วิธีเคี้ยว___เพื่อลดความอ้วน


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง "เคี้ยวแบบไหน___ไกลโรคอ้วน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

.

การศึกษาใหม่พบว่า คนที่กินอาหารช้าๆ (slow eaters) มีแนวโน้มจะผอมกว่า (slimmer)

คนที่กินอาหารช้า มีแนวโน้มจะกินอาหารได้ "อร่อย" มากกว่าคนที่กินเร็ว

.

กลไกที่เป็นไปได้ คือ เมื่อเคี้ยวช้าลง...

(1). การรับรู้สัมผัส เช่น ความอ่อน-แข็ง ความกรอบ ฯลฯ จะดีขึ้น

(2). การรับรู้กลิ่นและรส จะดีขึ้น

(3). แป้งบางส่วนจะถูกน้ำย่อย หรือเอนไซม์ในน้ำลายย่อย กลายเป็นน้ำตาลเล็กน้อย ทำให้การรับรู้รสหวานดีขึ้น

.

.

การศึกษาใหม่ ทำในกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักต่างกัน 47 คน

  • 16 คน = น้ำหนักปกติ
  • 16 คน = น้ำหนักเกิน
  • 15 คน = อ้วน

ทดลองให้กินพิซซาม้วน 60 ชิ้น และนับจำนวนครั้งที่เคี้ยวทีละคำ

จะกินกี่ม้วนก็ได้ แล้วแต่ชอบ

.

หลังจากนั้นทดลองซ้ำ โดยขอให้เคี้ยว 2 แบบ 

แบบหนึ่งเคี้ยวแบบเดิมๆ

.

อีกแบบหนึ่งให้เคี้ยวมากครั้งขึ้น = 1.5-2 เท่า

เช่น เดิมเคี้ยว 10 ครั้ง/คำ, ให้เพิ่มเป็น 15-20 ครั้ง/คำ

.

.

ผลการศึกษาพบว่า [ มวลไขมัน 1 กิโลกรัม = กำลังงาน 7,400 แคลอรี ]

.

(1). การเพิ่มจำนวนครั้งของการเคี้ยว 50%

ทำให้กินน้อยลง 10%, คิดเป็นกำลังงานลดลง = 70 แคลอรี/มื้อ

= 70*3*365 แคลอรี/ปี 

= 70*3*365/7400 กิโลกรัม/ปี

= 10.36 กิโลกรัม/ปี

.

(2). การเพิ่มจำนวนครั้งของการเคี้ยว 100% = 1 เท่าตัว

ทำให้กินน้อยลง 15%, คิดเป็นกำลังงานลดลง = 112 แคลอรี/มื้อ

= 112*3*365 แคลอรี/ปี

= 112*3*365/7400 กิโลกรัม/ปี

= 16.57 กิโลกรัม/ปี

.

.

.

.

การศึกษานี้พบว่า คนที่มีน้ำหนักปกติ มีแนวโน้มจะ "กินช้ากว่า" คนที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเรากินช้าลง ขึ้นกับจำนวนครั้งของการเคี้ยวเป็นหลัก

.

สมองคนเราจะรู้สึก "อิ่ม" จริงๆ หลังกินอาหารประมาณ​ 20 นาที 

คนกินช้า มีแนวโน้มจะกินอะไรเข้าไปน้อยกว่า

ทำให้มีโอกาสน้ำหนักเกิน หรืออ้วนน้อยกว่าคนกินเร็ว

ผู้เชี่ยวชาญ แนะนำวิธี "กินช้าๆ" ไว้อย่างนี้

.

(1). เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง

เส้นใย หรือไฟเบอร์ จะทำให้เคี้ยวได้ช้าลง

(2). ฝึกเพิ่มจำนวนครั้งของการเคี้ยว

จาก 5 > 10 > 15 > 20... เคี้ยวให้ได้ 20-40 ครั้ง/คำ

.

(3). เคี้ยวเบาลง

การเคี้ยวเบาๆ ช่วยให้เคี้ยวข้าวได้มากครั้งขึ้น

แถมฟันยังสึกน้อยกว่าการเคี้ยวแรงๆ

.

(4). กินซุป หรืออาหารปั่นที่มีลักษณะคล้ายซุปข้นๆ ก่อนอาหาร

เช่น น้ำข้าวโอ๊ตปั่น ฯลฯ

อาหารที่มีลักษณะคล้ายซุป ค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าของเหลวใส เช่น น้ำ ชา ฯลฯ

ทำให้การย่อยอาหาร ดูดซึมอาหารช้าลง อิ่มนานขึ้น

.

.

เพียงเคี้ยวให้ช้าลง กินให้ช้าลง... ก็ช่วยลดเสี่ยงน้ำหนักเกิน และโรคอ้วนได้มาก

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

                                                 

Thank Reuters & source by Reuters > Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics, online November 11, 2013.

CC:BY-NC-SA > ยินดีให้ท่านนำไปเผยแพร่ได้ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ - ป้องกันโรค โดยไม่ต้องขออนุญาต. 

                                                 

 

หมายเลขบันทึก: 554454เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 14:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท