ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

การทำงานด้วยหัวใจ


การทำงานด้วยหัวใจ

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก

www.drsuthichai.com

                การทำงานอย่างไรให้มีความสุข การทำงานอย่างไร ที่จะทำงานออกมาจากหัวใจ ก่อนอื่น เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของการทำงานกันก่อน

-                   การทำงานกับความเครียด หากจะพูดไปแล้ว ความเครียดในการทำงานเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ควรที่จะมีมากจนเกินไปจนกระทั่งเป็นโรคต่างๆ (โรคนอนไม่หลับ โรคความดัน โรคปวดหัว) หรือมีน้อยจนเกินไป คนที่ไม่มีความรับผิดชอบในงานส่วนใหญ่มักจะไม่มีความเครียด ไม่มีความกังวัลใจ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าบอกให้เดินสายกลาง คนที่จะทำงานให้ได้ดีมีประสิทธิภาพมักจะเป็นคนที่มีความเครียดแต่ต้องไม่มาก งานจึงจะออกมาดี กระผมขอยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม ปัจจุบัน กระผมมีอาชีพวิทยากร หากมีคนเชิญผมให้ไปพูด หากผมไม่มีความเครียดอยู่เลย รู้สึกสบายๆ ไม่ตื่นเต้น กระผมมักจะไม่ได้เตรียมตัวไปบรรยายหรือทำการบ้าน แต่ตรงกันข้ามหากว่าผมมีความเครียดมากจนเกินไป พรุ่งนี้จะไปบรรยาย เลยทำให้นอนไม่หลับ อย่างนี้ก็คงจะไม่ดี ดังนั้น หากว่าผมมีความเครียด มีความรู้สึกต้องรับผิดชอบ ผมจะมีการทำการบ้านหรือการเตรียมตัวไปพูดบรรยายเป็นอย่างดี

-                   การทำงานกับความขัดแย้ง ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าองค์กรไหนมีคนทำงาน องค์กรนั้นก็จะมีปัญหาเรื่องความขัดแย้ง ฉะนั้น การทำงานร่วมกันกับคนภายในองค์กร (หัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน) และ การทำงานกับบุคคลภายในองค์กร(ลูกค้า) ย่อมจะต้องเกิดปัญหาเป็นธรรมดา เพียงแต่เราต้องรู้จักที่จะลดความขัดแย้งหรือเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งให้เป็นเรื่องสร้างสรรค์ ก็จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและองค์กรได้

-                   การทำงานกับมนุษย์สัมพันธ์ การทำงานร่วมกับคน ยิ่งองค์กรไหนมีคนทำงานเป็นจำนวนมาก บุคคลที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน มักจะต้องเป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ ซึ่งบุคคลที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มักจะเป็นคนที่มีความเข้าใจและยอมรับความแตกต่างของบุคคลได้ เช่น ยอมรับความแตกต่างระหว่างเพศ ชาย หญิง , ความแตกต่างระหว่างวัย เด็ก วัยรุ่น ชรา ความแตกต่างขอบุคคล (ร่างกาย , อารมณ์ , จิตใจ , ความรู้สึก , บุคลิกภาพ , ประสบการณ์ )

-                   การทำงานกับการสื่อสาร คนเราทำงานร่วมกันมักจะมีปัญหาเรื่องของการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้น้ำเสียง การสื่อสารที่ผิดพลาด การสื่อสารที่ไม่ชัดเจน การสื่อสารที่ขาดการกลั่นกรอง ฯลฯ

-                   การทำงานกับความรักในงานที่ทำ บุคคลที่ประสบความสำเร็จในระดับสูง มักจะเป็นคนที่รักในงานที่ตนเองทำ ตรงกันข้ามบุคคลโดยทั่วไป มักเลือกทำงานเพราะเห็นแก่เงินเป็นอันดับแรก อีกทั้งไม่รู้จักตัวตน ว่าตนเองชอบทำงานอะไรกันแน่ เขาจึงทำงานด้วยความเบื่อหน่าย ไม่สนุกกับการทำงาน โทมัส อัลวา เอดิสัน เขาชอบประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ เขาสามารถอยู่ในห้องทดลองได้ทั้งวันทั้งคืน โดยไม่รู้สึกเหนื่อยหรือเบื่อหน่าย เหตุเพราะว่าเขารักในงานที่เขาทำ เขาไม่คิดว่านั้นคืองาน แต่เขามีความสนุกกับมันต่างหาก , สตีฟ จอบส์ บิล เกตต์ ชอบคอมพิวเตอร์ เขาสามารถอยู่กับคอมพิวเตอร์ได้อย่างไม่รู้จักเบื่อหน่าย เพราะเขารักในเรื่องราวต่างๆของคอมพิวเตอร์นั้นเอง

-                   การทำงานกับการบริหารเวลา หลายคนที่มีความเครียดในการทำงาน มีความเหนื่อยหน่าย ท้อแท้ในการทำงาน สาเหตุหนึ่งก็เนื่องมาจาก การที่บุคคลคนนั้น ไม่รู้จักเรื่องของการบริหารเวลา เขาไม่รู้ว่างานไหนเป็นงานสำคัญ งานไหนเป็นงานที่ไม่สำคัญ งานไหนควรทำก่อน งานไหนควรทำทีหลัง จึงทำให้เขาเกิดความเครียด เมื่องานที่จะต้องทำให้เสร็จ กลับยังไม่ได้ทำ ทั้งๆที่ ควรจะทำเสร็จตั้งแต่ต้นเดือนแล้ว แต่เขาปล่อยให้เวลาผ่านไป(ดินพอกหางหมู) โดยการเลือกทำงานที่ไม่สำคัญก่อน ฉะนั้น การบริหารเวลาดีมักจะทำให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขในการทำงานมากขึ้น

-                   การทำงานกับการคิดถึงประโยชน์ที่ได้รับจากงาน งานหลายๆงาน มีเงินเดือนน้อย แต่เมื่อทำไปแล้ว เกิดความสุขอย่างมากมายมหาศาล อีกทั้งเมื่อเวลาผ่านไปแล้ว ก็ยิ่งทำให้เกิดความภาคภูมิใจ เช่น ครู อาจารย์ ได้รับเงินเดือนน้อย แต่ก็สามารถเกิดความสุขในงานได้ หากว่าคำนึงถึง เด็กๆที่จบออกไปเป็นอนาคตของประเทศชาติ

-                   การทำงานกับแนวทางพุทธศาสนา อิทธิบาท 4 เป็นแนวทางที่พระพุทธเจ้าสอนไว้เมื่อ 2556 ปี แต่ก็ยังคงทันสมัย คือ ฉันทะ ต้องมีความรักในงานที่ตนเองทำ(ใจรัก) , วิริยะ ต้องมีความพากเพียรในการทำงาน(ใจสู้) , จิตตะ ต้องมีความเอาใจใส่ในงาน(ใจใส่) และวิมังสา ต้องมีความไตร่ตรองในผลงานที่ตนเองทำ(มีใจตรวจสอบ)

ดังนั้น การที่บุคคล คนหนึ่งจะมีหัวใจที่รักงานหรือมีการทำงานด้วยหัวใจ จะต้องมีองค์ประกอบหลายๆอย่าง ซึ่งองค์ประกอบข้างต้น เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญ หากท่านเป็นคนหนึ่งที่อยากจะทำงานด้วยหัวใจ ท่านควรจะพัฒนาตนเอง ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ให้ตนเองมีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น

หมายเลขบันทึก: 553266เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2013 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2013 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท