การค้าแบบกองเกวียน ณ เมืองนครราชสีมา


การค้าแบบกองเกวียนเป็นการค้าที่สำคัญของเมืองนครราชสีมาและในภาคอีสาน ชาวโคราชใช้เกวียนสำหรับการเดินทางไกลๆ โดยเฉพาะการเดินทางที่ต้องบรรทุกสินค้าไปมาระหว่างเมือง การเดินทางแต่ละครั้งจะจัดเป็นขบวนใหญ่ เรียกว่า “กองคาราวานเกวียน” เพื่อจะได้สามารถบรรทุกสินค้าไปขายคราวละมากๆ และเพื่อความปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย ในกองเกวียนจะมีผู้ดูแลเรียกว่า “นายฮ้อย” 

 

สินค้ากองเกวียนที่ส่งไปขาย มักเป็น ป่า ครั่ง นุ่น หนังสัตว์ เขาสัตว์ เกลือสินเธาว์ และสินค้าที่มาจากภาคกลาง เช่น ผ้าดิบ ยารักษาโรค เป็นต้น กองเกวียนจะบรรทุกสินค้าจากหัวเมืองต่างๆ ทั้งลาวและเขมร เช่น โค กระบือ กระวาน ไหม กำยาน แพรญวน พลอยแดง ดีบุก เป็นต้น เข้ามาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าบริเวณเมืองนครราชสีมา

 

 

ที่มาของภาพนี้ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2439 

สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคอีสาน เล่ม 15, 2542

 

 

หมายเลขบันทึก: 551148เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2013 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2013 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

..ขอบพระคุณที่นำภาพ..มาปรากฏให้เห็น..ถึงความ เปลี่ยนแปลง..ไปตามเวลา..เจ้าค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท