Msu digest : ผลการคัดเลือกวิทยานิพนธ์ดีเด่นของ มมส. กับความรู้สึกที่แตกต่าง....


คุณค่าและความรู้สึกที่แตกต่างจากประสบการณ์ที่ผ่านมา
ในตู้โชว์หนังสือที่ห้องสมุด มมส. เคยเห็นวิทยานิพนธ์ดีเด่นบางในตู้โชว์พร้อมติดป้ายแจ้งไว้ว่า นี่คือ ผลงานวิจัยดีเด่น

ทำให้มองวิทยานิพนธ์มากมายที่อยู่บนชั้นหนังสือ ดูด้อยค่าไปในทันที

เพื่อนนายบอนเคยเอื้อมมือไปหยิบวิทยานิพนธ์ดีเด่น มาเปิดดูและคาดหวังว่า ปีต่อๆไป ผลงานของเขา คงจะมีป้ายติดไว้ และอยู่ในตู้โชว์ตรงตำแหน่งนี้บ้าง

หลังจากเพื่อนนายบอนทำวิทยานิพนธ์เสร็จ ความรู้สึกเปลี่ยนไป

ตอนสอบ โดนกรรมการสอบซักถามจนพรุน ได้แก้ไขข้อผิดพลาดเกือบทั้งเล่ม
เมื่อทางบัณฑิตวิทยาลัย มมส. ประกาศผลวิทยานิพนธ์ดีเด่น เมื่อ 9 ส.ค.2549 ที่ผ่านมา ไม่มีรายชื่อผลงานของเพื่อนนายบอน....

เพื่อนของนายบอน ไม่รู้สึกเสียใจ ถึงแม้ว่า ผลงานของเขา จะไม่เข้าตาของคณะกรรมการคัดเลือก ถึงแม้ว่าผลงานวิจัยของเขา กรรมการสอบบ่นด้วยความเหนื่อยใจ

แต่เพื่อนได้ทำหน้าที่ตามที่ตั้งใจไว้แล้ว ทำวิจัยอย่างเต็มที่ ท่ามกลางปัญหารุมเร้าสารพัด จนเกือบจะถอดใจเลิกอยู่หลายครั้ง
 
ถึงผลงานของเขา จะไม่ได้อยู่ในตู้โชว์ที่บัณฑิตวิทยาลัย หรือตู้โชว์ที่ติดป้ายวิทยานิพนธ์ดีเด่นที่ห้องสมุด แต่วิทยานิพนธ์ของเขา ก็ถูกวางอยู่ในตู้โชว์ที่บ้านของเขา ให้พ่อแม่ได้ชื่นชมในความสำเร็จตลอดไป

แบบนี้ก็ยิ่งใหญ่เหมือนกัน.......


* * *
บัณฑิตวิทยาลัย มมส. ประกาศผลการคัดเลือกวิทยานิพนธ์ดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2548

กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะการบัญชีและการจัดการ
1. ไพรวรรณ โยธาสุภาพ  
เรื่อง  ผลกระทบของความรู้ความสามารถขององค์กรที่มีต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย

2. ศรีรุ่งรัตน์  สุดสมบูรณ์
เรื่อง ความสัมพันธ์และผลกระทบของศักยภาพภายในองค์กรและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีต่อประสิทธิภาพของการบัญชีสิ่งแวดล้อมของธุรกิจที่ได้รับ ISO 14001 ในประเทศไทย

กลุ่มศึกษาศาสตร์
1. อารยา ไม่โศก
เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ TAI การเรียนรู้แบบ KWL และการเรียนรู้แบบ สสวท. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

2.ฐิติมา พรหมจักร์
เรื่อง  การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตทางการศึกษา

3. สุภางค์ แจ้งสูงเนิน
เรื่อง  ผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง เส้นตรง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของนักเรียนที่มีทักษะการแก้ปัญหาต่างกัน

กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิศวกรรมศาสตร์
 
1. จิรวัฒน์  กิติคุณ
เรื่อง การผลิตไอน้ำสำหรับอุตสาหกรรมครัวเรือนโดยใช้เตาเผาแบบตะกรับเลื่อนเป็นแหล่งให้ความร้อน

คณะวิทยาศาสตร์
1. สุรเวช  สุธีธร
เรื่อง  การศึกษาและเปรียบเทียบซากบรรพชีวินของไดโนเสาร์ กินพืชยุคครีเตเชียสจากแหล่งบ้านนาไคร้ จ.กาฬสินธุ์

2. มลฤทัย ไชยน้ำอ้อย
เรื่อง  ผลของคุณภาพน้ำและระยะเวลาการเปลี่ยนถ่ายน้ำต่อการเจริญอัตราการรอดตาย และคุณภาพของเปลือกของหอยหวาน (Babylonia areclata Link. 1807) ระยะวัยรุ่นในระบบน้ำหมุนเวียน

3. นันทิชา  ธาตุระหัน
เรื่อง  การสกัดสารโพลีไซคลิกอะไรมาติกไฮโดรคาร์บอน ในน้ำตัวอย่างด้วยเฟสของแข็ง

4. นัฏฐกานต์  ดวงพร
เรื่อง การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้  7 ขั้น และการเรียนสืบเสาะแบบ สสวท. ที่มีต่อแนวความคิดเลือกเกี่ยวกับมโนมติฟิสิกส์ : งานและพลังงาน และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ประกาศ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2549



หมายเลขบันทึก: 54911เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2006 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ค้นหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่จะทำ

ไปๆ มาๆ กลายเป็น นายบอนกาฬสินธุ์

ก้อติดตามผลงานใน mblog เป็นประจำนะ

แต่ระยะหลังไม่ได้เปิด mblog เท่าไรนัก

เพราะภาระกิจเยอะมาก

ก้อเป็นเพื่อทางmail แล้วกันเนาะ

อย่างน้อย ก้อเป็นพัธมิตรเหมือนกัน

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2552

หากว่าง เชิญที่เมืองเลยด้วยนะ

อ.สมเกียรติ

คุณลุงสมศักดิ์

หรั่ง

ปทีป

ตั้ม

พธม.เมืองเลยจ้า

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

:))

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท