แด่การทำงานเป็นทีม และความเป็น Unplug ที่สุนทรีย์อย่างยิ่ง


จังหวะดนตรี จังหวะทีม

ผู้เขียนมักบอกตัวเองว่า เวลาที่เราทำงานหนัก เราต้องสร้างความรู้สึกชิวๆ บ้างเพื่อความสมดุล (แท้จริงแล้วอาจเป็นข้ออ้างของคนขี้เกียจคนหนึ่ง)

และวันหนึ่งก็มีความสุขมาก เมื่อได้ดูวิดีโอคอนเสริตUnplug สมัยเก่าๆ ของคุณปูพงษ์สิทธิ์ เมื่อปี 2536 เล่นแบบอันปลั๊กคู่กับพี่เล็กคาราบาว (ปรีชา ชนะภัย) ความรู้สึกที่เราดูครั้งนี้ต่างไปจากตอนเด็กๆ ที่เราได้ไปดูการแสดงสด ตอนเด็กนั้นเราฟังแล้วเรารู้สึกเพียงแต่ว่าเพลงไพเราะดี ก็แค่นั้น

แต่ตอนนี้ เราบังเอิญได้ฟังแบบได้ยินสิ่งที่อยู่ในเสียงนั้น ทั้งเสียงดนตรีรวมๆ และเฝ้าจับฟังเสียงที่ผสมอยู่ ฟังรายละเอียดย่อยของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้น การจับตาดูการเล่นที่เข้าขากัน ได้เห็นทีม ที่แม้มีเพียง 2-3 คน แต่สื่ออะไรได้มาก การนัดแนะสื่อสาร ด้วยการนับ one two tree flour แล้วเริ่มลงมือพร้อมกัน ในจังหวะ five ที่ต่างคนต่างก็นับในใจเพื่อเกิดจุดเริ่มต้นเดียวกัน

คอนเสริตนี้ มีผู้นำการแสดงคือคุณปู พงษ์สิทธิ์ซึ่งเป็นเด็กกว่าพี่เล็ก จึงถือได้ว่าผู้ที่มีอาวุโสสูงกว่านั้นได้ให้เกียรติโน้มตัวลงมาให้ผู้น้อยได้แสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ เช่นตอนที่พี่เล็กร้องผิดคีย์ไปนิดนึงหรืออะไรนี่? พงษ์สิทธิ์ทัก & ขอให้เริ่มร้องใหม่อีกที พี่เล็กก็ยอมร้องใหม่ และสามารถปรับแก้เสียงได้ตามที่ต้องการ แบบเนียนๆ ได้ดั่งใจ

เราคิดย้อนไปว่า ณ ขณะนั้นคุณปู พงษ์สิทธิ์มีอายุแค่ 26 สินะ ทำไมจึงมีพัฒนาการของฝีมือมากในวัยขณะนั้น อาจเป็นเพราะประสบการณ์ฝึกฝนที่สั่งสมมา ร่วมกับพรสวรรค์ อาจเป็นได้ทั้งการมีโอกาสที่ดีและการมีสิ่งคุกคามที่เข้ามากระทบ ทำให้สร้างเขามาเป็นศิลปินที่มีความสามารถได้เช่นนั้น และยังมีผลงานสร้างสรรค์อีกมากมายตามมา การไม่หวั่นไหวสงบนิ่งเมื่อแสดงต่อหน้าผู้คน การไม่ขวยเขินแม้แต่น้อย นิ่ง ทำเสียงให้ไพเราะและสื่ออารมณ์ออกมาได้ และที่เห็นได้ชัดคือคอนเสริตนี้มีการเตรียมการฝึกซ้อมอย่างหนัก เราจึงรู้สึกเคารพในความเป็นศิลปินของเขา เนื่องจากการฝึกซ้อมอย่างหนักนี้แสดงถึงว่าศิลปินเคารพในอาชีพ พยายามที่จะทำให้ดีที่สุด

เรามีความสุขมากเมื่อได้ฟังแบบพิจารณาเช่นนี้ สบายใจมากด้วยเพราะว่าความเป็น Unplug ที่สุนทรีย์อย่างยิ่ง การทำแบบนี้ได้แสดงว่าศิลปินทั้งสองท่านนั้นมีสมาธิมาก (การฝึกฝนดนตรีอาจช่วยสร้างความสามารถนี้ให้แก่เขามาโดยที่เขาไม่รู้ตัว) เราได้เห็นการสามัคคีระหว่างเล่น ส่วนน้าหงานั้นออกมาตอนท้ายของคอนเสริต ท่านเป็นผู้ใหญ่ที่น่ารัก คอยเสริมกำลังใจกันและกัน คอยสร้างสีสันให้กับงาน

สรุปแล้วคงจริงอย่างที่อาจารย์หลายๆ ท่านได้กล่าวเปรียบเทียบหลักการ KM ว่าคล้ายกับการบรรเลงออเครสตร้า ซึ่งเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นไพเราะทั้งนั้นและสื่อคุณค่าออกมาแตกต่างกัน มันจะดีมากที่มาเสริมกัน บรรเลงร่วมกัน โดยมีจังหวะเป็นตัวกำกับ เราคิดว่าหากทีมเราทำงานเสริมกันได้แบบนี้ แล้วหาสิ่งที่ทำหน้าที่คอยกำกับให้คล้ายกับการกำกับของจังหวะดนตรีมาช่วยได้ จะดีมากเลย ขอให้บรรยากาศเช่นนี้ได้เป็นแบบอย่างในความพยายามของเราในการทำงานเป็นทีมต่อๆ ไป

 

แด่การทำงานเป็นทีม และความเป็น Unplug ที่สุนทรีย์อย่างยิ่ง

 

ขอบพระคุณศิลปินผู้สร้างสีสัน คุณพงษ์สิทธิ์ คำภีร์ และพี่เล็ก ปรีชา ชนะภัย

ที่มา: http://www.youtube.com/watch?v=qL3nYg3dxhk&feature=youtu.be

http://youtu.be/qL3nYg3dxhk

หมายเลขบันทึก: 553692เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2013 00:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2013 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เข้าใจเปรียบเทียบเรื่อง KM กับเรื่องดนตรีนะครับ

หายไปนานมากๆๆ

ฝากระลึกถึงสมาชิกทุกๆๆท่านด้วยครับ

 เรียน ดร.พจนา

ขอบพระคุณมากค่ะ ขอให้มีความสุข อบอุ่นแม้จะอยู่ในแดนหิมะนะคะ

 

เรียนอาจารย์ขจิตค่ะ

คิดถึงภาพความสนุก คนที่คิดบวก++ อย่างอาจารย์ค่ะ

ว่างๆ ขอกราบเรียนเชิญอาจารย์มา รพ.อีกนะคะ

 

สวัสดีค่ะกอไผ่ใบตาล

  • ดีจัง ขอบคุณที่แบ่งปันแนวคิดดีดีนี้นะคะ

สวัสดีค่ะคุณมนัสดา

ขอบพระคุณที่แวะมาอ่านนะคะ

การสื่อสารในทีมให้เข้าใจตรงกัน เป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับตัวเองขณะนี้ค่ะ

-แวะมาให้กำลังใจน้อง กอไผ่ ใบตาล ครับ.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท