เหลาฟุ่ย....แต่งดา....ก๋วยสลาก....


เก็บภาพ"วันแต่งดาก๋วยสลาก"ของบ้านสุขสวัิสดิ์ ตำบลแม่ถอด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง บ้านเกิด....เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา งานมีสองวัน วันเสาร์แต่งดาก๋วยสลาก ส่วนวันอาทิตย์เป็นวัน"ตานก๋วยสลาก"คร้าบ!!!

                           -ในบันทึีกนี้จะพามิตรรัก G2K ทุกท่านไปช่วยผม "เหลาฟุ่ย...แต่งดา...ก๋วยสลาก..."กันครับ...ในวันหยุดที่ผ่านมา"บ้านสุขสวัสดิ์ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง"ได้กำหนดจัดกิจกรรมตามประเพณีทางภาคเหนือ คือ"วันกิ๋นข้าวสลาก"หรือ"ประเพณีสลากภัต"ซึ่งเป็นประเพณีที่ทำสืบทอดกันมาเป็นประจำทุกปี ครับ โดยกำหนดการจัดงานมี 2 วันคือ วันเสาร์ เป็นวัน"แต่งดา"หรือ"วันเตรียมงาน"ส่วน วันอาทิตย์ เป็นวัน"ตานก๋วยสลาก"หรือ"วันถวายสลากภัต"ครับ...และวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปช่วยกัน"เหลาฟุ่ย...แต่งดา...ก๋วยสลาก"ไปพร้อมๆ กันกับ"วงศาคณาญาติ"ของผมคร้าบ!!!

1.เช้าวันเสาร์ที่ผ่านมา "วงศาคณาญาติ"ของผมได้มาช่วยเตรียมงานกันในวัน"แต่งดา"หรือ"วันดา"ครับ..วันนี้เราต้องเตรียมงานหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการ"เหลาฟุ่ย"และ"ห่อขนม"และ"อาหาร"ประเภทต่าง ๆ ไว้สำหรับ"ใส่ในก๋วยสลาก"เพื่อถวายพระอุทิศส่วนกุศลไปให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว...และก่อนอื่น..ผมจะนำทุกท่านไปชมวิธีการ"เหลาฟุ่ย"กันก่อนครับ....

 

2.สิ่งแรกที่ต้องเตรียมในการทำ"ฟุ่ย"ก็คือ"ไม้ไผ่"ครับ เมื่อได้ไม้ไผ่มาแล้วก็นำมา"เหลา"ให้เ็ป็นเส้นฝอย ๆ โดยไม่ให้มันหลุดออกจากปลายไม้ "เหลา"ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้"ฟุ่ย"เป็นกระจุกตามภาพครับ...ขอบอกก่อนว่า..วันนี้ผมมีโอกาสได้ลอง"เหลาฟุ่ย"เป็นอันแรก 5555 และเราจะนำ"ฟุ่ย"ไปทำอะไรต่อ...ต้องตามไปดูกันครับ.....แต่ตอนนี้เรามาช่วยกัน"ห่อขนม"กันก่อนครับ....

3.งานนี้ครอบครัวของผมทำขนม 2 อย่าง มี "ขนมไส้บะถิม"กับ"ข้าวต้มผัด"ครับ....วันนี้เรามี"แรงงาน"เป็นพี่สาว,ยายพลอยและคนใกล้ตัวของผมเองครับ..ห่อขนมเยอะขนาดนี้..ทำเอาเหนื่อยไปตาม ๆ กันเลยล่ะครับ....

4.ห่อขนมเสร็จแล้ว ก็ไปดู"ยายพลอย"กับ"ยายซ่วน"ทำ"หมากแจก"กันต่อครับ..."หมากแจก"คือ"หมาก,พลู,"ที่นำมาห่อเป็นคำ ๆ และนำไปห่อกับใบตอง เพื่อเตรียมไว้สำหรับใส่ลงไปใน"ก๋วยสลาก"ครับ....ได้"หมากแจก"แล้ว..ก็ตามไป"แต่งดาก๋วยสลาก"กันดีกว่า...

5.และก็ได้เวลาที่นำ"ฟุ่ย"มาแต่งก๋วยแล้วล่ะครับ...ถึงบางอ้อ...แล้วใช่ไหมครับ...ว่า"ฟุ่ย"มีไว้สำหรับทำอะไร?? เรานำ"ของใช้มาผูกไว้กับฟุ่ย"และนำไปปักกับต้นกล้วย.....ส่วนในก๋วยสลากเราก็นำเอาข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ใส่ลงไป ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า สบู่ ยาสีฟัน ขนม อาหารต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในก๋วยสลาก เพียงเท่านี้ก็เสร็จการ"แต่งดาก๋วยสลาก"แล้่วล่ะคร้าบ!!!

6.เตรียมก๋วยสลากเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ"การเขียนเส้น" สำหรับ"เส้น"ที่ผมบอกก็คือ"การเขียนระบุว่าเราจะทำบุญของต่าง ๆ ไปให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยระบุชื่อ นามสกุล ให้เรียบร้อย เพื่อเตรียมไว้ในวันรุ่งขึ้นครับ งานนี้ขอ บอกก่อนว่า"ผู้ที่จะเขียนเส้นได้ ต้องเป็นผู้ที่เคยบวชมาแล้วเท่านั้นนะครับ"ดังนั้น วันนี้ผมจึงได้รับเกียรติในการ"เขียนเส้น"ด้วยครับ.....ภูมิใจจริง ๆ 

วันนี้ช่วยกัน"เหลาฟุ่ย...ห่อขนม...เขียนเส้น แ่ต่งดาก๋วยสลาก"เหนื่อยมาทั้งวันแล้ว.....เอาเป็นว่าวันนี้....ขอพักผ่อนก่อนละกันนะครับ..เอาไว้วันพรุ่งนี้จะมาชวนทุกท่านไปช่วยกัน"ตานก๋วยสลาก"กับพี่น้องชาวบ้านสุขสวัสดิ์ผู้น่ารัก....ทุกท่านคร้าบ!!!!!5555

สำหรับวันนี้.....

                                                                                                            สวัสดีครับ

                                                                                                              เพชรน้ำหนึ่ง

                                                                                                               15/10/2556

หมายเลขบันทึก: 550972เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2013 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ตุลาคม 2013 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

เป็นประเพณีดีๆที่ควรรักษาไว้...ขอบคุณที่นำมาเผยแพร่เช่นนี้ค่ะ

ชอบการห่อขนมข้าวต้มมัด

ใครห่อครับ

ฝีมือห่อได้ดีมากๆ

เห็นชื่อบันทึก นึกว่าเรื่องราวจากเมืองจีนน่ะครับ..55

 

 

สังเกตว่า ..ข้าวต้มมัด..จะอยู่ในงานมงคงหลาย ๆ งานนะจ๊ะ

ชอบเหลาฟุ่ย....มากค่ะ...ขอบคุณบันทึกที่ดีมีประโยชน์นะคะคุณเพชร...

  ประเพณีทางภาคเหนือ คือ"วันกิ๋นข้าวสลาก"หรือ"ประเพณีสลากภัต"

ประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงาม ขอบคุณบันทึกของคุณเพชรน้ำหนึ่งที่นำมาแบ่งปันนะค่ะ

     

....รักษาประเพณี อันดีงามไว้  ดีจริงๆ ค่ะ ขอบคุณบทความดีดีนี้ค่ะ

 

สืบทอดวัฒนธรรม รักษาความงดงามของประเพณีครับ.....

ไม่ได้เห็นไม้ไผ่เหลาฟุ่ยแบบนี้มานานเลยค่ะ คิดถึงตอนเด็กๆ เลยค่ะ

-สวัสดีครับป้าใหญ่...

-ประเพณีการกิ๋นสลากเขาจัดกำหนดให้มีการจัดงานทุกปีครับ อยู่ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ของทุกปี

-กิ๋นสลากทีไร..ก็ได้พบปะญาติพี่น้อง..ถือเป็นวันครอบครัวอีกวันหนึ่งครับ

-ขอบคุณป้าใหญ่ที่มาเยี่ยมชมและให้กำลังใจครับ

-สวัสดีครับอาจารย์ฺขจิต

-ข้าวต้มมัดสวย ๆนี้ "พี่ีสาวชื่อสุมาลี"เป็นคนปรุงและห่อคนเดียวเลยครับ

-พี่สาวได้ที...อวดคนไปทั่วว่าทำเอง ห่อเอง...ฮ่า  ๆ

-หากได้ทราบว่าอาจารย์ชม..พี่สาวคงจะภูมิใจมิใช่น้อย...

-ขอบคุณที่มาช่วย"เหลาฟุ่ย และแต่งดาก๋วยสลาก"ครับ

 

-สวัสดีครับท่าน พ.แจ่มจำรัส..

-เอ่อ...ชื่อไปพ้องกับเมืองจีนจริง ๆด้วย"เหลาฟุ่ย"

-สนใจ"เหลาฟุ่ย"ไหมครับท่าน..ฮ่า ๆ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจครับ...

 

-สวัสดีครับครูมะเดื่อ..

-ข้าวต้มมัด อยู่ในงานมงคลหลายงาน อาจจะมาจาก"ชื่ออันเป็นมงคง"น่ะครับ

-จะได้สมัครรักใคร่กลมเกลียวกัน...เหมือนข้าวต้มมัด..

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจครับ..

 

-สวัสดีครับ ดร.พจนา....

-งานนี้ผมตั้งใจจะไปเก็บภาพ"การเหลาฟุ่ย"เลยล่ะครับอาจารย์

-ภูมิใจนำเสนอเรื่อง"ฟุ่ย"และประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นดินแดนบ้านเกิดครับ..

-ยินดีแบ่งปันเรื่องราวดี ๆ ผ่านบันทึกนี้ครับ...

-สวัสดีครับคุณอร วรรณดา

-กิ๋นสลากปีนี้.ดีใจที่มีคนมาเยี่ยมมากมาย ฮ่า ๆ

-ผมชอบประเพณีและวัฒนธรรมแบบนี้ครับ

-บ้านกับวัด...มีส่วนร่วม...

-คนสำราญ...งานสำเร็จ..

-ขอบคุณครับ..

 

-สวัสดีครับพี่หมอเปิ้น

-ยินดีที่มาแอ่วใน"วันดาสลาก"ครับ

-ปีหน้า..มีอีก...มาแอ่วไหมครัีบพี่หมอ??

-ขอบคุณสำหรัีบกำลังใจที่มอบให้นะครับ..

-สวัสดีครับคุณหลวงเวชการ

-ประเพณีอันดีงามควรรักษา่ไว้...ครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจนะครับ

 

-สวัสดีครับคุณ OTann_supansa

-ยินดี ๆ ที่ได้แบ่งปันเรื่อง"การเหลาฟุ่ย"ครับ

-ผมว่า..วันวานยังหวานอยู่ีจริง ๆครับ

-ยิ้มได้ืทุกครั้งเมื่อได้รำลึกถึง"วันวาน"

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท