ความเป็นมาที่น่าสนใจ ของ ร่องรอยลูกหลานชาวไทลื้อ ณ แดนสยามใต้...


ความพยายาม จากกระแสจิตวิญญาน ที่ฝังลึก..

(รูปการแต่งกายของหนุ่มสาวชาวไทลื้อ ณ ดินแดนที่เรียกว่า ล้านนา)

..เลือดหาญกล้า บรรพชน คนไทลื้อ
เคยฝากชื่อ ระบือนาม สยามใต้
ปกป้องแดน ผืนแผ่นดิน ถิ่นฐานไทย
จากเมืองไชย ยังใจฝัน ผูกพันนาน..

       บนสุดแดนสยามมีสถานที่นามว่า ไซยะบุรี..ดินแดนของ ชาวไทลื้อ จาก สิบสองปันนา สู่อาณาจักรล้านนา-ล้านช้าง และกลายเป็นแขวงไซยะบุลี สปป.ลาว..กาลผ่านมานานนับหลายร้อยปี..การหลงเหลือร่องรอยของนาม ชัยบุรี ณ สถานที่หลายจุด หลายชุมชน ในดินแดนสยามใต้ คือ อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี - ต.ชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง ไปจนถึงเมืองไทรบุรี(ในมาเลเซียปัจจุบัน) รวมทั้งร่องรอยของกลุ่มคนที่ใช้ นามสกุล ซึ่งคงคำว่า ชัย ไว้ เพื่อให้สามารถแสดงถึงความเป็นมาของชนผู้มีต้นทางของเทือกเถาเหล่ากอ จากดินแดนใดดินแดนหนึ่ง คล้ายกับการใช้ แซ่ ของคนจีน..ย่อมแสดงให้เห็นถึงผลจากการเข้าร่วม กองทัพอาสาศึก ของบรรพชนชาวไทลื้อ เพื่อร่วมสร้างราชอาณาจักรสยามมาตั้งแต่ยุคสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าตากสินมหาราช และ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แม้จนถึงยุคสมัย สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า ด้วยความกล้าหาญและจงรักภักดี แลกกับการมีชีวิตบน ดินแดนสยาม ในสถานะ ชาวสยาม(ผู้ดูแลรักษาแผ่นดินโดยดี) เยี่ยงชาวสยามอื่นๆ และยังคงอัตตลักษณ์และศิลปะวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนโดยมิต้องจมอยู่กับความเศร้าโศกที่ต้องถูกพรากจากถิ่นเกิดครั้งอดีตกาล..และด้วยความกล้าหาญเสียสละของบรรพชน..มรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าจึงยังคงได้รับการสืบทอดดำรงอยู่..แม้บางครั้งมิอาจเข้าใจด้วยความอ่อนด้อยปัญญาของลูกหลานและด้วยกาลเวลาเนิ่นนาน..แต่ก็ยังคงความภาคภูมิใจที่จะค่อยๆแกะรอยสอยสานตำนานสู่ลูกหลานรุ่นต่อไป..ปู่ทวดผมท่านมีนามเรียกขาน นายจัน ชัย มาแต่ครั้งสมัยไม่มีนามสกุล(ท่านเคยอยู่ที่ชัยบุรี พัทลุง)..ตกถึงรุ่นคุณปู่ปาน ชัยกูล(ท่านชำนาญการทำตะโจและแม่นยำในการยิงคันธนู) คุณพ่อเขียน ชัยกูล..หวังว่า ร่องรอยของผู้มาจากเเมืองไชยะบุรี..จะยังคงมีในเลือดเนื้อเชื้อไขอีกหลายท่านที่แยกย้ายกลายถิ่น..จนไม่รู้ต้นทาง ที่มา..ครับผม..

จากวิกิพีเดีย

       ไทลื้อ หรือ ไตลื้อ เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแถบสิบสองปันนาของจีน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือการใช้ภาษาไทลื้อ และยังมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อื่นๆ เช่น การแต่งกาย ศิลปะและประเพณีต่างๆเดิมชาวลื้อ หรือไทลื้อ มีถิ่นที่อยู่บริเวณ เมืองลื้อหลวง จีนเรียกว่า "ลือแจง" ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่าคุนหมิงในปัจจุบัน แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำน้ำโขง สิบสองปันนาปัจจุบัน ประมาณศตวรรษที่ 12 จึงเกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื๋องหาญ ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนาปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักรแจ่ลื้อ (เซอลี่) โดยได้ตั้งศูนย์อำนาจการปกครองเอาไว้ที่หอคำเชียงรุ่ง นาน 790 ปี ต่อมาถึงสมัยเจ้าอิ่นเมือง ครองราชต่อมาในปี ค.ศ. 1579-1583 (พ.ศ. 2122-2126) ได้แบ่งเขตการปกครองเป็นสิบสองหัวเมือง แต่ละหัวเมืองให้มีที่ทำนา 1,000 หาบข้าว (เชื้อพันธุ์ข้าว) ต่อนาหนึ่งที่/หนึ่งหัวเมือง จึงเป็นที่มาจนถึงปัจจุบันเมืองสิบสองปันนาได้แบ่งเขตการปกครองเอาไว้ในอดีตดังนี้ (ที่มาของคำว่า สิบสองพันนา อ่านออกเสียงเป็น "สิบสองปันนา")
ชาวไทลื้ออาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำโขง คือ ด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำ มีเมืองต่างๆ ดังนี้ภาษาไทลื้อ ได้กล่าวไว้ว่า ห้าเมิงตะวันตก หกเมิงตะวันออก รวมเจียงฮุ่ง (เชียงรุ่ง) เป็น 12 ปันนา และทั้ง 12 ปันนานั้น ประกอบด้วยเมืองใหญ่น้อยต่างๆ เช่น
ฝั่งตะวันตก : เชียงรุ่ง, เมืองฮำ, เมืองแช่, เมืองลู, เมืองออง, เมืองลวง, เมืองหุน, เมืองพาน, เมืองเชียงเจิง, เมืองฮาย, เมืองเชียงลอ และเมืองมาง
ฝั่งตะวันออก : เมืองล้า, เมืองบาน, เมืองแวน, เมืองฮิง, เมืองปาง, เมืองลา, เมืองวัง, เมืองพง, เมืองหย่วน, เมืองมาง และเมืองเชียงทอง
        การขยายตัวของชาวไทลื้อสมัยรัชกาลที่ 24 เจ้าอินเมืองได้เข้าตีเมืองแถน เชียงตุง เชียงแสน และล้านช้าง กอบกู้บ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น พร้อมทั้งตั้งหัวเมืองไทลื้อเป็นสิบสองเขต เรียกว่า สิบสองปันนา และในยุคนี้ได้มีการอพยพชาวไทลื้อบางส่วนเพื่อไปตั้งบ้านเรือนปกครองหัวเมืองประเทศราชเหล่านั้น จึงทำให้เกิดการกระจายตัวของชาวไทลื้อ ในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง (รัฐฉานปัจจุบัน) อันประกอบด้วยเมืองยู้ เมืองยอง เมืองหลวย เมืองเชียงแขง เมืองเชียงลาบ เมืองเลน เมืองพะยาก เมืองไฮ เมืองโก และเมืองเชียงทอง (ล้านช้าง) เมืองแถน(เดียนเบียนฟู) ซึ่งบางเมืองในแถบนี้เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไทลื้ออยู่แล้ว เช่น อาณาจักรเชียงแขง ซึ่งประกอบด้วย เมืองเชียงแขง เมืองยู้ เมืองหลวย เมืองเชียงกก เมืองเชียงลาบ เมืองกลาง เมืองลอง เมืองอาน เมืองพูเลา เมืองเชียงดาว เมืองสิง เป็นต้น
        ชาวไทลื้อบางส่วนได้อพยพ หรือ ถูกกวาดต้อน ออกจากเมืองเหล่านี้เมื่อประมาณหนึ่งร้อยถึงสองร้อยปีที่ผ่านมา แล้วลงมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศตอนล่าง เช่น พม่า, ลาว และไทย

        ในสมัยรัชกาลที่ 1 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ (เจ้าผู้ครองนครน่าน) และเจ้าสุมนเทวราช (เจ้าผู้ครองนครน่าน) ยกกองทัพขึ้นไปกวาดต้อนชาวไทลื้อจากสิบสองปันนามายังเมืองน่าน และเมืองบางส่วนในประเทศลาว และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เจ้าสุริยะพงษ์ (เจ้าผู้ครองนครน่าน) ก็ได้ยกกองทัพขึ้นไปกวาดต้อนชาวไทลื้อจากสิบสองปันนามายังเมืองน่าน

         ชาวไทยอง หรือ ชาวเมืองยอง ใช้เรียกกลุ่มคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเมืองยอง และกระจายอยู่ในด้านตะวันออกของรัฐฉาน ประเทศพม่า เขตสิบสองพันนา ในมณฑลยูนนานของจีน ภายหลังได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนใน จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย และน่าน ในสมัยรัชกาลที่ 1 ภายใต้กุศโลบาย "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" ของ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ เพื่อรื้อฟื้นอาณาจักรล้านนาภายหลังการยึดครองของพม่าสิ้นสุดลง จากตำนาน ชาวเมืองยองนั้น ได้อพยพมาจากเมืองเชียงรุ้งและเมืองอื่นๆ ในสิบสองปันนา ซึ่งเป็นคนไทลื้อ และได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งใหญ่ในเมืองลำพูน และ เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2348 ด้วยสาเหตุของสงคราม เจ้าเมืองยองพร้อมด้วยบุตรภรรยา น้องทั้ง 4 ญาติพี่น้อง ขุนนาง พระสงฆ์และไพร่พลจากเมืองยอง จำนวน 20,000 คนเข้ามาแผ้วถางเมืองลำพูนที่ร้างอยู่ ตั้งบ้านเรือนตามลุ่มน้ำแม่ทา น้ำแม่ปิง ผู้คนทั่วไปในแถบนั้นจึงเรียกคนที่มาจากเมืองยองว่า ชาวไทยอง [1] ในสมัยนั้นผู้คนต่างเมืองที่มาอยู่ร่วมกัน จะเรียกขานคนที่มาจากอีกเมืองหนึ่งตามนามของคนเมืองเดิม เช่น คนเมืองเชียงใหม่ คนเมืองลำปาง คนเมืองแพร่ คนเมืองน่าน คนเมืองเชียงตุง เป็นต้น แต่ของคนเมืองยองนั้น ต่อมาคำว่าเมืองได้หายไป คงเหลืออยู่คำว่า คนยอง ดังนั้น ยอง จึงมิใช่เป็นเผ่าพันธุ์ และเมื่อวิเคราะห์จากพัฒนาการ ประวัติศาสตร์ของเมืองยองแล้ว ชาวไทยอง ก็คือ ชาวไทลื้อนั่นเอง
         ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 เจ้าสุนันทะ โอรสเจ้าเมืองเชียงรุ่ง ได้พาบริวารชาวไทลื้อจากเมืองเชียงรุ่ง เข้ามาปกครองเมืองยองเหนือคนพื้นเมือง ซึ่งเป็นชาวลัวะ โดยมีทั้งปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การผสมผสานระบบความเชื่อและพิธีกรรม และ พระพุทธศาสนาที่เข้ามาในภายหลัง ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และระบบบรรณาการกับเมืองเชียงรุ่ง เชียงตุงและการสร้างพันธมิตรทางการเมืองกับกลุ่มเมืองในที่ราบเชียงราย บนฝั่งแม่น้ำโขงตอนกลาง เช่น เชียงแสน เชียงของ เป็นต้น ดังนั้น ชาวไทยอง กับ ชาวไทลื้อก็คือ ญาติกันนั่นเอง

 

หมายเลขบันทึก: 546428เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2013 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2013 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

 

 

      .... งามมากๆๆ ค่ะ .... อนุรักษ์ ... ไว้ดีดี .... ประเพณีดั้งเดิม ....

 

 

      ขอบคุณบันทึกดีดีนี้ นะคะ .... 

....ความกล้าหาญและจงรักภักดี แลกกับการมีชีวิตบน ดินแดนสยาม ในสถานะ ชาวสยาม(ผู้ดูแลรักษาแผ่นดินโดยดี) เยี่ยงชาวสยามอื่นๆ และยังคงอัตตลักษณ์และศิลปะวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน....

ชอบตรงนี้จังเลย อยากให้ ชาวสยามทุกเผ่า เชื้อชาติ คิดเยี่ยงนี้

ชื่นชมมากครับ  ทั้งประวัติศาสตร์ชาวไทยลื้อ ประเพณีการแต่งกายที่งดงามมาก เพิ่งทราบครั้งนี้ครับว่า ต.ชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง ไปจนถึงเมืองไทรบุรี ก็มีที่มาแบบนี้ 

ที่ อ.สทิงพระ จ .สงขลา มีตำบลประตูชัย อาจารย์ลองค้นคว้าดูนะครับ อาจมีประวัติศาสตร์เกี่ยวโยงกันก็เป็นได้ ผมเห็นคนที่รู้จักหลายคนในแถบนั้น เป้นคนใต้ แต่ดูหน้าตา ผิวพรรณ ลักษณะทางมานุษยวิทยาละม้ายคล้ายคนทางภาคเหนือ เช่น พะเยา ลำปาง ลำพูน ยังเคยสงสัยอยู่เหมือนกัน

อีกนิดครับ คนเหล่านี้มักมีครอบครัว ต้นตระกูลถนัดทำนา เช่นเดียวกับชาวล้านนา พฤติกรรมพูดจาดูเรียบร้อย นุ่มนวล แม้จะใช้ภาษาปักษ์ใต้สื่อสารก็ตาม มักใจดี ขยันขันแข็ง อยู่แบบพอเพียง รักความสงบ ชอบทำบุญทางพระศาสนา ไม่ค่อยเจอที่ทำอาชีพประมง  

นึกได้อีกนิดนึงครับ ละแวกถิ่นนั้น อยุ่ใกล้วัดพะโคะ หลวงปู่ทวด ท่านเกิดที่ อ.สทิงพระ ในสมัยแผ่นดินอยุธยา สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช-พระเอกาทศรถ ท่านได้เคยไปศึกษาพระธรรมที่กรุงศรีอยุธยา ได้ทำความดีงามในแผ่นดินยุคนั้นไว้มาก ก่อนกลับมา อ.สทิงพระ ทางเรือ และพระเจ้าอยู่หัวได้ถวายที่กัลปนาให้เป็นเขตปกครองของพระสงฆ์ มีทั้งพื้นที่นา ต้นตาลจำนวนมาก ประวัติศาสตร์ส่วนนี้ อาจจะไปเกี่ยวโยงกับช่วงสมัยเดียวกันกับขนชาวไทลื้อ ไทยอง ที่แยกย้ายกลายถิ่น มาทางใต้ แล้วเที่ยวแวะ วางรกรกมาตลอดทางสายใต้ โดยเฉพาะที่นามีเยอะๆ และอุดมสมบูรณ์ เช่น ราชบุรี เพชรบุรี พัทลุง สทิงพระ-สงขลา( อยากมีส่วนเกี่ยวดองข้องญาติด้วย นะครับ อาจารย์ครับ)

-สวัสดีครับ

-ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ..

ขอบคุณบันทึกที่ดีมีประโยชน์นะคะ

สวยงามมากในชุดไทลื้อ ขอให้อนุรักษ์ไว้ให้ดี ทั้งประเพณีและวัฒนธรรม ในเรื่องการแต่งกายและภาษา ชื่นชมมาก อยากให้แต่ภาคหรือสถานศึกษาแต่ละแห่งได้มีการแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองหรือพื้นบ้านของแต่ละวัฒนธรรมและภาคด้วย  และขอชื่นชมทางภาคเหนือเพราะเคยเห็นว่าทางภาคเหนือทุกวันศุกร์ให้นักเรียนแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมือง แต่อาจจะไม่จัดเต็มเหมือนน้องทั้งสองคนแต่นักเรียนหญิงนุ่งผ้าถุงหรือผ้าซิน นักเรียนชายกางเกงขาก๊วยเสื้อผ้าฝ้ายหรือม่อฮ่อม ดูแล้วสวยแบบธรรมชาติจริงๆ....ขอชื่นชม....

 

ขอบพระคุณทุกๆความเห็นครับผม...ท่าน ดร.ple..ท่านอาจารย์ ดร.พจนา..คุณเพชรน้ำหนึ่ง...และขอขอบพระคุณอย่างยิ่งสำหรับ คุณหมอ นพ.ประวิทย์ และคุณสายม่าน.. ที่ให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะครับ..มีโอกาสคงได้ศึกษาค้นคว้า สืบร่องรอยเพื่อรักษาไว้เพื่อคนรุ่นหลัง ก่อนที่ทุกอย่างจะเลือนหายไปกับกาลเวลา..ครับผม..เมืองสทิงปุระ และคนสทิงพระ น่าสนใจมากครับ..อ้อ ประตูชัย ที่ ต.ชัยบุรี พัทลุงก็มีครับ..คงเป็นร่องรอยการสร้างขึ้น จากผลของสงคราม..

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท