ปิย่า
ปิยาภรณ์ พิมลพันธุ์ ทองประดิษฐ์

เครื่องมือประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้ม


......จากความเดิมที่กล่าวถึงไว้ คือปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ วันนี้ผู้เขียนขอนำเสนอ เครื่องมือประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้ม ที่นิยมใช้ โดยแบบประเมินนี้มีชื่อว่า “Morse Fall Scale*ท่านใดสนใจนำไประเมินผู้สูงอายุที่บ้าน ได้ผลเป็นอย่างไร มาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

ลำดับ

หัวข้อการประเมิน

เกณฑ์คะแนน

คะแนนที่ได้

 1.

มีประวัติการพลัดตก หกล้มภายใน 3 เดือน

ไม่ใช่ = 0

 

ใช่    = 25

2.

ได้รับการวินิจฉัยโรคมากกว่า 1 โรค

ไม่ใช่   = 0

 

 ใช่     = 25

3.

การใช้เครื่องช่วยเดิน

 

 

 

-       นอนติดเตียง / ต้องการผู้ช่วยเหลือ / ใช้รถเข็นนั่ง

0

 

 

-       ใช้ไม้เท้า / ไม้ค้ำยัน / คอกช่วยเดิน

15

 

-       เดินโดยการเกาะเฟอร์นิเจอร์

30

4.

มีสายน้ำเกลือให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ

ไม่ใช่     = 0

 

ใช่       = 20

5.

การเดิน / การเคลื่อนย้ายตนเอง

 

 

 

-       เดินปกติ / นอนเตียง / ไม่ขยับตัวเอง

0

 

 

-       เดินท่าโค้งไปข้างหน้า ก้าวเท้าสั้นๆ

15

 

-       ท่าเดินผิดปกติ (ลุกลำบาก เดินก้มหน้า)

20

6.

การรับรู้

 

 

 

-       รับรู้ระดับความสามารถของตนเอง

0

 

 

-       มักลืมข้อจำกัดในความสามารถของตน

15

 

 

รวม

 

คะแนน 0-24                                  ไม่มีความเสี่ยงที่จะหกล้ม

คะแนน 25-50                                มีความเสี่ยงที่จะหกล้มต่ำ

คะแนน มากกว่าหรือเท่ากับ 51              มีความเสี่ยงที่จะหกล้มสูง

หมายเหตุ

  1. *Morse Fall Scale เป็นเครื่องมือประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้ม ที่ได้รับความนิยมใช้ในโรงพยาบาล โดยมีข้อจำกัดในเรื่องการประเมินของปัจจัยภายนอก
  2. ในข้อ 4 กรณีนำไปประยุกต์ใช้ในครอบครัว หรือชุมชน อาจต้องปรับเป็นเรื่องของเสื้อผ้าที่รุ่มร่าม รองเท้าที่ไม่เหมาะสม แล้วแต่กรณี

เอกสารอ้างอิง: http://www.networkofcare.org/library/Morse%20Fall%20Scale.pdf

หมายเลขบันทึก: 552062เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2013 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ตุลาคม 2013 09:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ข้อ 3 และ 5 ต่างกันอย่างไร ต้องการบอกอะไรเราคะ

ความแตกต่างระหว่างข้อ 3 และ 5

  1. ข้อ 3 เป็นการประเมินการใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ถ้าผู้สูงอายุเดินได้เอง / มีผู้ช่วยเหลือ / ใช้รถนั่งเข็น / นอนติดเตียง ได้คะแนน = 0
  2. ข้อ 5 เป็นการประเมินความสามารถในการเดิน / ท่าเดินที่ผิดปกติ เช่น ถ้าผู้สูงอายุเดินปกติ / นอนพักอยู่บนเตียง / ไม่สามารถขยับตัวได้เอง ได้คะแนน = 0
  3. การใช้ประเภทของอุปกรณ์ช่วยเดิน จะบ่งบอกถึงการทรงตัวของผู้ป่วยได้ดีแค่ไหน

 

พิมพ์รภัช อนันต์ศรี

ข้อ5 คัดพอยท์ที่ตรงไหน ผู้ป่วย ติดเตียงช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ให้กี่คะแนนคะ และข้อ6 ตัดที่การรับรู้เลยใช่ไหมคะ คนไข้ติดเตียงได้ 15 คะแนนถูกไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท