ความหมาย ประเภท กระบวนการนวัตกรรม


ความหมายของนวัตกรรม

นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทาสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์ คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบ ใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Innovation Technology)

คำว่า "นวัตกรรม" หรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว+อตต+กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับ กรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า “การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเองที่ใหม่” (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต, 2528)

Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม(Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption)

สรุป นวัตกรรม(Innovation) คือ สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดจากความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ที่มีประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม

 

ประเภทของนวัตกรรม

1. แบ่งตามลักษณะของการสร้างนวัตกรรม

  • นวัตกรรมส่วนเพิ่ม (incremental innovation)
  • นวัตกรรมที่เพิ่งค้นพบ (breakthrough innovation)

2. แบ่งตามลักษณะการใช้นวัตกรรม

  • นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)
  • นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)

 

กระบวนการนวัตกรรม

การค้นหาความคิดใหม่ : Idea Generation

     • 6 แหล่งที่มาของความคิดที่เป็นนวัตกรรม

1. ความรู้ใหม่

2. การใช้ประโยชน์จากความคิดของลูกค้า

3. การเรียนรู้จากกลุ่มผู้ใช้ที่มีหัวก้าวหน้า

4. การออกแบบที่เข้าถึงใจคน

5. ฝ่ายวิจัยและพัฒนา

6. นวัตกรรมจากภายนอกองค์กร

การรับรู้ถึงโอกาส : Opportunity Recognition

     • “สิ่งที่สำคัญก็คือ เราต้องฉลาดพอที่จะรับรู้ว่า สิ่งนั้นจะเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่เมื่อเราเห็นมันอยู่ตรงหน้า” (Norman Augustine)

  • หลักการรับรู้โอกาสด้วย “แผนผังอรรถประโยชน์”

- นวัตกรรมสร้างอรรถประโยชน์มากที่สุดในด้านใดได้บ้าง

- อรรถประโยชน์นั้นมากกว่าหรือน้อยกว่าเทคโนโลยีของผู้อื่นเพียงใด

- อรรถประโยชน์ใดมีความสำคัญมากที่สุด

- สามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เป็นอรรถประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร

การประเมินความคิด : Idea Evaluation

  • ความเหมาะสมของนวัตกรรมกับกลยุทธ์ขององค์กร
  • ความสามารถด้านเทคนิคขององค์กรในการสร้างนวัตกรรม
  • ความสามารถทางด้านธุรกิจที่ส่งผลให้นวัตกรรมประสบความสำเร็จ

 การพัฒนานวัตกรรม : Development

  • ตัวกรองความคิด

  • ระบบแบบ “ขั้นตอนและประตู (stage-gate system)

  • การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)

  • การพัฒนานวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)

การนำนวัตกรรมเข้าสู่ตลาด : Commerciali-zation

  • การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (breakeven analysis)
  • การวิเคราะห์กระแสเงินสดคิดลด(discounted cash flow analysis)

 

อ้างอิง : วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล. ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 553704เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2013 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2013 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท