0.2 Music Man มนุษย์ดนตรี (1)


0.2 Music Man การเป็นมนุษย์ดนตรี

“ดนตรีมีภาษา ภาษาดนตรี เป็นภาษาโลกไปแล้ว คือภาษาโลกดนตรี เรา คือมนุษย์ดนตรี Music Man ถ้าเรา เล่นแต่ดนตรี ย่อมไม่ต่างกับนักดนตรีทั่วไป”

เป็นชั่วโมงที่รองศาสตราจารย์ ดร. พรรณี ชูทัยเจนจิตได้เข้ามาร่วมวิชาสอนแทนอาจารย์ประจำวิชาการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์คือรองศาสตราจารย์ดร. ทัศนีย์ นนทะสร ระดับ 9 รองศาสตราจารย์ ดร. พรรณี ชูทัยเจนจิตท่านได้กล่าวถึงอับราฮัม มาสโสลว์  Abrahum Maslow ปริญญาเอกนักจิตวิทยามานุษย์นิยม Humanistic Psychology เรื่องการรู้จักตนเองตรงตามแนวสภาพ (Self - actualization) กระผมได้นำมารตชี้วัดแขนงนี้มาใช้กับดนตรี เพื่อ ผู้มีศิลป์เชิงดนตรีได้รู้จักตนเองตรงตามแนวสภาพ กับ ศ. Carl Rogers นักจิตวิทยา

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง Theory relation

ผู้ดำเนินการ ได้นำภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติบางส่วนของกลุ่มมานุษย์นิยม Humenism แห่งสำนักปฏิบัติพฤติกรรมตามรู้ในตน Strucktunalism of Behaviors  Sigmund Freud รวมเข้าไว้กับวิชาสุทรีย์ศาสตร์ ด้านส่วนความงาม Aesthetic ใช้ศาสตร์จริยธรรม Aethic nature เป็นมารตวัดเชิงความพอดี ก่อนอื่นผู้ดำเนินการขอเปรียบเทียบกับปรัชญา ได้เห็นความสัมพันธ์กันดังนี้ จิตปรัชญา นั้นเป็นวิชาเดียวกันเปรียบเสมือนโต๊ะเขียนหนังสือถ้ามีเพียงสองขานั้นย่อมใช้งานไม่ได้อย่างสมบูรณ์ เพราะสรรพสิ่งที่มีมานั้นให้ไว้สองสถานสิ่งเช่น มนุษย์กำเนิดขึ้นจากแป้งและน้ำตาล มีฮอร์โมนเพศหญิงย่อมต้องมีฮอร์โมนเพศชาย มีอดัมต้องมีอีฟ มีองค์พ่อจีวายฟย่อมต้องมีองค์อุมาถ้ากล่าวในด้านศาสนาแล้วเมื่ออยู่ในภาคมนุษย์ย่อมอยู่ในกรณีนี้หรือเปล่าวสังคมมนุษญ์ศาสตร์ก็คือมนุษย์อยู่ผู้เดียวในโลกไม่ได้ (กลัวผี) เพราะโลกไม่อนุญาต เมื่ออยู่ด้วยกันย่อมกระทำสันดาบกันและมนุษย์ยังทำเหมือน conformable เพื่อความสะดวกสบายเช่นทำประตูเพื่อให้มีการเข้าออก มีน๊อตตัวผู้ย่อมต้องมีน๊อตตัวเมีย มีตะปูก็เพื่อตอกฝังเข้าในเนื้อไม้และยังมีอีกมากมายที่มนุษย์สร้างไว้ สาร ย่อมมีขั้วบวกลบเพื่อดำเนินการสันดาบ(วิทยาศาสตร์)ท้องฟ้าเพื่อมีไว้ให้นกบิน(สุนทรียะศาสตร์หรือ...)

เปรียบเทียบปรัชญากับจิตวิทยา

…………………………….Metapisis………………………....Philosophy

1Thing - สิ่ง.........................2.what - สิ่งที่...........................3..What’s – สิ่งที่มี

  1. Thing.. คือสิ่งที่คิด – ไม่ได้ – ไม่ถึง หมายถึงปัญญาไม่เกิด เพียงเกิดแรงกระตุ้นทางความคิดจับที่สิ่ง..เพียงแค่รู้ Plato เรียกว่าความลับรู้
  2. What.. รู้ว่าอะไร..แต่ไม่มีสิทธิเลือกได้
  3. What”s .รู้ว่ามีในความคิดเกิดความรู้สึกรู้Plato เรียกว่าความรับรู้  

……………… ……  ……  Any – Psychology……………….  Psychology

1 ID – อัต ........................2.Supperego….อภิอัตตา.................3.Ego….อัตตา

  1. ID – อัต หมายถึงความต้องการที่ขาดสำนึก เพียงเกิดแรงขับ need กระตุ้น พอใจในสิ่งเร้า
  2. Supperego...อภิอัตตา เป็นกลุ่มประกอบองค์ศิลธรรมจรรยาช่วยเป็นมาตรวัดมอบค่าให้ว่าควรหรือมิควร
  3. Ego..อัตตา การปฏิบัติด้วยการไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล สร้างสมดุลย์ให้กับคุณลักษณธของSupperego…อภิอัตตาและ1.    ID – อัต

 

เมื่อเทียบกับการกล่าวเชิงด้านปรัชญาแล้ว1.ID – อัต กับ 3.Ego…อัตตาย่อมต้งไปด้วยกันเหมือนนิทานไทยโบราญกล่าวไว้ว่า มีคนตาดีคนหนึ่งแต่ขาเดินไม่ได้ และมีคนตาบอดร่างกำยำคนหนึ่งแต่มองไม่เห็นทั้งสองได้ร่วมทางกันด้วยการให้คนตาดีนั่งบนบ่าร่วมทางกันไป ผู้ดำเนินการมีความเห็นว่าปรัชญากับจิตวิทยาน่าจะเป็นเช่นนั้น

 

ข้อสังเกต  จิตวิทยา        หนึ่ง           ID – อัต กับหนึ่ง  Ego – อัตตา รวมแล้วเป็นสองสิ่งเช่นเดียวกับจิต – ความคิด

                        Supperego...อภิอัตตา – หมายถึงย่อมมีมากกว่าหนึ่ง

ข้อสังเกต  ปรัชญา   หนึ่ง    Thing.. คือสิ่งที่คิด – ไม่ได้ – ไม่ถึง กับหนึ่ง What”s .รู้ว่ามีในความคิดเกิดความรู้สึกรู้ Plato เรียกว่าความรับรู้  รวมแล้วเป็นสอง เกิดปัญญาญาณ

Cognitive cognition

What – สิ่งที่ – Metapisis – หมายถึงย่อมมีมากกว่าหนึ่ง

ถ้าเทียบกับดนตรีแล้วย่อมมีค่าของเสียงที่ลงตัวกับไม่ลงตัวเมื่อผ่านการคำนวณแล้ว

 

กำเนิดมนุษย์ดนตรี  Born to be music man

มนุษย์ เกิดมาพร้อมดนตรี สาเหตุมาจากจำการดนตรีไม่ได้ เพราะความรู้สึกในดนตรีขณะเวลานั้น ไม่มี เช่นเดียวกับความรู้สึกต่างๆบางอย่างในตัวทารก เพียงเริ่มแต่มี Id อย่างไร้เดียงสา ยามเมื่อต้องการสิ่งใดๆไปตามวัยวัน ความต้องการอย่าง “ดิบ” ได้ขอความช่วยเหลือ จะสำแดงออกทางกริยา และทางเสียง เช่นหิว ร้อน ท้องอืด มดกัดเจ็บ รู้ได้จากกระบวนการศึกษาของ ซิกมัน ฟรอยด์ที่ค้นพบ แห่งสำนักพฤติกรรมนิยม Behaviorlism เพราะทุกอย่างที่รู้ สาเหตุมาจากความไม่รู้ 

  

เริ่มเป็นมนุษย์ดนตรี Began as a music man 

ประกายจากสิ่งล่อใจ Spark of attraction ในตัวเปิดรับเสมอ คล้าย Batery ขั้วลบในตัว รอการสันดาบจากสื่อบวกนอกตัว หรือคล้าย Batery ขั้วบวกในตัวรอการสันดาบจากสื่อลบ นอกตัว เพราะประกายสิ่งล่อใจจาก สิ่งแวดล้อม ร่วมกระทำการสันดาบล้ำนิเวศณ์เข้าร่างกาย แล้วแพร่กระจายสร้างเครือข่าย ครองยึดคลุมพื้นที่บริเวญความคิดระบบคำนวนทางจิต Digital mind และเฟืองจักร์นิสัย Cycle gear habit ให้เกิดชอบ บัญชาจับหมุนไปตามอำเภอใจของสิ่งแวดล้อม เก็บไว้ในคลังแห่งประสบการณ์แปรสภาพเป็นความรู้ เช่นสื่อดนตรีจากนอกตน ก็เกิดกระบวนการปฏิบัติเช่นนั้น

 

 การเป็นมนุษย์ดนตรี  Music Man

 ในฐานะสิ่งแวดล้อมเป็นผู้สอน ย่อมควบคุมญาณพฤติกรรมนุษย์ได้ เพราะกระบวนแสวงรู้ในตนรับไว้ เช่น เพลงกล่อมลูก หรือเพลงสวดในโบสถ์ Anthem ทารกได้จัดกระบวนการตามรู้ด้านรับฟังไปเรื่อยๆ เสียงระดับปานกลางผ่อนยาวเรียบ สะกดให้ความรู้สึกนี่ง เพลินในขณะติดตามเสียงนั้น จนเผลอหลับไป

 

ผู้ดำเนินการได้ทดสอบเด็กวัยขวบนี้ ลองเปิดเพลงไทยเดิมแนวหวานเรียบเด็กจะรำ ถ้าเพลง Callsic ยาวๆ เพลินแค่สักพักเดียวเพราะสมาธิสั้น ถ้าเปิดเพลงสากลแนว Acoustic easy pop      เด็กจะเต้น แต่ถ้าเปิดเพลง Rock มหาอารมณ์ หรือเพลงหลุดขั้ว เด็กจะร้องแล้วกลัว แสดงว่า ถึงแม้จะเป็นดนตรีสุทรีย์ยิ่ง ย่อมต้องเลือกเพลงตามวัยให้เข้ากับเด็กตามที่ ซิกมัน ฟรอยด์ จัดระยะวัยไว้ ควรจัดหาเพลงให้ด้วยวิธีวิธีรินใส่ ให้รับดนตรีไว้ด้วยการซึมซับ เพราะเด็กยังใกล้กับธรรมชาติอยู่ ตามชนบท ฟังเสียงนกเสียงไก่ เด็กยังแปลภาษาความรู้สึกเป็นดนตรีได้ แต่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแล้ว ย่อมรับเพลงดนตรีแนวปัจุบันตามทันสมัยนิยมของสังคมระยะนั้น    

                  

วัยรุ่น Top teenege ความชอบอย่างหลงใหนในดนตรีเรื่มเมื่ออายุเกนณ์วัย 14 ชาวตะวันตกเริ่มเมื่ออายุ 16 โดยหลักเกนณ์สำหรับหญิงต้อง หล่อ สวย เป็นอันดับหนึ่งอย่างมีค่าในกลุ่มสำคัญนิยม Further major hits ประกอบกับแสวงหาความรู้ทีจะเรียนรักไปในตัว หญิงชาย พบปะสังสรรกัน อย่างไม่ค่อยกล้านัก คล้ายการผจญภัยอันน่าสนใจยิ่ง ดาราดนโปรดต้องมีคุณสมบัติ ร้องเพลงแสดงคนตรีเป็น พูดหน้าเวทีเป็น เต้นรำเป็น แสดงละครเป็น และต้องทำตัวมิให้สังคมบันเทิงลืม ต้องเป็นคนโปรดประจำตัว เพื่อทำตัวเลียนแบบ The great suppermusic man ทำตัวอย่างไรชอบไปหมด โดยเฉพาะฝีมือต้องเร็วขนาดลมพัดตามไม่ทัน ยิ่งเป็นดรานักปั่นเสียงแล้ว สนใจมากที่สุด สำหรับผู้ที่ถูกควบคุมให้เรียนดนตรีอย่างมีกฏเกนณ์ หมายถึงการคาดหวังเรื่องอนาคตดนตรี

 

วัย15 – 25 ปี วัยเรียนตามรู้ Ages to be aware (of.) คำนึงตนตรีแต่แนวที่ตนชอบอบแนวเดียว บางเพลงเสียงแนวดนตรีดังเกินพิกัด ดีตรงที่ไม่วิเคราะห์วิจารณ์เพลงแนวอื่นอย่างหาโดยหลักการไม่ ความรักในดนตรี ย่อมสละได้ทั้งเวลาและโอกาศ สามารถละทิ้งความจำเป็นบางอย่างที่ได้มา โดยตั้งความหวังไว้สูงว่า ต้องเป็นดาราเสมือนในทัศนตน ด้วยการหาความรู้เพิ่มเติม ตามแบบที่ตนชอบ และศึกษานอกเวลาเรียนหนังสืออย่างมุ่งมั่น โดยใช้แฟชั่นเพลงยุคกำลังอยู่ในวัยนั้น เป็นสื่อนำทางความคิดผลิตปฏิบัติร่วมสังคมรวมวงชึ้น ขณะเล่นดนตรียังทรงตัวไม่ดีนั้น มีความคิดที่จะแสดงดนตรีอย่างไม่นึกถึงความเหนื่อยยากและลำบากต่อการขนเครื่องไปแสดง ถึงแม้ไม่ได้ค่าแรงก็ตาม หวังบทเรียนในการผจญภัยอย่างตื่นใจ จากนั้นนำสมาชิกวงร่วมวิเคราะห์ในประสบการณ์ครั้งนั้นด้วย สำหรับเส้นทางนักดนตรีเดินเดี่ยว ได้ศึกษาวิธีการจัดการดนตรี Music Manegment (MM) จากได้เข้าไปสมัคงานในสถานบัณเทิง ได้พบเห็นระบบนิติบุคคลด้านบริหาร สมควรปฏิบัติตนเพื่อการดำรงค์อาชีพทางดนตรีอย่างไร ไม่เป็นไรเพราะกำลังอยู่ในวัยนักศึกษา

 

วัย25 – 35 ปี วัยมุ่งหารายได้ทำงานสร้างตัว เป็นวัยที่ต้องการแสดงความรู้และความสามารถในสิ่งที่ตนศึกษามา ค้นคว้าซ่อมแซมแต้มเติม เพื่อที่จะทะลุกำแพงเพลงเก่าโดยไม่คิดถึงความหนาบางของกำแพงเพลงนั้น จากประสบการณ์ที่ยังมีไม่พอต่อการคุ้มภัยทางสังคมดนตรีในช่วงระยะ 5 ปีต้น อาศัยใจรักในดนตรีจึงอภัยให้สิ่งแวดล้อมได้ เช่นปัญหาเดินไปชนกับของแข็ง ปัญหาการเปลี่ยนการติดต่อ Contac ปัญหาว่างงาน No job  แนวการเล่นไม่เหมาะกับสถานที่ ระยะ 5 ปีหลัง ฝีมือและประสาทสัมผัสจะร่วมกันเป็นพลัง และเมื่ออายุได้สร้างประสบการณ์ให้ด้วยแล้ว ความเจนจัดในกระบวนการดนตรีทางปัญญาได้ประกาศตัวขึ้นในตน เป็นผู้บริหารในวงการดนตรี Leader music ship เพราะรู้จักบริหารแก้ปัญหาเป็นอย่างดีได้แล้ว ดาวจรัสแสงดวงใหม่อย่างสูงส่งนี้ ได้มุ่งหน้าเข้าสู่การเรียบเรียง วิเคราะห์ สังเคราะห์ โดยได้รับการยอมรับตามที่ Ubrahum Maslow กล่าวไว้อย่างไว้ใจ

 

วัย 35 – 45 ปี เพลงแห่งการเป็นนักจิตวิทยา Music Psychology แนวค้นหาเริ่มปรากฏขึ้น วิทยศาสตร์ Academic accelerated ได้สอบถามเข้าไปในตนว่าพร้อม แล้วหรือที่จะเริ่มเป็น Music man ได้ในระยะระดับนี้ หมายจะสร้างฉายาลักษณะเพื่อให้ทั้งนอกในกลุ่มชนดนตรียอมรับในความสามารถ Ability เป็นวัยที่พลังสมองสั่งงานให้ทักษะปฏิบัติงานร่วมอย่างเข้ากันได้ดี สังคมคึกคัก เพราะฝีมือ ได้เข้าไปอยู่แนวหน้าเพราะสังคมบัญชา (เฉพาะผู้เอาใจใส่ต่อการดนตรีมาตั้งแต่ต้น) สังคมดนตรี Music Social Manegment ได้จัดอันดับให้รางวัลไว้โดยแยกทางชีวิตออกเป็นสองสาย ดังสายหนึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมบันเทิง สามารถสร้างการจัดการบริหารดนตรีได้ และอีกสายหนึ่งมีความสุขกับสุนทรียะบันเทิงด้วยการรักที่จะร้องรักที่จะเล่น มีประโยคคำถามหนึ่งกล่าวว่า ทำไมไม่นำทั้งสองสายนี้มาเข้าด้วยกัน ขอตอบว่าถึงเข้ากันได้ก็ย่อมเกิดปัญหาเพราะสายทางเศรษฐกิจสังคมบันเทิง ย่อมมุ่งถึงการจัดการบริหาร สิ่งที่เข้ามาก่อปัญหาจากหลายๆสิ่งเช่นคู่แข่ง ฯ ล ฯ และอีกสายหนึ่ง มีความสุขกับสุนทรียะบันเทิงไม่ค่อยคิดสร้างฐานะเพราะมีความสุขต่อความมีสุนทรียะในตัวอยู่แล้ว

 

วัย 45 – 55 ปี วัยที่กำหนดฝีมือตนเอง ตามวิถีฝีมือ Way feat แล้วนั้น ถือเป็นสมบัติส่วนตน ได้รับ การพัฒนาดนตรีในตนมุ่งหวังผลสัมฤทธ์ เพลงที่มีอยู่ในตัวแล้วย่อมพัฒนาตาม Music based Development จากการที่เคยบรรเลงเล่นอย่างดีแล้ว ได้มีลูกเล่นใหม่ๆ new features เข้าไปแต้มเสริม นำวิเคราะห์ดนตรี assay music สังเคราะห์ดนตรี synthesis และด้านชำนาญการประพันธ์ จากวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทำสิ่งที่ผิดให้กลายเป็นสิ่งฮิตติดนิยม Fashion ได้ แต่เอกอนุรักษ์ฝีมือเฉพาะตนปรากฏขึ้นสำหรับนักดนตรีที่ติดอยู่ในความชำนาญนั้นชัดแจ้งขึ้น จนกลายเป็นผู้อนุรักษ์ดนตรีนิยม Music Coservative รับค่านิยมเดียวกันในกลุ่ม จัดสมญา great man ประจำรุ่น ประจำ พ.ศ. ในแนวประเภทดนตรี Style นั้นไว้เป็นตัวอย่างเพื่อการสืบสาน  

 

วัย 55 – 65 วัยแนวอนุรักษ์ดนตรีนิยม Music Coservative ได้สร้างพฤติกรรมดนตรีมนุษย์นิยมMusic Behavior Humanisim (MBH) ชัดขึ้น เมื่อมีการผลิตเพลงใหม่ในปัจจุบัน นำเปรียบเทียบกับเพลงที่ตนชอบครั้งสมัยอดีตที่ยังเคยรุ่งเรือง อีกด้วยเรื่องคุณสมบัติประเพณีการเป็นนักดนตรีสมัยนั้น นำมาเปรียบเทียบกัน ตามแนวทฤษฎีดนตรีและแนวดนตรีปฏิภาค Music proportion ย่อมเกิดผลต่างให้กับตนเพราะ ตนเป็นผู้กำหนด คิด ใช้ ทำอย่างไร ย่อมได้อย่างนั้น สาเหตุเพราะภาษาเพลงในใจ Music language in mind ชี้วัด ย่อมเกิดความต้านทานกับเพลงสมัยใหม่ ถ้าเป็นอย่างนั้น

 

สำหรับนักดนตรีที่ยังคงสภาพอยู่ ควรเปิดทางให้ตัวเองด้วยความถนัดในฝีมือตน มุ่งหน้าสร้างบรรเลงเพลงแนวอนุรักษ์ครั้งอดีตที่ยังเคยรุ่งเรือง ให้เกิดดนตรีอดีตแนวมิตรสัมพันธ์ เพื่อกลุ่มอนุรักษ์นิยม ชี้ชวนให้เห็นคุณค่ารักษาไว้ในลักษณะแนวเพลงอมตะ ย่อมได้รับความนิยมจากอดีตวัยเดียวกันที่ยังมีความสุขกับเพลงแห่งความหลัง แค่นั้นยังมิพอ ยังต้องไปถึงกลุ่มดนตรีอนุรักษ์นิยมสืบต่อในสมัยใกล้กัน ควรนำประสบการณ์ตามสถาณะดนตรีระยะนั้น บรรเลงเล่นได้โดยเพื่มการปัฏิบัติตามที่ตนถนัด

 

วัย 65 – 75 ปี ขึ้นไป ดนตรีอดีตนิยม Pass popula music หรือดนตรีแห่งความหลัง เป็นดนตรีที่ให้ความสุขแก่ตน Self happinesssong และผู้ที่อยู่ใกล้ในวัยเดียวกัน ดนตรีเปรียบเสมือนบทประกอบจินตภาพยนต์ชีวิต จากประสบการณ์ขณะนั้น ได้พูดได้กล่าวถึงเมื่อมีผู้รับฟัง สมควรพูดและบรรเลงเล่นดนตรีในนิเวศณ์ ไม่เสนอตนคิดสอนผู้ใดนอกจากเด็ก จงภูมิใจพอใจในสิ่งที่ตนได้ผ่านมา ควรอยู่ในสิ่งแวดล้อมของกลุ่มที่ชอบในสิ่งเดียวกันได้ทุกเพศวัย     

 

สรุปชี้แนะ

ผลจากการเป็นมนุษย์ดนตรี ในความต้องการของมนุษย์ ตามข้อกำหนดของศาสตราจารย์ Ubraham Maslow 7 ระดับเมื่อ Ubraham Maslow คิดอย่างไรกับดนตรี และต่อกระบวนการพฤติกรรมนิยม Process behaveorism นี้ ผู้ดำเนินการได้นำมาร่วมใช้กับกระบวนการพฤติกรรมดนตรีนิยม Process music behaveorism ย่อมรู้ถึงการดำรงค์ต่อการนำใช้ ดังความต่อไปนี้

หมายเลขบันทึก: 552067เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2013 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ตุลาคม 2013 10:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

  ..... ขอบคุณบทความดีดีนี้ค่ะ ..... ทำให้เห็นพัฒนาการ .... ทางดนตรี กับ ความเป็นมนุษย์ นะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท