อยากได้ผลผลิตมะนาวออกหน้าแล้ง ต้องตัดใจทิ้งผลมะนาวปี


ในระยะนี้เซียนมะนาวทั้งหลายในบ้านเราก็เริ่มที่จะกระตือรือร้นในการดูแลบำรุงรักษาต้นมะนาวให้มีความอุดมสมบูรณ์
ปลอดภัยไร้โรคแมลงเข้ามารบกวน และเตรียมตัวกระตุ้นสะสมอาหารให้ต้นมะนาวออกดอกในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
เพื่อที่จะให้มีกำหนดเวลาต่อไปข้างหน้าอีก 5 – 6 เดือนก็จะได้ผลผลิตมะนาวที่จะออกมาขายในฤดูแล้ง ซึ่งเป็นฤดูที่มะนาวมีราคาแพงที่สุดในรอบหนึ่งปี คือช่วงประมาณเดือนมีนาคมและเมษายน และในระยะนี้คือช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน จะต้องเตรียมสะสมอาหารให้เพียงพอ หลังจากที่บำรุงให้อุดมสมบูรณ์มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม  - มิถุนายน ด้วยการตัดแต่งกิ่งกระโดง กิ่งน้ำค้าง กิ่งกาฝากที่อาศัยอยู่ในร่มเงา กินอาหารอย่างเดียวไม่ทำงาน และใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหรือสูตรเสมอ อย่างเช่น 15-15-15 และยูเรีย 46-0-0 เพื่อเร่งสร้างกิ่งก้านใบให้เจริญเติบโตเป็นชุดใหม่ออกมา

ปัญหาและข้อจำกัดในระยะนี้คือ บางสวนอาจจะมีดอกและผลซึ่งเป็นมะนาวปีที่อาจจะมีการปล่อยปละละเลยให้หลุดเล็ดลอดมาถึงช่วงที่ควรจะเป็นระยะเวลาที่สะสมอาหารของการผลิตมะนาวนอกฤดู หรือการทำมะนาวหน้าแล้ง ถ้าเกษตรกรที่ยังเสียงดายไม่ยอมปลิดดอกและผลรุ่นนี้ทิ้งไปตั้งแต่ระยะการออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ดอกและผลรุ่นนั้นก็จะเป็นตัวถ่วง ดูดกินอาหารของต้นแม่มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เรื่อยมาจนถึงเดือน สิงหาคม-กันยายน ซึ่งความจริงจะต้องเป็นระยะที่มะนาวของเราควรผ่านการบำรุงดูแลรักษามาอย่างเต็มที่โดยให้แตกใบอ่อนมาอย่างน้อยสองรุ่นและเริ่มใช้สูตรทำให้ใบแก่สะสมอาหารด้วยสูตรปุ๋ย 1-1-4 ซึ่งประกอบไปด้วย 1.  น้ำ   20 ลิตร , 2. ซิลิสิค  แอซิด    2.5 กรัม 3.แคลเซียมไนเตรท  15-0-0   10 กรัม, 4. ยูเรีย  46-0-0    10 กรัม} 5. โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต 0-52-34  10 กรัม              6.  โพแทสเซียมซัลเฟต  0-0-50 
35 กรัม 7. ซิลิโคเทรซ    2.5 กรัม 8. ไคโตซานพืชMT  5 ซี.ซี. และฮอร์โมนไข่ 5 ซี.ซี. ส่วนผสมดังกล่าวนี้จะช่วยทำให้มะนาวมีระเบียบวินัยในการสะสมอาหารที่พร้อมเพรียงกันไปทั่วทั้งสวน ระหว่างนี้ทางพื้นดินควรเก็บกวาดเศษไม้ใบหญ้าอินทรีย์วัตถุต่างๆ ให้สะอาดเกลี้ยงเกลาไม่ให้มีการปลดปล่อยไนโตรเจนออกมาแก่มะนาวได้อีก และควรราดรดฮอร์โมนไข่ในอัตรา 50 ซี.ซี.ต่อน้ำ 20 ลิตรราดให้ให้ชุ่มโชกทุกอาทิตย์หรือตามความเหมาะสมโดยการสังเกตุสภาวะแวดล้อมว่ามีฝนตกหรือต้นเหตุที่จะทำให้มะนาวแตกใบอ่อนมาหรือไม่ การให้น้ำอาจจะใช้ฮอร์โมนไข่ที่ผสมน้ำรดแทนน้ำไปพลางเพื่อมิให้มะนาวทรมานจากการขาดน้ำ
แต่จะใช้หลักการของการสร้างคาร์บอนและไนโตรเจนให้กว้างขึ้นแทน (C:N Ratio)

จากนั้นช่วงต้นเดือนตุลาคมเราจึงจะทำการเปิดตาดอกด้วยสูตรกระตุ้นตาดอก ซึ่งประกอบไปด้วย 1. น้ำ   20 ลิตร,          2. ซิลิสิค แอซิด   2.5 กรัม, 3. ไวตาไลเซอร์     2.5 กรัม, 4. น้ำตาลทราย  50 กรัม} 5. น้ำมะพร้าวอ่อน 100 ซี.ซี., 6. ไคโตซานMt  10  ซี.ซี. และ7.  ฮอร์โมนไข่  10  ซีซี. ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดตาดอก ในระหว่างนี้ถ้ามีปัญหาในเรื่องการเกิดใบอ่อนขึ้น อาจเนื่องด้วยมีฝนหลงฤดู ฝนทิ้งช่วงก็ควรที่จะต้องใช้ สูตรการยับยั้งใบอ่อนป้องกันผลร่วงเข้ามาช่วยโดยมีส่วนประกอบดังนี้  1.  น้ำ   20 ลิตร, 2. ไวตาไลเซอร์                2.5 กรัม, 3. โมโนโพแทสเซียมฟอสเฟต 0-52-34  10 กรัม,   4. โพแทสเซียมซัลเฟต 0-0-50    40 กรัมและ 5. น้ำตาลทราย   100 กรัม เพื่อกดใบอ่อนมิให้เกิดขึ้นมาแย่งการสะสมอาหาร ทำอย่างนี้ไปเป็นระยะตามลักษณะอาการที่เป็นจริงของต้นมะนาว ถ้ายังไม่สามารถทำให้เกิดการออกดอกและยังมีใบอ่อนอยู่ก็ควรต้องเพิ่มความถี่ในใช้สูตรต่างๆ นี้ให้สอดคล้องเหมาะสมตามไปด้วย

ดังนั้นจึงขอสรุปแบบคร่าวๆในเรื่องของเทคนิคการทำมะนาวให้ออกนอกฤดูหรือการทำมะนาวหน้าแล้ง จึงอยู่ที่ การทำให้ผลว่างจากต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมาโดยยอมหักใจ ยอมสูญเสียรายได้ที่จะเกิดจากมะนาวปีออกไปเสียให้ได้  การควบคุมปริมาณของคาร์บอนและไนโตรเจนให้เหมาะสม การไม่ทรมานต้นมะนาวด้วยการอดน้ำควั่นกิ่งอย่างหนักหน่วงเกินไป เพราะจะทำให้ในระยะยาวต้นมะนาวจะอยู่กับเราได้ไม่นาน เพราะผ่านการทรมานมากเกินไป  การกระตุ้นให้เกิดดอกด้วยการใช้ฮอร์โมนไข่ที่ทำมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ และการใช้ซูโครสจากน้ำตาลทราย เพียงเท่านี้ก็สามารถที่จะทำให้มะนาวผลิดอกออกผลได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมและให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ในเดือนมีนาคม-เมษายนแก่พี่น้องเกษตรกรได้ไม่ยากเกินไป  ที่เล่ามาทั้งหมดอาจเป็นเพียงข้อมูลเล็กๆน้อยๆในการทำมะนาวนอกฤดู  ยังคงมีรายละเอียดและปัจจัยผันแปรต่างๆ อีกมากมายที่นักปลูกมะนาวควรจะต้องทำความเข้าใจศึกษาเพิ่มเติมให้มาก ๆ เพื่อจะได้พัฒนาการปลูกมะนาวนอกฤดูได้อย่างมือชีพ และสามารถทำให้ประสบผลสำเร็จได้อย่างเต็มภาคภูมิ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 081-313-7559

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ   www.thaigreeangro.com

 

หมายเลขบันทึก: 546656เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 12:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พี่อยากปลูกมะนาวไว้กินในบ้าน  ปลูกแล้วตายหมด เพราะที่บ้านดินเค็ม  จะทำอย่างไรได้บ้างคะ (ขอวิธีง่ายๆนะคะ)

ต้องแก้ไขตั้งแต่เริ่มแรกเลยครับพี่ คือใช้แกลบดิบรองก้นหลุมก่อนปลูกอย่างหนา ๆ มาก ๆ เพื่อเก็บรักษาความชื้นไว้ใต้รากให้มากที่สุด เมื่อไอเค็มที่ระเหยจากใต้ดินขึ้นมา (คล้ายๆ ไส้ตะเกียง) ก็จะมากระทบกับความชื้นจากแกลบ ทำให้เกลือหรือความเค็มไม่สามารถขึ้นมาทำลาย รากของมะนาวได้อย่างเต็มที่ (ซึ่งหมายถึงจะช่วยแก้ไขได้มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์นะครับ) ส่วนจะทำให้แกลบมีความชื้นคงที่สม่ำเสมอ ก็ควรใช้สารอุ้มน้ำ โพลิเมอร์เข้าไปช่วย (สารอุ้มน้ำ โพลิเมอร์ 1 กิโลกรัม ดูดและกักเก็บน้ำได้ 200 - 400 เท่า) และใช้กลุ่มหินแร่ภูเขาไฟ (พูมิชซัลเฟอร์) คุณสมบัติของหินแร่ภูเขาไฟเหล่านี้จะช่วยทำให้พืชทนเค็มได้ดียิ่งขึ้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท