เล่าแลกเปลี่ยนงานเขียนข่าว (2)


(ต่อจากบันทึกที่แล้ว)

ทีนี้...ถ้าไม่มีข่าวก็ทำให้เป็นข่าวได้ หรือการเขียนข่าวที่ไม่ต้องรอให้หน่วยงานมีกิจกรรม โครงการอะไร เทคนิคนี้ฉันเคยใช้บ่อยๆ เพื่อตอบโจทย์การประกันคุณภาพ สมัยเป็นพีอาร์ผู้ปฏิบัติการ เวลาที่เราต้องกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงาน (KPI) ในเชิงปริมาณ เช่น ต้องมีข่าวให้ได้อย่างน้อย 2 ข่าวต่อเดือน วิธีการบรรลุเป้าหมายของฉันก็คือ ไม่มีข่าวก็สร้างให้เป็นข่าวได้ โดยเหลียวมองเข้าไปในหน่วยงาน ดูว่ามีงานหรือบริการอะไร แล้วเปิดการขายค่ะ ขายทั้งงานขายทั้งคน ตัวอย่างงานเขียนในยุคนั้น ที่ฉันแปลงมาเป็นบันทึกในบล็อก พอหาอ่านได้จากบล็อก  เรื่องเล่าในรั้วมช.  เช่น บริการ Alert ในยุคทองสารสนเทศ  และโดยหลักๆ แล้วการเขียนข่าวที่ไม่มีเหตุการณ์สำคัญ มีแนวทาง 4-5 ข้อ ค่ะ ตามนี้เลยค่ะ

  • Key message ไม่ควรเกินสองประเด็น  

  • ให้ส่วนขยายในแต่ละประเด็นอย่างสมดุลย์ 

  • การจัดเตรียมองค์ประกอบข่าวเพื่อสร้างสีสันข่าว

  • เลือกวันส่งข่าวที่เหมาะสม ( ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ส่งข่าววันศุกร์ ได้ลงสูง)

  • เตรียมผู้บริหารไว้คอยสัมภาษณ์เพิ่ม  แม้เป็นข่าวแห้งๆ ก็ต้องเตรียมพร้อมการให้ข้อมูลเพิ่ม

 

...อย่างที่เกริ่นตอนเริ่มค่ะว่า การเขียนข่าวทุกวันนี้ไม่จำเป็นต้องติดกรอบอีกแล้ว มองสื่อเป็นตัวตั้ง  ข่าว ชัดเจน เข้าใจง่าย น่าสนใจ แต่ในฐานะที่อยู่ในแวดวงการศึกษา นโยบายมหาวิทยาลัยชัดเจนโดยเฉพาะความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย การเขียนข่าวส่งให้สื่อมวลชนนั้น ข่าวของเราก็ควรครบถ้วน มีที่มาข่าวด้วย  หากสื่อต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมจะติดต่อกลับมาตามแหล่งอ้างอิงที่เราให้ไว้ หรือในบางครั้งเราก็ต้องเตรียมตัวทำหน้าที่ผู้ประสานงานนักวิจัย นักวิชาการเจ้าของผลงาน นวัตกรรม  ถ้าเรื่องไหนเราคาดการณ์ได้ว่า สื่อเล่น(ข่าว)เราแน่!

มองสื่อเป็นตัวตั้ง ตัวอย่างเช่น การเขียนข่าวในสื่อ Social Media  กำหนดไม่เกิน 140 ตัวอักษร สกัดประเด็นตามหลัก 5W+1H และเพิ่มลิงค์เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลข่าวที่ปรากฏในเว็บไซต์ ได้ประโยชน์สองต่อ คือการเพิ่มเรตติ้งให้เว็บไซต์ มีผลต่อการจัดอันดับเว็บไซต์มหาวิทยาลัย ตาม Webometrics อีกด้วยค่ะ

อ่านเพิ่มเติม การเขียนข่าววิทยุ : PRCMU กับการเรียนรู้ผลิตข่าววิทยุอย่างไรให้น่าฟัง

 

การเตรียมตัวเพื่อเล่าแลกเปลี่ยนแนวทางการเขียนข่าวของฉันและทีม และน้องๆในทีมงานคณะเภสัชศาสตร์ที่เหลือจากนี้เป็นเรื่องการลงมือปฏิบัติการเขียนข่าว การวิพากษ์ การสกัดสิ่งที่ได้รับ และประเมินผล Book to Blog ว่าบรรลุผลมากน้อยเพียงใด เป็นภาระหน้าที่ของ.....ใครคะ?

ส่วนฉัน ขอ BAR (Before action review) ก่อนไปร่วมวง Book to blog สิ่งที่ได้จากการทบทวนงานที่ทำกับการเตรียมตัวเพื่อไปเล่าแลกเปลี่ยนดังนี้ค่ะ

  1. ได้เคาะสนิมความทรงจำเดิมๆ สมัยเริ่มต้นการเขียนข่าว ผ่านอุปสรรค ประสบการณ์ที่ดีที่แย่ที่ต้องคืนแก้ไขมากมายแค่ไหน เวลาเสนอข่าวให้ผู้บริหารอ่าน ประสบการณ์นั้นน่าจะมีประโยชน์กับผู้เริ่มต้นค่ะ
  2. ได้ทบทวนงานปัจจุบันที่มีทั้งได้รับการตอบรับจากสื่อมวลชน และในเรื่องที่ล้มเหลวก็มี และได้นำกลับมาทบทวนปรับกลยุทธ์การนำเสนอใหม่ๆ อย่างไรบ้าง บทเรียนล้มเหลวไม่ใช่เรื่องน่าอายค่ะ
  3. วิถีการเขียนข่าวเมื่อครั้งเป็นพีอาร์นักปฏิบัติ ที่ถูกลบเลือนไป เพราะไม่ได้ยืนอยู่ในจุดเดิมๆ นั้นแล้ว ยังสามารถนำมาปรับใช้ได้สำหรับการเป็นนักประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ ซึ่งจะนำมาต่อยอดต่อไปค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 547809เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2013 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2013 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เดี๋ยวไปเคาะสนิมแบบพี่ต๋อยบ้าง.ดีกว่าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท