การประเมินผลการเรียนรู้


การประเมินผลการเรียนรู้  

การวัดและการประเมินผลเป็นกระบวนการหนึ่งในกระบวนการจัดการเรียนการสอน

เนื่องจากการวัดเป็นการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนในรูปของคะแนนหรือ

คำบรรยายที่เกี่ยวกับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่แสดงออกทั้งในระยะเวลาก่อนระหว่างหรือหลังจาก

การเรียนการสอนส่วนการประเมินผลเป็นกระบวนการนำข้อมูลต่างๆที่ได้จากการวัดมาพิจารณา

ตัดสินว่าผู้เรียนสามารถบรรลุตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ของการจัดการศึกษาเพียงใดมีสิ่งใดที่

ต้องการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นซึ่งประโยชน์ของการวัดและการประเมินผลของการจัดการเรียน

การสอนจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญนอกจากนี้แล้วผลจากการวัดและการประเมินยังเป็นข้อมูลที่ครู

นำมาใช้ในการปรับปรุงการสอนของตนให้มีคุณภาพและเกิดแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรให้มี

ความเหมาะสมยิ่งขึ้นการวัดและการประเมินผลจึงมีความเกี่ยวพันกับการกำหนดความมุ่งหมายของ

 

การเรียนการสอนและการจัดประสบการณ์เรียนรู้(ดร.วสันต์ทองไทย)

     การประเมินผลการการเรียนรู้มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งปรนัย อัตนัย เลือกตอบ และอีกมากมาย แต่ในที่นี้ผมชอบการประเมินผลตามสภาพจริงจึงจะขอยกตัวอย่างในที่นี้เพราะผมคิดว่าการประเมินผลตามสภาพจริงนั้นจะทำให้เราเห็นทุกอย่างที่ค่อยเรียนรู้และพัฒนาจากเด็กทำให้เรารู้จุกอ่อ่นของเด็กครับ

การประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริง 
ความหมาย
            การประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริง (Authentic Assessment) หมายถึง กระบวนการสังเกต การบันทึก และรวบรวมข้อมูลจากงานและวิธีการที่ ผู้เรียนทำ เพื่อเป็นพื้นฐานของการตัดสินใจในการศึกษาถึงผลกระทบต่อผู้เรียนเหล่านั้น การประเมินจากสภาพจริงจะไม่เน้นการประเมินเฉพาะทักษะพื้นฐาน แต่จะเน้นการประเมินทักษะการคิดที่ซับซ้อนในการทำงานของนักเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาและการแสดงออกที่เกิดจากการปฏิบัติในสภาพจริงในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยที่ผู้เรียนจะเป็นผู้ค้นพบ ผลิตความรู้ และได้ฝึกปฏิบัติจริง รวมทั้งเน้นพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อสนองจุดประสงค์ของหลักสูตรและความต้องการของสังคม การประเมินผลจากสภาพที่แท้จริงจะ แตกต่างจากการประเมินผลการเรียนหรือการประเมินเพื่อรับรองผลงาน เพราะเน้นการให้ความสำคัญกับพัฒนาการและความต้องการช่วยเหลือและการประสบความสำเร็จของผู้เรียนแต่ละคน มากกว่าการประเมินผลการเรียนที่มุ่งการให้คะแนนผลผลิตและจัดลำดับที่ แล้วเปรียบเทียบกับกลุ่ม เนื่องจากจะวัดผลโดยตรงในสภาพการแสดงออกจริงๆ ในเนื้อหาวิชา ซึ่งการทดสอบด้วยข้อสอบจะวัดได้เฉพาะความรู้และทักษะบางส่วนและเป็นการวัดโดยอ้อมเท่านั้น นอกจากนี้ การประเมินผลจากสภาพที่เป็นจริงจะมีความต่อเนื่องในการให้ข้อมูลในเชิงคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สอนเพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะกับแต่ละบุคคล 
ลักษณะสำคัญของการประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริง 
             การประเมินผลในยุคใหม่ จะมีลักษณะเด่นที่เน้นการประเมินพัฒนาการของนักเรียนและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน การวัดและทดสอบจะครอบคลุมสภาพจริงและสอดคล้องกับการแสดงออกของนักเรียนทั้งกระบวนการและผลผลิต ซึ่งอาจจะประเมินจากการทำแฟ้มสะสม ผลงาน (portfolio) การบันทึกความเห็น การจัดทำรายงานผลงานที่ทำ นิทรรศการและโครงงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ทักษะการใช้ภาษา และวิชาต่างๆ รวมทั้งการทดสอบใน รูปแบบต่างๆ การประเมินผลในยุคใหม่ จะเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียน ครู และผู้ปกครอง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสมรรถภาพของผู้เรียนแต่ละคนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพเหมาะสมกับสังคมในทศวรรษหน้า โดยเฉพาะความสามารถในการสื่อสาร ความร่วมมือและการศึกษาอย่างมีวิจารณญาณ 
ลักษณะสำคัญของการประเมินผลตามสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้ 
1. ต้องเสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้ของผู้เรียน 
2. เน้นให้เห็นพัฒนาการอย่างเด่นชัด 
3. ให้ความสำคัญกับจุดเด่นของผู้เรียน 
4. ต้องตอบสนองกับหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลการเรียนรู้ตามสภาพที่เป็นจริง 
5. มีพื้นฐานของสถานการณ์ที่เป็นชีวิตจริง 
6. มีพื้นฐานบนการแสดงออกจริง 
7. สอดคล้องกับการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้ที่เป็นจริง 
8. มีการจัดการเรียนการสอนโดยมีการวิจัยและพัฒนาที่สอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก 
9. ต้องเน้นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย 
10. ตอบสนองได้กับทุกบริบท และเนื้อหาสาระ 
11. ตอบสนองการเรียนรู้และความสามารถของนักเรียนอย่างกว้างขวาง 
12. เกิดความร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครอง ผู้สอนและผู้เรียน รวมทั้งบุคคลในวิชาชีพอื่นๆ 

 ดังนั้นการประเมินผลการเรียนรู้มีหลากหลายรูปแบบครับแล้วแต่ว่าเราจะนำไปใช้ในวิธีต่างให้เหมาะสมกับวัยกับวัตถุประสงค์ที่เราจะให้เรียนรู้

หมายเลขบันทึก: 549271เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2013 20:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท