Northeast Regional HA Forum ครั้งที่ 10 ประจำปี 2556 (2): SHA CUP โดย อาจารย์ดวงสมร บุญผดุง


อ.ดวงสมร บุญผดุง กล่าวว่า "...เรามีความฝันร่วมกันว่า อยากจะเห็นโรงพยาบาลมีความปลอดภัย มีมาตรฐาน ผสมผสานมิติจิตใจของคนทำงาน มีความประณีต ทำงานร่วมกับชุมชนได้ การทำงานอยู่บนพื้นฐานของความรัก ความเอื้ออาทร ผู้รับบริการและคนทำงานมีความสุข..."

“การสร้างเสริมสุขภาพผ่านกระบวนการคุณภาพเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน (Sustainable Health Care and Health Promotion By Appreciation and Accreditation”) หรือ SHA ที่เป็นแนวคิดเพิ่มขึ้นมาในภายหลัง คู่กับ HA (Hospital Accreditation) นั้น ในเวทีวันนี้ . ดวงสมร  บุญผดุง กล่าวในมุมมองของ Spiritual Health Care อันเป็นผลพวงจากการมองเห็นช่องว่างในอดีตที่อาจขาดความสมบูรณ์ในการมองอย่างละเอียดอ่อนด้านมิติจิตวิญญาณในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อการขอรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation: HA) จึงมีความคิดว่า SHA น่าจะเป็นมุมมองของโรงพยาบาลที่ดำเนินกิจกรรมคุณภาพให้มีความสุข ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ

 

และเพื่อเป็นการผสมผสานแนวคิดการพัฒนาคุณภาพด้วยมิติจิตใจ ใช้มุมมองที่ละเอียดอ่อน ความหมาย และคุณค่าของชีวิตเข้าไปในระบบบริการอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง จึงร่วมกันกับโรงพยาบาลนำร่อง ความคิดดังกล่าวจึงเกิดการต่อยอด จาก SHA สู่การดำเนินกิจกรรม ที่เรียกว่า SHA CUP

 

SHA CUP จึงเป็นแนวความคิด เรื่องการให้บริการในระบบสุขภาพที่มีการเชื่อมโยงกันแบบไร้รอยต่อ แนวทางการทำงานในมาตรฐานต่างๆ ควรทำไปด้วยกัน โดยใช้ตัวโรคร้อยเรื่องราวต่างๆเป็นที่มาของการสร้างเครือข่ายสร้างเสริมมิติจิตตปัญญาในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ

SHA CUP ส่งเสริมการนำมิติจิตใจ จิตวิญญาณหรือจิตตปัญญาเข้ามาใช้ในการทำงาน การดูแลรักษาในโรงพยาบาลโดยเชื่อมโยงระบบบริการที่เป็นรูปธรรมในการทำงานร่วมกันระหว่าง รพ.และเครือข่าย เพื่อให้เกิดการบริการที่ไร้รอยต่อ ด้วยการร้อยเรียงหัวใจของผู้ให้บริการในรพ. รพสต. ชุมชน อสม. ผู้ป่วย ญาติ ประชาชน ร่วมกันออกแบบระบบบริการในฝันและร่วมกันคิดวิธีการทำงานเพื่อให้ไปสู่ความฝันให้สำเร็จร่วมกัน

 

 

กรอบแนวคิดการจัดกิจกรรมใน SHA CUP มี 2 ประเด็น คือ

1.   เรียนรู้และพัฒนาด้านระบบงาน (System) ประกอบด้วย

  • Share vision : ให้ผู้นำโรงพยาบาลที่ให้ความสนใจมีส่วนร่วมในการสร้างฝัน จากนั้นชักชวนชุมชนให้มีส่วนร่วมสร้างฝันเพื่อสานฝัน
  • ออกแบบระบบงานใหม่ (New System Design) : กลุ่มเครือข่ายกำหนดจุดแข็งจุดอ่อน และรอยโรค
  • Seamless Care System : ผู้ประสานดูภาพรวมเพื่อเชื่อมโยงความคิดระบบงานใหม่สู่ชุมชนจริงๆ ทำให้เกิดระบบที่ไร้รอยต่อ เกิดความรู้ใหม่
  • Safety & Standard, SHA Facillitator : ระบบ Home Ward - Home Care ซึ่งเป็นระบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เป็นการเน้นคุณภาพของผู้ที่ดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน (care giver)

2.   เรียนรู้และพัฒนาด้านจิตวิญญาณ (Spiritual) ประกอบด้วย

  • ประสบการณ์ของผู้ป่วย (Patient’s Experience) โดยการสังเกต อาศัยประสบการณ์และการตั้งใจ “ฟังเสียง” ผู้ป่วย
  • Knowledge Sharing
  • Narrative Medicine & Evidence based
  • Solutogenesis transformative learning : เป็นการนำเรื่องเล่าดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ

 

 

ตัวอย่างผลงานที่อาจารย์ได้ดำเนินการในโมเดลนี้ 4 nodes ได้แก่ SHA CUP รพ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ รพ.เสาไห้ จ.สระบุรี รพ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี และ รพ.ท่าวังผา จ.น่าน

 

ผลงานที่ได้จาก SHA CUP โดยสรุป

 

เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีต่อตนเองและชุมชน เกิดความรู้สึกถึงคุณค่าต่อตนเอง และมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทำงานของตนเองให้ง่ายและมีความสุขร่วมกันมากขึ้น พบความเอื้ออาทร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเป็นพี่-น้องระหว่างกันมากขึ้น และในแต่ละ CUP จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

 

ขอขอบพระคุณ อ.ดวงสมร บุญผดุง หรือ “แม่ต้อย” ที่กรุณานำเรื่องเล่าดีๆ มาเล่าสู่กันฟังเพื่อจุดประกายการเพิ่มคุณภาพการบริการสาธารณสุขค่ะ

  

 

หมายเลขบันทึก: 546899เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2013 00:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2013 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เรียนอาจารย์ กฤษณา  ขอบคุณที่นำบันทึกนี้มาเรียนรู้ เรื่อง sHA CUP มาใ้ห้เรียนรู้ 

มีโอกาสได้รับความอนุเคราะห์ จากแม่ต้อย ให้เข้าฟัง Sha havesting Spiritual  ที่ รร.รามา แล้วแม่ต้อยให้โจทย์มาทำการบ้าน ศาสตราจารย์เปล มึนอยู่หลายวัน ด้วยคำถามเพียง สามข้อ

1 ความหมาย นิยาม spiritual และSha 

2. จุดเปลี่ยนของแต่ละคนและจุดเปลี่ยนของระบบอยู่ตรงใหน

3. กระบวนการของShaที่เกิดขึ้นไปปรากฏที่ส่วนใหนขององค์กร  และขยายผลสู่การทำงาน มุ่งเน้นตรงใหน(ให้ตอบตาม พาร์ท 3 ของHA ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 6 หมวด 

องค์กรนำ เครื่องมือที่นำไปใช้ 

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งบวกและลบ

ปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัด.....

ตอนนี้ยังมึนไม่หาย  แต่หลังจากอ่านบันทึกนี้ เหมือนมีลายแทง ในการคลำทางไปสู่การแก้โจทย์

ด้วยความขอบคุณครับอาจารย์

 

 

แวะมาเชีย  กิจกรรมดีๆ  

จาก SHA สู่  SHA CUP ค่ะ

^___^

ห่างการอบรม SHA มาซะนานเลยค่ะพี่ติ๋ว

ขอบคุณคุณชาดา  ค่ะ...

cheer! เช่นกันค่ะ

คุณ kunrapee ค่ะ ห่างเหินเพียงการอบรม… แต่ไม่ห่างเหินงานคุณภาพเพื่อผู้ป่วยนะคะ

 เรียน ท่านผู้เฒ่าวอญ่าค่ะ

(ต้องขอประทานโทษค่ะ ที่ดูเหมือนตอบช้ากว่าท่านอื่น ติ๋วเขียนตอบท่านไปก่อนคุณชาดา แล้วโพสต์ไปก่อน แต่ไม่เห็นมี... สงสัยจังหวะเน็ทหลุดพอดีค่ะ)

สิ่งที่ท่านผู้เฒ่าเขียนในคอมเมนท์ เป็นประเด็นที่สร้างความคมชัดของบันทึกนี้มากขึ้นค่ะ ทำให้เราเห็นกรอบความคิดที่มาของเนื้อหามากขึ้น

ขอบคุณนะคะ

ขอบคุณ Note taker ที่บันทึกได้ยอดเยี่ยมมากค่ะ พีจะขออนุญาตส่ง link ให้หน่วย HA นะคะ

พี่แก้ว

ยินดีค่ะพี่แก้ว

... 

ที่เหลือกำลังเขียนค่ะ แล้วจะทยอยลงค่ะ

ขอบคุณพี่แก้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท