คัมภัร์อุทรโรค


คัมภีร์อุทรโรคว่าด้วยมาน 

มาน คือ เกิดขึ้นโดยอนุโลมตามธาตุ ในกองสมุฤฐานให้เป็นเหตุวิปริต  กระทำให้ท้องใหญ่ สมมติเรียยกว่า "มาน"

มานมี 18 ประการ คือ มานน้ำ มานลม มานหิน มานโลหิต และ มานเกิดแต่ดาน  แยกตามธาตุทั้ง 4 และ ดาน 1 ดังนี้

1. มานน้ำ มี 4 ประการ

2. มานลม มี 4 ประการ

3. มานหิน มี 4 ประการ 

4. มานโลหิต มี 4 ประการ

5. มานเกิดแต่ดาน มี 2 ประการ 

1.1  มานน้ำ บังเกิดจากโลหิต น้ำเหลืองระคนกัน ซึมซาบไปตามลำไส้น้อยใหญ่ มีอาการพองตัวแน่นเข้าไปในท้อง                กินไม่ได้ อิ่มไปด้วลม และน้ำเหลืองเป็นกำลัง ท้องจะขึ้นใหญ่ ลุกนั่งก็ไม่ได้ เพราะจะเหนื่อยหอบ

1.2  มานน้ำที่บังเกิดลำไส้ปริไหลซึมออกมาขังในท้องและไต อาการกระทำให้อุจจาระขัดเดินไม่ปกติโดยกำลังคูตทวารปิด ทำให้เสียดแทงลำคอ กระทำการนวดเฟ้นจึงลั่น ผายลมก็ไม่สะดวก เมื่อรับประทานยาถ่ายจึงคลายลง แล้วกลับเป็นอีก 2 -3 ครั้งโรคนั้นทวีขึ้น ท้องนั้นใหญ่ออกมา นานเข้าจะทำให้ซูบผอม หาโลหิตมิได้ กินอาหารไม่รู้รส นอนไม่หลับ

1.3 มานน้ำ บังเกิดด้วยน้ำเหลืองซึมซาบไปในก้อนเนื้อและขุมขน มีอาการกระทำให้บวมทั้งตัวแต่เป็นบั้นเป็นท่้อนครั้นถ่ายยาทายาลงไปก็ยุบแล้วกลับเป็นอีกมากกว่าเดิม เป็นอย่างนี้หลายครั้งหลายหน ครั้นนานเข้าจะนั่งมิได้ นอนราบลงก็ไม่ได้ ได้แต่นอนคดงอจึงค่อยสบาย แล้วบวมขึ้นไปทั้งตัว ดังเนื้อจะปริแตกออกจากกันผิวหนังใสซีด ไม่มีโลหิต จะเคลื่อนไหวร่างกายส่วนใดก็มิได้ นอนซมอยู่ดังศพขึ้นพองสมมติว่"มานทะลุน"

มานทะลุน หมายถึง/ความหมาย

 

 
น. โรคที่มีอาการบวมทั่วร่างกาย. 
อ้างอิง : พจนานุกรม อ.เปลื้อง ณ.นคร
 
มานทะลุน : น. โรคที่มีอาการบวมคล้ายโรคมาน แต่บวมทั่วทั้งตัว. 
 
 

1.4 มานน้ำ บังเกิดด้วยน้ำเหลืองซ่านเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะและมดลูก อาการกระทำให้น้ำเหลืองนั้นซ่าน และขังอยู่ในกระเพาะ ให้ขัดปัสสาวะ แต่ไม่ขัดเหมือนปรเมหะ (ปะระเมหะ) เป็นแต่ ปัสสาวะมิสะดวกไม่ม ีฟอง และน้อยไปมีสีต่างๆกัน บางทีสีเหลือง ขาว ดำแดง กำหนดแน่นอนไม่ได้ นานเข้ากระเพาะปัสสาวะเบ่งออกมา เวลาเหงื่อออกเสียวไปทั่วร่างกาย สะยบัดร้อนสะท้านหนาว ร่างกาบซูบซีด ผอม ไอ อาเจียนออกแต่น้ำลาย รับประทานอาหารไม่ได้ อจจาระไม่ปกติ

ปรเมหะ หมายถึง/ความหมาย

 
[ปะ-ระ-เม-หะ] น. ชื่อคัมภีร์หมอว่าด้วยโรค เกิดแต่น้ำเยี่ยว. 
อ้างอิง : พจนานุกรม อ.เปลื้อง ณ.นคร
 
ปรเมหะ : [ปะระ-] น. ชื่อคัมภีร์หมอว่าด้วยโรคเกิดแต่นํ้าเบา (น้ำปัสสาวะ). 

ข้อมูลจาก:http://www.online-english-thai-dictionary.com/?word=%E0%B8

มานน้ำทั้ง 4 ประการเกิดแต่กองเตโช เป็นมันทธาตุ ยิ่งไปด้วยเสมหะเป็นกำลัง คือไฟธาตุหย่อน อาหารไม่ย่อย ลงไปวันละ 2-3 เวลา สวิงสวายใจสั่น ไม่มีเรี่ยวแรง กระทำให้ท้องขึ้นอยู่เสมอๆ อุจจาระเป็นเมือกมัน เป็นเปลว หยาบ ละเอียด ปวดมวน โทษทั้งนี้เกิดแต่กองอาโปธาตุ 12 ประการเป็นเหตุ 

อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ) 12 ประการคือ 

1. ปิตตัง  น้ำดี

2. เสมหัง เสลด

3. บุพโพ  น้ำหนอง

4. โลหิตตัง  เลือด

5. เสโท  เหงื่อ

6. เมโท  มันข้น

7. วสา มันเหลว

8. อัสสุ  น้ำตา

9. เขโฬ  น้ำลาย

10. สิงคาณิกา  น้ำมูก

11. ลสิกา  น้ำไขข้อ

12.มุตตุง  น้ำปัสสาวะ

หมายเหตุ  ยังไม่จบค่ะ อ่านต่อที่บันทึกนี้ค่ะhttp://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/548293

                                                        ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะ

 

 http://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/548293

 

 

หมายเลขบันทึก: 547000เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2013 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สงสัยหนูจะได้สักมานแล้วอ่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ 

 ยายธี 
 นาง นงนาท สนธิสุวรรณ

 Oraphan 

น้องOraphan ได้มานตัวไหนไป พี่ว่าอย่าเก็บไว้เลยค่ะ ไม่เหมาะๆ อิอิ

An interesting 'old medical text' คัมภีร์อุทรโรคว่าด้วยมาน. Do you have a history of this text?

Out of curiosity, I looked up a Pali dictionary for words in the 12  อาโปธาตุ(ธาตุน้ำ): (here is the result)

อาโปธาตุ (āpodhātu: the element of cohesion. (f.) ธาตุน้ำ) 12 ประการคือ

1. ปิตตัง  น้ำดี        pitta: ปิททะ the bile. (nt.)
2. เสมหัง เสลด        semha: เสมหะ phlegm. (nt.)
3. บุพโพ  น้ำหนอง    pubba: ปุบบะ pus; matter
4. โลหิตตัง  เลือด        lohita: โลหิตะ blood. (adj.), red. (nt.)
5. เสโท  เหงื่อ        seda: เสดะ sweat; perspiration. (m.)
6. เมโท  มันข้น        meda: เมดะ the fat. (m.
7. วสา มันเหลว        vasā: วะสา the fat; grease. (f.)
8. อัสสุ  น้ำตา        assu อัสสุ (Vedic: Asru; assu-netta: tearful eye)
9. เขโฬ  น้ำลาย        kheḷa: เขฬะ saliva. (m.)       
10. สิงคาณิกา  น้ำมูก    naasika-gaṇika;    นาสิกะ คณิกะ; nāsikā: the nose. (f.) gaṇika: having a following. (adj.) [คณิกา: หญิงแพศยา, หญิงงามเมือง --RITD; see วัดคณิกาผล]
11. ลสิกา  น้ำไขข้อ    lasikā: ละสิกา synovic fluid. (f.)
12. มุตตุง  น้ำปัสสาวะ    mutta: มุททะ the urine. (nt.)

...ขอบคุณค่ะ ...คัมภีร์สมมุติฐานโรคที่เกิดบริเวณท้องนะคะ...

ขอบคุณค่ะ sr

I was the only student.
I learned a little too.

ขอบคุณ  ดร. พจนา แย้มนัยนา

คัมภีร์โบราณค่ะ แต่ครูบาอาจารย์รุ่นเก่าๆนั้น

ท่านลงมือทำมากกว่าการท่องบ่นเพียงตำรา

วันนี้ครูบาอาจารย์ท่านยังกล่าวว่า

เสียดายที่คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยนอกจากมองข้ามแล้ว

ยังเรียนเพียงรู้เพื่อสอบให้ได้ใบๆแต่หาได้นำความรู้มาใช้จริง

ยังดีที่มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งเขานำไปต่อยอดได้เยอะแล้ว

แม้ว่าจะถูกต่างชาติเรียนรู้และรีบจดลิขสิทธิ์ไปหลายตัวแล้ว

พี่ตั้งใจปลูกป่าสมุนไพรจนกว่าจะทำไม่ไหวค่ะ

 

 

 

อ่านแล้ว ได้คิดตามและหันกลับมาดูตัวเองในทันทีเลยครับ

 แผ่นดิน ขอบคุณค่ะ

ยินดีที่หันกลับระวังคอเคล็ดนะคะ

จึงควรหันช้าๆค่ะน้องอ.แผ่นดิน

 

ขอบคุณค่ะ ดร. โอ๋-อโณ

เรียนไปเรียนมาก็เริ่มจำสับสนแล้วค่ะ

การได้มีโอกาสเขียนบันทึกการเรียนรู้แบบนี้

ก็ช่วยให้สว.คนนี้พอจะจดจำได้บ้างค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท