ตกผลึกเรื่อง "ภาพรวมการศึกษาขั้นพื้นฐานของจีน" (บ่ายวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน)



          บ่ายวันนี้เป็นการฟังบรรยายจากอาจารย์ท่านหนึ่่ง (ขออภัยที่จดชื่อผู้บรรยายไม่ทันค่ะ)  เรื่องภาพรวมการศึกษาขั้นพื้นฐานของจีน  การจัดการและการพัฒนากลยุทธการศึกษาและการเรียนการสอน  โดยท่านอาจารย์ได้นำเสนอ ๔  ประเด็นดังนี้คือ
          ๑.  โครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษา
          ๒.  หนังสือการเรียนการสอน
          ๓.  การพัฒนาไปสู่ความสำเร็จของการศึกษาพื้นฐานของจีน
          ๔.  ปัญหาทางการศึกษาของจีน


         จากการที่พยายามฟัง (ต้องพยายามอย่างมากๆ ที่จะฟังอาจารย์ในภาษาจีนและฟังแปลจากล่าม  ครูนกเพิ่งค้นพบว่าฟังแบบนี้เหนื่อยแบบยกกำลังสอง) ได้ข้อสรุปแบบย่อๆ ดังนี้
         ๑.  โครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษา
              สรุปได้โครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษา  ประกอบด้วยการศึกษาในระดับปฐมวัย  ระดับประถมศึกษา ๖ ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๓ ปี และระดับมัธยมศึกษา ๖ ปี เหมือนกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทยทุกประการ  ใน ๑ ปีการศึกษาแบ่งเป็น ๒ ภาค รวมทั้งหมด ๓๘ สัปดาห์  รายวิชาสำหรับระดับประถมศึกษาได้แก่  ภาษาอังกฤษ  จีน  เลขคณิต  จริยธรรม คอมพิวเตอร์  วิทยาศาสตร์ ศิลปะ  สุขศึกษา ที่น่าสนใจคือ วิชาความปลอดภัยและรายวิชาท้องถิ่น  สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มรายวิชาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ  และในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะมีความคล้ายคลึงกับประเทศไทย  การดูแลหลักสูตรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ  ภาคท้องถิ่น(มลฑล) และโรงเรียน
               ในด้านการวัดประเมินผลระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนปลายใช้การรายงานผลเป็นร้อยละ  ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นใช้ระบบประเมินผลเป็นเกรด A, B, C, D และ E
              ประเด็นน่าสนใจคือนักเรียนระดับประถมศึกษาสามารถเลื่อนไปสู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้โดยไม่ต้องมีการสอบคัดเลือก  และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวนร้อยละ ๔๐ เจ้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
         ๒.  หนังสือหรือตำรา
              ตำราเรียนหรือหนังสือเรียนมีหลากหลายรูปแบบมีหลากหลายสำนักพิมพ์ แต่จะมี ๓ สำนักพิมพ์หลักในการพิมพ์แบบเรียน ส่วนการเลือกใช้ครูนกยังจับประเด็นไม่ได้ว่าอยู่ในดุลยพินิจของใคร
         ๓.  การพัฒนาไปสู่ความสำเร็จของการศึกษาพื้นฐาน
              ในปี ค.ศ. ๒๐๒๐ จะมีการขยายการศึกษาภาคบังคับเป็นระยะเวลา ๑๒ ปี และภาคสังคมเข้ามามี่ส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น
         ๔.  ปัญหาทางการศึกษาของจีน  
              ความแตกต่างระหว่างการศึกษาในเมืองกับในชนบทซึ่งยังขาดแคลนอุปกรณ์  ครูผู้สอนทำให้คุณภาพการศึกษาต่ำกว่ามาตรฐาน  ครูที่สอนในชนบทมีค่าตอบแทนต่ำ (เงินเดือนประมาณ ๓,๐๐๐ หยวน หรือ ๑๕,๐๐๐ บาท)
         จากการฟังที่อาจารย์สรุปให้ฟังผ่านล่ามครูนกให้คำตอบตนเองว่า การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานระหว่างไทยกับจีนมีความคล้ายคลึงกันหลายประเด็น  แต่จุดเด่นคือ จำนวนนักเรียนของจีนมีมากทำให้การแข่งขันมีสูงส่งผลให้เด็กๆ มีวินัยค่อนข้างสูง แต่ผลเสียก็มีคือเด็กๆ จะมีความเครียดสูงด้วย
         สรุปเรียนรู้การศึกษาของเขาหันมามองดูเราทำอย่างไรให้เด็กไทยให้มีระเบียบวินัยเพิ่มขึ้นจากเดิม การศึกษาของไทยสู่การเป็นคนที่คิดเป็น ทำเป็น อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ไม่ไกลเกินฝันค่ะ
   

หมายเลขบันทึก: 555103เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2013 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2013 09:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

.... ขอบคุณบันทึกดีดีนี้ค่ะ .... ทำให้เรียนรู้ การเรียนการสอนของ ประเทศจีนเขา นะคะ

-สวัสดีครับ..

-เป็นการเรียนรู้และศึกษาดูงานที่ได้ประโยชน์มาก ๆครับ

-ขอบคุณสำหรับบันทึกที่นำมาให้ติดตามอ่านครับครู..

ขอบคุณค่ะ คุณหมอDr. Ple

ครูนกอาจจะเล่าไม่ละเอียดนะคะ...มีอุปสรรคในการฟังภาษาจีนค่ะ

สวัสดีค่ะ....น้อง เพชรน้ำหนึ่ง

พยายามจะถอดบทเรียน...เท่าที่ทำได้ค่ะ....อุปสรรคคราวนี้คือฟังภาษาจีนไม่ออกต้องรอฟังจากล่าม

เด็กไทยเราไม่เครียดนับเป็นข้อดี ทำให้มีทัศนะคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้ใหม่ๆที่ระบบการศึกษาสมควรเร่งปฏิรูปทั้งเชิงวิชาการและคุณธรรมนะคะ

การศึกษาของไทยสู่การเป็นคนที่คิดเป็น ทำเป็น อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ไม่ไกลเกินฝันค่ะ

เป็นกำลังใจให้ครับ

สวัสดีค่ะ ป้าใหญ่นาง นงนาท สนธิสุวรรณ
ขอบคุณค่ะสำหรับคำแนะนำในการปฏิรูปเชิงวิชาการและคุณธรรม

ขอบคุณค่ะ คุณ พ.แจ่มจำรัส

หลังเหตุบ้านการณ์เมืองปกติแล้ว
เดินหน้าตาไปทุกๆเรื่องค่ะ
คืนคุณธรรม และวินัยสู่เยาวชน


ขอบคุณบันทึกที่มากด้วยสาระน่าสนใจจ้ะ

ครูนกกลับมาจากเมืองจีนแล้วเหรอค่ะ กะว่าจะฝากคำถามไปถามครูๆ จีนสักหน่อยค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณครูมะเดื่อ

- ขอบคุณค่ะที่่มาติดตาม...ทานอาหารจีนเผื่อทุกมื้อเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์จัน

ครูนกกลับมาแล้วค่ะ...แต่หากมีคำีถามแล้วเวลาไม่รีบร้อนเกินไปครูนกจะประสานกับครูทีู่ศูนย์ภาษาจีนให้ได้ค่ะ



อยากรู้ว่าข่าวนี้จริงหรือเปล่าค่ะ ถ้าครูนกถามเขาได้รบกวนหน่อยนะคะ

"และข่าวล่าสุดที่ดิฉันเพิ่งจะได้อ่านเช้าวันนี้จาก The Economist ที่พาดหัวข่าวได้น่าสนใจค่ะว่า "The education ministry tries to ban homework" ประเทศจีนเขาเอาจริงแล้วค่ะกับห้องเรียนกลับทาง วางกันเป็นแนวทางปฏิบัติจากทางกระทรวงศึกษาธิการกันเลยค่ะ เช่น ห้ามมีการสอบสำหรับเด็กจนถึงวัย 9 ขวบ ห้ามการบ้านแบบงานเขียนสำหรับเด็กจนถึงวัย 12 ขวบ และการเรียนระดับประถมเพิ่มกิจกรรมเสริมพิเศษเข้าไป เช่น เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ทำกิจกรรมศิลปะ และการทำสวน ค่ะ"

สวัสดีค่ะ อาจารย์ จันทวรรณ

ได้ค่ะ...ครูนกจะส่งคำถามไปยังครูอีกท่านหนึ่งให้ค่ะ ที่รู้มาเบื้องต้นคือ การสอนพิเศษเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ดังนั้นการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสิ่งสำคัญ...ในระดับม.ต้น....เด็กๆแต่ละคนมีหนังสือประกอบการเรียนมากมาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท