สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล


สถาบันฯเน้นการมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน และครอบครัว ทั้งในกระบวนการวิจัย พัฒนา และขับเคลื่อนองค์ความรู้ งานวิจัยบนพื้นฐานของสังคมไทย

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  มหาวิทยาลัยมหิดล

         วันนี้ผมเตรียมไปเยี่ยมชื่นชมสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว อย่างเต็มที่     เพราะผมเชื่อว่าสถาบันครอบครัวมีความสำคัญสูงยิ่ง     เรามีสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งกว่าสังคมตะวันตกมาก     เราต้องรักษาไว้และเสริมสร้างให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น     ยิ่งเรื่องเด็กและเยาวชน ผมยิ่งมีแนวคิดเชิงปฏิบัติที่จะไปชวนสถาบันฯ ดำเนินการ     คือเรื่องการพัฒนาเด็กและเยาวชนผมมองว่าเราต้องให้เยาวชนเป็นกำลังพัฒนา     ไม่ใช่เน้นที่การเป็นผู้รับการพัฒนาที่ทำโดยผู้ใหญ่

อัตลักษณ์ที่แตกต่างของคณะ/สถาบันภายในมหาวิทยาลัยมหิดล

       การเป็นสถาบันแห่งชาติเป็นลักษณะเฉพาะที่เป็นทั้งความภาคภูมิใจ ความกังวลใจ เนื่องจากเป็นความคาดหวังของสังคม ประชาคมนักวิจัย  นักวิชาการ  ส่วนราชการทั่วไป  ว่าจะมีความพร้อม  ความยิ่งใหญ่  เป็นที่พึ่งพาของภาคีเครือข่าย  และหน่วยงานต่าง ๆ
 สถาบันได้ตระหนักถึงภารกิจของความเป็นสถาบันแห่งชาติที่สำคัญ  จึงมีแนวความคิดที่จะต้องได้คำตอบและพัฒนาแนวความคิด เพื่อที่จะให้มนุษย์ได้รับการพัฒนาตั้งแต่ปฏิสนธิ  จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต  และได้กำหนดมาเป็นปรัชญาการทำงาน  เพื่อการพัฒนาเด็ก เยาวชน  และครอบครัวให้เต็มศักยภาพในทุกด้าน  เพื่อสร้างชีวิตที่เป็นประโยชน์ให้กับชุมชนและโลก  และเพื่อตอบสนองภารกิจดังกล่าว  ด้วย

       การกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานเชื่อมโยงระหว่างการแสวงหาองค์ความรู้ (Research)  การพัฒนาองค์ความรู้ ( Development )  และการขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่สังคม  (Movement  & Management) และได้กำหนดกรอบการทำงานในขอบข่ายการพัฒนาการของเด็ก  การพัฒนาด้านครอบครัวและสังคมที่มีผลต่อการพัฒนาการของเด็กเรื่องสิทธิ  กฎหมาย  นโยบาย
       โดยหลักการแสวงหาความรู้ของสถาบัน จะมุ่งเน้นความสำคัญต่อองค์ความรู้ในการพัฒนาเด็ก  เยาวชน  และครอบครัว  ตามช่วงวัยและสภาพสังคม  การนำความรู้ที่มีอยู่มาพัฒนา  ถ่ายทอดอย่างเป็นระบบและการบูรณาการในเชิงสหวิทยาการ  และเชื่อมโยงกับการแสวงหาและพัฒนาการขับเคลื่อนองค์ความรู้  ซึ่งเป็นการขยายต่อความรู้สู่สังคม  เพื่อให้สังคมเกิดความเข้มแข็ง  การสร้างประชาคมวิจัยและพัฒนา  อีกทั้งยังหมายถึง  การผลักดันความรู้ในรูปของยุทธศาสตร์ให้กับภาคีเครือข่าย

       สถาบันมีจุดเด่นของการทำงานที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างสหวิทยาการและสหวิชาชีพ  ดังนี้ 
๑. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมอง เพื่อให้การเรียนรู้สอดคล้องกับการพัฒนาตามภาวะ     แต่ละวัยของเด็ก
๒. การบูรณาการงานวิชาการ และบุคลากร โดยการเน้นพื้นฐานของสหวิทยาการ และสหวิชาชีพ
๓. การมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน และครอบครัว ทั้งในกระบวนการวิจัย พัฒนา และขับเคลื่อนองค์ความรู้  งานวิจัยบนพื้นฐานของสังคมไทย
๔. การจัดการความรู้สู่สังคมทั้งภาคสังคม  ภาคนโยบาย  ภาคเอกชน  และภาควิชาการ  งานวิจัย ใช้ได้จริง
๕. การแปรรูปงานประจำถึงงานวิจัย ( R to R) เพื่อให้งานย่อย เอื้ออำนวยต่องานประจำ  ในลักษณะเหรียญ  ๒ ด้าน
๖. การสร้างประชาคมวิจัยและพัฒนาซึ่งเป็นหัวใจของการสร้างกลไกการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
๗. การเป็นหน่วยบริการความรู้เคลื่อนที่  และสร้างความรู้ให้ถึงชุมชน  และสังคมในทุกทุกพื้นที่

       ในภาพรวมสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  จึงมีภาพความคาดหวังว่าสังคมไทยในอนาคตจะมีสุขภาวะที่ดี   คนไทยทุกคนมีความดีงาม  มีคุณธรรม  มีความสุขที่พอเพียง  และมีความสามารถในการพัฒนาประเทศสู่ความรุ่งเรืองด้วยธรรมนาวา

         ผมเตรียมไปชวนสถาบันฯ ทำงานร่วมกับ สคส. ในการพัฒนาเยาวชนแนวใหม่

วิจารณ์ พานิช
๒๔ ตค. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 55444เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2006 05:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 12:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียน อาจารย์วิจารณ์ที่เคารพ

           ในส่วนของสื่อเพื่อเด็ก ในสถาบันเด็ก ตอนนี้เราเริ่มทำงานกับกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัว เช่น มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว สภาเยาวชนแห่งประเทศไทย รวมทั้ง ประชาคมในพื้นที่ต่างๆที่มีความเข้มแข็งเพื่อต่อยอดในการทำงาน คิดว่า น่าจะเป็นแนวทางในการทำงานด้านการพัฒนาสื่อเพื่อเด็กได้นะครับ

          แต่ส่งที่ยังไม่ได้ทำ และพยายามจะเร่มทำก็คือ การประชุมร่วมเพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จขององค์กรต่างๆ

          จะเร่งทำเพื่อค้นหาข้อเด่นใกนารต่อยอดครับ

         ด้วยความเคารพอย่างสูง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท