมเรื่องการโกงบ้างขอให้แบ่งก็ไม่เป็นไร...

๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕

จากการติดตามข่าวเรื่องการเมืองอย่างใกล้ชิด ผมมีความเห็นว่า คนกว่า ๕ ล้านค้น ที่ออกมาบนถนน น่าจะเป็นปริมาณที่มากพอจะทำให้ใครก็ตามที่เคยเชื่อมั่นว่าทักษิณเป็นคนดี หรือยังยืนยันว่าไม่มีระบอบทักษิณ ได้เริ่มค้นคว้าศึกษาข้อมูลและมาลองเรียนรู้การเมืองภาคสนามแบบผมบ้าง

สุดท้ายนี้ ผมเสนอว่า ครูที่สอนวิชาสังคมศึกษาทุกระดับน่าจะ ใช้โอกาสทองนี้ในการออกแบบการเรียนการสอนจากสถานการณ์จริงๆ อาจเป็น inquiry-based, project-based, หรือ problem-based อะไรก็ได้ คำถามสำคัญคือ อะไรถูก อะไรผิด อะไรควร อะไรไม่ควร ทั้งหมดนี้เพราะเหตุผลใด ....การอภิปรายด้วยเหตุและผลของเด็กๆ จะทำให้พวกเขาพัฒนากระบวนการคิดอย่างรวดเร็ว และอย่างสนุกสนานเพราะเหตุการณ์กำลังสดใหม่และส่งผลต่อประเทศไทยโดยตรง

คำสำคัญ (Tags): #ระบอบทักษิณ
หมายเลขบันทึก: 555993เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2013 02:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2013 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

...“วิจารณ์”….ควรรู้….…....ลึกซึ้งยิ่ง
ในประเด็น……ในสิ่ง…...….ถกถ้อยแถลง
“หน้าที่”………ที่ตน…….....ต้องสำแดง
ปราศจาก….เคลือบแคลง….พวกพ้องใคร

…มั่นคง……เที่ยงตรง………อุเบกขา
ธรรมา………ธงหลัก……….ปักสูงไสว
เล่ห์ลิ้น…….พลิ้วพลิก……..หลีกห่างไกล
ทุกฟาก…….ฝั่งใด…………ยินดีฟัง

สรุปผิดทุกเรื่อง ตลอดเวลา ๑๒ ปี ที่สำคัญพยายามปลูกฝังให้เยาวชนคิดไม่เป็น 5 5 5 5

ขอบคุณ คุณ share ที่ช่วยเตือนสติครับ ... หลังจากอ่านกลอนของท่านแล้ว ... ผมมีสติรู้ทันทีว่า ความรู้สึกไม่ดีเกิดขึ้น.... แต่ไม่ได้ความรู้อะไรเพิ่มขึ้นมากนัก..... ตรงไหนผิด ตรงไหนถูกอย่างไร โปรดให้เหตุและผลด้วยครับ ....

อย่ายอมเป็นทาส และ นาย

พอฟังวรรณกรรมที่สุนทรียะ ก็เผลอไปได้นะพวกครูบาอาจารย์

การมีความรู้ ความจริงพกพาติดสมองไว้เสมอนั่นแหละ ที่จะแข็งแรงต่อทุกๆสิ่ง แม้แต่พญามารที่เราท่านยังมองไม่เห็น

แค่เขามากล่าวกลอน กล่าวโคลงนิดหน่อย ยกให้เขาพิพากษาตนเองได้ ว่า ถูกหรือผิด

ปท้จริงแล้ว มนุษย์ไม่มีสิทธิ์อันชอบธรรมสักคนเดียว ที่ยะพิพากษากันว่าใครถูก ใครผิด พระเจ้าที่สอบสวนบัญชีพระพุทธเจ้าเรา พ่อแม่เรา และเรา เท่านั้นที่มีสิทธิ์ มีขันติธรรม รอพบผู้ยุติธรรมในวันสอบสวน อย่าเร่งรีบยกสภาวะเป็นทาส เป็นบ่าว ให้กับเพื่อนมนุษย์ยกให้เขาพิพากษาเรา แต่การตักเตือนเท่านั้น ที่มนุษย์มีหน้าที่ มีสัญญาขันธ์ว่าจะตักเตือนกัน กล่าวเพียวว่า "หวาดเสียว พ่อแม่ท่านจะถูกตไหนิ เอาผิดจากพระเจ้า ปละ สาธารณะ ร่วมโลก ก็พอ อย่าถามว่า เราผิดตรงไหน มิเช่นนั้น ท่านอาจถูกหลอกทานรางวัลความพึงใจ

สุจริตเถิดว่า สารที่มีแต่ความจริง เกิดขึ้นแล้ว การลบทำลาย มิใช่หนทางแห่งปัญญาญาณ และ กุศลธรรมแน่นอน


*** กรณี ส.ป.ก.4-01 (พวกที่ว่า"เกลียดการทุจริต" ตามเรื่องนี้บ้างไหมครับ)

สมัยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สุเทพถูกพรรคฝ่ายค้านคือ พรรคชาติไทย ที่มีบรรหาร ศิลปอาชาเป็นหัวหน้าพรรค เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ กรณีเกิดการทุจริตในการแจกที่ดินทำกินแก่เกษตรกร หรือที่เรียกกันว่า ส.ป.ก.4-01 โดยในครั้งนั้นพรรคชาติไทยมี เนวิน ชิดชอบ เป็นกำลังสำคัญนำอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งส่งผลให้ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ต้องตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะมีการลงมติ และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2538

*** การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 (พวกที่ว่า"รักความยุติธรรม" ตามเรื่องนี้บ้างไหมครับ)

นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดเผยว่าตั้งแต่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิงดเที่ยวบิน ตั้งแต่เวลา 22.00-18.00 น. มีเที่ยวบินได้รับผลกระทบ 402 เที่ยวบิน และจากที่ไม่สามารถให้บริการเที่ยวบินขึ้น-ลงได้มาตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนนั้น ได้ประเมินความเสียหายพบว่า ตั้งแต่เวลา 22.00 น.วันที่ 25 พฤศจิกายน จนถึง 18.00 น.วันที่ 26 พฤศจิกายน คาดว่าท่าอากาศยานไทยจะสูญเสียรายได้ในส่วนของค่าธรรมเนียมขึ้น-ลงสนามบินกว่าวันละ 53 ล้านบาท จากเที่ยวบินที่ขึ้น-ลงไม่ได้กว่า 292 เที่ยวบิน ยังไม่รวมค่าร้านค้าและค่าเช่าพื้นที่ของกลุ่มคิงส์เพาเวอร์ด้วย[10]

นายสุรชัย ธารสิทธิพงษ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าความเสียหายที่คาดการณ์ในเบื้องต้น ทั้งช่วงที่เกิดเหตุการณ์ชุมนุม และผลกระทบต่อเนื่องอีก 6 เดือน คาดว่าไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท และส่งผลกระทบต่อผลประกอบการบริษัทปี พ.ศ. 2551 ที่จะขาดทุน รวมถึงกระทบต่อแผนการใช้เงินของบริษัท โดยเฉพาะเงินกู้ระยะสั้นที่อาจต้องรีไฟแนนซ์ประมาณ 10,000 ล้านบาท และแผนการชำระค่าเครื่องบิน ดังนั้น จะเสนอให้รัฐบาลพิจารณาหาเงินอุดหนุนให้หรือหาแหล่งเงินกู้ประมาณ 20,000 ล้านบาท[11]

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยว่า ทางศูนย์ได้ประเมินผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอน และการปิดสนามบินสุวรรณภูมิออกเป็น 2 กรณี กรณีแรกสถานการณ์ยืดเยื้อแต่จบภายในเดือนพฤศจิกายน 2551 จะทำให้เศรษฐกิจไตรมาส 4 ขยายตัว 2.8-3.3% และผลกระทบทางการเมืองต่อระบบเศรษฐกิจตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2551 จะทำให้เกิดการสูญเสียด้านต่างต่างๆ ดังนี้ ด้านบริโภค 15,000-20,000 ล้านบาท ด้านลงทุน 6,000-11,000 ล้านบาท ด้านส่งออก 10,000-24,000 ล้านบาท ด้านท่องเที่ยว 42,000-75,000 ล้านบาท และต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ 73,000-130,000 ล้านบาท และเศรษฐกิจไทยปี 2551 ขยายตัว 4.5-4.8%

กรณีที่สอง สถานการณ์ยืดเยื้อจนถึงเดือนธันวาคม 2551 ทำให้ไตรมาส 4 เศรษฐกิจขยายตัวเหลือ 1.5-2% และเกิดความสูญเสียในด้านบริโภค 21,000-30,000 ล้านบาท การลงทุน 12,000-25,000 ล้านบาท การส่งออก 25,000-40,000 ล้านบาท การท่องเที่ยว 76,000-120,000 ล้านบาท ต่อเศรษฐกิจโดยรวม 134,000-215,000 ล้านบาท และขยายตัวเหลือ 4.1-4.4% ซึ่งกรณีที่สองจะมีความเป็นไปได้สูง และกระทบต่อการขยายตัวให้ตกต่ำลงไปอีกในไตรมาสแรกของปี 2552 และทำให้เศรษฐกิจไทยปีหน้า จากคาดการณ์เดิมขยายตัว 3-4% เหลือ 2-3% ใกล้เคียงกับปี 2545 ที่ขยายตัว 2% และอาจกระทบต่อการจ้างงานลดลงกว่า 1 ล้านคน

ศาลแพ่งสั่ง "จำลอง-แกนนำ พธม." ชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 522 ล้านบาท ให้บริษัทการท่าอากาศยานไทย (ทอท.) กรณีชุมนุมสนามบินสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง ศาลชี้กระทำผิดฐานละเมิดทำให้เสียหายทั้งกายภาพ-พาณิชย์

วันนี้ (25 มี.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 603 ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ศาลออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีที่บริษัท การท่ากาศยานไทยจำกัด (มหาชน)หรือ ทอท. เป็นโจทก์ฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำ พธม. กับพวกที่เป็นแกนนำร่วม รวม 13 คน ในความผิดฐานละเมิดและขับไล่ พร้อมเรียกค่าเสียหาย 245,790,774 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี กรณีนำกลุ่มแนวร่วมพันธมิตรฯ ชุมนุมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และดอนเมือง ช่วงเดือน พ.ย.ปี 2551

โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การชุมนุมของจำเลยและพวกเป็นการใช้สิทธิเกินขอบเขตตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ทำให้กระทบสิทธิของผู้อื่น ทำให้สนามบินทั้งสองแห่งได้รับความเสียหาย ทั้งขณะที่มีการชุมนุมที่สนามบินและหลังจากที่ผู้ชุมนุมได้เลิกการชุมนุมไป แล้ว จึงพิพากษาให้จำเลยทั้ง 13 ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์เป็นค่าเสียหายทั้งทางกายภาพและเชิงพาณิชย์ เป็นเงินรวม 522,160,947.31 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันที่ 3 ธ.ค. 51 ที่จำเลยนำกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากท่าอากาศยานทั้ง 2 แห่ง และให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าฤชาทนายความแก่โจทก์เป็นเงิน 8 หมื่นบาท

คดีที่ว่า ตามข้างต้น ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว ผลปรากฎว่า ใครผิด ใครโกง ใครต้องชดใช้ ใครต้องรับผิด ก็ต้องว่าไปตามนั้น...สิง 7 ธ.ค. 2556 (13:37)

vcharkarn.com/vcafe/208972

คุณสิงครับ ที่ผมถาม แล้วคุณสิงว่า ก็เป็นตามนั้น แต่ผมไม่เห็นใครไปตามล่าหาคนผิดเลยครับ สื่อได้เกาะติดไหม

ยึดที่ราชการ (คุณสนธิ คุณจำลอง) ครั้งก่อน คดีถึงไหนแล้ว ทำไมคดีชาวบ้านจึงบังคับคดีเร็วจริง ๆ ???? ติดคุกไปหลายแล้ว ช่วยไล่ล่าหาความจริงให้หน่อย

เรื่องที่ดินที่อดีตนายกฯ ท่านหนึ่ง มีทีในเขตอุทยานฯ ไปถึงไหนแล้ว ชาวบ้านที่มีที่อยู่เชิงเขาแล้วถูกจับขังอยู่

ทำไมพวกรักความเป็นธรรมเฉย ๆ เล่าครับ

....ยุติธรรม์นั้นเที่ยงแท้..........เสมอภาค
มิใช่"เลือกข้าง"ลาก.............ใส่ไคล้
พวกอื่นเร่ง"จัดฉาก".............ลงโทษ...เร็วนา
ผองพรรคตนรอไว้...............ชาติหน้าอาจเห็น

...."สกล"มั่น บ เลือกเฟ้น......."เรา-เขา"
ยุติธรรม์ธรรมเนา..................แน่แท้
อุเบกขามั่นจักเกลา................หลงผิด
ตรวจสอบรอบด้านแล้.............อาจอ้างตัดสิน

พระราชดำรัส

ในโอกาสที่พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประธานศาลปกครองสูงสุด (นายอักขราทร จุฬารัตน) นำตุลาการศาลปกครองสูงสุด เฝ้า ฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่

ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล

วันอังคาร ที่ 25 เมษายน 2549

(อย่างไม่เป็นทางการ)


ที่ได้ปฏิญาณนั้นมีความสำคัญมาก เพราะว่ากว้างขวาง หน้าที่ของผู้พิพากษา หน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง มีหน้าที่กว้างขวางมาก. ซึ่งเกรงว่าท่านอาจจะนึกว่าหน้าที่ของผู้ที่เป็นศาลปกครองมีขอบข่ายที่ไม่กว้างขวาง ที่จริงกว้างขวางมาก


ในเวลานี้ อาจจะไม่ควรจะพูด แต่อย่างเมื่อเช้านี้เอง ได้ยินเขาพูดเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง และโดยเฉพาะเรื่องเลือกตั้งของผู้ที่ได้คะแนน ได้แต้มไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็เขาเลือกตั้งอยู่คนเดียวซึ่งมีความสำคัญ. เพราะว่าไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ แล้วก็เขาคนเดียว ในที่สุดการเลือกตั้งไม่ครบสมบูรณ์.ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับท่านหรือเปล่า. แต่ความจริงน่าจะเกี่ยวข้องเหมือนกัน เพราะว่าถ้าไม่มีจำนวนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งพอ ก็กลายเป็นว่า การปกครองแบบประชาธิปไตยดำเนินการไม่ได้. แล้วถ้าดำเนินการไม่ได้ ที่ท่านได้ปฏิญาณเมื่อตะกี้นี้ ก็เป็นหมัน. ถึงบอกว่าจะต้องทำทุกอย่าง เพื่อให้การปกครองแบบประชาธิปไตยต้องดำเนินการไปได้. ท่านก็เลยทำงานไม่ได้. และถ้าท่านทำงานไม่ได้ ก็มีทางหนึ่งท่านอาจจะต้องลาออก เพราะไม่ได้มีการแก้ไขปัญหา ไม่ได้แก้ปัญหา. ที่มีอยู่ต้องหาทางแก้ไขได้ เขาอาจจะบอกว่าต้องไปถามศาลรัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ใช่เรื่องของตัว. ศาลรัฐธรรมนูญว่าเป็นการร่างรัฐธรรมนูญ. ร่างเสร็จแล้วก็ไม่เกี่ยวข้อง. เลยขอร้องว่าท่านอย่าไปทอดทิ้งความปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบที่จะทำให้บ้านเมืองดำเนินการผ่านออกไปได้


แล้วก็อีกข้อหนึ่ง การที่จะ ที่บอกว่ามีการยุบสภาและต้อง ต้องเลือกตั้งภายใน 30 วัน ถูกต้องหรือไม่. ไม่พูดเลย ไม่พูดกันเลย. ถ้าไม่ถูกก็จะต้องแก้ไข. แต่ก็อาจจะให้การเลือกตั้งนี้เป็นโมฆะหรือเป็นอะไร. ซึ่งท่านจะมี จะมีสิทธิที่จะบอกว่า อะไรที่ควร. ที่ไม่ควร ไม่ได้ว่าบอกว่ารัฐบาลไม่ดี แต่ว่าเท่าที่ฟังดู มันเป็นไปไม่ได้. คือการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย เลือกตั้งพรรคเดียวคนเดียว ไม่ใช่ทั่วไป ทั่ว. แต่ในแห่งหนึ่งมีคนที่สมัครเลือกตั้งคนเดียว มันเป็นไปไม่ได้. ไม่ ไม่ใช่เรื่องของประชาธิปไตย. เมื่อไม่เป็นประชาธิปไตย ท่านก็พูดกันเองว่าท่านต้องดูเกี่ยวข้องกับเรื่องของการปกครองให้ดี. ตรงนี้ขอฝาก อย่างดีที่สุดถ้าเกิดท่านจะทำได้. ท่านลาออก ท่านเอง ไม่ใช่รัฐบาลลาออก ท่านเองต้องลาออก ถ้าทำไม่ได้ รับหน้าที่ไม่ได้. ตะกี้ที่ปฏิญาณไปดูดีๆ จะเป็นการไม่ได้ทำตามที่ปฏิญาณ.


ฉะนั้นก็ตั้งแต่ฟังวิทยุเมื่อเช้านี้ กรณีเกิดที่ ที่นบพิตำ กรณีที่จังหวัด อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. อันนั้นไม่ใช่แห่งเดียว ที่อื่นมีอีกหลายแห่งที่จะทำให้บ้านเมืองล่มจม บ้านเมืองไม่สามารถที่จะ ที่จะรอดพ้นจากสถานการณ์ที่ไม่ถูกต้อง. ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านไปศึกษาว่า เกี่ยวข้องอย่างไร ท่านเกี่ยวข้องหรือไม่. แต่ถ้าท่านไม่เกี่ยวข้อง ท่านก็ลาออกดีกว่า. ท่านผู้ที่เป็นผู้ได้รับหน้าที่ ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ เป็นผู้ที่ต้องทำให้บ้านเมืองดำเนินได้. หรือมิฉะนั้นก็ต้องไปปรึกษากับท่านผู้พิพากษาที่จะเข้ามาต่อมา. ท่านผู้พิพากษาศาลฎีกา ท่านผู้นี้ก็คงเกี่ยวข้องเหมือนกัน. ก็ปรึกษากัน 4 คน ก็ท่านปรึกษากับผู้พิพากษาศาลฎีกาที่จะเข้ามาใหม่ ปรึกษากับท่าน ก็เป็นจำนวนหลายคนที่มีความรู้ ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ที่มีความและ มีหน้าที่ที่จะทำให้บ้านเมืองมีขื่อมีแป. ฉะนั้นก็ขอฝาก คุณอักขราทร ก็ต้องไปพูดกับสมาชิกอื่นๆ ด้วย ก็จะขอบใจมาก.


เดี๋ยวนี้ยุ่ง เพราะว่าถ้าไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ไม่มีทางจะปกครองแบบประชาธิปไตย. มีของเรามีศาลหลายชนิด มากมาย แล้วมีสภาหลายแบบ และก็ทุกแบบนี่จะต้องเข้ากัน ปรองดองกัน และคิดทางที่จะแก้ไขได้. นี่พูดเรื่องนี้ค่อนข้างจะประหลาดหน่อย ที่ขอร้องอย่างนี้. แล้วก็ ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวเขาก็บอกว่าต้องทำตามมาตรา 7 มาตรา 7 ของ รัฐธรรมนูญ. ซึ่งขอยืนยัน ยืนยันว่า มาตรา 7 นั้น ไม่ได้หมายถึงให้มอบให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามชอบใจ ไม่ใช่. มาตรา 7 นั้น พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่าให้พระมหากษัตริย์ตัดสินใจทำได้ทุกอย่าง. ถ้าทำ เขาจะต้องว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่. ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยเกิน ไม่เคยทำเกินหน้าที่. ถ้าทำเกินหน้าที่ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย.


เขาอ้างถึงเมื่อครั้งก่อนนี้ เมื่อรัฐบาลของอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์. ตอนนั้นไม่ได้ทำเกินอำนาจของพระมหากษัตริย์. ตอนนั้นมีสภา สภามีอยู่ ประธานสภา รองประธานสภามีอยู่ แล้วก็รองประธานสภาทำหน้าที่ แล้วมีนายก ที่สนองพระบรมราชโองการได้ตามรัฐธรรมนูญในครั้งนั้น. ไม่ ไม่ได้หมายความว่าที่ทำครั้งนั้นผิดรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่. ตอนนั้นเขาไม่ใช่นายกพระราชทาน. นายกพระราชทานหมายความว่าตั้งนายกโดยไม่มีกฎเกณฑ์อะไรเลย. ตอนนั้นมีกฎเกณฑ์. เมื่อครั้งอาจารย์สัญญาได้รับตั้งเป็นนายก เป็นนายกที่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ รองประธานสภานิติบัญญัติ นายทวี แรงขำ. ดังนั้น ไปทบทวนประวัติศาสตร์หน่อย. ท่านก็เป็นผู้ใหญ่ ท่านก็ทราบมี มีกฎเกณฑ์ที่รองรับ แล้วก็งานอื่นๆ ก็มี. แม้จะที่เรียกว่าสภาสนามม้า ก็หัวเราะกัน สภาสนามม้า แต่ไม่ผิด ไม่ผิดกฎหมาย เพราะว่านายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนอง. นายกรัฐมนตรี นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับสนองพระบรมราชโองการ. ก็สบายใจว่าทำอะไรแบบถูกต้อง ตามครรลองของรัฐธรรมนูญ. แต่ครั้งนี้ก็เขาจะให้ทำอะไรผิด ผิดรัฐธรรมนูญ ใครเป็นคนบอกก็ไม่ทราบนะ แต่ว่าข้าพเจ้าเองรู้สึกว่าผิด.


ฉะนั้นก็ขอให้ช่วยปฏิบัติอะไร คิดอะไร ไม่ให้ผิดกฎเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ จะทำให้บ้านเมืองผ่านพ้นสิ่งที่เป็นอุปสรรคและมีความเจริญรุ่งเรืองได้. ขอขอบใจท่าน.

พระราชดำรัส

ในโอกาสที่ประธานศาลฎีกา (นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ) นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่

ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล

วันอังคาร ที่ 25 เมษายน 2549

(อย่างไม่เป็นทางการ)


ถ้าจะปฏิบัติหน้าที่ผู้พิพากษาศาลฎีกาด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อความปลอดภัยของประชาชน เมื่อตะกี้พูดกับผู้พิพากษาศาลปกครองก็ต้องขอให้ เดี๋ยวไป ไปปรึกษากับท่าน. เพราะว่าสำคัญที่ผู้พิพากษาทุกฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายที่เป็นผู้พิพากษาในศาลฎีกา เพราะประธานศาลฎีกาเป็นโดยเฉพาะ. ในปัจจุบันนี้มีปัญหาด้านกฎหมายที่สำคัญมาก คือว่าถ้าไม่ได้ปฏิบัติ จะปฏิบัติตามที่ท่านได้ปฏิญาณว่าจะทำให้ประเทศชาติปกครองได้โดยแบบประชาธิปไตย. คือ เวลานี้ มีการเลือกตั้งเพื่อให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยนั่นเอง. แต่ถ้าไม่มีสภาที่ครบถ้วน ก็ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย. ฉะนั้น ก็ขอให้ไปปรึกษากัน ผู้ที่มีหน้าที่ในทางศาลปกครอง ในทางศาลอย่างที่มาเมื่อตะกี้ เพื่อที่จะเป็นครบ เป็นสิ่งที่ครบ. แต่ก่อนนี้มี มีอย่างเดียวมีศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลอาญา ศาลแพ่ง เดี๋ยวนี้มีศาลหลายอย่างอันนับไม่ถูก. ก็เมื่อมีก็ต้องให้ไปดำเนินการด้วยดี. ดังนั้น ก็ขอให้ไปปรึกษากับศาลอื่นๆ ด้วย จะทำให้บ้านเมืองปกครองแบบประชาธิปไตยได้. อย่าไปคอยที่จะให้ขอนายกพระราชทาน เพราะขอนายกพระราชทาน ไม่ได้เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย.


ข้าพเจ้ามีความเดือดร้อนมาก ที่เอะอะอะไรก็ขอพระราชทานนายกพระราชทาน ซึ่งไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย. ถ้าไปอ้างมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ เป็นการอ้างที่ผิด. มันอ้างไม่ได้. มาตรา 7 มี 2 บรรทัดว่า อะไรที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ ก็ให้ปฏิบัติตามประเพณีหรือตามที่เคยทำมา ไม่มี เขาอยากจะได้นายกพระราชทานเป็นต้น. จะขอนายกพระราชทานไม่ใช่เป็นเรื่องการปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นการปกครองแบบ ขอโทษพูด แบบมั่ว แบบไม่มี ไม่มีเหตุมีผล. สำคัญอยู่ที่ท่านที่เป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา มีสมองที่ ที่แจ่มใส สามารถ ควรที่จะสามารถที่จะไปคิดวิธีที่จะปฏิบัติ. คือ ปกครองต้องมี ต้องมีสภา สภาที่ครบถ้วน ถ้าไม่ครบถ้วน เขาว่าไม่ได้. แต่ก็เขา แต่อาจจะหาวิธีที่จะ ที่จะตั้งสภาที่ไม่ครบถ้วน และทำงาน ทำงานได้. ก็รู้สึกว่ามั่วอย่างที่ว่า. ต้องขอโทษอีกทีนะ ใช้คำว่ามั่ว ไม่ถูก ไม่ทราบใครจะทำมั่ว แต่ว่าปกครองประเทศมั่วไม่ได้ ที่จะคิดอะไรแบบ แบบว่าทำปัดๆ ไป ให้เสร็จๆ ไป. ถ้าไม่ได้ เขาก็โยนให้พระมหากษัตริย์ทำ ซึ่งยิ่งร้ายกว่าทำมั่วอย่างอื่น เพราะพระมหากษัตริย์ ไม่ ไม่มีหน้าที่ที่จะไปมั่ว.ก็เลยขอร้องฝ่ายศาลให้คิดช่วยกันคิด.


เดี๋ยวนี้ประชาชน ประชาชนทั่วไปเขาหวังในศาล โดยเฉพาะศาลฎีกา. ศาลอื่นๆ เขายังบอกว่าศาล ขึ้นชื่อว่าเป็นศาล ดี ยังมีความซื่อสัตย์สุจริต มีเหตุมีผล และมีความรู้ เพราะท่านได้เรียนรู้กฎหมายมา และพิจารณาเรื่องกฎหมายที่จะต้องศึกษาดี ๆ ประเทศชาติจึงจะรอดพ้นได้. ถ้าไม่ทำตามหลักกฎหมาย หลักของการปกครองที่ถูกต้อง ประเทศชาติไปไม่รอด. อย่างที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ เพราะว่าไม่มี ไม่มีสมาชิกสภาถึง 500 คน ทำงานไม่ได้. ก็ต้องพิจารณาดูว่า จะทำยังไงสำหรับให้ทำงานได้.


จะมาขอให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ตัดสิน. เขาอาจจะว่ารัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์เป็นคนลงพระปรมาภิไธย. จริง แต่ลงพระปรมาภิไธยก็เดือดร้อน แต่ว่า ในมาตรา 7 นั้น ไม่ได้บอกว่ามีพระมหากษัตริย์สั่งได้. ไม่มี ลองไปดู มาตรา 7 เขาเขียนว่า ไม่มีการบทบัญญัติแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่ามีพระมหากษัตริย์ที่จะมาสั่งการได้. แล้วก็ขอยืนยันว่าไม่เคยสั่งการอะไรที่ไม่มีกฎเกณฑ์ของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย. พระราชบัญญัติต่างๆ ทำถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ทุกอย่าง. อย่างที่เขาขอบอกว่าให้มี ให้พระราชทานนายกพระราชทาน ไม่เคย ไม่เคยมีข้อนี้ มีนายกแบบมีการรับสนองพระบรมราชโองการอย่างที่ถูกต้องทุกครั้ง. มีคนเขาก็อาจจะมา มาบอกว่าพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 เนี่ยทำตามใจชอบ. ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ. ตั้งแต่เป็นมา มีรัฐธรรมนูญหลายฉบับ แล้วก็ทำมาหลายสิบปี ไม่เคยทำอะไรตามใจชอบ. ถ้าทำไปตามใจชอบ ก็เข้าใจว่าบ้านเมืองล่มจมไปนานแล้ว. แต่ตอนนี้เขาขอให้ทำตามใจชอบ. แล้วเวลาถ้าเขา ถ้าทำตามที่เขาขอ เขาก็จะต้อง ต้องด่าว่านินทาพระมหากษัตริย์ว่าทำตามใจชอบ. ซึ่งไม่ใช่กลัว ถ้าต้องทำก็ต้องทำ แต่ว่ามันไม่ต้องทำ. ต้องวันนี้น่ะอยู่ที่ผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็น เป็นสำคัญที่จะบอกได้. ศาลอื่น ๆ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลอะไร ไม่มีข้อที่จะอ้างได้มากกว่าศาลฎีกา เพราะว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาที่จะมีสิทธิที่จะพูด ที่จะตัดสิน.


ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านได้ไปพิจารณาดู กลับไปพิจารณา ไปปรึกษากับผู้พิพากษาศาลอะไรอื่นๆ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ว่าควรจะทำอะไร ต้องรีบทำ ไม่อย่างงั้นบ้านเมืองจะต้องล่มจม. พอดีตะกี้ดู ดูทีวี มีเรือหลายหมื่นตันโดนพายุ จมลงไป 4,000 เมตรในทะเล. เขายังต้องดูว่าเรือนั้นลงไปอย่างไร. เมืองไทยจะจมลงไปลึกกว่า 4,000 เมตร แล้วก็กู้ไม่ได้ กู้ไม่ขึ้น. ฉะนั้นท่านเองก็จะเท่ากับจมลงไป. ประชาชนทั่วไปที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ก็จะ จะจมลงไปด้วยในมหาสมุทร. เดี๋ยวนี้เป็นเวลาที่วิกฤตที่สุด ที่สุดในโลก. ฉะนั้นท่านก็มีหน้าที่ ที่จะปฏิบัติ ปรึกษากับผู้ที่มีความรู้ เพื่อที่จะเขาเรียกว่ากู้ชาตินั้นแหละ. เอะอะอะไรก็กู้ชาติ กู้ชาติ กู้ชาตินั่นน่ะ. เดี๋ยวนี้มันยังไม่ได้จม ทำไมคิดถึงจะที่ไปกู้ชาติ. แต่ว่าป้องกันไม่ให้จมลงไป แล้วเราจะต้องกู้ชาติจริงๆ แต่ถ้าจมลงไปแล้วกู้ชาติไม่ได้ จมไปแล้ว. ฉะนั้นก็ไปพิจารณา ดูดีๆ ว่าควรจะทำอะไร ถ้าทำได้ ปรึกษาหารือกันได้จริงๆ ประชาชนทั้งประเทศ และประชาชนทั่วโลกจะอนุโมทนา. อาจจะเห็นว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาในเมืองไทยยังมี เรียกว่ายังมีน้ำยา และเป็นคนที่มีความรู้ และตั้งใจที่จะกู้ชาติจริงๆ ถ้าถึงเวลา.


ก็ขอขอบใจท่านที่ตั้งอกตั้งใจที่จะทำหน้าที่. แล้วก็ทำหน้าที่ดีๆ อย่างนี้ บ้านเมืองก็รอดพ้น ไม่ต้องกลัว. ขอขอบใจที่ท่านพยายามปฏิบัติโดยดี แล้วประชาชนจะอนุโมทนา. ขอบใจแทนประชาชนทั่วทั้งประเทศที่มีผู้พิพากษาศาลฎีกาที่เข้มแข็ง ขอบใจ. ขอให้ท่านสามารถที่จะปฏิบัติงานด้วยดี มีพลานามัยแข็งแรง ต่อสู้ ต่อสู้นะ ต่อสู้เพื่อความดี ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมในประเทศ ขอขอบใจ.


หมายเหตุ - พระราชดำรัส เรียบเรียงขึ้นตามที่ได้บันทึกพระสุรเสียงไว้ โดย กองข่าว สำนักราชเลขาธิการ

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9490000054995

วันนี้ พลเมืองชั้นสภาผู้แทนราษฏร เมื่อถูกกล่าวหาว่า ทุจริต แทนที่จะกล่าวอภิปรายว่า เขามิได้ทุจริตแต่อย่างใด อาจเข้าใจผิด

อาจผิดพลาด คือ การแก้ไขบัญชีที่เขาถูกสงสัย กลับยืนขึ้น แล้วกล่าวว่า เมื่อวันนั้น เมื่อนั้น ผู้นั้น ก็ทุจริตเรื่องนี้เช่นกัน และ ยังทุจริตเรื่องนี้อีกด้วย

ตกลง เขาทุจริต หรือไม่ล่ะ ส่วนรวมเลยอดในความรู้ เลยสงสัยผู้นั้น สงสัยพ่อแม่ผู้นั้น ต่อไปว่า สอนสั่งอบรมลูกมาอย่างไรกันหรือ ทำให้พ่อแม่ถูกสงสัยเองนะ

แล้ววันนี้ บนบอร์ดนี้ ก็ยังพบผู้ใช้วิธีการเช่นเดียวกัน คือ ยกความผิดผู้อื่น กลบเกลื่อนผิดตนเอง หรือผู้ที่ตนพึงใจ แล้วเช่นนี้ ความรู้ของเด็กไทยที่รู่ว่าสิ่งใดผิดพลาดนั้น เอาไว้ใช้กลบเกลื่อนยามตนผิดกระนั้นหรือ. มอบสิ่งที่ดีงามแก่ลูกหลานไทยเถิด สิ่งโบราณกลางสภาฯ จงวางลงได้แล้ว. บัญชีใคร บัญชีมัน มิใช่หรือ หรือท่านจะรับผลกรรมของเขา ก็ต้องร้องขอจากผู้อนุมัติ ที่สร้างมนุษย์ ที่วางระบบกรรมเอาเอง มิใช่ออกตัวแล้วยังหวาดเสียวว่า พ่อแม่จะถูกสงสัยนะ

แก้ที่ต้นแห่งเหตุ

วันนี้ น่าจะทำประชาพิจารณ์ได้แล้วว่า คุณรวยเท่าไร ถึงจะพอเพียง

แล้วหากใครมีฉันทะที่จะรวย ก็ให้มันรวยตามที่มันขอฯ เอาไว้ซิ ถ้าเกิน กำหนดให้บริจาคเลย

ความรวยทางทรัพย์สมบัติที่มนุษย์ตราเป็นธนบัตร นั่นแหละ ที่คือ ต้นแห่งปัญหา

จัดการที่ต้นเหตุ ปัจจัยที่กระทำอยู่ในธรรม จากนั้น รอผลที่ดีเยี่ยม ตอนนี้มีปัญหาอยู่ 46000 ล้าน ทำไงกันดีน๊อ

ง่าย ๆ ไม่ต้องวิเคราะห์อะไรมาก ผิด ที่ทำให้คนไทยทะเลาะกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท