เด็กซำสูงพิทยาคม เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตอนที่ ๑


                         วันเวลาที่ผ่านไปในแต่ละย่างก้าว ไม่มีใครรู้ว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นเช่นไร การเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตกับผู้คนในสังคม ความพร้อมที่จะออกไปเผชิญโลกภายนอกอยู่ในระดับใด ทั้งนี้ก็ขึ้นกับว่าเด็กเขาได้ผ่านกระบวนการหลอมออกมาให้มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของพสกนิกรหลายต่อหลายครา โดยเฉพาะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์ท่านทรงทุ่มเทมาก กว่าที่หน่วยงานราชการจะตกผลึกก็ผ่านมาหลายปี แต่ก็ยังดีกว่าไม่ใส่ใจเลย

                ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ ผู้เขียนเองได้เริ่มซึมซับกับ “เกษตรทฤษฏีใหม่” และต่อมาเริ่มที่จะเรียนรู้ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และนำหลักการดังกล่าวมาเริ่มใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนมาหลายต่อหลายรุ่น จนปัจจุบัน ซึ่งแนวทางหนึ่งที่ผู้เขียนได้ดำเนินการ คือการแทรกในเนื้อหาสาระวิชาทางด้านการงานอาชีพ ตลอดจนเปิดเป็นรายวิชานี้โดยตรง เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ปรัชญาที่จะช่วยให้ตนเองหลุดพ้นจากกระแสโลกาภิวัตน์ แม้ว่าจะบรรลุผลในเชิงรูปธรรมเป็นตัวเลขต่ำ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้คนในท้องถิ่น แต่อย่างน้อยผู้เขียนแอบตั้งความหวังในใจว่า สักวันหนึ่งเมื่อเด็กๆ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีครอบครัวเขาเหล่านั้นอาจจะคิดถึงอดีตในวัยเรียนมัธยมก็เป็นได้

                กิจกรรมที่ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้นอกจากจะไปอบรมภาคทฤษฏีกับ “สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)” แล้ว ในภาคปฏิบัติเด็กๆ ยังต้องกลับมาฝึกการผลิตอาหารเองด้วยกระบวนการ “อาหารปลอดภัย” อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มจากการเตรียมสถานที่ปลูก การเตรียมดิน การเพาะปลูกด้วยการไม่ใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต เด็กจะฝึกการทำน้ำหมักชีวภาพ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง จัดการผลผลิตเอง เพื่อเป็นส่วนช่วยให้ได้เรียนรู้การทำงานอย่างเป็นระบบ ที่มีครูดูแลอย่างใกล้ชิด

                                 

 

                เมื่อผ่านกระบวนการผลิตอาหารปลอดภัยแล้ว สิ่งที่คาดหวังต่อไปคือ การที่เด็กได้ข้อสรุปว่า การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง นั้นให้อะไรกับเขาบ้าง

หมายเลขบันทึก: 545788เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2013 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

-สวัีสดีครับอาจารย์

-ตามมาดูเด็กซำสูง..ครับ

-ต้องช่วยกันส่งเสริมให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้อาชีพและสืบทอดอาชีพของบรรพบุรุษครับ

-ขอเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมเด็ก ๆครับ..

ส่งงานเขียนมาร่วมประชันกับเด็กๆครับ

รูทำได้สวยจังเลยต้องยืมซะแล้วนะครับผมมีแต่ภาพถ่าย แบบนี้ทำไม่เป็นน่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท