การจากไปของ ดร.ทิพย์วัลย์ สุทิน ผู้อยู่เบี้องหลังความสำเร็จของ ระบบสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


อาจารย์หมู กับ การพัฒนาระบบสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

บันทึกฉบับนี้ เขียนขึ้นเพื่อไว้อาลัย แด่การจากไปของ ท่าน ดร.ทิพย์วัลย์ สุทิน หรือ อาจารย์หมู ของพี่น้องชาวมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ ผู้ที่รักเคารพท่าน                                                 

   ผมทราบข่าวการจากไปของท่านอาจารย์ด้วยความตกใจเป็นอย่างยิ่ง จากทางโทรศัพท์จากน้องที่ทำงานโทรมาบอก และรู้สึกเหมือนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แทบจะสั่นไหวทีเดียว จากการรู้จักกับท่านอาจารย์สิบกว่าปี ท่านเป็นคนจริง คนตรง พูดเสียงดัง เป็นทั้งครูเป็นทั้งพี่ เป็นต้นแบบที่ดี และท่านช่วยงานสำคัญ ๆ ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยตลอด ถ้าถามว่า ให้ยกตัวอย่างครูต้นแบบ "ครูที่ดี ครูที่ทันสมัย ครูที่เสียสละ ครูที่กล้าพูด กล้าแสดงออก" อาจารย์หมูนี่แหละใช่เลย ผมขอไว้อาลัยต่อการจากไปของท่านอาจารย์มา ณ โอกาสนี้ครับ บันทึกนี้จะขอบันทึกความทรงจำ ที่ท่านอาจารย์ดร.ทิพย์วัลย์ สุทิน หรือ อาจารย์หมู ได้ร่วมพัฒนางานด้านสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดังนี้ครับ

ภารกิจภายใน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ด้านสหกิจศึกษา ดร.ทิพย์วัลย์ สุทิน

1. คณะกรรมการบริหารโครงการสหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ 2553 - 2554

2. คณะกรรมการประจำศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ 2554 - 2557

3. อาจารย์ผู้ประสานงานสหกิจศึกษา หลักสูตรภาษาจีน สำนักวิชาศิลปศาสตร์

4. อาจารย์นิเทศสหกิจศึกษา

5. ประธานคณะกรรมการฝ่ายตัดสินการประกวดโปสเตอร์ สหกิจศึกษาดีเด่น ในงานวันสหกิจศึกษาสัมพันธ์ เครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคใต้ตอนบน ครั้งที่ 5 ปีงบประมาณ 2556 ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

6. หัวหน้าคณะทำงาน วิจัยสถาบันสหกิจศึกษา เรื่อง “สถานภาพ กระบวนการ และศักยภาพ ในการจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 2555”

7. อาจารย์บรรยายหัวข้อ “สหกิจศึกษา กับ Active Learning” รายวิชาเตรียมสหกิจศึกษา เดือน สิงหาคม 2556

8. กรรมการสอบสัมภาษณ์บุคลากรใหม่ ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ ปี พ.ศ. 2555      

  ภารกิจภายนอก

9. คณะทำงานฝ่ายติดตามและประเมินผล สมาคมสหกิจศึกษาไทย 2551 -2555 ภารกิจ ประเมินการจัดอบรมหลักสูตรคณาจารย์นิเทศสหกิจศึกษา สมาคมสหกิจศึกษาไทย  

10. วิทยากร โครงการตลาดนัดความรู้การนิเทศงานสหกิจศึกษา เครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคใต้ตอนบน  วันที่ 3-4 กันยายน 2553 ณ โรงแรมพีช ลากูน่า จ.กระบี่

11. ประธานคณะวิทยากรจัดฝึกอบรม “หลักสูตร คณาจารย์นิเทศสหกิจศึกษา ” หลักสูตรรับรองจากสกอ. เครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคใต้ตอนบน โดยมีคณาจารย์นิเทศผ่านการประเมินและได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สกอ.จำนวน 181 คน ทั้งนี้เป็นคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 17 คน  รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 14- 16 พฤศจิกายน 2554 ณ โรงแรมกระบี่ดีวาน่า จ.กระบี่ มีคณาจารย์นิเทศผ่านการอบรม จำนวน 87 คน รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 20 – 22 กันยายน 2555 ณ โรงแรมเมืองลิกอร์ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีคณาจารย์นิเทศผ่านการอบรม จำนวน 94 คน                               

12. ได้รับเชิญจากคณะกรรมการจัดงานวันสหกิจศึกษาไทยครั้งที่ 5 พุทธศักราช 2544 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2555 ณ ห้อง Royal Jubilee Ballroom อาคาร IMPACT Challenger ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ร่วมเสวนาในหัวข้อ  “สหกิจศึกษานานาชาติ : ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จ"

                        เนื้อความตอนหนึ่งจากทัศนะของ อาจารย์ ดร. ทิพย์วัลย์ สุทิน 

  " มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ส่งนักศึกษาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศมากว่า 10 ปีแล้ว โดยส่งนักศึกษาจำนวน 100 กว่าคนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในประเทศต่างๆ จำนวน 7 ประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ จีน อินเดีย ออสเตรเลีย ฮังการี โดยส่งไปยังหน่วยงานต่างๆ เช่น องค์กรหน่วยงานราชการ กงสุล สำนักงานท่องเที่ยว และบริษัทเอกชนที่อยู่ในประเทศต่างๆ ประโยชน์ที่นักศึกษาจะได้รับนอกจากความรู้ ความสามารถ การตระหนักรู้ด้วยตนเองแล้ว สหกิจศึกษานานาชาติยังเป็นใบเบิกทางให้นักศึกษาได้มีโอกาสทำงานในต่างประเทศถึง 50% และมีโอกาสที่จะได้รับค่าตอบแทนสูงมาก และที่สำคัญนักศึกษาต้อง Open Mind ต้องมี Ability to be learn คือนักศึกษาต้องพร้อมที่จะรับ ต้องไม่กลัว ต้องกล้าแสดงออก ต้องเข้าใจวัฒนธรรม ต้องรู้จักการปรับตัว และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมีหลักสูตร Incountry Program ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เตรียมให้นักศึกษาก่อนสหกิจศึกษานานาชาติ นักศึกษาที่ผ่านหลักสูตรนี้แล้ว จะมีความกล้า มีความมั่นใจเปิดโลกทัศน์ในการไปใช้ชีวิตการเรียนรู้ในการไปอยู่ในต่างประเทศได้ในระดับหนึ่งและเมื่อนักศึกษาไปอยู่ในต่างประเทศ ถ้าเป็นประเทศที่ไม่ไกลเกินไปนัก เช่น มาเลเซีย จีน ไต้หวัน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะส่งอาจารย์ไปนิเทศนักศึกษาโดยมหาวิทยาลัยสนับสนุนงบประมาณให้กับอาจารย์นิเทศ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์นิเทศ และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่อาจารย์นิเทศ นอกจากนี้ ท่านยังได้เน้นถึงคุณภาพของบัณฑิตว่า มหาวิทยาลัยต้องดูแลเรื่องหลักสูตร ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ต้องมีหลักสูตรใหม่ ต้องมีความกล้าหาญ ต้องเรียนแบบ Lecture ให้น้อยลง ต้องให้ Integrate คือเรียนแบบบูรณาการให้มากขึ้น เช่น อาจจะมีสหกิจศึกษาถึง 3 เทอม หรืออาจจะไปสหกิจถึง 2 ครั้ง ซึ่งมหาวิทยาลัย ต้องมีนโยบายในเรื่อง สหกิจศึกษาให้ชัดเจน ต้องมีงบประมาณสนับสนุน ต้องมีศูนย์สหกิจกลางของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ท่านได้กล่าวถึงความท้าทาย (Challenge) ในการทำสหกิจศึกษานานาชาติ ให้สำเร็จว่า มีอยู่ด้วยกัน       4 ตัว  CAPS ประกอบด้วย                 

 C – Collaboration  คือความสามารถในการสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย ภายในเครือข่ายในประเทศและเครือข่ายในต่างประเทศ ผู้บริหารจะทำย่างไร?                                                                        

A – Accountability จะต้องทำอย่างรับผิดชอบ ทุ่มเท จริงใจ ตั้งแต่อธิการบดี จนถึงอาจารย์นิเทศ                   

P – Partnership     หุ้นส่วน สถานประกอบการ มหาวิทยาลัย ต้องสมดุลย์เคียงบ่าเคียงไหล่ไปด้วยกัน ทั้งครู อาจารย์ หน่วยงานต้องสมดุลย์ คือมีทั้งการส่ง นักศึกษาไป และรับนักศึกษาเข้ามา                                                  

S – Sustainability  สหกิจศึกษา คน เงิน สถาบันต้องยั่งยืนตลอดไป                                             

CAPS จึงเป็นประเด็นที่ท้าทาย สำหรับมหาวิทยาลัยที่ต้องการดำเนินงานสหกิจศึกษานานาชาติให้สำเร็จ มหาวิทยาลัยจะต้องก้าวข้าม 4 ตัวนี้ไปให้ได้  ปรับปรุงจาก http://web.aru.ac.th/jittima/images/pdf/report22.pdf วันที่ 28 ตุลาคม 2556

                                                                       

ขอให้ดวงวิญญาณ ท่านอาจารย์ไปสู่สุขคติเถิด ไม่ต้องห่วงทางหลัง พวกเราจะรักและพัฒนามหาวิทยาลัยเหมือนที่อาจารย์รัก และ พวกเราทุกคนรักอาจารย์ครับ อาจารย์หมู ...

หมายเลขบันทึก: 551921เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2013 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2013 09:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอให้อาจารย์ไปสู่สุขคติครับ

ผมเคยอ่านเรื่อง PBL ของอาจารย์

-ขอแสดงความเสียใจด้วยนะครับ

ขอแสดงความเสียใจ ที่เราสูญเสีย ครูเพื่อศิษย์ ไปอีกหนึ่งท่านครับ

...ขอแสดงความเสียใจ และร่วมไว้อาลัยให้ท่านอาจารย์นะคะ

ขอแสดงความไว้อาลัยอย่างสุดซึ้ง กับท่านอาจารย์ ดร.ทิพย์วัลย์ ผู้จากพวกเราไปอย่างไม่มีวันกลับมา ขอให้ท่านมีความสุข

อยู่บนสรวงสวรรค์ ตามที่ท่านปรารถนาด้วยเทอญ  ด้วยความอาลัย และด้วยความเคารพ

      เรืองยศ  วัชรเกตุ

ขอยกย่องจิตใจที่มุ่งมั้น ทุ่มเท ตลอดชีวิตเพื่อเยาวชน อาจารย์ทิพวัลย์เป็นต้นแบบครูเพื่อศิษย์ที่ขอเรียนรู้เป็นแบบอย่าง

รู้สึกเสียใจในการจากไปและขอร่วมไว้อาลัยอาจารย์ทิพวัลย์เพื่อนรัก 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท