หมี่ขั้นลาวเวียงจัน ไหมมัดหมี่วัฒนธรรมร่วมสองฝั่งโขง


เรื่องราวหมี่ขั้น

บันทึกนี้ถึงผ้าไหมมัดหมี่กลุ่มสุดท้ายของลาวแล้วนั้นคือ กลุ่มที่มีรูปแบบเป็นหมี่ขั้นของลาวเวียงจัน  

              กลุ่มที่มีรูปแบบเป็นหมี่ขั้น                     

           หมี่ขั้นเป็นการเรียกผ้าไหมทอมือตามรูปแบบและเทคนิคในการทอคือ มีลักษณะรูปแบบยาวจากบนลงล่าง และมีเทคนิคการทอที่ทอสลับกันระหว่างตาหมี่และตาขั้น <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>          ตาหมี่ จะเป็นไหมมัดหมี่ลวดลายต่าง ๆ ตั้งแต่หนึ่งลำไปจนหลายลำ ตามขนาดของลวดลายที่ช่างทอต้องการ ในผ้าผืนหนึ่งช่างทออาจจะกำหนดตาหมี่ขึ้นมาลายลายทอประกอบกันหลายลายเพื่อทอสลับกันไปทั้งผืนผ้า ส่วนตาขั้นจะเป็นไหมย้อมสีต่าง ๆ หรือมีการเกียวเส้นไหมสองสีเข้าด้วยกันคนลาวเรียก มักไม ทั้งส่วนของตาหมี่และตาขั้นจะทอสลับกับไปตลอดทั้งผืนผ้า <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p><p>ส่วนลวดลายในตาหมี่นั้น จากการศึกษาผ้าตัวอย่างของผู้วิจัยและนักวิจัยลาวพบลวดลายมัดหมี่ต่าง ๆ ดังนี้ </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                                     หมี่ข้อ                                             </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ลายนี้เรียกชื่อลายตามลักษณะของการมัดหมี่ของช่างมัดหมี่เป็นข้อ ๆ หรือป้องๆ เรียงและมีระยะห่างเท่ากันไปจนสุดลำหมี่ ลักษณะนี้เป็นทั้งลวดลายประกอบหมี่ขั้นลายอื่น ๆ และมีลักษณะเป็นลายหมี่ด้วยตัวของมันเอง </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในเรื่องของความเชื่อลักษณะของการมัดเป็นข้อหรือเป็นป้องนี้ มีลักษณะของความเชื่อเรื่องขวัญเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากแต่ละข้อแต่ละป้องที่มัดนี้เป็นการมัดขวัญให้อยู่ติดกับเส้นไหมลักษณะการมัดขวัญให้อยู่กับเส้นด้ายนี้มีลักษณะร่วมเดียวกันกับการมัดข้อไว้ตรงกลางฝ้าย ที่ใช้สำหรับการผูกแขนในงานพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญอยู่กับเนื้อกับตัวของคนที่ถูกผูก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>ลวดลายกลุ่มนี้แสดงออกดังภาพประกอบนี้  <div style="text-align: center"></div>  <ul style="margin-top: 0cm"><li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: list 36.0pt">                       หมี่ลายนากน้อย                             </li></ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">คนลาวเชื่อว่ากลุ่มชาติพันธุ์ลาวนั้นมีเชื้อสายมาจากนากโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเมืองเวียงจัน เพราะเชื่อว่าเวียงจันเป็นเมืองนาก ฉะนั้นช่างทอผ้าจึงนำนากมาประดิษฐ์เป็นลายผ้า ไว้ใช้สำหรับงานประเพณีสำคัญเพื่อแสดงความเคารพยำเกรงต่อบรรพบุรุษของตนเอง </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt 36pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ในการถ่ายทอดลวดลายความเชื่อเกี่ยวกับลายนากนั้น เป็นการ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของลวดลายกันในบรรดาชนเผ่าในบริเวณอาณาจักรล้านช้างโดยเฉพาะ ลวดลายนากชาวเวียงจันน่าจะได้รับอิทธิพลจาก ไทคั่ง ไทพวนจากทางตอนเหนือของลาวในปัจจุบัน รวมทั้งชาวไทคั่งและไทพวนที่อพยพลงมาตั้งถิ่นฐานในเขตเมืองเวียงจัน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left"> ในหมี่ขั้นการมัดหมี่ลายนากในเวียงจันจะปรากฏในรูปของลวดลายนากที่ถูกปรับเปลี่ยนลงจากรูปนากของชาวไทคั่งหรือไทพวน คือมีการลดรูปนากที่เหมือนจริงตามจินตนาการให้กลายเป็นนากลดรูปเช่นลายขอ ลายนากน้อย  ในทางเทคนิคการมัดหมี่มีการลดขนาดของตาหมี่ให้เหลือน้อยลำซึ่งสอดคล้องกับการลดรูปนากลงเช่น ลายนากน้อยในผ้าตัวอย่างพบลำหมี่เพียง 5 ลำเท่านั้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left">ภาพประกอบลายนากจากหมี่ขั้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left"> </p>

คำสำคัญ (Tags): #หมี่ขั้น
หมายเลขบันทึก: 55258เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2006 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

 Cab Driver เรียนท่านออต

 วันนี้พวกเรามาช่วยทีมงานวิทยาเขตหนองคาย ของท่านพี่วันชัย สักครู่จะข้ามโขงไปเยี่ยมยาม พี่น้องฟากโน้นครับ





โชคดีครับท่านอาจารย์หมอ  หมู่เฮาชาวลาวขอต้อนฮับพี่น้องด้วยความยินดียิ่ง ขอให้ความพัวพันระหว่างเฮาสองบ้านพี่เมืองน้องจงเจริญสืบหน้าต่อไป

อย่าลืมไปกินเฝือ ซุบผักแบบซำเหนือ และจิบเบียร์ลาวพอให้สุขภาพดีนะครับ อาจารย์

หลงทางเข้ามา แต่ไม่ผิดหวัง เพลิดเพลินดี จะเข้ามาอ่านอีกครับ..
ทุกลายมีความหมาย ที่ถ่ายทอดเป็นลวดลาย ได้ความรู้ ความเข้าใจ ดีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท