การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม


การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับคำว่า การศึกษาแบบเรียนรวมและการศึกษาแบบเรียนร่วม กันก่อนนะคะ เนื่องจาก 2 ประโยคนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน ดังนี้

ความแตกต่างของการศึกษาแบบเรียนรวม กับการเรียนร่วม

การศึกษาแบบเรียนร่วม หมายถึงการนำนักเรียนพิการ หรือมีความพกพร่อง เข้าไปในระบบการศึกษาปกติมีการร่วมกิจกรรม และใช้เวลาว่างช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวันระหว่างนักเรียนพิการหรือที่มีความพกพร่องกับนักเรียนทั่วไป

การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึงการศึกษาสำหรับคนทุกคน โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มรับการศึกษาและจัดบริการพิเศษตามความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล

สรุป การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล แต่การศึกษาแบบเรียนร่วม เป็นการศึกษาที่ให้เด็กพิเศษเข้าไปเรียนหรือกิกรรมร่วมกับเด็กปกติช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน

การจัดการเรียนร่วม เป็นการจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษมีโอกาสเข้าไปในระบบการศึกษาปกติ โดยเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้เรียนและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กทั่วไป โดยมีครูทั่วไปและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือและรับผิดชอบร่วมกัน(Collaboration) และการจัดการเรียนร่วมอาจกระทำได้หลายลักษณะวิธีการจัดการเรียนร่วม ซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในหลายประเทศและประสบความสำเร็จ ซึ่งมีรูปแบบการจัดเรียนร่วมได้ 6รูปแบบดังนี้
1. ชั้นเรียนปกติเต็มวัน เด็กจะเรียนในชั้นเรียนเต็มวัน และอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจำชั้นโดยไม่ได้รับบริการทางการศึกษาพิเศษ เด็กที่จะเข้าเรียนในลักษณะนี้ ได้ควรเป็นเด็กที่มีความพิการน้อย มีความฉลาดและมีความพร้อมในการเรียนตลอดจนวุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคม
2. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษาหารือเด็กจะเรียนในชั้นเรียนปกติ เต็มเวลาและอยู่ในความดูแลของครูประจำชั้น
ครูประจำวิชา ซึ่งจะได้รับคำแนะนำจากครูการศึกษาพิเศษนักจิตวิทยา เช่น แนะนำชี้แจงให้ครูที่สอนชั้นเรียนร่วมเข้าใจ
ความต้องการและความสามารถของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษช่วยกำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีสอนตลอดจนการปฏิบัติต่อเด็กบริการสื่อสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดสภาพแวดล้อมให้ เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของเด็กและช่วยประเมินผลพัฒนาการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เป็นต้น
3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครูเดินสอนเด็กจะเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลาและอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจำชั้น แต่จะได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากครูเดินสอนตามตารางที่กำหนดหรือเมื่อมีความจำเป็น ครูเดินสอนจะเดินทางไปให้บริการตามโรงเรียนต่างๆทั้งในและนอกห้องเรียน รวมถึงการให้บริการช่วยเหลือแก่ครูทั้งด้านการสอนและหรือการปรับพฤติกรรม
4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม เด็กจะเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มวันและอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจำชั้น แต่ได้รับการสอนเสริมจากครูการศึกษาพิเศษที่ประจำอยู่ห้องสอนเสริมบางเวลาหรือบางวิชา วันละ 1-2 ชั่วโมง หรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับความต้องการพิเศษของเด็ก การสอนเด็กอาจกระทำเป็นรายบุคคลหรือสอนเป็นกลุ่มเล็กๆก็ได้ และสอนในเนื้อหาที่เด็กไม่ได้รับการสอนในชั้นปกติ หรือเนื้อหาที่เด็กมีปัญหา เช่นทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (Orientation Mobility :OM) สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หรือภาษามือสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เป็นต้นในห้องสอนเสริมจะต้องมีเอกสาร หนังสือ และอุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษครูบริการสอนเสริม นอกจากสอนเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษแล้วยังมีหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาแก่ครูที่สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษในการปฏิบัติต่อเด็กประเภทนี้อีกด้วย
5. ชั้นเรียนพิเศษและชั้นเรียนปกติเด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศและเข้าเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาพลศึกษา และศิลปะเป็นต้น
6. ชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ เป็นการจัดเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่มีความบกพร่องประเภทเดียวกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน และเป็นกลุ่มขนาดเล็กปกติ เด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษเต็มเวลาและเรียนกับครูประจำชั้นทุกวิชา แต่จะเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กทั่วไป เช่น กิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติ การรับประทานอาหาร การไปทัศนะศึกษา ซึ่งการจัดการเรียนร่วมในลักษณะนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีความพิการค่อนข้างมาก

สรุปรูปแบบการจัดการเรียนร่วม

การศึกษาแบบเรียนรวม

การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล

ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม

ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ จะต้องถือหลักการดังนี้

เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

รูปแบบการศึกษาแบบเรียนรวม

การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ การศึกษาแบบเรียนรวมจะมีบรรยากาศที่เป็นจริงตามสภาพของสังคมในปัจจุบัน ซึ่งทุกคนในโรงเรียนจะมีความตระหนักเกี่ยวกับสิทธิความเสมอภาคในด้านการศึกษา มีความแตกต่างกันตามศักยภาพในการเรียนรู้ มีความร่วมมือช่วยเหลือกันและกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ ฝึกทักษะความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข มีความยืดหยุ่นและปฏิบัติตนตามสภาพจริงได้อย่างเหมาะสม

หลักการศึกษาแบบเรียนรวม

การศึกษาแบบเรียนรวม มีหลักการว่า เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะเรียนรวมกันโดยโรงเรียนและครูจะต้องปรับสภาพแวดล้อม หลักสูตรวัตถุประสงค์ เทคนิคการสอน สื่ออุปกรณ์ การประเมินผลเพื่อให้ครูและโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความต้องการของเด็กทุกคนเป็นรายบุคคลได้

แนวคิดและปรัญญาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม

การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน โดยปลูกฝังด้านจิตสำนึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคนโดยคำนึงถึงศักยภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล หรือความบกพร่องเฉพาะบุคคล ซึ่งจะให้สิทธิเท่าเทียมกันทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลใดเป็นพิเศษเฉพาะ

ปรัญญาของการศึกษาแบบเรียนรวม

การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาเพื่อทุกคน (Education for All) เพราะเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ดังนั้นความต้องการของเด็ก ๆ ทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันแม้อยู่ในชั้นเรียนเดียวกัน โรงเรียนและครูจึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เด็กทุกคนเรียนรวมกันและได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคล

ทฤษฎีของการศึกษาแบบเรียนรวม

การดำเนินการศึกษาแบบเรียนรวม มีหลักการดังนี้ทำสัญญาร่วมกันในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ซึ่งองค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศไว้เมื่อปี คริสตศักราช 1995 ให้ทุกประเทศจัดการศึกษาแบบเรียนรวมดำเนินการตามหลักการแบ่งสัดส่วนตามธรรมชาติ ซึ่งในสังคมหรือชุมชนหนึ่ง ๆ จะมีเด็กพิการหรือเด็กพิเศษปะปนอยู่ เด็กทั้งหมดควรอยู่ร่วมกันตามปกติ โดยไม่มีการนำเด็กพิเศษออกจากชุมชนมารวมกันเพื่อรับการศึกษาที่เป็นการขัดแย้งกับธรรมชาตินำบุคลากรทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กมาทำงานร่วมกัน ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ของเด็กปกติและเด็กพิเศษ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหาร ครูประจำชั้น ครูพิเศษ และบุคลากรในชุมชนอื่น ๆ
พัฒนาเครือข่ายผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งครูทุกคนในโรงเรียนจะต้องช่วยกันทำงานไม่ถือว่าเป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่ง ถ้าหากมีเด็กพิเศษในโรงเรียน รวมทั้งการพบพูดคุยและปรึกษากับผู้ปกครอง จัดให้ผู้ปกครองเด็กพิเศษด้วยกันและผู้ปกครองเด็กปกติพบกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันหรือสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ แก่กันจัดให้มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็ก ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารและบุคลากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งในโรงเรียนและในชุมชน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณทั้งภาครัฐและเอกชนในกิจกรรมร่วมระหว่างเด็กพิเศษกับเด็กปกติจัดการปรับเปลี่ยนหลักสูตร เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและครอบคลุมถึงเด็กพิเศษทุกคนในกลุ่มเด็กปกติจัดให้มีความยืดหยุ่นในทุกสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็กพิเศษและเด็กปกติทุกคน

หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม

แผนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมการเรียนรู้ของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ลักษณะความแตกต่างกันระหว่างบุคคลมีผลต่อระดับความสำเร็จในการเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมเพื่อไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน ซึ่งการเรียนรู้ของคนเราอาศัยประสาทสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูกลิ้น กาย ใจ เป็นองค์ประกอบหลักของการเรียนรู้และการรับรู้ หากมีส่วนใดส่วนหนึ่งสูญเสีย หรือบกพร่องไปย่อมมีผลต่อการเรียนรู้ และการรับรู้ตามไปด้วย ทำให้การเรียนรู้ของเด็กต้องล้มเหลว เรียนไม่ได้ดีเท่าที่ควรหรือเกิดข้อขัดข้องเสียก่อน ซึ่งอาจจัดเป็นองค์ประกอบใหญ่ ๆ ได้ 3 ประการ

1. องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา ได้แก่ สาเหตุที่สืบเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของระบบการทำงานของร่างกาย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางร่างกายของเด็กเอง

2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา ได้แก่ สติปัญญา อัตราเร็วของการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง การปรับตัวทางอารมณ์และสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเá

หมายเลขบันทึก: 549966เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2013 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2013 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท