เรื่องเล่าประสบการณ์ในแผนกฉุกเฉินER


เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ :เรื่องภาพลักษณ์ ER

วันที่แลกเปลียนความรู้ 13 พย 2556

โดย ผู้ป่วยแผนก ER และ อดีตพยาบาลจุฬารุ่น 18 หน้าห้อง ER รพ.จุฬาลงกรณ์ และเพื่อนสนิทที่มี ปสก การทำงานใกล้ชิดคุณหมอ

...ความสุขที่แสนเจ็บปวดก็คือ ....ตลอดหกชั่วโมงที่ผมป่วยในห้องฉุกเฉิน... ทุกคนต่างทำหน้าที่ๆตนเองเรียนมาอย่างดี ....ไม่มีบกพร่อง ความดันผมสูงมากพอที่หมอจะห้ามออกจากห้องฉุกเฉินเพราะกลัวจะเกิดอาการวูบล้มได้ ....
....ในเวลาสองทุ่มกว่าๆ อาการผมก็ดีขึ้นหลังจากได้กินยาบังคับให้นอนพัก ...หลังวัดความดันอีกครั้ง ....หมออ่านค่าความดัน ...ขณะที่ทีมหมอที่รักษาผมทั้งทีมตั้งใจฟังค่า ....ตัวเลขที่ออก ....160/118
-สิ่งที่เห็นคือหมอทั้งทีมต่างยิ้มและพยักหน้าว่าโอเค ...ผมยิ้มและดีใจมากคิดว่าเค้าคงดีใจที่ผมหายดีขึ้น เปล่าหรอก ผมชงักงันพร้อมแปลกใจ ผมดูออกว่าทีมหมอดีใจที่ผมหายดีพอที่จะนำออกจากห้องฉุกเฉิน.....เท่านั้นจริงๆ... ที่พวกเขาต้องรับผิดชอบเท่านั้นเอง .... มันเป็นรอยยิ้มที่ทำให้ผมเจ็บปวดที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา.....
-ไม่คิดมาก่อนเรยว่าการทำงานหนัก ทำให้ผู้ที่น่าจะห่วงเราที่สุด.... เป็นผู้ที่ทำหน้าที่หมอได้ดีที่สุด... มิใช่ทำหน้าที่ห่วงใยเราดีที่สุด ผมนึกถึงพ่อแม่ขึ้นมาจับใจ ผมรู้สึกว่าเป็นแค่ทีวีที่มีคนมาซ่อมให้ใช้ได้ ...เค้าไม่ได้รักมัน เค้าแค่ทำหน้าที่ซ่อมมัน ....ดีใจที่เจ้าของมารับออกไปจากร้านฉันเสียที...นั่งประชุมกันแล้วก็รอฟังผลเพื่อดีใจแบบนี้ อย่าดีใจให้ผู้ป่วยเห็นน่าจะดี.... ผมว่ามันต้องมีอะไรผิดพลาด อย่างใหญ่หลวงแล้วในวงการ ณ โรงพยาบาลกลางใจเมืองหลวงแบบนี้....
- นักเรียนแพทย์ ทำงานหนัก ผู้ป่วยแยะ เข้าใจนะ แต่ดีใจที่ได้เอาเตียงที่ระเกะระกะตรงนี้ออกไปเตียงหนึ่ง ก็ดีใจแล้ว การทำงานกับเครื่องจักรไม่ต้องเอาใจใส่ให้ทำตามเช็คลิสต์.... แต่การทำงานกับคน ต้องเอาใจใส่ อารมณ์ผมมันประมาณนี้ครับ ผมว่า นักเรียน คงไม่รู้ตัวหรอกว่า ภาพที่คนป่วยเค้าเห็น มันเสียดแทงใจนัก ถ้าเป็นคนป่วยอายุมากๆผมว่าท่าน น้ำตาคลอแน่ครับ ที่หลานๆแสดงออกแบบนี้...

- เข้าใจนะครับผม ว่าสาเหตุที่ภาพออกมาแบบนี้ เพราะ เกิดจากตัวแปร ที่มากระทบ นักเรียน... คือ สภาพความกดดันจากสิ่งแวดล้อม..สภาพการ จราจรของเตียงผู้ป่วยแผนกฉุกเฉินหนาแน่น.. มากครับ ...เข็นเตียงไปรักษาตรงนั้นตรงนี้.. ก็เกะกะ.. ไปหมดครับ...มีความเป็นสัดส่วนดีแต่การใช้พื้นที่ค่อนข้างหน่าแน่น.. หนะครับ....

-ผมดีใจแต่แล้วก็ยิ้มค้างครับ มันไม่ใช่สายตาแห่งความห่วงหาอาทร แต่เป็นสายตาเหมือนสอบได้คะแนนผ่านนึกออกมั้ยครับ โล่งใจ ไม่ใช่ปลื้มใจ หนะครับ

-สายตาแบบ ฉันดีใจที่ฉันรักษาได้ผลดี ฉันเก่ง ไม่ใช่ ฉันรักษาอย่างดีตามขั้นตอน ดีใจที่เขาหายทุเลาจากอาการเจ็บปวด สายตามันฟ้องครับ.....

-ผมว่ามืออาชีพต้่องคิดในใจแบบแรก คิดนอกใจ หรือ แสดงออก แบบหลังครับ.....

-เพื่อนสุดที่รักผม ก็ให้กำลังใจและบอกกับผมว่า อย่าคิดมากไปเลย..หมอเขาก็ดีใจที่คนไข้หาย รักษาสำเร็จนั่นแหล่ะ..เราแข็งแรงขึ้นก็ดีแล้ว...ใช่อาจเพราะเราคาดหวัง Expect สูงไปเองก็เป็นได้.... หมอเขามีภาระสำคัญอื่นอีกแยะนี่นา ไม่ควรเพิ่มปัญหาส่วนตัวให้เค้า เขามีปัญหาหนักๆมากพอแล้ว.....

-ผมนึกถึงสมัยเรียน มันมีความรู้สึก ...ในหลายครั้งหลายคราว่า... สมัยนี้เราสอนกันเรียนกัน เพียงเพื่อ...รอดีใจว่าสอบผ่าน??? แต่ที่น่าคิดก็คือ เราให้ความสำคัญของระดับการเรียนรู้...ว่ารู้อะไรยังไม่รู้อะไรน้อยไป หรือรู้ลึกซึ้งถ่องแท้แล้วหรือยัง...

- เพราะถ้าเค้าห่วง ต้องเดินมาถามอาการบ้างอะไรบ้างสักคนนึง ณ เวลาหนึ่ง แต่นี่ไม่ใช่ แค่นั่งจับกลุ่มคุยกัน รอเวลาผลประกาศออกมาเท่านั้นแล้ว.. เฮ ...จบ... จริงๆครับ....

- การรักษาภาพลักษณ์องค์กรการบริการผู้ป่วย ต้องแก้ไข กันสักนิดแล้ว หรือ ??? นะครับ สิครับ สดวกไหมครับที่ แผนกห้องฉุกเฉิน รพ. จุฬาลงกรณ์ จะรับพิจารณาการคอมเม้นท์เรื่องนี้ เป็นปัจจัยต้องทำ ความต้องการจำเป็น ผลกระทบหลักต่อผู้ป่วยนะครับ ไม่ใช่แค่คอมเพลนที่เป็นแค่...ความคาดหวังความพึงพอใจจากผู้ป่วย ...

- ถ้าผมไปโรงแรมผมจะแค่คอมเพลนครับ ...แต่ที่นี่ คือ ความรู้สึกหรืออารมณ์ "ยินดีที่ผู้อื่นพ้นทุกข์ ยินดีที่ผู้อื่นมีความสุข" ซึ่งอ่อนไหวและละเอียดอ่อน... มันหายไปช่วงไหนของการศึกษาไทยครับผม....

-ผมอาจคาดหวังการบริการ... มากไป.เพราะ.. ที่นี่... ความปลอดภัยพ้นขีดอันตราย ย่อมมาเป็นลำดับแรก หลังจากนั้นการบริการ ความประทับใจ เป็นเรื่องรองลงมา นี่แหละครับ คือประเด็นพระเอกในเรื่งๆนี้ครับ นี่เป็นเหตุผลที่คนไทยส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจมานาน  ว่า ทำไมพยาบาลถึงฉีดยา เจ็บมากน้อยต่างกัน เพราะเขาเน้นปลอดภัย... ตีแขนตุ้บๆแรงๆให้เส้นเลือดมันนูนโป่งออกมา... จะได้ไม่พลาด ก็เป็นเทคนิควิธีการที่ดูแล้ว หนักหน่วง เพราะ ความปลอดภัย ต้องมาก่อน การบริการที่ประทับใจนี่เองครับ การล้างแผลก็เช่นกัน ผู้ป่วยคงไม่ชอบแน่ ถ้าทำนิ่มนวลแต่สิ่งสกปรกออกไม่หมดแล้วเกิดการติดเชื้อ ฉนั้นต้องเข้าใจตรงจุดนี้ให้ดีครับ.... 

-ที่ผมเจอ ณ แผนกฉุกเฉิน ER ก็คือ ...มีแต่แม่บ้านที่มองเห็นสีหน้าผมว่าปวด เข้ามาถามว่าปวดไหมเอาอะไรไหม ...แล้วเอาผ้าร้อนมาให้ประคบ คิดในใจว่าหัวใจแม่บ้านหล่อกว่าแยะ... ด้านบริการเค้าเรียก ว่าคนทำงานแบบนี้ ไม่ใช่แค่พวกพวกแค่ "มีอาชีพ" แต่เป็น "มืออาชีพ" มือโปรฯตัวจริง....

....อันความกรุณาปราณี ...จะมีใครบังคับก็หาไม่....

....หลั่งมาเองเหมือนหยาดฝนอันชื่นใจ ....จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน....

....เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข.....
กรุณา ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์....
มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ...
อุเบกขา การรู้จักวางเฉย....

ว่าแล้วก็อุเบกขาดีกว่าเรา....555

...ความ...กรุณา... อาจเริ่มเพี้ยนไปในรูปแบบ ปรารถนาให้ตัวฉัน พ้นทุกข์ โล่งจัง เตียงนี้ได้ออกไปจากห้องอันแน่นขนัดนี้แล้ว ใจผมได้ลุกเดินออกไปจากห้องนั้นทันทีที่เห็น ความผิดเพี้ยน ไปของ ใจคุณหมอ ผมไม่ได้เป็น คนเหล็ก มาให้บัดกรี เชื่อม ขึ้นไดโน แล้วรอฟังผลเทส นะครับ ผมมาใช้บริการ การรักษา ตามสิทธิมนุษยชน ทั่วไปควรพึงได้รับ...

....ต่อไปนี้คือ มุมมองด้านหมอ ของเพื่อนผู้หวังดีของผม ที่ได้ทำงานวิจัยและคลุกคลีกับการทำงานของคุณหมอมานานครับ....ทุกอย่างจะเคลียร์..เข้าใจ ...เรื่องนี้ Happy Ending แน่ครับรับรองได้...555...

มองในมุม ของหมอบ้างนะครับ -
- ไม่ว่าทีมหมอจะคิดในใจ หรือนอกใจ แบบไหน ผลดีก็ตกอยู่กับผู้ป่วย อยู่ดี
- ทีมที่อยู่ ER ต้องไว แข่งกับเวลา มีความกดดันสูง เพราะคือความเป็นตายเท่าๆกัน พูดง่ายๆคืองานเขาเดิมพันด้วยชีวิตผู้ป่วย ความละเมียดละมัยอาจเทียบไม่ได้เ
หมือนทีมหมอฟิ้นฟู
- ทีม ER แข่งกับตัวเอง ถ้าผู้ป่วยปลอดภัย เขาก็ชนะ จากนั้นเขาละไปเคสหนักอีกเคสทันที โดยละเลยการปลอบประโลม ซึ่งจะเป็นงานของอีกทีม เช่น หมอฟื้นฟู พยาบาล ฯลฯ ...ความแตกต่างของ รพ รัฐ และ รพ เอกชน
ผมเข้าใจ และทุกคนก็คงเข้าใจ และอุเบกขา กันนะครับ
- แต่แค่หมอทำให้เราปลอดภัยก็โอเคมากๆๆแล้ว เพราะหมอเชื่อว่าทุกคนที่ห่วง ให้ความสำคัญและแคร์กับอาการป่วยตัวเรา... มากกว่า ....จะมาแคร์ทีมหมอ ...ญาติเราเพื่อนพี่น้องเราอาจไม่แคร์ ...แต่ผู้ป่วยคง...แคร์ คาดหวัง ...ไปเองนะครับผม....

- ขอบพระคุณครับหมอ ความรู้ความสามารถของคุณหมอ...ที่ทำให้ผมพ้นจากขีดอันตราย ...รีบไปรักษาคนอื่นที่หนักหนากว่าผมเรยครับ.... ผมเข้าใจหมอ ER มากขึ้นแล้วครับ... ขอหมอฟื้นฟู ...แล..ะ พยาบา.ล... มาทำหน้าที่... ที่ได้แบ่งกันไว้แล้ว.... ต่อเถอะครับ... แต่ กรุณา... หันมายิ้ม ...ด้วยความรู้สึกดีดีสักนิด... ก่อนอีกสักหน่อย ...จะยินดีมากนะครับ.....โสตถิทัศน์..พ.ย.2556

...ณ..ที่นี่... ห้องฉุกเฉิน ER "ภาพลักษณ์ของความปลอดภัยในชีวิตมนุษย์" มาก่อน "ภาพลักษณ์ความพึงพอใจของการบริการ" ครับ ขอโทษด้วยนะครับที่อาจบริการไม่ประทับใจ แต่ทางเรายินดีอย่างที่สุดที่จะเรียนให้ทราบว่า คุณ.พ้นขีดอันตรายแล้ว (คุณรอดตายแล้ว)....นะครับ.... ไชโย!!! .....

 

หมายเลขบันทึก: 553420เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2017 01:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยามเจ็บป่วยผู้ป่วยนอกจากทุกข์ทางกายแล้ว ยังมีความทุกข์ใจด้วยความวิตกกังวล หดหู่หวาดกลัวต่างๆ ฯลฯ จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางร่ายกาย ทั้งยังต้องการกำลังใจ ความรัก ความเข้าใจ เอาใจใส่จากบุคคลากรทางการแพทย์ และครอบครัวอีกด้วยสภาวะเช่นนี้ภายในจิตใจผู้ป่วยจะรู้สึกเคว้งคว้างต้องการใครสักคนที่จะพิ่งพาได้ คนที่สามารถอยู่กับเขาในยามวิกฤต ดังนั้นการให้ “ความรัก ความเอาใจใส่ดูแล” จะทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการต่อสู้เผชิญทุกภัยต่างๆที่จะเข้ามา และอาจ “เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมากที่สุด” ก็ว่าได้

แต่ช่วงเวลาเร่งด่วนในห้องฉุกเฉิน การรีบช่วยเหลือผู้ป่วยให้พ้นจากวิกฤตเป็นสิ่งสำคัญ ไม่เพียงแต่ผู้ป่วยเท่านั้นที่ต้องการการดูแล ยังมีครอบครัวของผู้ป่วย (ที่รอคอยให้แพทย์ช่วยเหลือญาติของเขาด้วยความหวัง) อยู่หน้าห้องฉุกเฉิน ที่ต้องการแพทย์มาแจ้งข่าวสาร และให้คำแนะนำต่างๆเช่นเดียวกัน

ในขณะที่ปัญหาของการดูแลผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน นอกจากการขาดแคลนจำนวนแพทย์ฉุกเฉิน พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉิน และพนักงานฉุกเฉินทางการแพทย์ อีกปัญหาหนึ่งคือ ความแออัดของห้องฉุกเฉิน ทำให้ไม่สามารถดูแลจนเป็นที่พึงพอใจแก่ผู้ป่วยทุกรายได้

“หมอรักทุกคนนะคะ แต่ขอให้รอสักหน่อยค่ะ หมอกำลังพยายามเต็มที่แล้วค่ะ”

ผู้ป่วยจากห้องตรวจทุกแห่งและทุกโรคในโรงพยาบาลสามารถถูกส่งตัวมารับการรักษา ณ ห้องฉุกเฉินได้ทั้งสิ้น เพราะห้องฉุกเฉินสามารถรักษาได้ทุกโรค แต่หลักการรักษาที่ห้องฉุกเฉินมุ่งเน้นการรักษาอาการผู้ป่วยที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันอันคร่าชีวิตของผู้ป่วยได้ในเวลาอันรวดเร็วเป็นสำคัญที่สุด การคัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต แพทย์ต้องรีบทำการรักษาพยาบาลโดยทันที แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงน้อยก็สามารถรอคอยให้แพทย์ทำการรักษาผู้ป่วยรายอื่นๆที่มีอาการรุนแรงมากกว่าให้เสร็จก่อนได้ ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเบื้องต้นจนพ้นขีดอันตรายแล้วแต่ยังคงต้องเฝ้าสักเกตอาการต่อเนื่องไปอีกสักระยะ หรือสังเกตอาการนานมากกว่า 6 ชั่วโมง หรืออยู่ระหว่างรอเตียงเพื่อรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลก็จะถูกนำมารอยังอีกพื้นที่หนึ่ง ทั้งนี้เพื่อลดสภาพความแออัดของห้องฉุกเฉิน สร้างความสบายใจ ลดความกดดัน ตรึงเครียดในการรักษาพยาบาของบุคลากรทางการแพทย์ผู้ให้การรักษา และผู้ป่วยผู้รอรับการรักษาอีกด้วย

การแพทย์แผนใหม่เห็นความตายเป็นปฏิปักษ์ต่อวิชาชีพแพทย์ ความตายของผู้ป่วยหมายถึงความล้มเหลวของแพทย์ ดังนั้นจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะเอาชนะความตายให้ได้ หรือหากทำไม่ได้ก็พยายามยืดชีวิตผู้ป่วยให้ได้นานที่สุด ในขณะที่การดูแลผู้ป่วย จิตใจผู้ป่วยก็ควรได้รับการเอาใจใส่ไม่น้อยไปกว่าร่างกาย โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ต้องการการรักษา และประคับประคองให้ผู้ป่วยฯ บรรลุวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างเจ็บปวดน้อยที่สุด และมีจิตที่เป็นกุศล หรือสงบมากที่สุด ซึ่งเรียกว่าการแพทย์แบบประคับประคอง / การดูแลแบบประคับประคองให้มีคุณภาพชิวิตที่ดีที่สุดจนวาระสุดท้าย โดยผู้อยู่รอบข้างมีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ป่วยระยะสุดท้าย ไม่ว่าเป็นญาติมิตร แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักบวช และนักปฏิบัติธรรมฯ แต่ท้ายที่สุด “สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจิตใจของผู้ป่วย” ^@^

ขอบคุณบทความ พระไพศาล วิสาโล

ขอบคุณบทความ พญ.รพีพร โรจน์แสงเรือง

http://www.errama.com/system/spaw2/uploads/files/noodle.pdf

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท