โวหารอุปลักษณ์ในเพลงกล่อมเด็กภาคใต้


อุปลักษณ์  เป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง   ซึ่งการเปรียบเทียบชนิดนี้ไม่มีคำว่า  เหมือน   หรือคำอื่นที่มีความหมายนัยเดียวกันปรากฏอยู่  แต่เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นการกล่าวเปรียบเทียบ เช่น

    (กระทรวงศึกษาธิการ:2555 น.244  

 

                เพลงกล่อมเด็กที่ใช้โวหารอุปลักษณ์ เช่น

                                                ต้นหมากอ่อนเหอ               สองลายหยวบหยวบ

                                ผัวตายไม่ทันถึงขวบ                            ควบชู้เข้านอน

                                ควบทั้งหมากสุก                                  ควบทั้งหมากอ่อน

                                ควบชู้เข้านอน                                      หมากอ่อนสองลายหยวบ

                                เพลงกล่อมเด็กบทนี้สอนสตรีที่มีลักษณะพฤติกรรมคบชู้ สามีตายยังเพิ่งตายไปก็มีสามีใหม่แทน มีทั้งสามีแก่และสามีที่อายุอ่อนกว่า โดยใช้คำว่า  “หมากสุก” เปรียบเป็น ชายแก่  และ “หมากอ่อน” เปรียบเป็น ชายที่อายุน้อย (จรูญศักดิ์   บุญญาพิทักษ์ :2554,น.69)

 

จรูญศักดิ์   บุญญาพิทักษ์.(2554).คำสอนสตรีในเพลงกล่อมเด็กภาคใต้.สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

                  มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.

ศึกษาธิการ,กระทรวง.(2555).หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.โรงพิมพ์       

 

               สกสค.ลาดพร้าว.กรุงเทพมหานคร.

คำสำคัญ (Tags): #เพลงกล่อมเด็ก
หมายเลขบันทึก: 548837เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2013 01:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2013 01:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท