ผลกระทบที่สำคัญของการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว


ที่มาดูจะเก่ามาก !!!
แต่ปัญหาก็ยังร่วมสมัย ... แม้สังคม แม่เลี้ยงเดี่ยว จะกว้างขึ้น (ซึ่งไม่อยากให้เป็นแบบนั้นเลย)

---------------------------------------------------------------------------

การเป็นครอบครัวเดี่ยวพบกับสภาพปัญหาของครอบครัวทั้งทางจิตใจ อารมณ์ และสังคม มีผลโดยตรงต่อสมาชิกในครอบครัว และสภาพปัญหาของครอบครัวอาจส่งผลต่อไปยังสภาพปัญหาสังคมได้ จากการศึกษาของ Dandridge (1987) ได้กล่าวถึงผลกระทบที่ถือว่าเป็นแหล่งความเครียดภายในครอบครัวที่มีแม่เลี้ยงเดี่ยวได้รับผลกระทบ ดังนี้

1) ผลกระทบด้านบทบาทภายในครอบครัวที่มีมากเกินกำลัง (Role overload) การที่หัวหน้าครอบครัวต้องทำหน้าที่เป็นทั้งบิดาและมารดาในเวลาเดียวกันก่อให้เกิดความเครียดในการอบรมเลี้ยงดู สั่งสอน แก่สมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่ชดเชยต่อความต้องการที่ซับซ้อน ทั้งทางด้านอารมณ์ สังคม ทดแทนให้แก่บิดาหรือมารดาที่หายไปให้แก่ลูก ซึ่งถือว่าเป็นความยุ่งยากและเป็นความสิ้นเปลืองของการทำหน้าที่ของผู้ปกครอง

2. ผลกระทบต่อภาระหน้าที่การหาเลี้ยงครอบครัว (Economic hardships) การที่ต้องกลายเป็นผู้นำครอบครัว และหาเลี้ยงครอบครัวเพียงคนเดียว เป็นผลให้ผู้นำครอบครัวต้องพยายามอย่างมากเพื่อหาเลี้ยงให้ได้เพียงพอ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับลูก ผู้นำครอบครัวมักจะเกิดความรู้สึกว่า ไม่สามารถหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวอย่างเพียงพอได้ และลูกๆ วัยรุ่นมักรู้สึกว่า พวกเขามีภาระไม่เท่าเทียมกับกลุ่มเพื่อนๆ ในฐานะทางการเงิน (ในรายที่หย่าร้างจะมีผลกระทบมากกว่าเดิม) การแยกครอบครัวเป็นผลให้จากเดิมที่คู่สมรสหาเงินใช้จ่ายภายในหนึ่งครัวเรือน กลายเป็นเหลือผู้นำที่ต้องหาเลี้ยงครอบครัวเพียงคนเดียว เป็นผลให้ต้องหารายได้มากขึ้นเพื่อทดแทนรายรับที่สูญเสียไป ถึงแม้ว่ารายได้โดยเฉลี่ยของคู่สมรสแต่ละคนจะยังเท่าเดิม และมากกว่านั้นการพยายามหารายได้ให้มากพอเพียง ซึ่งก่อให้เกิดความเครียดยังมีผลต่อสุขภาพจากการพักผ่อนไม่สม่ำเสมอ การมีกิจกรรมกับลูกๆ ที่ลดลง และการขาดความสนใจ ใส่ใจกับบุตรที่มากขึ้นได้

3. ผลกระทบจากการที่ถูกสังคมทอดทิ้งให้โดดเดี่ยว (Social isolation) จากภาระหน้าที่ที่หนักหน่วงในการหาเลี้ยงครอบครัวของหัวหน้าครอบครัวเป็นผลให้ไม่มีเวลาในการที่จะนำครอบครัวเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางสังคมได้เหมือนกับครอบครัวปกติทั่วๆ ไป รวมไปถึงการไม่แน่ใจและลังเลของครอบครัวในการที่จะสร้างสัมพันธภาพกับสังคมที่โดยมากสังคมยังไม่เปิดกว้างสำหรับครอบครัวที่มีบิดามารดาเลี้ยงดูเพียงคนเดียว โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสาเหตุมาจากการหย่าร้าง การแยกจากกัน และการตั้งครรภ์โดยไม่ได้สมรส Bohannan (1970) กล่าวว่า การสูญเสียมิตรภาพในกลุ่มครอบครัวปกติที่มีสาเหตุจากการหย่าร้างนั้นเป็นเพราะว่าสังคมมีแนวโน้มที่จะรวมกลุ่มกันเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่ในครอบครัวปกติที่มีทั้งบิดาและมารดา ส่วนกลุ่มครอบครัวที่มีการหย่าร้างจัดเป็นกลุ่มที่ผิดปกติในการที่จะนำมารวมกลุ่มสังคม ดังนั้น จึงเป็นผลให้กลุ่มครอบครัวดังกล่าวต้องสูญเสียการติดต่อกับสังคม และขาดแหล่งช่วยเหลือจากสังคมเมื่อเทียบกับก่อนเกิดภาวะการหย่าร้างภายในครอบครัว

4. ผลกระทบที่เกิดจากความรู้สึกสูญเสียและความเศร้าโศก (Feeling of loss and grief) การหย่าร้าง การแยกจากกัน หรือการตั้งครรภ์โดยไม่ได้สมรส ล้วนแต่เคยประสบภาวะการสูญเสียมาแล้วทั้งสิ้น รวมถึงการสูญเสียอื่นที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจของครอบครัวที่ลดลง การขาดแหล่งช่วยเหลือจากสังคม

---------------------------------------------------------------------------

จากที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เห็นสภาพปัญหาและผลกระทบจากการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวว่า มีผลกระทบโดยตรงต่อสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวส่งผลต่อความรู้สึกทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวทั้งสิ้น หากภาวะดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขก็อาจเป็นผลให้เกิดภาวะเครียด ภาวะซึมเศร้า ต่อสมาชิกในครอบครัวได้

หมายเลขบันทึก: 546493เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2013 00:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2013 00:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

.... ปัญหามากมาย .... ร่วมกับ... Unwanted Pregnancy ...and  Non-Intended Pregnancy ==> การตั้งครรภ์ที่ไม่ตั้งใจ นะคะ

 

ขอบคุณค่ะท่าน 

ผมสนใจกลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ด้อยโอกาสน่ะครับ ผมเพิ่งจะเริ่มต้น
ขอคำแนะนำด้วยครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ดิฉันสนใจเรื่องนี้เพราะมีน้องสาวเป็นแม่เลี้ยงเดี๋ยว  เห็นปัญหามากมาย

ที่รับผลกระทบที่สุดคือเด็กๆ ค่ะ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท