โลกร้อน___ทำให้กองทัพ(ทั่วโลก)ต้องปรับตัว


สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง "โลกร้อนทำเราจน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
มีคำกล่าวกันว่า ความหิวทำให้เกิดการปฏิวัติ (การเมืองไม่นิ่ง) ได้
.
การศึกษาใหม่ (ทำโดย Overseas Development Institute / ODI) ทำโดยการใช้คอมพิวเตอร์จำลองแบบแผนภูมิอากาศ การกระจายตัวของประชากร และความสามารถในการจัดการภัยพิบัติภาครัฐ
.
ผลการศึกษาพบว่า ภาวะโลกร้อนจะทำให้เกิดภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะภาวะฝนแล้งต่อเนื่อง (drought) ทำให้คน 325 ล้านคน (มากกว่าคนสหรัฐฯ ทั้งประเทศในปี 2556 ซึ่ง = 315 ล้านคน) ขาดอาหารในปี 2030/2573
.
เขตที่อาการหนักหน่อย คือ อาฟริกาส่วนซับ-ซะฮารา (sub-Saharan Africa; "ซะฮารา" = แขกขาว หมายถึงอาฟริกาส่วนบนที่มีชาวอาหรับอยู่มาก เช่น ลิเบีย อียิปต์ ฯลฯ; ส่วนใต้ลงไปจะเป็น "ซับ-ซะฮารา)
.
ภัยธรรมชาติหนักๆ ได้แก่
  • ภัยแล้ง
  • ฝนตกหนัก
  • น้ำท่วม
การศึกษาจากชนบท (พื้นที่ห่างไกลเมือง) ของเอธิโอเปีย และรัฐอันธรประเทศ อินเดีย พบว่า ภัยแล้งอย่างเดียว เป็นสาเหตุของความยากจน
.
ในอินเดียนั้น, ภัยแล้งมีผลต่อการ "ทำให้จน" มากกว่า "เรื่องร้ายทีุ่สุด 2 เรื่อง" ได้แก่
  • สุขภาพไม่ดี
  • ค่าสินสอด (ในอินเดีย, ผู้หญิงเป็นฝ่ายจ่าย และทำให้เกิดการเผาครัว ฆ่าทวงหนี้กันหลายครั้ง)
ผู้เชี่ยวชาญจาก ODI พยากรณ์ว่า จะมี 11 ประเทศที่จะมีคนจน ขาดอาหาร และอาจหนีข้ามประเทศไปยังประเทศใกล้เคียง ทำให้เกิดการหลบหนีเข้าเมืองครั้งใหญ่ได้แก่
  • บังคลาเทศ
  • DRC / สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
  • เอธิโอเปีย
  • เคนยา
  • มาดากัสการ์
  • เนปาล
  • ไนจีเรีย
  • ปากีสถาน
  • ซูดานใต้
  • ซูดาน
  • ยูกันดา
ประเทศที่อยู่ใกล้ไทยมากๆ คงจะเป็นบังคลาเทศ กับปากีสถาน
.
ถ้ารวมผลกระทบจากภาวะน้ำทะเลสูงขึ้นแล้ว, บังคลาเทศอาจมีพื้นที่น้ำเค็มกินลึกไปถึง 1/4 ประเทศ ทำให้ปลูกพืชผักไม่ได้ หรือได้ไม่พอกิน เสี่ยงต่อการอพยพออกนอกประเทศระลอกใหญ่
.
ตอนนี้อินเดียทำรั้ว 2 ชั้น (มีพลปืนประจำ) กั้นแนวชายแดนบังคลาเทศแล้ว ทำให้คนบังลาอพยพเข้าอินเดียได้ยากขึ้นมาก
.
มีความเป็นไปได้ที่คนอินเดีย-ปากีฯ-บังลา (ปากีสถาน-บังคลาเทศ) จะอพยพเข้าพม่า หรือผ่านมาทางไทยในอนาคต
.
ความสามารถในการต่อสู้กับภัยธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง ฝนตกหนัก น้ำท่วม ฯลฯ ซึ่งอาจเกิดสลับกันจนมีพื้นที่หลายแห่งเกิดน้ำท่วม และฝนทิ้งช่วงในปีเดียวกัน จะทำให้เทคโนโลยีต้านภัยแล้ง เช่น การทำอ่างเก็บน้ำกระจายไปทุกหมู่บ้าน ฯลฯ มีความสำคัญเพิ่มขึ้น
.
กองทัพที่ดีในอนาคต จะต้องปรับตัวเพื่อให้มีความสามารถในการรองรับภัยธรรมชาติจากภาวะโลกร้อน อย่างน้อย 4 ด้านได้แก่
.
(1). การดับไฟป่า เช่น เฮลิคอปเตอร์-เครื่องบินดับไฟ ฯลฯ
.
(2). การขุด เจาะ หรือทำอ่างเก็บน้ำสำรองไว้ใช้
.
(3). การอพยพคนจำนวนมากอย่างเร็ว เช่น อพยพคนในช่วงก่อนพายุเข้า น้ำท่วม ฯลฯ
.
(4). การป้องกันคนต่างด้าวอพยพเข้าประเทศ โดยเฉพาะถ้าอพยพเข้ามามากๆ แล้วจะจัดการอย่างไร
.
(5). ความสามารถในการหาทุน เช่น อาจแบ่งพื้นที่บางส่วนทำฟาร์มแสงแดด ทำโรงไฟฟ้าแบบสะอาด ฯลฯ
.
การศึกษานี้พอจะบอกเป็นนัยว่า โลกในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า... มีแนวโน้มจะโหดไม่เบาทีเดียว
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีุสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

Thank BBC > http://www.bbc.co.uk/news/science-environment-24538078

หมายเลขบันทึก: 551175เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2013 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2013 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท