โวหารอุปมาในเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ (ตอนที่ 1)


อุปมา (Simile) เป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง จะมีคำแสดงความหมายอย่างเดียวกับคำว่า เหมือน ปรากฏอยู่ด้วย เช่น เสมือน ดุจ ประดุจ ดั่ง กล ปูน เพียง เป็นต้น (กระทรวงศึกษาธิการ:2555 น.243)  เช่น

                                                สุดจิตสุดใจเหอ                    ใครว่าไหรพี่แค้น

                                แม่นวลละอองทองทั้งแท่น               แม่แท้แล้วหรือมาถือความ

                                ปากคนทุกวันแม่ขวัญข้าว                  เหมือนใบบอนมาเคล้าอยู่ด้วยหนาม              

                                แม่นแท้หรือมาถือความ                      อย่าตามปากคนแหลง

                                                                                                               

                แหลง = พูด

                                เพลงกล่อมเด็กบทนี้ เปรียบเทียบคำพูดของคนว่าเหมือนใบบอนเคล้าด้วยหนาม หมายถึงบอนนั้นจะคัน ส่วนหนามนั้นแหลมคม ก็เหมือนคำพูดของคนที่สามารถทำร้ายกันได้ จึงสอนสตรีให้เป็นคนหนักแน่น ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ตามคำพูดของคน  (จรูญศักดิ์   บุญญาพิทักษ์ :2554,น.68)

 

จรูญศักดิ์   บุญญาพิทักษ์.(2554).คำสอนสตรีในเพลงกล่อมเด็กภาคใต้.สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

                  มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.

ศึกษาธิการ,กระทรวง.(2555).หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.โรงพิมพ์          

 

               สกสค.ลาดพร้าว.กรุงเทพมหานคร.

คำสำคัญ (Tags): #เพลงกล่อมเด็ก
หมายเลขบันทึก: 548835เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2013 01:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2013 01:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท