ถอดความตามที่เล่า เอามาบอกต่อ พาลิเอทีฟ แคร์ (Palliative Care)


"ความสุขที่แท้จริงคือการกระทำที่สอดคล้องกับการพูด"(

 

 

เมื่อวานนี้ 3 ตุลาคม 2556 เป็นอีกวันหนึ่งที่ได้เข้าร่วมประชุมแล้วมีความสุข

สุขจากการฟัง การรับรู้ การคิดต่อ การก่อเกิด ในสิ่งที่ได้ฟัง แล้วนำไปทำต่อในเรื่อง

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย Palliative care ที่ทางมอ. จัดเวที ประชุม งานนี้เป็นการ

เปิดโอกาส เป็นการให้โอกาส ในการเรียนรู้ เพราะงานนี้ เป็นของฟรี ที่มีคุณค่าในเรื่อง

สุขภาพของเพื่อนมนุษย์

ผู้เขียนจึง อาสามาเข้าร่วมเวที โดยมีน้องๆที่โรงพยาบาลปากพะยูนจากผู้ป่วยใน รวม 5 คน ทั้งพยาบาลและ

ลูกจ้าง มารับฟังด้วยกัน....

 

อาจารย์ หมอสกล สิงหะ กับนพ.พิสิฎฐ์ ยงยุทธ์ ผอ รพ.ทับปุด จังหวัดพังงา

 

อาจารย์ หมอสกล สิงหะ บอกกล่าวเล่าเรื่องปลุกพลัง ถอดระหัสให้ผู้ฟังอยู่กับ

ปัจจุบัน ในประเด็น"สุขภาพ สุขภาวะที่เป็นของทุกคน นักสร้างสุข(คนของสาธารณสุข

ผู้เขียน) เป็นช่างซ่อมมากเกินไป จึงเป็นเรื่องร้าย ข่าวร้ายที่เห็นหมอและพยาบาล

นั้นเพราะเราชำรุดต้องซ่อมแล้ว เราจึงต้องสนใจในสุขภาพ เป็นการสร้างเสริมสุขภาวะ

ทฤฎีต่างๆถูกเติมเต็มสาขาสุขภาพ พันธุกรรมปี 2002มาเร็ว เราต่างกันที่พันธุกรรม ล้าน

ยูนิต สารพันธุกรรม สามหมื่นกว่ายีน เก้าสิบเปอร์เซ็นต์ เหมือนลิง ซิมแพนซี ฝรั่งนักคิด

ตอบสนองความต้องการคนรักสัตว์ โดยการ ผลิต แมวไร้ขนให้คนรักสัตว์ ที่แพ้ขนแมวได้มี

โอกาสเลี้ยงแมว ตัวละ สองหมื่น ดอลล่าห์ แต่ต้องแลกกัน เพราะมันอายุไม่ยืน อีกทฤฎี

ที่เขาทดลอง คือ แมวขี่แมว โดยการเอาแมวทั้งคลอก มาผูกไว้บนหลังให้กอดกัน พอโตก็

จับแยก ผลปรากฎว่า แมวตัวอยู่บนตาย นั้นคือต้องการบอกว่า

"ความลำบากดิ้นรน จะค้นพบศักยภาพ"

 

เราไม่เคยดันตัวเองให้ไปถึงปลายฝัน ชีวิต ดาวท์โหลดได้แต่ของเดิมๆก็ไม่สนุกเหมือนเดิน

ทางไปทำงานเส้นทางเดิมทุกวัน เด็กๆจะสนุกสนานกับการเรียนรู้ ความแปลกใหม่

เด็กทำช้อนตก แม่เก็บให้ ก็สนุกอะไรที่อยู่ไกล้ก็ขว้างปา เป็นการสนุก เพราะมีคนเก็บให้

แต่มนุษย์ พอโตขึ้นความสามารถหายไปใหน

"เราซ้ำซากจากต้นตอที่จำเจ"

หัวข้อหลักคือความตาย บางองค์กรวางแผน 5 ปี 10 ปี เราลืมอยู่กับปัจจุบัน ....

สุขภาพเป็นของใคร สุขภาพเป็นของกระทรวงได เคยเสนอโครงการ"ศูนย์สุขภาพองค์

รวม"ที่ มี หมอ ครู พระ

หมอ คือการสร้างสังคมเสริมสุขภาพ

ครู คือปัญญา

พระ คือ จิตรวิญญาณ ที่เป็นงานเกี่ยวข้องหลายกระทรวง โครงการจึงไม่ผ่าน .....

ลองมาเริ่มต้นจากสิ่งที่เห็น มนุษย์ทำอะไรได้บ้าง ทำไมเราไม่ไปเป็นนักร้องเราร้อง

เพลงเสียงดีตอนอยู่ในห้องน้ำ สิ่งที่ไม่เคยทำ และแนะนำให้ทำในชีวิต คือร้องเพลงใน

ห้องน้ำ...แล้วอาจารย์ก็ ฉายคลิป ซูซานวอย แม่บ้านที่อยากร้องเพลงอยากเป็นนักร้อง

อาชีพให้ชม...ซูซานวอย เอื้อมไปถึงความฝัน เอื้อมไปถึงศักยภาพ เป็นตัวแทนของความ

ฝันที่ ทำได้ และทำไม่ได้ ก็ชื่นชมในสิ่งที่ทำ เราต้องไล่ตามฝัน เริ่มฝัน จากสิ่งที่ฝัน

ฝันแบบพอเพียง ชีวิตจะอิ่ม เห็นแก็ป ไล่ตาม ล่าฝัน เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ

"ชีวันตาภิบาล" ชีวิตมีค่า ชีวิตคือการเดินทาง คือศักดิ์ศรี คือความสง่างาม

ที่ทิ้งร่องรอยไว้บนโลกใบนี้ เราจะจัดฉากขึ้นมาให้ ชีวิตนั้นๆ ตายอย่างสง่างาม มีศักดิ์ศรี

หน้ายิ้มได้ เราต้องถอดระหัสออกมาให้ได้ เราได้ยินที่เขาสื่อสารหรือไม่...

แล้วอาจารย์ก็ปล่อยคลิปที่ สองออกมา เรื่องนกกระจอกกับสองพ่อลูกในสวน ที่พ่อถามลูก

ว่านกอะไร หลายครั้งลูกตอบจนโมโหตะคอกพ่อ ...พ่อเดินเข้าบ้านแล้วไปหยิบสมุด

บันทึก ที่ลูกเคยถามพ่อเรื่องนกกระจอกทั้งหลายครั้ง พ่อก็ตอบทุกครั้ง...ตัวเราคือการ

เชื่อมต่อความคิดการทดสอบในสิ่งที่พูด เชื่อในสิ่งที่ทำ

"ความสุขที่แท้จริงคือการกระทำที่สอดคล้องกับการพูด"(คานธีร์)

"สิ่งที่ทำ คำที่พูด สูตรที่คิด ต้องสอดคลอดคล้องกับชีวิตในทำงาน"(ผู้เขียน)

ในเรื่องนี้ ลูกเกิดความกลัวที่พ่อซึ่งเป็นภาพของฮีโร่ในใจลูก ที่มาวันหนึ่ง พ่อไม่รู้จักนก

กระจอก ลูกจึงเกิดความกลัว ความกลัวคืออารมณ์ดิบที่มีมาแต่ดึกดำบรรณ์ ที่เกิดการ ดุดัน

วิ่งหนี ยอมรับ เข้าหา "นักเรียนแพทย์ เกิดความกลัว กลัวตอบคำถามไม่ได้ ทำใ้ห้รัก

คนไข้ไม่ได้ ดารา กลัวความไม่สวย เราทุกคนมีต้นทุน วงจรความดีมีความละเอียดอ่อน

แล้วอาจารย์ก็ปล่อยคลิปที่ สามออกมาที่เป็นการให้ การแบ่งปัน การช่วยเหลือ เริ่ม

จาก รปภ.เป็นจงจรความดีกลับมาสู่ รปภ."ธรรมจารย์ จื้อจี บอกว่า คนปากไร้ใจดีไม่มี

เพราะถ้าเรารักไครเราจะมีสัมมาวาจาที่ดีแน่นอน

"เราไม่อาจให้อะไรไครในสิ่งที่เราไม่มี"

 

 

 

เราเป็นกระจกได้เราต้องคลิกที่ต้องอยู่ให้ได้ อยู่ให้นานพอ ต้องฟังคนไข้ทุกข์ เหงา เศร้า ฟังให้ได้ความหมาย แล้วจะทำอะไรต่อ ในสิ่งที่เขาอยากให้เราได้ยิน ...

.การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ที่ได้อาสามาเรียนรู้ ได้ใช้เวลาราชการ ใช้เครื่องมือ

ราชการเดินทางมา เมื่อมารับรู้ จึงอยากแบ่งปันในสิ่งที่อาจารย์ หมอสกล สื่ออกมา

แต่ทว่าด้วยมีข้อจำกัดในการถอดความ อาจไม่ถูกหรือไม่ตรงตามที่อาจารย์สือ แล้วมาบอก

ต่อผิดเจตนารมณ์ของอาจารย์ ก็ต้องกราบขออภัย เพราะผู้เขียนต้องการสื่อความหมายใน

การบอกต่อ ด้วยเห็นว่าจะเกิดประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนจึงบันทึกมาแบ่งปัน โปรด

ติดตามตอนสอง จากพญ.พรพรรณ ศรีพรสวรรค์ ในเรื่องการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย....

ชาว รพ.ปากพะยูน  ทีม Palliative Caer

หมายเลขบันทึก: 550186เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2013 04:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มกราคม 2014 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เป็นบันทึกคุณภาพบันทึกหนึ่ง

ขอชื่นชม ครับ

ขอบคุณ ที่นำพา ความรู้ มาแบ่งปัน ค่ะ

-การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย แบบองค์รวม หลากหลายศาสตร์ ประกอบกัน....

เจอหมอสกลแล้วพบหมอเต็มศักดิ์ด้วยไหมครับ

ปกติท่านทำงานร่วมกัน

 

ชีวิตนี้มีแต่งาน...งาน....งาน...ดูแลสุขภาพด้วยนะจ๊ะลุงวอ

เรียน ท่าน วอญ่า

กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ

กีฬาเป็นของเล่นแต่ต้องทำจริง ทำเต็มที่ และไม่ออมมือ เสมือนหนึ่งในมิติของชีวิตจริง

ข้อเขียนของท่านในมิติของกีฬา คือ "วิงผลัดสี่คูณร้อย"-

-ไม้ที่หนึ่ง "การบำบัดรักษา" หมอออกสตาร์ท

-ไม่ที่สอง "ดูแลระยะสุดท้าย" พยาบาลและญาติรับไม้ค่อ

-ไม้ที่สาม "เปลี่ยนผ่าน หรือบังสกุล" บุคคลากรทางศาสนา รับไม้และเร่งสปีด

-ไม้ที่สี่ "สู่ปรโลก" สัปเหร่อรับไม้ สู่บันไดขั้นแรกชิวิตนิรันดร์

นักกีฬาทั้งหลายนี้คือผู้มีจิตวิญญานอันสูงส่ง สมควรมีรางวันนอกเหนือจากเหรียญทองซึ่งน่าจะสิ่งนี้-

 

https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=gl3c9FW3V8A

 

 

  • ได้ทั้งแง่คิดและมุมมองที่คมคาย..
  • ขอบพระคุณมากๆค่ะที่แวะไปเยี่ยม วอญ่าสบายดีนะคะ 

ขอบคุณครับ น้องแสง

ฟังการประชุมจากหมอสกลแล้วอยากนำมาแบ่งปัน เลยมานั่งถอดความแม้นไม่ครบถ้วน คงพอเป็นสาระได้บ้าง

การดูแลผู้ป่วยแบประคับประคองต้องอาสาใจ ใช้ใจนำในการดูแล

เรียน อาจารย์ จีโอวาย การดูแลผ็ป่วยแบบประคับประคอง นอกจากตัวผู้ป่วยแล้ว ยังต้องเยียวยาผู้ดูแลด้ว

และชุมชนก็มีส่วนสำคัญในการช่วยกันดูแล

เรียนท่านอาจารย์ขจิต วันนั้นเจอแต่อาจารย์ หมอสกล  ส่วนอาจารย์ หมอเต็มไม่ได้มาครับ

ขอบคุณน้องมะเดื่อที่ห่วงใยสุขภาพ..

เวลามีไม่มาก อยากทำอยากเห็นอะไรก็รีบๆทำ ในบางงานก็ส่งต่อมอบให้คนแถวสองเขาจัดการกันไปเป็นการผ่อนงานไปในตัว แต่ก็ติดตามกำกับดูแลให้กำลังใจอยู่ จึงไม่หนักใจในงานเก่า และการแสวงหางานใหม่

ขอบคุณท่านอาจารย์ จำรัส ที่มามอบรางวัลให้กับสหวิชาชีพชุมชน ที่ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

นอกจากจะดูแลให้ผู้ป่วยยอมรับ สู้ อยู่กับโรคอย่างเข้าใจแล้ว ยังต้องเยียวยา ผู้ดูแลผู้ป่วย

และยังต้องเยียวยาคนที่มีหน้าที่ในทีมด้วย

ที่มองเห็นต่อเชื่อมความคิดในมุมศาสนา  ศาสนาก็ดูแลต่อ คือในทางศาสนาอิสลาม หลังจากฝังศพแล้ว ผู้นำศาสนาญาติมิตร พี่น้องผู้เกี่ยวข้องจะไปให้กำลังใจที่บ้านผู้ตาย สามวัน ห้าวัน เจ็ดวัน แล้วอาการภาวะของครอบครัวนั้นๆ นั้นคือชุมชนเยียวยากัน ที่นักสร้างสุข ยังมองไปไม่ถึง

เรียนอาจารย์ กาญจนา ยังระลึกถึง รร.บ้านกรา่ง ชอบบรรยาการ หน้าโรงเรียน มีโอกาสจะแวะไปเยี่ยมอีกครั้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท