Mini MBA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หัวหิน


ผมมาบรรยายเรื่องโลกาภิวัตน์,เศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางแก้ไข โดยเฉพาะเรื่อง Opportunity Cost (ต้นทุนค่าเสียโอกาส)

ช่วยแสดงความคิดเห้นด้วยครับ

                                                          ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมภูมิใจมากที่ได้มีโอกาสไปสอนที่ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด และประทับใจในการส่ง Blog ของลูกศิษย์ผม หลายคนมี Idea ที่ดีมาก  ทีมงานของเรามีอธิการบดี ดร.กุศยา ลีฬหาวงศ์  อาจารย์สวัสดิ์ คุณรวยริน คุณไพเราะวลี และคุณกรรณิกา มุ่งมั่นที่จะสร้างความรู้ให้เกิดแก่นักธุรกิจในหัวหิน  ดูจากความสนใจแล้วน่าจะไปได้ดี ผมอยากให้ Mini MBA ของ Stamford มีประโยชน์ และอาทิตย์หน้าก็ยังมีอาจารย์กนก อภิรดี มาร่วมบรรยาย

 

                                                   ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

                                                              (21/10/06)

หมายเลขบันทึก: 54575เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2006 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)
ปราโมทย์ เพชรศาสตร์

Mini MBA รุ่นที่ 1

ความเพียงพอ

     เมื่อโลกาภิวัฒน์ได้ก้าวไกลอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นจึงต้องเรียนรู้ ,ศึกษา ,ค้นคว้า ให้รู้เขารู้เราให้มากที่สุด  รู้เท่าทัน และต้องปรับตัว ให้พอเพียง ชีวิตย่อมอยู่ได้ หากปรับตัวยังไม่เพียงพอ ย่อมอยู่ไม่ได้  การแก้ปัญหาต่าง ๆ ก็ไม่ลุล่วงได้ทั้งระยะสั้น ,ระยะกลาง,ระยะยาว 

     หากปรัชญานี้ คือภูมิคุ้มกันก็จะแก้ปัญหาได้ ประโยชน์จะตกอยู่กับประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป

พ.อ. กิตติศักดิ์ ดวงกลาง
สิ่งที่ผมได้ประโยชน์จากการมาฟังบรรยายในวันนี้ 1. ได้ทราบวิธีการเรียนรู้แบบใหม่ โดยใช้ทฤษฎี 4L's และ 8K's เน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน สอนให้คิดเป็น, ทำเป็น, วิเคราะห์เป็น, มีความรู้ที่ดีแล้วเอาความรู้ไปสร้างทรัพย์สินทางปัญญา 2.ได้ทราบความหมายคำว่า โลกาภิวัฒน์, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, วิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น, การบริหารทรัพยากรมนุษย์ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในองค์การของหน่วยงานตนเองได้ 3.ได้ทราบความสัมพันธ์ระหว่างโลกาภิวัฒน์ และเศรษฐกิจพอเพียง สามารถเขียน Block Diagram ได้ดังนี้ ปัญหา ---โลกาภิวัฒน์ (เปลี่ยนแปลงเร็วมาก) . . ภูมิคุ้มกัน---ปรัชญาเศรรษฐกิจพอเพียง . (ทุกภาคส่วนราชการ,เอกชน, . ธุรกิจ ฯลฯ)หมายถึง พอเพียง . พอประมาณ, พอดี) ยั่งยืน-----ประเทศชาติยั่งยืน ประชาชนอยู่ดีกินดี มีสุข
พรรณทิภา เครือสุวรรณ
อย่างแรกที่อยากจะพูดถึง คือ มีโอกาสได้พบกับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และรู้จักกับทฤษฏี 4L's ทำให้รู้สึกสนุก ในการเรียนมากขึ้น เพื่มความสนใจในสิ่งที่ไม่เคยเรียนรู้ ได้มีโอกาสฟังความคิดเห็นที่หลากหลายของเพื่อน ๆ ในชั้น แตกต่างกันไปตามมุมมองของแต่ละคน เพราะมาจากต่างสาขาอาชีพ ซึ่งอาจารย์ช่วยสร้างบรรยากาศที่แตกต่างในการเรียนให้เกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มเล็ก ๆ ของเรา จากหัวข้อที่นำมาคุยกัน คือ โลกาภิวัตน์,เศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางแก้ไข โดยเฉพาะเรื่องต้นทุนค่าเสียโอกาสนั้น ทำให้ผู้เรียน (ตัวข้าพเจ้า) จากเดิมที่คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่สนใจ ได้กลับมาคิดว่าแท้จริงแล้วเป็นเรื่องใกล้ตัว และควรรีบที่จะรู้เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นทุนทางความคิดไว้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังกล่าวสามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าเป็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ใช้ได้ในความเป็นจริงนำมาซึ่งความมั่นคงถาวรของสังคม เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ที่ตัวเรา คิดอย่างพอเพียง อาศัยหลักคุณธรรมควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มองเห็นความมั่นคงต่อเนื่องในระยะยาวเป็นหลัก ปลูกฝั่งแนวคิดให้ลูกหลานสามารถพึ่งตนเองได้ อีกทั้งต้องมีเครือข่ายทางสังคมไว้แลกเปลี่ยนความรู้ทั้งในหน่วยงาน และนอกหน่วยงาน รวมถึงใฝ่หาความรู้ วิเคราะห์เหตุผลร่วมกัน รู้ทันปัญหา นำไปประยุกต์ เพื่อปรับตัวและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในหน่วยงานให้ได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสภาวะเศรษฐกิจหรือสภาวะแวดล้อม สังคมฯลฯ ทำให้เราไม่เสียโอกาสที่จะเลือกรับสิ่งที่เป็นประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ มาใช้อย่างเหมาะสม พอดี อันนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับตนเองและสังคม ถ้าเรารู้ทันโลกาภิวัตน์ จากการที่ได้ใช้เวลาในการเข้ามาฟัง เพื่อน ๆ และอาจารย์ แสดงความคิดเห็น และกระจายความรู้ซึ่งกันและกันนั้น แม้ตัวข้าพเจ้าเองอาจยังไม่ค่อยเข้าใจในบางแง่มุมรับข้อคิดที่ได้มาเพียงกิ่งเล็ก ๆ แต่ก็เป็นทุนทางความคิดที่เพิ่มขึ้นและได้เปิดโลกทัศน์ของตนเองให้กว้างขึ้น ถ้าเทียบทุนค่าเสียโอกาศคิดว่าคุ้มค่าค่ะ

      โลกาภิวัตน์ เปรียบได้ดังโลกที่กำลังหมุนแต่เหมือนว่ากำลังหมุนเร็วกว่าปกติที่ผ่านมามนุษย์จึงต้องคิดค้นและศึกษาวิธีที่จะดำรงค์ชีวิตให้มีความสมดุลและเพื่อความอยู่รอดบนโลกใบนี้ได้  เป็นที่มาของปรัชญา  เพื่อความพอเพียง,พอดี,พอประมาณ  ของมนุษย์ในทุกๆด้านปรัชญานี้จะให้เกิดผลต้องมีการศึกษาและวิเคราะห์ใน เชิงรุกเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่นับวันจะรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะประเทศที่ยังไม่พัฒนาและกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย ที่กำลังประสบปัญหานี้และการแก้ไขก็ดูเหมือนว่าหลายฝ่ายยังไม่เข้าใจในความหมายของปรัชญานี้  นักวิชาการภาคเอกชนและรัฐบาล(ใหม่)กำลังสร้างความเข้าใจให้ประชาชนรู้ถึงข้อดีข้อเสียของโลกาภิวัตน์และปรัชญาพอเพียง  ในฐานะที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาในหลักสูตร(Mini MBA)ของมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หัวหิน ก็ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำความรู้ไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

วิจารณ์ ประภาสรัตน์
   ดีครับ  ต้นทุนการเสียโอกาส (oppertunity cost) ที่เรามักมองข้ามหรือมองไม่ค่อยเห็นกัน  เพราะมันเป็นแนวคิด ที่พวกเราต้องช่วยกันสร้างให้เป็น model ที่สัมผัสและมองเห็นได้ เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประสิทธิภาพของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันผลกระทบจาก  กระแสความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์  อาจารย์และพวกเราคงต้องร่วมกันเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแนวลึกซึ้งเพื่อนำไปปฏิบัติได้จริง  และอย่างมีประสิทธิภาพ  และมันเกิดขึ้นได้จากการต่อยอดทางความคิดของทุกคน ทุกอาชีพ แล้วสังคมไทยจะยืนหยัดอย่างยั่งยืน ถึงเวลาแล้ว
นางศุภภรณ์ อุณหสุทธิยานนท์

    โลกาภิวัฒน์กับเศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก เราควรนำมาใช้ผสมผสานกันให้เกิดความสมดุลย์ เพื่อจะได้รับประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป ก่อนอื่นองค์กรของรัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนเพื่อจะได้นำมาใช้ในการพัฒนาองค์กร ควรให้ความรู้กับเด็กและเยาวชนเพื่อเป็นวัคซีนในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาชนของชาติ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าเจริญก้าวหน้าและยั่งยืน ควบคู่คุณธรรม

                การเรียนครั้งนี้คุ้มค่ากับต้นทุนค่าเสียโอกาส รู้สึกประทับใจมากและจะนำความรู้นี้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต และจะชวนเพื่อนๆมาเรียนเยอะๆ

ยม "ขนาดตัวอักษร ที่เหมาะกับการเขียน Blog"

เรียน ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

  ผมเป็นหนึ่งในผู้ติดตามศึกษาหาความรู้และแชร์ความรู้ ใน Blog นี้เป็นประจำ คิดว่าตัวอักษร ส่วนใหญ่ที่ท่านผู้สนใจเขียน blog ส่งมา มีขนาดเล็ก 

ผมขอแนะนำรูปแบบและขนาดตัวอักษรที่เหมาะสม ได้แก่การใช้รูปแบบตัวอักษรแบบ Tahoma ขนาด 14-16 จะเลือกตัวอักษร หนา บาง เอียง หรือขีดเส้นใต้ เติมสีได้ตามใจ  โดยการพิมพ์ลงใน Microsoft Office ก่อน แล้ว copy มาวางใน Blog จะได้ตัวอักษรที่ใหญ่ ชัดเจน ดังตัวอย่างที่ผมทำให้จาก Blog ตอนท้ายต่อจากนี้ ครับ 

 ขอความสวัสดีจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่าน 

 

สวัสดีครับ

 

ยม

ปราโมทย์ เพชรศาสตร์ เมื่อ ส. 14 ต.ค. 2549 @ 19:22 (84339)

Mini MBA รุ่นที่ 1

 

ความเพียงพอ

 

     เมื่อโลกาภิวัฒน์ได้ก้าวไกลอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นจึงต้องเรียนรู้ ,ศึกษา ,ค้นคว้า ให้รู้เขารู้เราให้มากที่สุด  รู้เท่าทัน และต้องปรับตัว ให้พอเพียง ชีวิตย่อมอยู่ได้ หากปรับตัวยังไม่เพียงพอ ย่อมอยู่ไม่ได้  การแก้ปัญหาต่าง ๆ ก็ไม่ลุล่วงได้ทั้งระยะสั้น ,ระยะกลาง,ระยะยาว 

      หากปรัชญานี้ คือภูมิคุ้มกันก็จะแก้ปัญหาได้ ประโยชน์จะตกอยู่กับประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป

พ.อ. กิตติศักดิ์ ดวงกลาง เมื่อ อ. 15 ต.ค. 2549 @ 13:47 (84467)

  สิ่งที่ผมได้ประโยชน์จากการมาฟังบรรยายในวันนี้ 1. ได้ทราบวิธีการเรียนรู้แบบใหม่ โดยใช้ทฤษฎี 4L's และ 8K's เน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน สอนให้คิดเป็น, ทำเป็น, วิเคราะห์เป็น, มีความรู้ที่ดีแล้วเอาความรู้ไปสร้างทรัพย์สินทางปัญญา 2.ได้ทราบความหมายคำว่า โลกาภิวัฒน์, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, วิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น, การบริหารทรัพยากรมนุษย์ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในองค์การของหน่วยงานตนเองได้ 3.ได้ทราบความสัมพันธ์ระหว่างโลกาภิวัฒน์ และเศรษฐกิจพอเพียง สามารถเขียน Block Diagram ได้ดังนี้ ปัญหา ---โลกาภิวัฒน์ (เปลี่ยนแปลงเร็วมาก) . . ภูมิคุ้มกัน---ปรัชญาเศรรษฐกิจพอเพียง . (ทุกภาคส่วนราชการ,เอกชน, . ธุรกิจ ฯลฯ)หมายถึง พอเพียง . พอประมาณ, พอดี) ยั่งยืน-----ประเทศชาติยั่งยืน ประชาชนอยู่ดีกินดี มีสุข

พรรณทิภา เครือสุวรรณ เมื่อ อ. 15 ต.ค. 2549 @ 16:05 (84530)

  อย่างแรกที่อยากจะพูดถึง คือ มีโอกาสได้พบกับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และรู้จักกับทฤษฏี 4L's ทำให้รู้สึกสนุก ในการเรียนมากขึ้น เพื่มความสนใจในสิ่งที่ไม่เคยเรียนรู้ ได้มีโอกาสฟังความคิดเห็นที่หลากหลายของเพื่อน ๆ ในชั้น แตกต่างกันไปตามมุมมองของแต่ละคน เพราะมาจากต่างสาขาอาชีพ ซึ่งอาจารย์ช่วยสร้างบรรยากาศที่แตกต่างในการเรียนให้เกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มเล็ก ๆ ของเรา จากหัวข้อที่นำมาคุยกัน คือ โลกาภิวัตน์,เศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางแก้ไข โดยเฉพาะเรื่องต้นทุนค่าเสียโอกาสนั้น ทำให้ผู้เรียน (ตัวข้าพเจ้า) จากเดิมที่คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่สนใจ ได้กลับมาคิดว่าแท้จริงแล้วเป็นเรื่องใกล้ตัว และควรรีบที่จะรู้เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นทุนทางความคิดไว้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังกล่าวสามารถนำมาปรับใช้ได้ทั้งในการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าเป็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ใช้ได้ในความเป็นจริงนำมาซึ่งความมั่นคงถาวรของสังคม เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ที่ตัวเรา คิดอย่างพอเพียง อาศัยหลักคุณธรรมควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม มองเห็นความมั่นคงต่อเนื่องในระยะยาวเป็นหลัก ปลูกฝั่งแนวคิดให้ลูกหลานสามารถพึ่งตนเองได้ อีกทั้งต้องมีเครือข่ายทางสังคมไว้แลกเปลี่ยนความรู้ทั้งในหน่วยงาน และนอกหน่วยงาน รวมถึงใฝ่หาความรู้ วิเคราะห์เหตุผลร่วมกัน รู้ทันปัญหา นำไปประยุกต์ เพื่อปรับตัวและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในหน่วยงานให้ได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสภาวะเศรษฐกิจหรือสภาวะแวดล้อม สังคมฯลฯ ทำให้เราไม่เสียโอกาสที่จะเลือกรับสิ่งที่เป็นประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ มาใช้อย่างเหมาะสม พอดี อันนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับตนเองและสังคม ถ้าเรารู้ทันโลกาภิวัตน์ จากการที่ได้ใช้เวลาในการเข้ามาฟัง เพื่อน ๆ และอาจารย์ แสดงความคิดเห็น และกระจายความรู้ซึ่งกันและกันนั้น แม้ตัวข้าพเจ้าเองอาจยังไม่ค่อยเข้าใจในบางแง่มุมรับข้อคิดที่ได้มาเพียงกิ่งเล็ก ๆ แต่ก็เป็นทุนทางความคิดที่เพิ่มขึ้นและได้เปิดโลกทัศน์ของตนเองให้กว้างขึ้น ถ้าเทียบทุนค่าเสียโอกาศคิดว่าคุ้มค่าค่ะ

สมชาย กระแจะเจิม เมื่อ จ. 16 ต.ค. 2549 @ 19:32 (84857)

 

 

       โลกาภิวัตน์ เปรียบได้ดังโลกที่กำลังหมุนแต่เหมือนว่ากำลังหมุนเร็วกว่าปกติที่ผ่านมามนุษย์จึงต้องคิดค้นและศึกษาวิธีที่จะดำรงค์ชีวิตให้มีความสมดุลและเพื่อความอยู่รอดบนโลกใบนี้ได้  เป็นที่มาของปรัชญา  เพื่อความพอเพียง,พอดี,พอประมาณ  ของมนุษย์ในทุกๆด้านปรัชญานี้จะให้เกิดผลต้องมีการศึกษาและวิเคราะห์ใน เชิงรุกเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่นับวันจะรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะประเทศที่ยังไม่พัฒนาและกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย ที่กำลังประสบปัญหานี้และการแก้ไขก็ดูเหมือนว่าหลายฝ่ายยังไม่เข้าใจในความหมายของปรัชญานี้  นักวิชาการภาคเอกชนและรัฐบาล(ใหม่)กำลังสร้างความเข้าใจให้ประชาชนรู้ถึงข้อดีข้อเสียของโลกาภิวัตน์และปรัชญาพอเพียง  ในฐานะที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเข้ามาศึกษาในหลักสูตร(Mini MBA)ของมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หัวหิน ก็ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำความรู้ไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

วิจารณ์ ประภาสรัตน์ เมื่อ อ. 17 ต.ค. 2549 @ 13:18 (85076)

 

 

    ดีครับ  ต้นทุนการเสียโอกาส (oppertunity cost) ที่เรามักมองข้ามหรือมองไม่ค่อยเห็นกัน  เพราะมันเป็นแนวคิด ที่พวกเราต้องช่วยกันสร้างให้เป็น model ที่สัมผัสและมองเห็นได้ เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างประสิทธิภาพของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันผลกระทบจาก  กระแสความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์  อาจารย์และพวกเราคงต้องร่วมกันเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแนวลึกซึ้งเพื่อนำไปปฏิบัติได้จริง  และอย่างมีประสิทธิภาพ  และมันเกิดขึ้นได้จากการต่อยอดทางความคิดของทุกคน ทุกอาชีพ แล้วสังคมไทยจะยืนหยัดอย่างยั่งยืน ถึงเวลาแล้ว

นางศุภภรณ์ อุณหสุทธิยานนท์ เมื่อ อ. 17 ต.ค. 2549 @ 17:23 (85155)

 

 

     โลกาภิวัฒน์กับเศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก เราควรนำมาใช้ผสมผสานกันให้เกิดความสมดุลย์ เพื่อจะได้รับประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป ก่อนอื่นองค์กรของรัฐควรให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนเพื่อจะได้นำมาใช้ในการพัฒนาองค์กร ควรให้ความรู้กับเด็กและเยาวชนเพื่อเป็นวัคซีนในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาชนของชาติ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณค่าเจริญก้าวหน้าและยั่งยืน ควบคู่คุณธรรม                การเรียนครั้งนี้คุ้มค่ากับต้นทุนค่าเสียโอกาส รู้สึกประทับใจมากและจะนำความรู้นี้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต และจะชวนเพื่อนๆมาเรียนเยอะๆ 
นางชูกิตต์ อุณหสุทธิยานนท์
  กราบเรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และสวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน รู้สึกว่าตัวเองโชคดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ตัดสินใจมาเรียน Mini MBA ที่แสตมป์ฟอร์ด ทำให้ได้มีโอกาสเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เพราะจากท่าทีที่ดูดุๆในตอนแรกแต่แฝงไปด้วยเมตตาอยู่ภายใน อีกทั้งความตั้งใจที่เน้นย้ำให้ศิษย์ได้รับความรู้ตลอด 7ช.ม.เต็มทำให้ศิษย์มั่นใจได้ว่าอาจารย์ต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง                  อาจารย์สอนให้ฟังแล้วใช้ปัญญาคิด คิดในสิ่งที่เป็นความจริง คิดให้ตรงกับที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ การจะสร้างคนให้เกิดปัญญาต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนแบบเดิมที่ท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทอง มาเป็นวิธีการเรียนแบบ 2 ทาง ให้ได้มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ท่ามกลางบรรยากาศการเรียนที่มีความสุข สนุก อบอุ่น ให้ได้มีโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น และมองไกลไปถึงการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อฝึกให้เป็นคนหิวความรู้และต้องการแสวงหาความรู้ตลอดเวลา “เพราะชีวิตคือการเรียนรู้ที่ไม่มีวันจบสิ้น”                   การเรียนรู้ไม่ได้มีเฉพาะในห้องเรียนอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในทุกย่างก้าวของชีวิตคือการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นว่าจะต้องเรียนแต่ในสถานศึกษาแต่เพียงอย่างเดียวแต่เราสามารถเรียนรู้ได้ในทุกๆสิ่งและทุกๆที่ที่เราก้าวผ่านไป มิฉะนั้นแล้วก็จะเกิดเป็น“ต้นทุนเสียโอกาสของชีวิต”                  -โลกาภิวัฒน์  หรือโลกไร้พรมแดน ทำให้ชาวโลกสามารถสื่อสารส่งข้อมูลถึงกันอย่างรวดเร็ว ในลักษณะแพร่กระจายไปทั่วโลก ซึ่งโลกาภิวัฒน์มีทั้งข้อดีและข้อเสียข้อดีเราต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ข้อเสียเราต้องหาทางป้องกันให้ได้เพื่อให้เราสามารถอยู่รอดบนโลกกลมๆใบนี้ได้เป็นอย่างดี                  -เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดที่สามารถใช้รับมือกับกระแสโลกาภิวัฒน์โดยมุ่งเน้นที่การดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีดั้งเดิมของไทยและหลักของพุทธศาสนา   ที่สามารถนำมาปฏิบัติใช้ได้ตลอดเวลา เพื่อความมั่นคง และยั่งยืนอย่างตลอดรอดฝั่ง  สามารถใช้ได้กับคนทุกระดับ เพื่อให้เกิดความพอดีพอประมาณ อย่างมีเหตุมีผล ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน อยู่บนหลักของคุณธรรม จริยธรรมหากทุกคนตระหนักและเตรียมพร้อมด้วยการแสวงหาความรู้ให้กับตนเองและบุตรหลานให้พร้อมที่จะรับมือกับผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากกระแสโลกาภิวัฒน์ ตัวเรา ครอบครัวสังคม และประเทศชาติก็จะอยู่ได้อย่างสงบสุข.    *****************************             
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ แค่ปรับ Mindset ก็พอ"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ ผู้เข้ารับการอบรม Mini MBA และท่านผู้อ่านทุกท่าน 
เช้านี้ วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง แค่ปรับ Mindset ก็พอ ได้เล่าเรื่องที่ท่านได้ทำและน่าสนใจ ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ    

 


สิ่งที่สำคัญมากในระดับประเทศที่อยากขอฝากรัฐบาลชุดใหม่คือ การปฏิรูปการศึกษา ในหลายเรื่องที่ต้องทำคือ การปรับ Mindset ทัศนคติของผู้บริหารให้มองการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วได้ คือ เน้น ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม (Networking) และเน้นทุนแห่งความยั่งยืน

 พูดถึงระบบการศึกษา ของประเทศเรา ยังไม่สามารถสร้างคนให้ทันโลกทันเหตุการณ์ มีทุนทางปัญญา เพียงพอกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ถ้าเปรียบเสมือนรถ  ก็เปรียบเทียบได้ว่า ระบบส่งกำลังที่จะขับเคลื่อน ไปข้างหน้า มีปัญหา ถึงขั้นทำให้ไม่สามารถรักษาอันดับต้น ๆ ไว้ได้ แนวทางแก้ไขคือต้องฟิตเครื่องใหม่ หาเครื่องยนต์ใหม่ มาใส่  ในการบริหารเชิงกลยุทธ์  ปัญหาในองค์กรใหญ่เล็ก มักจะมีอยู่สองเรื่อง ใหญ่ ๆ  คือ 1 ปัญหาเรื่องระบบ  2 ปัญหาเรื่องคน  ซึ่งควรต้องแก้ไขพร้อมกันไป ทรัพยากรมนุษย์ เป็นตัวสร้าง บริหารระบบ ถึงแม้ว่าควรแก้ทั้งสองปัญหาไปพร้อม ๆ กัน แต่การแก้ปัญหาเรื่องคน ต้องให้ถูกจุด ตรงประเด็น ก็คือปรับทัศนคติ ความคิด เพิ่มองค์ความรู้ใหม่ ๆ เข้าไป เพื่อคนจะได้นำความรู้ ทัศนคติใหม่ ๆ ไปบริหารจัดการระบบ ได้ดี  การศึกษาในไทย จึงต้อง ปฏิรูป ปฏิวัติกันบ่อย  ๆ ทำทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป และบางเรื่อง ต้องทำทันที ต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ดี


ผมเห็นว่า ตราบใดก็ตาม หากคนไทยใฝ่รู้ มี Lifelong Learning มากขึ้น อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ( Curiosity ) ตั้งคำถามที่น่าสนใจ และคิดนอกกรอบ แทนที่จะขยันในการหาคำตอบที่ตายตัวแบบที่เป็นอยู่ ประเทศคงอยู่รอดแน่นอน

 ในโรงเรียนประถม ส่วนใหญ่ สอนให้นักเรียนท่องจำ ขยันหาคำตอบให้ตรงกับที่ครู ตั้งไว้ล่วงหน้าแล้ว  เด็กไทยจึงเบื่อการเรียน และหันไปเสพสิ่งบันเทิงอื่น ๆ เป็นปัญหาสังคมอยู่ทุกวันนี้  ตราบใดถ้า Mind Set ของผู้บริหารการศึกษาในโรงเรียนบางแห่ง ครูรุ่นเก่า ๆ ไม่เปลี่ยน อนาคตทรัพยากรมนุษย์ของไทย คงสู้ต่างชาติไม่ได้    ที่จริงการระบบการศึกษาในญี่ปุ่น น่าสนใจ ทั้งครูและนักเรียนญี่ปุ่นมี Mind Set ที่ดีกว่าเรา ผมเคยไปอยู่ที่ญี่ปุ่น เห็นการสอนเด็กอนุบาล เด็กประถม ที่ญี่ปุ่น มองออกได้ว่า เขามีระบบการจัดการที่ดี ผสมผสาน บูรณาการ การเรียนการสอน ของชาติที่เจริญแล้ว มาเป็นแบบ ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจึงสามารถกู้สถานการณ์ของประเทศได้เร็ว ก็ด้วยทรัพยากรที่มีคุณภาพ จากวัยเด็กมาสู่ผู้ใหญ่ มาช่วยพัฒนาชาติ และยังสามารถช่วยเหลือประเทศที่ด้อยกว่าได้อีกด้วย 

 


ผมคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดแข็งที่ว่า จะทำอะไร รู้ให้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ มีเหตุมีผล และนำไปสร้างนวัตกรรม ( Innovation ) แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และอยู่อย่างยั่งยืน เรื่องแรกที่จะเล่าให้ฟังคือ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม เป็นต้นไป ผม ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ จะนำเสนอสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์" ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ติดต่อกัน ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. เพื่อให้ผู้ชมได้รู้ว่า
- เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยคนไทยให้อยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร
- และให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงช่วยทุกส่วนของสังคมไทย ไม่ใช่แค่ภาคเกษตร และทำให้เราอยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างยั่งยืน

  รายการ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ที่ ศ.ดร.จีระ ออกอากาศทุกวันจันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 22.40-22.45 เป็นรายการที่ดี มีประโยชน์ สอดโครงกับนโยบายสาธารณะในรัฐบาลชุดนี้ และเป็นการนำแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาต่อยอด ขยายผลอย่างเป็นรูปธรรม ในบทบาทของครูของชาติ  เมื่อทางรัฐบาล จะนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ไปทำเป็นหลักสูตรการเรียน การสอน ผมขอกราบเรียนทางภาครัฐ ผ่าน Blog นี้ว่า ขอให้ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรืองง่ายยิ่งขึ้น ให้เป็นเรื่องที่น่าชวนติดตาม น่าโน้มนำไปปฏิบัติ รายการนี้ ที่จริงแล้ว เนื้อหาสาระ ที่ ศ.ดร.จีระ และทีมงานกำกับ นั้น ดี มีประโยชน์ สามารถนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ได้ทั่วประเทศ 

 


แต่สิ่งสำคัญคือ เศรษฐกิจพอเพียงต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา นอกจากมีคุณธรรมแล้ว ยังต้องคิดเป็น ทำเป็น มี Head Heart และ Hand อย่างที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์แนะนำไว้

 เศรษฐกิจพอเพียง ต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา ตรงนี้สำคัญมาก การจัดให้ประชาชนได้มีการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง รัฐและเอกชน ควรร่วมมือกัน ทำไปอย่างมีทิศทางเดียวกัน  ขณะนี้ การโฆษณาทีวี เกี่ยวกับ เรื่อง  เศรษฐกิจพอเพียง มักจะเน้นที่การออมเงิน  การทำกินบนพื้นฐาน ประหยัด พอเพียง ผมว่า ยังไม่ไร้ทิศทาง ที่จริงควรโฆษณา ออกมาในแนวกระตุ้นให้คนไทยอยากรู้ อยากเห็น อยากทำ ร่วมกันในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  โฆษณา ให้คนไทยตื่นตัวเรื่องการเรียนรู้ ใฝ่รู้ ทุกระดับ ส่งเสริมให้คิด ให้ทำ อย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่แค่อดออมอย่างที่เป็นอยู่ มิฉะนั้นจะเกิดปัญหา ถ้าทุกคนทั้งประเทศหันมาเก็บออม ระบบเศรษฐกิจ อาจจะมีปัญหาได้ เพราะการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ชะลอตัวลง ภาคธุรกิจก็จะไม่คล่องตัว ภาครัฐจะเก็บภาษีได้น้อยลง 

 

  

สำคัญที่สุดและยังจำเป็นที่จะต้องมีความคิดที่นอกกรอบ เช่น Creativity ความคิดสร้างสรรค์ และนำ Creativity ไปสู่ Innovation นวัตกรรม แต่ต้องมีคุณธรรมและมีความรู้ที่แน่น ไม่ใช่พอเพียงแค่อยู่รอด หากรอดแล้ว ต้องไม่ประมาท หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา การขยายตัวอย่างมั่นคงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมนุษย์ต้องการความก้าวหน้า ( Progress ) ที่ยั่งยืน

 ประโยคนี้ สามารถอธิบายแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้เข้าใจง่าย และประโยคนี้ สามารถที่จะนำไปทำรายการ ทำสื่อการเรียนการสอน เกี่ยวกับแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์  เพื่อสื่อให้ประชาชนคนไทย ได้มีความเข้าใจเรื่องยิ่งขึ้นได้

มีหนังสือเล่มล่าสุดของ John Naisbitt ซึ่งเคยเขียนเรื่อง Megatrends ที่ดังมากมาแล้ว บอกว่า การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่ ผมคิดว่า การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม ไม่ใช่ฟังข้างเดียว เราต้องวิเคราะห์เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
- Reality มองความจริง
- และ Relevance ตรงประเด็น
  การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่  ประโยคนี้ เป็นจริงครับ  ในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ การทำงานแบบเดิม ๆ คิดแบบเดิม ๆ วิธีการเก่า ที่เคยทำสำเร็จในอดีต จะไม่สามารถรับรองความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคตได้   มหาวิทยาลัยในประเทศเรา นับจากปี ค.ศ. 2000 วิชาการองค์ความรู้ต่าง ๆ ต้องปรับใหม่หมด ให้ทันโลกทันเหตุการณ์ วิธีการเรียนการสอน ต้องปรับใหม่  เรียกว่า ทุกมหาวิทยาลัย ต้องเริ่มใหม่ ใครคิดก่อน เปลี่ยนก่อน ได้เปรียบ    การทำงานยุคใหม่ นอกจากต้องคิดใหม่ ๆ เสมอ พร้อมเปลี่ยนแปลงแล้ว ต้องเร็ว มีประสิทธิภาพ เรียกว่า เร็วกว่า ดีกว่า ถูกว่า มีประสิทธิภาพกว่า


เมื่อเร็ว ๆ นี้ PMAT สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย กล้าไปจัดสัมมนาเรื่อง HRM ในภาคอิสาน ซึ่งผมได้รับเชิญด้วย เดิม PMAT อาจคิดว่ามีแต่คนในกรุงเทพฯ เท่านั้นที่สนใจ ปรากฏว่าคนในภาคอิสานตื่นตัวมาก เพราะได้แนวคิดใหม่ ๆ

คนอีสาน เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ เป็นของตนเอง ทั้งโครงสร้างร่างกายและจิตใจ ประเพณีวัฒนธรรมอีสาน เป็นจุดเด่น แม้กระทั่งคนต่างชาติเริ่มเห็นจุดเด่นตรงนี้ และหันมาปักหลัก สร้างครอบครัวที่อีสานมากขึ้น  ในอีก 20 ปีข้างหน้า คนอีสานจะมีบุคลิกภาพใหม่ จมูกโด่ง สูง ยาว สมอง ปัญญาดี กว่าเก่า คนอีสานจะพัฒนาเร็วขึ้นและเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาสังคมมากยิ่งขึ้น 

 

 คนดี มีน้ำใจ ที่อีสานมีมากมาย เป็นสิ่งที่ผมศึกษามานาน เมื่อครั้งผมไปอยู่ที่อีสาน เพื่อทำวิจัย ในโครงการบัณฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ไปใช้ชีวิตกับคนอีสานเกือบสองปี  คนอีสานเป็นคนรวย   คนจะรวย รวยศีลทาน ใช่บ้านโต คนอีสานรักษ์ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ที่ ม.ขอนแก่น ทำตรงนี้ได้ดี ขอชื่น ที่ ม.ขอนแก่น ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของคนอีสาน  
คณะนี้ขอให้ผมในฐานะ Lead Shepherd ของ HRD Working Group ใน APEC ติดต่อไปดูงานระบบสารสนเทศกับการสอน ที่กรุงโซล ซึ่งผมรู้จักเกาหลีใต้ดี ได้เจรจาให้จนประสบความสำเร็จ และได้เซ็นสัญญากับโรงเรียนในเกาหลี ว่าจะแลกเปลี่ยนเรื่อง ICT กับการเรียนการสอน เพราะเกาหลีเขาเอาจริงเรื่อง ICT กับการสอน และการแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูในอนาคตด้วย

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่ ถือว่าเป็นประโยชน์กับสังคม ประเทศชาติอย่างมาก การเชื่อมโยง จุดแข็งของประเทศต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตร และมองประเทศไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดี  มาเสริมจุดอ่อนของชาติเรา ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์การต่างประเทศ ยุทธศาสตร์การทูต ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการศึกษาที่น่าสนใจ  นำไปเป็นแม่แบบ ในการกำหนดนโยบายสาธารณะ สำหรับรัฐบาลชุดนี้ และชุดต่อ ๆ ไป

 


ทัศนคติของผู้บริหารชุดนี้คือ ทำ ทำ และทำให้สำเร็จ พึ่งตัวเอง ทำจริง คิดนอกกรอบ นึกถึงลูกค้าคือนักเรียน

ระบบราชการของเรา อยู่ในระหว่างปฏิรูป  ขั้นตอนยังคงมีมาก รอไม่ได้ ต้องคิดถึงลูกค้าคือนักเรียน ตรงนี้ เป็นตัวอย่างที่ดี น่ายกย่อง น่าศึกษา หน่วยงานราชการอื่น ๆ ทีติดขัดปัญหา ก็น่าจะลองศึกษาวิทยายุทธ์ของครูอาจารย์ ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ ถ้าทั้งประเทศทำเช่นนี้ได้ ผมคิดว่าจะเกิดประโยชน์กับประเทศชาติ เป็นอย่างมาก

 

 

  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ       
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน               

ยม

นักศึกษาปริญญาเอก 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต 

 

 [email protected]01-9370144
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ แค่ปรับ Mindset ก็พอ"
แค่ปรับ mindset ก็พอ[1]

ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเขียนแต่เรื่องการเมือง เนื่องจากการเมืองในประเทศไทยไม่ปกติ แต่เมื่อเริ่มเข้ารูปเข้าร่างแล้ว ก็จะเล่าถึงงานของผมต่อไป บทความของผมจะเน้นการเรียนรู้จากความจริง จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผมได้ทำไป นำมาแบ่งปันกัน และสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่ละเรื่องจะทำให้คนไทยมีวัฒนธรรมการเรียนรู้มากขึ้น คิดเป็น วิเคราะห์เป็น นำไปใช้เป็นประโยชน์
สิ่งที่สำคัญมากในระดับประเทศที่อยากขอฝากรัฐบาลชุดใหม่คือ การปฏิรูปการศึกษา ในหลายเรื่องที่ต้องทำคือ การปรับ mindset ทัศนคติของผู้บริหารให้มองการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วได้ คือ เน้น ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม ( Networking ) และเน้นทุนแห่งความยั่งยืน
ผมเห็นว่า ตราบใดก็ตาม หากคนไทยใฝ่รู้ มี Lifelong Learning มากขึ้น อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ( Curiosity ) ตั้งคำถามที่น่าสนใจ และคิดนอกกรอบ แทนที่จะขยันในการหาคำตอบที่ตายตัวแบบที่เป็นอยู่ ประเทศคงอยู่รอดแน่นอน
ผมคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดแข็งที่ว่า จะทำอะไร รู้ให้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ มีเหตุมีผล และนำไปสร้างนวัตกรรม ( Innovation ) แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และอยู่อย่างยั่งยืน เรื่องแรกที่จะเล่าให้ฟังคือ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม เป็นต้นไป ผม ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ จะนำเสนอสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์" ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ติดต่อกัน ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. เพื่อให้ผู้ชมได้รู้ว่า
- เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยคนไทยให้อยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร
- และให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงช่วยทุกส่วนของสังคมไทย ไม่ใช่แค่ภาคเกษตร และทำให้เราอยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างยั่งยืน
เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์นี้ หากไม่มีรัฐบาลซึ่งมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เรื่องนี้อาจจะถูกมองข้ามไปว่าไม่เกี่ยวกัน เพราะรัฐบาลชุดที่แล้ว มองโลกาภิวัตน์เพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การส่งออก และดึงเงินทุนจากต่างประเทศ ซึ่งไม่ผิด แต่ต้องพอดี และไม่เสี่ยงจนเกินไป แต่จะยั่งยืนหรือไม่นั้น หากการขยายตัวที่ไม่มีพื้นฐานที่ดี เหมือนการสร้างตึก โดยไม่ลงเสาเข็มนั้น คงทำได้ยากและไม่ยั่งยืน ผมคิดว่า อาจจะเป็นโชคของประเทศไทย ที่มีผู้นำแบบอดีตนายกฯ ทักษิณ มาแสดงความสามารถในนโยบายเชิงรุก ให้คนไทยได้เห็นถึงจุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อจะได้มีโอกาสเปรียบเทียบกัน แต่สิ่งสำคัญคือ เศรษฐกิจพอเพียงต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา นอกจากมีคุณธรรมแล้ว ยังต้องคิดเป็น ทำเป็น มี Head Heart และ Hand อย่างที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์แนะนำไว้ สำคัญที่สุดและยังจำเป็นที่จะต้องมีความคิดที่นอกกรอบ เช่น Creativity ความคิดสร้างสรรค์ และนำ Creativity ไปสู่ Innovation นวัตกรรม แต่ต้องมีคุณธรรมและมีความรู้ที่แน่น ไม่ใช่พอเพียงแค่อยู่รอด หากรอดแล้ว ต้องไม่ประมาท หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา การขยายตัวอย่างมั่นคงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมนุษย์ต้องการความก้าวหน้า ( Progress ) ที่ยั่งยืน
ในเวลา 1 ปีกว่าจากนี้ รัฐบาลจะต้องวางรากฐานให้สังคมไทย คิดเป็น รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ จะต้องไม่ปฏิรูปเฉพาะโครงสร้างเท่านั้น แต่ต้องปฏิรูปพฤติกรรม ปฏิรูป mindset หรือวิธีการมองโลกของคนไทยให้ได้ เรื่อง mindset นี้มีหนังสือเล่มล่าสุดของ John Naisbitt ซึ่งเคยเขียนเรื่อง Megatrends ที่ดังมากมาแล้ว บอกว่า การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่ ผมคิดว่า การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม ไม่ใช่ฟังข้างเดียว เราต้องวิเคราะห์เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
- Reality มองความจริง
- และ Relevance ตรงประเด็น
เช่น ยุคนายกฯสุรยุทธ์ หากจะแก้ปัญหาภาคใต้ คงต้องเปลี่ยนวิธีการคิด จากการที่จะฆ่ากันทุกครั้ง มาเป็นการคุยกันแบบเจรจาบนโต๊ะ มองมาเลเซียเป็นมิตร ไม่ใช่แบบฆ่าทิ้งเป็นว่าเล่นอย่างในอดีต
เมื่อเร็ว ๆ นี้ PMAT สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย กล้าไปจัดสัมมนาเรื่อง HRM ในภาคอิสาน ซึ่งผมได้รับเชิญด้วย เดิม PMAT อาจคิดว่ามีแต่คนในกรุงเทพฯ เท่านั้นที่สนใจ ปรากฏว่าคนในภาคอิสานตื่นตัวมาก เพราะได้แนวคิดใหม่ ๆ
ผมบอกได้ว่า อิสานเป็นสังคมการเรียนรู้ได้สบาย ถ้าท่านมองอิสานแบบใหม่ คือไม่ใช่จน โง่ รับจ้างแรงงานถูก ๆ ควรต้องยกย่อง มองการเกษตรเชื่อมโยงวัฒนธรรม สร้างองค์ความรู้ มองคุณค่าของคนอิสาน โดยเปิดโอกาสให้อิสานได้มีอิสรภาพทางความคิด ผมว่าคนอิสานก็คิดเป็น แต่บรรยากาศไม่เอื้ออำนวย ถ้าผมรู้จักคนอิสานมากขึ้น ผมจะเขียนหนังสือพาดหัวสวย ๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า :
Isarn can also learn and think
ผมมีเรื่องกิจกรรมอีกเรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เมื่อวันที่ 16 - 18 ตุลาคม 2549 คณะครูจากจังหวัดสมุทรปราการ นำโดยโรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ เดินทางไปดูงานด้านการศึกษาที่ประเทศเกาหลีใต้
การไปดูงานครั้งนี้ ได้ไปเยี่ยมเยียนเอกอัครราชทูตไทยประจำเกาหลี คุณวศิน ธีระเวชฌาน แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ผมได้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการการศึกษาระหว่างไทย/เกาหลี และท่านทูตได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเกาหลีใต้ในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาที่รัฐบาลเกาหลีให้ความสำคัญมาก เพราะมองคนเป็นทรัพย์สิน asset ไม่ใช่ต้นทุน จึงทำให้ประชากรเกาหลีมีคุณภาพ และให้ความรู้เรื่องการเมืองระหว่างประเทศในกรณีเกาหลีเหนือทดลองอาวุธนิวเคลียร์ นับเป็นการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ที่น่าสนใจสำหรับคณะครู ซึ่งทำงานต่อเนื่องในด้านการศึกษาร่วมกับผมมา 3 ปี และได้เดินทางไปดูงานต่างประเทศ 3 ครั้งแล้ว
สิ่งแรกที่คณะนี้ทำได้คือ ปรับ mindset ว่า ฉันทำได้ ฉันพึ่งตัวเอง ไม่รอให้กระทรวงส่งฉันไปดูงานต่างประเทศ
เรื่องที่สองคือ กลุ่มนี้สนใจ Networking มาก อะไรที่ดี ๆ จะแสวงหาและฉกฉวยให้ได้ ในอดีตเคยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ปัจจุบันมีการสร้างแนวร่วมกับนายกเทศมนตรีสำโรงใต้ คุณสรรเกียรติ กุลเจริญ และธุรกิจต่าง ๆ รอบโรงเรียน ประการที่ 3 คือ ได้ทำต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วสำเร็จ
คณะนี้ขอให้ผมในฐานะ Lead Shepherd ของ HRD Working Group ใน APEC ติดต่อไปดูงานระบบสารสนเทศกับการสอน ที่กรุงโซล ซึ่งผมรู้จักเกาหลีใต้ดี ได้เจรจาให้จนประสบความสำเร็จ และได้เซ็นสัญญากับโรงเรียนในเกาหลี ว่าจะแลกเปลี่ยนเรื่อง ICT กับการเรียนการสอน เพราะเกาหลีเขาเอาจริงเรื่อง ICT กับการสอน และการแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูในอนาคตด้วย
ทัศนคติของผู้บริหารชุดนี้คือ ทำ ทำ และทำให้สำเร็จ พึ่งตัวเอง ทำจริง คิดนอกกรอบ นึกถึงลูกค้าคือนักเรียน ผมภูมิใจมากที่มีโอกาสได้นำอาจารย์ 32 คน ซึ่งออกเงินเอง ไม่แบมือขอใคร และสามารถใช้การทูตภาคประชาชน ทำประโยชน์ให้แก่นักเรียนและครู ผู้ปกครองของจังหวัดสมุทรปราการได้สำเร็จ เพราะปรับ mindset ที่ถูกต้องครับ

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
น.ส.อิสราภรณ์ อุณหสุทธิยานนท์
โลกาภิวัตน์,เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางแก้ไข                โลกาภิวัตน์ ตามความเข้าคิดว่าคงเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนไปในทางที่เจริญก้าวหน้าขึ้น ซึ่งบางครั้งก็ควบคุมไม่ได้และมีความพัวพันกันแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การพัฒนาความเจริญทางด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร  ระบบไอที ที่ทันสมัยมากๆ  วัฒนธรรม เป็นต้น        แนวทางแก้ไข  คือต้องสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง สร้างความเข้าใจ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องโลกาภิวัตน์ให้คนทุกระดับชั้นตั้งแต่ระดับชุมชนเล็กๆจนถึงองค์กรใหญ่ๆ รู้ถึงความเป็นไปของโลกและใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการรับมือโลกาภิวัฒน์       เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และการปฎิบัติตนของประชาชนทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์       เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความพอเหมาะพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิวัฒนาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและดำเนินการ และในขณะเดียวกันก็จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติทุกระดับ ให้มีจิตสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

เสาร์ 14 ต.ค. 2549 หลักสูตร mini MBA  มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดหัวหิน 7 ชม.ที่ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ท่านมาบรรยายเรื่อง โลกาภิวัฒน์,เศรษฐกิจพอเพียง ต้นทุนการเสียโอกาส (opportunity cost) รวมถึง ทฤษฎี 8K" S  (ทฤษฎีต้นทุนในทรัพยากรมนุษย์) และ 8H"S (ทฤษฎีบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์) รวมถึงทฤษฎี 4 ป ของท่านนายกรัฐมนตรี สุรยุทธ์ (โปร่งใส,เป็นธรรม,ประหยัด,ประสิทธิภาพ) สอนให้เราคิด ปฏิบัติ วิเคราะห์เป็น เดินทางสายกลาง มีภูมิคุ้มกัน พร้อมนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร ของตนเอง ในบรรยากาศที่ไม่เครียด เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันทำให้ทราบว่าโลกาภิวัฒน์กับเศรษฐกิจพอเพียงสัมพันธ์กัน ซึ่งเราควารนำมาผสมผสานกันให้เกิดความสมดุลเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองประชาชน และ ประเทศชาติดังนั้นเราควรช่วยกันเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และต่อยอดทางความคิดของทุกคน ทุกอาชีพและเพื่อสังคมไทย การเรียนครั้งนี้คุ้มค่ากับต้นทุนค่าเสียโอกาส มีประโยชน์มากต่อตนเองและประเทศชาติ ดิฉันขอยืนยันว่าพระบรมราโชบายในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคำตอบที่ดีของทุกปัญหา ช่วยสร้างชุมชนให้เข้มแข็งชุมชนที่รักใคร่สามัคคี และนำมาซึ่งความสุขของครอบครัว ใช้ได้ในทุกระดับ ในทุกภาคส่วน ดังนั้น ดิฉันขอเชิญชวนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยการยึดแนวทางการปฏิบัติตนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นพระบรมราโชบายที่บริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"(ปรับปรุงใหม่)
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน
  

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2549  ผมมีกิจกรรม สัมมนา ภาวะผู้นำโลก(Seminar on Global Leadership) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ในหลักสูตร ป.เอก ผมออกเดินทางแต่เช้า เพื่อจะไปร่วม สภากาแฟก่อนมีการสัมมนา จึงส่งข้อควานี้มาช้ากว่าปกติที่เคยทำ หลังจากเขียนเสร็จแล้ว รู้สึกว่า บรรยากาศรอบตัวมีผลต่อการเขียนมาก ไม่ค่อยมีสมาธิเหมือนเขียนเงียบ ๆ ในมุมธรรมชาติ

 

อย่างไรก็ตาม ผมอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ” จาก Interent ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

 

  เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ  
ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าเรื่องการ Listen and Learn ที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้ สำคัญต่อการเป็นผู้นำยุคใหม่อย่างมาก
ผมคิดว่า Competency หรือ สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่จะเกี่ยวข้องกับสมรรถนะในการ  
  • Link หมายถึง ขีดความสามารถในการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ต่อทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง เชิงสร้างสรรค์
  • Listen หมายถึง ขีดความสามารถในการฟังผู้อื่น ไม่เอาแต่สังการ ควบคุม แต่ฝ่ายเดียว การฟัง ด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยสติปัญญา จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ได้
  • Learn   หมายถึงขีดความสามารถในการเรียนรู้สรรพสิ่งทั้งหลาย เรียนรู้จากเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เรียนรู้ถึงความสำเร็จ ความล้มเหลว ในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เป็นต้น 

ในอดีต การสรรหา คัดเลือกผู้นำ CEO ในองค์กร มักจะแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการทำงาน ถือว่าเก่ง ครับ แต่ในยุคปัจจุบันและอนาคตแนวคิดนั้นได้เปลี่ยนมาแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการ Link, Listen and Learn เพื่อต้องการหาผู้นำที่สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์  
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป   

ในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่า  ในสายตาของประชาชนคงเข้าใจว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี เป็นที่รักและเคารพ อย่างสูง เป็นองคมนตรีของชาติ การที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี จะพูด จะทำอะไร จึงเป็นสิ่งที่อาจจะมีผลกระทบถึงตัวท่านนายกรัฐมนตรีได้
การฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น การ Link, Listen and Learn เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรทำ ทุกฝ่ายควร Know our situation! และร่วมกันประกอบภารกิจด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังกันทุกฝ่าย เหตุการณ์ภาคใต้ รุนแรงมากขึ้น เราจะสามารถกู้สถานการณ์ได้หรือไม่

Can we fix! Broken Government?

Can we fix! The national disunity?

เป็นสิ่งที่คนไทยจะต้องสมานฉันท์ ร่วมมือกัน ผมเชื่อว่า ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบ้านของเรา ย่อมแก้ไขได้ด้วยคนในบ้านของเราเช่นกัน  

 

ประเทศไทยจะต้อง Compete international เพื่อที่จะลดความยกจนลง Economic growth ควรจะต้อง ได้ 6% GDP 

 

ขณะนี้ เราเผชิญปัญหาหลายอย่าง ผมในฐานะคนไทยด้วยกัน ขอแสดงความเห็นใจรัฐบาล และผู้รับอาสาเข้ามาบริหารบ้านเมือง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคนจน 60% อีสานเป็นภาคที่จนที่สุดในประเทศ ทรัพยากรมนุษย์ส่วนใหญ่ขาดคุณภาพ ด้อยโอกาสทางการศึกษาและอาชีพ ทั้งที่เป็นคนดีมีน้ำใจ 
อีสานเป็นดินแดนไม่สมบูรณ์เหมือนภาคกลาง ไม่มีทางออกทะเล ดินฟ้าอากาศมีผลต่อการประกอบอาชีพ ผลผลิตเกษตรต่อไร่ตกต่ำ การติดต่อค้าขายกับชายแดนต่ำ การใช้เงินภาคสาธารณะต่ำ Low Public spending  อาชีวอนามัยแม่และเด็กยังคงมีปัญหา ส่งผลต่อสมองและความฉลาดของเด็กไทยในอีสาน

 

ที่สำคัญที่สุดเราหนีไม่พ้นที่จะต้องแข่งขันกับโลก  การศึกษาสำคัญที่สุดควรจะต้องรีบเร่งแก้ไขปรับปรุง

 

การลงทุนภาคเอกชน ชะลอการลงทุนเกือบถึงขั้นหยุดชะงักมาหลายปี(Reluctance) แนวโน้มจะมีมากขึ้นหรือน้อยลง ผมไม่แน่ใจ 

 

แรงงานมีทักษะ ความรู้ต่ำ แรงงานต่างด้าวคุณภาพต่ำเข้ามาผสมผสานมากขึ้นมีทั้งถูกต้องไม่ถูกต้อง
การปฏิรูปสถาบันการเงินยังมีขีดจำกัดในภาพรวมทางเศรษฐกิจ  การขาดแคลนแรงงานทีมีความสามารถเป็นข้อจำกัดในการลงทุน Skill Labor
นอกจากนี้ จุดอ่อนของประเทศไทยประการหนึ่งคือ Staff นักบริหารอ่อน องค์ความรู้เพื่ออนาคต อ่อน IT ควรต้องมีแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

 

จุดแข็งในการใช้แรงงานราคาถูกของไทย เช่น โรงงานทอผ้า ธุรกิจ Garment รองเท้าฯ ได้สูญเสีย Competitive edge ให้แก่ประเทศจีนและเวียดนามไปแล้ว และ 2 ประเทศนี้ได้พัฒนาการศึกษา เทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนำหน้าประเทศไทยไป  
สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องท้าทายรัฐบาลทุกยุคสมัย เป็นเรื่องท้าทายวิสัยทัศน์ ความคิด การกระทำของกลุ่มสมัชชา และความร่วมมือของคนไทยทั้งชาติ  

 

ประชาชนทุกส่วน ควรเพิ่มและส่งเสริมความสมานทฉันท์ ช่วยเหลือกันและกัน เพื่อชาติจริง ๆ ร่วมมือกันช่วยรัฐบาลในการพัฒนาประเทศให้สำเร็จ   ยุติความขัดแย้ง หันมาแก้ปัญหาประชาธิปไตยด้วยความสงบสุข เคารพในศักดิ์ศรี ในศักยภาพของคนทุกคน ต้องเชื่อว่าคนทุกคนมีคุณค่าทั้งสิ้น ไม่มองใครต่ำ ใครสูง 

 

 

คณะรัฐมนตรี ต้องเร่งบริหารประเทศให้พ้นภัย ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ด้วยการทำงาน Fast, smart to meet highest Standard
วิสัยทัศน์ของชาติต้องชัดเจน และยั่งยืน เน้นความสงบสุขของบ้านเมือง และประโยชน์ของประชาชน ไม่ทำลาย ไม่กล่าวร้ายใคร อะไรก็ตามที่เป็นอุปสรรคสร้างและพัฒนาชาติควรขจัดออกไป ควรต้องสนองแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรา   ผสมผสานบูรณาการแนวคิดทางการบริหาร ทฤษฎีอื่น ๆ ทั้งแนวพุทธศาสตร์ อิสราม คริสต์ฯ มาพัฒนาชาติของเราให้เข้มแข็งโดยเร็ว

 

รัฐบาลใด ชาติใดก็ตามถ้าเริ่มต้นบริหารชาติด้วยดี พลีอุดมการณ์ให้ชาติ เพื่อคนรุ่นหลัง  เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติแล้วนั้น นั่นคืออนุสาวรีย์ที่ปักแน่นในจิตวิญญาณของคนทั้งประเทศ 

สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

 

ผมคิดว่า สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่เป็นแบบอย่างที่ดีที่ผมประทับใจ อาจารย์เป็นกลาง มีคุณธรรม มีอุดมการณ์ มีเสียสละ เพื่อส่วนรวม อาจารย์ทำงานที่มีประโยชน์กับสังคม โดยหวังให้ผู้อื่นเป็นสุข หวังให้ชาติเจริญ เป็นงานพัฒนาทรัยพากรมนุษย์ที่แท้จริงในทุกระดับ ทั้งในและต่างประเทศ   สมกับเป็น HR สายพันธ์แท้  รัฐบาลและองค์กรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกระดับ ควรให้การสนับสนุน ทั้งทางตรงและทางอ้อม  
นักศึกษา ลูกศิษย์ ของอาจารย์ หากมีโอกาส ก็ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนอาจารย์ ทุกรูปแบบ ด้วยความมีอุดมการณ์ ความมีชาตินิยม และเรียนรู้วิถี แนวทางของ ศ.ดร.จีระ เพื่อต่อยอด เป็นแนวร่วมอุดมการณ์ ครับ

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต

 

 

ที่ ศ.ดร.จีระ ทำ Knowledge camping นี้ ผมเห็นว่า เป็น Good Model ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างมาก เป็นประโยชน์ในการสร่างเยาวชน ให้เป็นผู้นำในอนาคต
การปฏิรูปการศึกษาบ้านเรา ควรมีวิธีการเรียนรู้แบบนี้ สอดใส่เข้าไปในการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมฯ ถึง มหาวิทยาลัย และถ้าทุกสถานบันการศึกษาทำได้ ผมเชื่อว่าเราจะมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคตมากพอ เป็นการสร้างคนเพื่อสร้างชาติไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืนยิ่งขึ้น

อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning

ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว 

 

ประเด็นนี้ ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำเรื่อง การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไม่ธรรมดาเลย  ทำให้คนอินเดียประทับใจและทึ่งคนไทยไปอีกนานด้วยความสามารถของ ศ.ดร.จีระ
ผมเสนอเพิ่มเติมว่า การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC น่าจะมีอีกหลายเรื่องที่ทำได้และจะเป็นประโยชน์กับไทยมาก เช่น ในเรื่องการให้ความร่วมมือเรื่องการพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ให้แก่ครูและนักเรียนในชนบทยากจน ทำอย่างไรให้เด็กไทยพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนเด็กอินเดีย  
IT CITY ในรัฐบังกาลอร์ ของอินเดีย เป็นตัวอย่างที่ดี ในเรื่องการบริหาร Talent people การแลกเปลี่ยน นักศึกษา ป.โท ป.เอก ในด้านพลังงานเพื่ออนาคต การวิจัยปัญหาของโลก ปัญหาของ APEC เช่น ด้านการป้องกันภัยวิบัติของโลก Global warming การป้องกันการก่อการร้ายข้ามชาติ การอนุรักษ์วัฒนธรรม ไทย อินเดีย การส่งเสริมและปฏิบัติตามหลักศาสนา เป็นต้น ครับ

นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย

 

ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านว่า การคิดแบบ CEO ที่เป็นเลิศ ควรต้องคิดโดยใช้สมองทั้งสองด้าน ทั้งซีกซ้ายและขวาด้วย คือต้องมองอะไรได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เช่น ไม่คิดว่าแนวคิดตะวันตกดีเลิศ มองแนวคิดตะวันออกแบบติดลบ ต้องคิดบูรณาการทั้งตะวันออก และตะวันตกเข้าด้วยกัน จะได้จุดแข็งทั้งสองซีกโลกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม เป็นต้น

 

คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์

 

ผมคิดว่า การปฏิรูปการเรียนการสอน การศึกษาของบ้านเรา  น่าจะนำแนวคิด แนวปฏิบัติ ของ ศ.ดร.จีระ มาเป็นส่วนหนึ่งใน

ในการพัฒนาระบบการศึกษา

 

ผมสังเกตเห็นว่า อาจารย์ทำแล้วได้ผล อาจารย์สามารถขุดความสามารถของนักเรียน นักศึกษาได้ อาจารย์ทำให้นักเรียน นักศึกษาจำนวนมาก (ในเวลาที่จำกัด) ที่ไม่ค่อยพูดซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเก่ง ได้มีโอกาสได้แสดงความเก่งขึ้นมาอย่างน่าทึ่ง ให้นักเรียน นักศึกษาได้แชร์ความรู้ ได้ปะทะกันทางปัญญา เหมือนพระสนทนาธรรม เหมือนจอมยุทธ์ได้ปะลองฝีมือ ปัญญาย่อมเกิด ฝีมือย่อมพัฒนาขึ้นได้แน่นอน

 

และที่สำคัญคือท่านที่สนใจวิธีการมองคนที่เป็นเลิศ ของ ศ.ดร.จีระ ว่าท่านทำอย่างไรจึงมีสายตาที่เฉียบคม มองเห็นในสิ่งที่ CEO ผู้นำ หรือคนอื่น มองไม่เห็น อาจารย์มีเทคนิคในการมองลูกศิษย์ทุกระดับ ได้เหมือนมีแว่นวิเศษ ครับ สุดท้ายก่อนจบการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวันนี้ ผมฝากไว้เกี่ยวกับ  Brain Power 
 “We live in the world where almost anything is a new possibility. The nature of work is changing. It is becoming increasingly brain intensive, value oriented, and unpredictable.   Skilled brain power is replacing disciplined muscle power. 

 

We want everyone to be seen as an achiever, an innovator, a seeker of the unknown to build a better world together.  The effective development of brain power within a nation will decide the prosperity of the country in the future.”   
ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ        
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน     
            
ยม  
นักศึกษาปริญญาเอก 
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"

ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน[1]

 

เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ
ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง
ผมหวังว่า งานดังกล่าวจะก้าวไปด้วยดี และสร้างความเข้าใจได้ถูกต้อง
ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป
สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระยะนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะใช้สื่อทางวิทยุมากขึ้น เพราะสื่อทางโทรทัศน์ยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก
ในขณะที่สื่อวิทยุ เช่น FM 96.5 MHz. ทั้ง 24 ชั่วโมง มีความคิดดี ๆ ออกมาจากผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ทันเหตุการณ์ ผมยังต้องติดตามใกล้ชิด
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต
อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning
ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว
เอเชียต้องมีฐานความรู้ของตัวเอง ร่วมมือกับตะวันตกได้ โดยไม่ลอกความคิดของตะวันตกอย่างเดียว
นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย
คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์
ผมโชคดีได้เปลี่ยนแนวการสอนมากว่า 10 ปีแล้ว ไม่ว่าจะสอนที่ไหน จะให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และสรุปร่วมกัน ทุกวันนี้มีคนสนใจเรื่องนี้มากขึ้น ล่าสุดองค์กรบริหารส่วนตำบล ซึ่งจะนำเศรษฐกิจพอเพียงไปให้เขาคิด เช่นเดียวกับข้าราชการระดับ C7 , C8 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของรองปลัดสุทธิพร จีระพันธุ ซึ่งเป็นผู้สนใจวิธีการเรียนแบบใหม่

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
สวัสดีครับชาว Blog           
วันนี้ผมได้กลับมาจากหัวหินหลังจากที่ได้เดินทางไปสอนหนังสือโครงการ Mini MBA รุ่นที่ 1ของมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ทำให้ได้เห็นบรรยากาศการเรียนที่มีประโยชน์มาก และได้เรียนรู้ว่าคนต่างจังหวัดนั้นหากได้รับการกระตุ้นให้เขาแสดงศักยภาพของเขาออกมาเขาก็จะทำได้ดีมาก ผมสังเกตเห็นว่าแม้แต่คนที่ไม่ค่อยได้ฝึกแสดงความคิดเห็น แต่พอได้รับโอกาสเขาก็สามารถทำได้อย่างน่าชื่นชม            ผมขอถือโอกาสย้ำเรื่องการบ้านที่ลูกศิษย์จะต้องส่งมาที่ Blog นี้ คือ
o     ก่อนได้เรียนเรื่องภาวะผู้นำ (Leadership) 7 ชั่วโมง ท่านมีความเข้าใจเรื่องภาวะผู้นำอย่างไรบ้างo     เมื่อเรียนจบแล้วได้รับความรู้อะไรบ้าง      สำหรับผม ผมได้เรียนรู้ 4 – 5 เรื่องด้วยกัน คือ
1.      ผมได้เห็นว่ามหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดสร้างผู้นำท้องถิ่นได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำท้องถิ่นระดับเทศบาล อบจ. รวมไปถึง อบต. และผมเห็นว่าพวกเขามีศักยภาพมากและสามารถจะสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมอีกมากหากเขาได้มีโอกาสได้เรียนรู้ และการมีส่วนร่วม
2.      จากการร่วมแสดงความคิดเห็นของลูกศิษย์คนหนึ่งที่มาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผมเห็นโอกาสของการทำงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดซึ่งถ้าผนึกกำลังกันก็จะสามารถพัฒนางานที่มีคถุณภาพทางการศึกษาออกสู่สังคมได้อย่างดี
3.      เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่เรายังมีนักเรียนในระดับปริญญาตรียังไม่มากนักในภูมิภาคนี้ ซึ่งน่าจะเร่งให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้ร่วมกับต่างประเทศ สร้างความสามารถทางด้านภาษา และการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมซึ่งจะเป็นการปลูกฝังความสามารถทางการแข่งขันให้แก่เยาวชนไทยในยุคนี้
4.      ผมได้ความรู้ว่าเราน่าจะมีการตั้งศูนย์การวิจัยและพัฒนาผู้นำในระดับท้องถิ่นโดยความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีกับมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดซึ่งจะเป็นการสร้างจุดแข็งและการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับองค์กร ชุมชน และสังคมต่อไป
5.      ตอนที่ผมเปิดเทปโทรทัศน์เรื่องภาวะผู้นำเปรียบเทียบระหว่างหญิงกับชาย มีลูกศิษย์คนหนึ่งร่วมแสดงความคิดเห็นซึ่งผมคิดว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจมาก คือ การเปรียบเทียบเรื่องภาวะผู้นำระหว่างหญิงกับชายเราจะต้องพิจารณา
o     วัฒนธรรมของประเทศเราควบคู่ไปด้วย
o     ดูวิธีการคิด
o     ดูวิถีชีวิต
สุดท้ายก็มีผู้นำท้องถิ่นหลายท่านแนะนำว่าน่าจะมีการจัดหลักสูตรพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอยากให้เชิญ อาจารย์ทินวัฒน์  มฤคพิทักษ์ มาร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้วย ซึ่งผมเองก็เห็นด้วยและคิดว่าจะผลักดันให้หลักสูตรดังกล่าวเกิดขึ้นเร็ว ๆ นะครับ                              
จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

 

ได้รับฟัง ศ.ดร. จีระ บรรยายที่ Stamford International University ในวันเสาร์ที่ 6 มกราคม 2550 เรื่อง Leadership & Chief Executive Officer ได้ความรู้เพิ่มเติมมากมาย จุดประกายให้มีพลังในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คิดว่าจะนำความรู้ที่ได้จากท่านมาพัฒนาตน พัฒนาคน และพัฒนาองค์กรต่อไป และจะส่งการบ้านมาทาง blog ในวันพรุ่งนี้ค่ะ

รวยริน กษัตรีย์ 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  Mini MBA (Executive Management) Course Name    : Leadership & Chief Executive Officer                      ( ภาวะผู้นำและการบริหารแบบ CEO)บรรยายโดย     : ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์           วันที่ 6 มกราคม 2550         ดิฉันรวยริน กษัตรีย์ ก่อนเข้าศึกษา Mini MBA ในหัวข้อเรื่อง Leadership & Chief Executive Officer (ภาวะผู้นำและการบริหารแบบ CEO) ดิฉันมีความเข้าใจ เรื่องของภาวะผู้นำ มาบ้าง เนื่องจากหน้าที่การงานในปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่าย หลังจากได้รับฟังการบรรยาย จาก ศ. ดร. จีระ ในเรื่องทั้งหมดที่ท่านได้ให้ ความรู้ แนวคิด ต่างๆ แล้ว มีความรู้สึกว่าเหมือนได้เติมพลัง (Energy) และสามารถนำมาใช้ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพิ่มทุนทางปัญญา สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กร กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมและทุ่มเทให้กับองค์กร สร้างความไว้ใจ สร้างบรรากาศให้ทุกคนพอใจที่จะอยู่และทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขการวิเคราะห์ เรื่องของภาวะผู้นำ มีดังนี้ผู้นำที่ดีควรต้องมี
  1. ความคิดริเริ่ม
  2. สามารถนำไปในสิ่งที่ถูกต้อง
  3. ทีทัศนคติเป็นบวก
  4. มีความสามารถเชิงบริหาร เด็ดเดี่ยว รวดเร็ว คิดนอกกรอบ มียุทธวิธี และทำให้สำเร็จ
  5. ทำงานเป็นทีม
  6. เป็นคนดีมีคุณธรรม และจริยธรรม
ผู้นำที่ดีต้องมีอิทธิพลในทางดีต่อคนอื่น ต้องไม่เก่งคนเดียว คนอื่นต้องเก่งด้วย และต้องลด Ego ของตัวเองลงบ้าง ผู้นำไม่จำเป็นต้องนำด้านการเงิน การตลาด หรือ IT ถ้าไม่มีจิตวิทยาในการปกครองจะเป็นผู้นำที่เก่งไม่ได้ ต้องเป็นผู้บริหารที่ดี สามารถบริหารมนุษย์ได้ มีความเสียสละ มีความยุติธรรม ถ้าเป็นผู้นำที่ดี และเป็นผู้บริหารที่ดี องค์กรจะไปได้ดีในทางเดียวกันการเป็นผู้นำ จะต้องมีผู้ตาม ผู้นำมีความสามารถในการตัดสินใจ กล้าหาญ มีคุณธรรม และจริยธรรม ผู้นำเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ไม่มีสูตรตายตัว ต้องมีการสะสมกระบวนการการเรียนรู้ ความยั่งยืน มีทักษะในการเจรจาต่อรอง ต้องไม่สร้างความขัดแย้ง ผู้ตามมีความสามารถในการรับฟังและยอมรับความจริง รู้ทันเหตุการณ์ ว่าอะไรกำลังดำเนินอยู่ ทั้งในระดับประเทศ และระดับโลกศ. ดร. จีระ ได้สอนให้หัดวิเคราะห์บทความ ปรัชญา และวิธีคิด เช่นการบริหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ท่านมีแนวทางวิธีการคิด 4 แนว และ 6 หลักในการทำงาน และเน้นการทำงานเป็นทีมการบริหารของคุณพารณ เป็นลักษณะ Leadership กับคุณธรรม เน้นเรื่องการสื่อสารยุคใหม่ การศึกษายุคใหม่ไม่ใช้ทฤษฎีเพียงอย่างเดียว จะต้องนำไปปฏิบัติด้วย เรียกว่าทฤษฎี Constructionism การบริหารของคุณทักษิณ บริหารแบบเร็ว และคิดใหม่ มีความคิดริเริ่มกล้าตัดสินใจ กล้าคิดนอกกรอบ ท่าน ศ. ดร. จีระ ได้ให้ข้อสรุปในเรื่องปรัชญาและวิธีคิด การบริหาร หรือภาวะผู้นำ มีสิ่งสำคัญ 3 สิ่ง ที่ไม่ว่าผู้นำและผู้ตาม จำเป็นต้องมี คือ1.    การเป็นคนดี2.    สร้างภาวะผู้นำ3.    เศรษฐกิจพอเพียง   สุดท้ายนี้ขอขอบคุณท่าน ศ. ดร. จีระ ที่ได้มาจุดประกาย และเพิ่มพลังการเรียนรู้ให้กับพวกเรา.   
 
ไพเราะวลี ไชยประสิทธิ์
จากการที่ได้เข้าเรียนหลักสูตร Mini M.B.A. หัวข้อ สภาวะผู้นำและเศรษฐกิจพอเพียง จาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีความสามารถนอกเหนือจากการสอนหนังสือแล้ว ก็ยังสร้างและทำความเข้าใจเรื่องของสภาวะผู้นำได้ดี ความเข้าใจกว้างๆของคำว่า ภาวะผู้นำที่เคยเข้าใจนั้น คือ การได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานหนึ่งงานใด รวมทั้งผู้นำต้องมีความรู้ ความสามารถ มีส่วนร่วมในการบริหารองค์กรให้เจริญ และประสบความสำเร็จ เมื่อได้เข้ามาศึกษาเรื่องของภาวะผู้นำและเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เรามีความมั่นใจ มีความตั้งใจที่จะริเริ่มในเรื่องของความคิด ผิด, ถูก สามารถแยกแยะและนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ มีวิสัยทัศน์ที่กว้างขึ้น มีความคิดริเริ่ม มีความอดทนในการอยากค้นคว้าหาสิ่งที่ใหม่ๆมาประกอบการทำงาน โดยมีผู้ร่วมงานและนำสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรามามีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันและสร้างความเป็นอยู่ให้เป็นแบบเศรษฐกิจเพียงพอ (จากทฤษฎีบทต่างๆ เช่น 8H, 8K และทฤษฎีทุน 8 ประเภท ที่ท่านนำมาสอนและยกเป็นตัวอย่างเพื่อประกอบการสอนให้เข้าใจลึกซึ้งขึ้น ซึ่งได้ฟังและเข้าใจแล้ว ทำให้เกิดคำถามว่า “What do we go from here?) จากการที่ได้รับการศึกษาเกี่ยวกับสภาวะผู้นำซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องศึกษา เพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ จึงพอสรุปได้ว่าผู้นำนั้นจะต้องเป็นผู้ที่ประกอบไปด้วย 1. มีคุณธรรมและจริยธรรม 2. มีความกระตือรือล้น และความรับผิดชอบ 3. ผู้นำไม่จำเป็นต้องมาจากการแต่งตั้งเสมอไป อาจจะมาจากการรับเลือก หรือการยอมรับจากชุมชน หรือกลุ่มคน อันเกิดจากความศรัทธา หรือนิยมชมชอบ 4. การเลียนแบบสิ่งที่ดีๆจากผู้นำ หรือบุคคลต่างๆที่มีบุคลิกที่ดีนำมาประกอบเป็นตัวเอง 5. การจะเป็นผู้นำที่ดีได้ ก็ต้องมีบางครั้งต้องเป็นผู้ตามที่ยอมรับความคิด ความอ่านที่ดีจากผู้ที่อยู่รอบด้าน สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของยุคสมัย 6. มีการเรียนรู้ และใฝ่หาความรู้ทั้งทางด้านการอ่าน การเขียน และการรับฟังเพื่อความกว้างไกลรู้ทันเหตุการณ์ และหรือมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับทั้งภายในและภายนอกองค์กร 7. มีการทำงาน และประสานงานร่วมกัน ไม่มีขอบข่ายหรือขีดเส้นตามความคิดและการกระทำของผู้อื่น คือการทำงานร่วมกันเป็นทีม อย่าทำตัวเองโดดเด่นแต่ผู้เดียว 8. กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจได้เมื่อเห็นว่าถูกต้องและเหมาะสม ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นคนที่อ่อนน้อม ถ่อมตน ตามกาละเทศะอันสมควร 9. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความยุติธรรม สามารถรวบรวมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในกลุ่มนั้นได้ 10. ต้องให้เกียรติแก่กันและกัน ทั้งผู้ที่ร่วมงาน และผู้ที่เราต้องเกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก สุดท้ายคิดว่าจากข้อต่างๆที่ได้เขียนมา สามารถนำไปประกอบการทำงานของเรา ซึ่งวันหนึ่งในอนาคตเราได้รับเลือกเป็นผู้นำ หรือปัจจุบันที่เรามีภาวะเป็นผู้นำอยู่แล้วก็น่าจะนำสภาวะผู้นำที่เรายังไม่มีในตัวเรา นำไปประกอบการปฏิบัติงานของเรา ก็จะทำให้เรามีความสมบูรณ์ในการเป็นผู้นำให้ดีขึ้น ขอขอบพระคุณ ไพเราะวลี ไชยประสิทธิ์
นางสาว สมร ดีสมเลิศ

ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้มาบรรยายเรื่อง LEADERSHIP & CHIEF EXECUTIVE OFFIER  ที่  STAMFORD INTERNATIONAL UNIVERSITY หัวหิน, MINI MBA  , ในวันเสาร์ที่ 6 ม.ค. 2550 ดิฉันได้รับความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากมายในด้านภาวะผู้นำและการบริหารงานซึ่งดิฉันจะนำความรู้มาพัฒนากิจการงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงพัฒนาบุคลากร กระตุ้นให้ทุกคน มีส่วนร่วมและทุ่มเทให้องค์กร  สร้างบรรยากาศ  ให้ทุกคนพอใจในการอยู่ร่วมกัน สร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กร เพิ่มทุนทางปัญญา กระตุ้นให้กคนมี IDEAS ใหม่ๆ และนำ IDEAS ไปใช้ ในการพัฒนาตนเอง และประเทศชาติต่อไป และสิ่งสำคัญ คือ การเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม  ส่วนการบ้านที่ ศ.ดร. จีระ ถามว่า ก่อนได้เรียนเรื่องภาวะผู้นำ (LEADERSHIP) 7 ชม. ท่านมีความเข้าใจเรื่องภาวะผู้นำอย่างไรบ้าง และเมื่อเรียนจบแล้ว ได้รับความรู้อะไรบ้าง สำหรับคำถามนี้ดิฉันยอมรับว่า โดยการที่ดิฉันเป็นเจ้าของกิจการ ก่อนศึกษาเรื่อง ภาวะผู้นำ ดิฉันก็เพียงเข้าใจว่า ผู้นำคือผู้บริหาร กิจการให้ประสบความสำเร็จ และมีอำนาจในการตัดสินใจ และมีเงินเดือนจ่ายพนักงาน มีลูกค้ามากๆ แต่ หลังจากการเรียนกับ ศ.ดร.จีระ แล้ว ดิฉันมีความเข้าใจมากขึ้นว่า LEADERSHIP คือ การที่ผู้นำสามารถส้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กิจการโดยกระตุ้น ให้ทุกคนมีส่วนพร้อม และทุ่มเทให้แก่องค์กร ผู้นำจะให้ความสำคุญกับ ทรัพยากรมนุษย์ , สร้างความไว้ใจ TRUST , มองไกล ระยะยาว , เน้นนวัตกรรม นอกจากนี้ผู้นำที่ดี ควรมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ , มีทัศนคติเชิงบวก , มีความสามารถเชิงบริหาร เด็ดเดี่ยว รวดเร็ว คิดนอกกรอบ มีกลยุทธ์ , มีการทำงานเป็นทีม , มีอิทธิพลในทางดีต่อผู้อื่น ต้องไม่เก่งคนเดียว คนอื่นต้องเก่งด้วย และขอกราบขอบพระคุณท่าน อาจารย์ จีระ ที่ช่วยจุดประกาย และพลัง และให้ความรู้ เพื่อ ให้ดิฉันเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของประเทศ และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส้างประเทศไทยให้เข้มแข็งมากขึ้นคะ

ปราโมทย์ เพชรศาสตร์ (ปีเตอร์)

          ปราโมทย์ เพชรศาสตร์  (mini  MBA  รุ่น 1)

ก่อนเรียนเรื่องผู้นำ  ผู้นำไม่มีทฤษฎีที่ตายตัว , ผู้นำมีหลายด้านอยู่ที่เหตุปัจจัย , สิ่งแวดล้อม , เวลา และอีกหลาย ๆ ด้าน , ผู้นำในอดีต , ผู้นำในปัจจุบัน , และผู้นำในอนาคต  ย่อมเปลี่ยนไปตามกาลเวลา  อย่างไรก็ตาม ผู้นำต้องครบเครื่อง และมีคุณธรรม         หลังเรียนเรื่องผู้นำ และการนำไปใช้  ผู้นำคือผู้ที่จะต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งให้ทันตรงกับเวลา โดยเหมาะสมด้วย          การที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ต้องฝึกทุกวัน

 

พ.อ.กิตติศักดิ์ ดวงกลาง

ผู้นำ  ตามแนวความคิดของท่านก่อนเรียนเป็นอย่างไร

1.1 สะสมประสบการณ์

ความรู้, ความสามารถ, ความประพฤติ

วิธีคิด

คุณธรรมจริยธรรม

การบริหารจัดการ

การปกครองบังคับบัญชา

1.2 มองการณ์ไกล

คิดแบบยุทธศาสตร์

มีวิสัยทัศน์

มีมุมมองกว้าง

1.3 เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มาสู่องค์กรให้บรรลุเป้าหมาย ,วิสัยทัศน์ที่องค์กรวางไว้ และเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

 

2. ผู้นำ หลังจากได้เรียนไปแล้วเป็นอย่างไร

2.1 มีคุณลักษณะแต่ละบุคคล และคุณสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกันไป เช่น

มีคุณธรรม, จริยธรรม

มีอิทธิพลในทางที่ดีต่อคนอื่น

เป็นผู้นำทางความคิดที่ดี นำเอาความคิดไปใช้ให้คนอื่นคล้อยตามได้

มีความคิดสร้างสรรค์,คิดนอกกรอบบ้าง

อ่อนตัว

อดทน,มุ่งมั่นสูง

มีบุคลิกที่ดี

สะสมประสบการณ์ ,มองการณ์ไกล

ลดทิฐิ

มีความสามารภด้านการบริหารที่ดี

2.2 ทักษะภาวะผู้นำเช่น

มีการสื่อสารระหว่างบุคคลและองค์กร

เป็นครูได้

เจราจาต่อรอง

ตัดสินใจ

สร้างทีม

กระจายอำนาจ

เป็นผู้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์กร

2.4 กระบวนการภาวะผู้นำ

เข้าใจภารกิจ/ พันธกิจ

กำหนดวิสัยทัศน์ ,เป้าหมาย ,ตัวชี้วัด ,กลยุทธ

จัดทำแผน ,นำแผนไปปฏิบัติ , ติดตามและปรับปรุงกระบวนการ

2.5 มีความไว้ใจ , ทำงานเป็นทีม และร่วมมือกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด

 

พรรณทิภา เครือสุวรรณ

          ก่อนได้ฟังเรื่องภาวะผู้นำในชั้นเรียน มีความเข้าใจเรื่องผู้นำอย่างไรบ้าง  ตามความเข้าใจอย่างง่าย ๆ

     ผู้นำคือผู้ที่เป็น เจ้าของกิจการ หรือหัวหน้าแผนก ในกิจการทั่วไป หรือบริษัท , หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ที่เป็นคนนำพาให้ กิจการหรือหน่วยงานของเขาเหล่านั้น ดำเนินการไปได้ตามระบบ และบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร 

          หลังจากแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และได้เรียนเกี่ยวกับเรื่องภาวะการเป็นผู้นำแล้ว มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นอย่างไรบ้าง

          ภาวะผู้นำสามารถสร้างได้โดยการฝึกฝน เรียนรู้  การสั่งสมประสบการณ์ บุคคลสามารถพัฒนาบุคลิกภาพ ความคิดและทัศนคติของตนเองให้มีภาวะความเป็นผู้นำได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม ประเพณี สภาพสังคม สิ่งแวดล้อม ของบุคคลนั้นๆ  ว่าต้องการผู้นำเช่นไร

          ผู้นำในแต่ละสังคม แต่ละช่วงเวลา ก็มีความแตกต่างกัน ไม่มีข้อกำหนดตายตัว อย่างไรก็ดีผู้นำที่ดี หรือผู้นำที่จะสามารถนำองค์กรให้ดำรงอยู่ได้อย่างดีนั้น ต้องมีองค์ประกอบภายในของบุคคลที่จำเป็นในปัจจุบัน ตามความคิดของข้าพเจ้าแล้ว โดยหลักจะต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม  เป็นผู้มีความรู้หลากหลาย มีประสบการณ์ในด้านที่ต้องรับผิดชอบ รับฟังความคิดรอบด้าน รวมถึงมีทีมงานที่มุ่งมั่นและใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ มีวิสัยทัศน์ในการมองและตัดสินปัญหาได้อย่างรวดเร็วและชาญฉลาด และที่สำคัญต้องเป็นบุคคลที่สังคมยอมรับ

นางศุภภรณ์ อุณหสุทธิยานนท์
ก่อนเรียนเรื่องภาวะผู้นำ            ผู้นำ คือ เจ้าของกิจการที่มีลูกน้อง ซึ่งเราต้องสร้างพระเดช พระคุณ ทำให้ลูกน้องรัก เชื่อฟัง ทำงานให้เราอย่างเต็มความสามารถ และอยากที่จะทำงานให้เราตลอดไปหลังจากเรียนเรื่องภาวะผู้นำผู้นำ มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ผู้นำ ผู้ตาม สถานการณ์ผู้นำ เป็นบุคคลที่ทำให้ผู้อื่นคล้อยตามได้ เหมาะสม ถูกต้องกับกาลเวลาและเหตุการณ์นั้น เป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมาย แต่งตั้ง มีอำนาจ สามารถใช้สิ่งที่มีดังกล่าวกระตุ้น โน้มน้าว จูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามทิศทางที่ปรารถนาได้                ผู้นำที่ดีต้องเรียนรู้ตลอดเวลา มีปัญญา ความกล้าหาญ มีวิสัยทัศน์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีพลัง มีไฟในการทำงาน ยอมรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก( ผู้ตาม ) มีการสร้างพันธมิตร มีความคิดใหม่ๆ กล้าที่จะคิดนอกกรอบ รู้ทันโลก ที่สำคัญต้องโปร่งใส มีคุณธรรม ศีลธรรมและจริยธรรมควบคู่ด้วย ต้องเห็นประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ของตนเอง เราควรปลูกจิตสำนึกและปลูกฝังความคิด ความเป็นผู้นำให้แก่เด็ก  ปลูกฝังตั้งแต่สถาบันครอบครัว ทางที่ดีควรสอดแทรกวิชาภาวะผู้นำเข้าในหลักสูตรการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ ฝึกฝน สะสมประสบการณ์ มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น เป็นผู้นำที่ดีในองค์กร สังคม และประเทศชาติต่อไปในอนาคต
ก่อนเรียน  ดิฉันมีความเข้าใจกับคำว่า ภาวะผู้นำ จากความรู้สึกภายในและสังเกตจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง  ว่า ผู้นำจะมี 2 ลักษณะ คือ ผู้นำตามหน้าที่หรือตำแหน่ง    และผู้นำตามธรรมชาติ   ที่น่าสนใจคือผู้นำทางธรรมชาติต่างหากที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จได้  แต่ก็ไม่เข้าใจและไม่รู้ว่าอะไรที่จะทำให้เกิดภาวะผู้นำได้หลังจากได้รับฟังการบรรยาย จากศ.ดร.จิระ  หงศ์ลดารมภ์  เมื่อวันเสาร์ที่ 6 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยแสตมป์ฟอร์ด  หัวหิน  ด้วยบรรยายภายในห้องเรียนที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้มาก คือ การจัดโต๊ะเป็นกลุ่ม แทนการนั่งแบบเด็กนักเรียน(ตามการออกแบบของท่านศ.ดร.จิระ)  และสัมผัสแรกที่เห็นท่านศ.ดร.จิระ  ก็รู้ได้ว่า ท่านเป็นผู้ที่มีพลัง  เป็นคลังขององค์ความรู้  ที่ดูอบอุ่น  มีเสน่ห์  เท่ห์  มีลีลาและวาจาที่น่าฟัง  และอื่นๆอีกมากมายยากจะบรรยายได้หมด ตลอด 7 ชั่วโมงในห้องเรียน  ดิฉันได้ซึมซับ  ความรู้เรื่อง Leadership & Chief Executive Officer  ว่า ผู้นำ คือการนำคน(มนุษย์)นะ  ที่ต้องทำให้ผู้ตามดีขึ้น  ผู้นำไม่เก่งคนเดียว  ต้องสร้างความศรัทธา  หาช่องทางเดินที่สอดคล้องกับวัสัยทัศน์   รู้จักกระจายอำนาจผู้นำต้องแก้ปัญหายากๆ  มองอนาคตไกลๆ  ทำนายการเปลี่ยนแปลง  คิดไร้กรอบ(มากกว่านอกกรอบ)  คอยกระตุ้นส่งเสริมสนับสนุนให้คนอื่นทำ  แก้ปัญหาความขัดแย้งแบบ win-win   ชอบแสวงหาโอกาสใหม่ๆ  ตัดสินใจเด็ดขาดด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย   และที่สำคัญต้องมีจริยธรรมกล่าวโดยสรุป  ผู้นำต้องมีทั้ง คุณลักษณะเฉพาะตัว  มีทักษะ และกระบวนการทำงานของผู้นำ นำความเปลี่ยนแปลง-สร้างทีมทำงานสู่เป้าหมาย  คือความสำเร็จขององค์กรท้ายสุดนี้  ขอกราบขอบพระคุณท่านศ.ดร.จิระ  ที่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง  และปรัชญาการบริหารงานของพระองค์ท่าน (วิธีคิด4แนว,6หลักการทำงานและความหมายรู้-รัก-สามัคคี)ให้ลูกศิษย์ได้น้อมรับมาเป็นแนวทางการทำงานของพวกเราทั้งในชีวิตประจำวันและในหน้าที่การงานคนต้องพัฒนาทั้งชีวิต  ขอขอบคุณกองพลัง-คลังความรู้ ศ.ดร.จิระ  หงศ์ลดารมภ์ 
เรียน คุณยม  ดิฉันเป็นนศ.Mini MBA ที่แสตมป์ฟอร์ด หัวหิน ต้อวส่งการบ้าน ศ.ดร.จิระ พยายามส่งด้วย แต่ไม่แน่ใจว่าสำเร็จหรือไม่ เช็คแล้วไม่มีในบล๊อค จึงแนบไฟล์มาให้คุณยมช่วยค่ะ ขอบคุณล่วงหน้า .. นภาพร ****************** สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ คุณนภาพร และท่านผู้อ่านทุกท่าน  คุณนภาพร ขอให้ผมช่วยดำเนินการให้ ตามข้อความข้างต้น ผมได้ดำเนินการให้แล้ว  ข้อความข้างล่างนี้ เป็นข้อความของคุณนภาพร ต้องการ post ให้ ศ.ดร.จีระ ครับ สวัสดี ยม *************************************** 

ก่อนเรียน  ดิฉันมีความเข้าใจกับคำว่า ภาวะผู้นำ จากความรู้สึกภายในและสังเกตจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง  ว่า ผู้นำจะมี 2 ลักษณะ คือ ผู้นำตามหน้าที่หรือตำแหน่ง    และผู้นำตามธรรมชาติ   ที่น่าสนใจคือผู้นำทางธรรมชาติต่างหากที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จได้  แต่ก็ไม่เข้าใจและไม่รู้ว่าอะไรที่จะทำให้เกิดภาวะผู้นำได้

 หลังจากได้รับฟังการบรรยาย จากศ.ดร.จิระ  หงศ์ลดารมภ์  เมื่อวันเสาร์ที่ 6 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยแสตมป์ฟอร์ด  หัวหิน  ด้วยบรรยายภายในห้องเรียนที่สร้างให้เกิดการเรียนรู้มาก คือ การจัดโต๊ะเป็นกลุ่ม แทนการนั่งแบบเด็กนักเรียน(ตามการออกแบบของท่านศ.ดร.จิระ)  และสัมผัสแรกที่เห็นท่านศ.ดร.จิระ  ก็รู้ได้ว่า ท่านเป็นผู้ที่มีพลัง  เป็นคลังขององค์ความรู้  ที่ดูอบอุ่น  มีเสน่ห์  เท่ห์  มีลีลาและวาจาที่น่าฟัง  และอื่นๆอีกมากมายยากจะบรรยายได้หมด 

ตลอด 7 ชั่วโมงในห้องเรียน  ดิฉันได้ซึมซับ  ความรู้เรื่อง Leadership & Chief Executive Officer  ว่า ผู้นำ คือการนำคน(มนุษย์)นะ  ที่ต้องทำให้ผู้ตามดีขึ้น  ผู้นำไม่เก่งคนเดียว  ต้องสร้างความศรัทธา  หาช่องทางเดินที่สอดคล้องกับวัสัยทัศน์   รู้จักกระจายอำนาจ

 

ผู้นำต้องแก้ปัญหายากๆ  มองอนาคตไกลๆ  ทำนายการเปลี่ยนแปลง  คิดไร้กรอบ(มากกว่านอกกรอบ)  คอยกระตุ้นส่งเสริมสนับสนุนให้คนอื่นทำ  แก้ปัญหาความขัดแย้งแบบ win-win   ชอบแสวงหาโอกาสใหม่ๆ  ตัดสินใจเด็ดขาดด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย   และที่สำคัญต้องมีจริยธรรม

 กล่าวโดยสรุป  ผู้นำต้องมีทั้ง คุณลักษณะเฉพาะตัว  มีทักษะ และกระบวนการทำงานของผู้นำ นำความเปลี่ยนแปลง-สร้างทีมทำงานสู่เป้าหมาย  คือความสำเร็จขององค์กร

ท้ายสุดนี้  ขอกราบขอบพระคุณท่านศ.ดร.จิระ  ที่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง  และปรัชญาการบริหารงานของพระองค์ท่าน (วิธีคิด4แนว,6หลักการทำงานและความหมายรู้-รัก-สามัคคี)ให้ลูกศิษย์ได้น้อมรับมาเป็นแนวทางการทำงานของพวกเราทั้งในชีวิตประจำวันและในหน้าที่การงาน

 คนต้องพัฒนาทั้งชีวิต  ขอขอบคุณกองพลัง-คลังความรู้ ศ.ดร.จิระ  หงศ์ลดารมภ์ 

ก่อนเรียน  ในเรื่องของภาวะผู้นำ พอจะทราบบ้าง ด้วยการศึกษาด้วยตนเองและจากการประชุมสัมนา ตลอดจนศึกษาจากตำราต่างๆ

หลังเรียน ได้รับความรู้มากขึ้น ทั้งทฤษฎีและหลักการต่างๆ เช่น ทฤษฎี 8Ks และ 4 Es รวมทั้งหลักการต่างๆเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ โดยสรุป ภาวะผู้นำ ต้องมีศิลปะการทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กรโดยอาศัยผู้อื่น

        ดังนั้นผู้นำต้อง - จัดการเกี่ยวกับคน

                                 - จัดการเกี่ยวกับตน

                                 - จัดการเกี่ยวกับงาน

                                 - จัดการเกี่ยวกับองค์กร

                                 - จัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

 

 

ชูกิตต์ อุณหสุทธิยานนท์
        ก่อนเรียนเรื่องภาวะผู้นำ มีความเข้าใจอยู่บ้างว่าผู้นำมีหลายแบบขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือเหตุการณ์นั้นๆ และผู้ตามว่าต้องการผู้นำแบบใดบางคนได้เป็นผู้นำเพราะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำโดยตำแหน่งหรือตามกฎหมาย แต่บางคนก็ได้เป็นผู้นำเพราะคุณความดีและความสามารถที่ผู้อื่นยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ   ผู้นำประเภทหลังจะมีความยั่งยืนและได้รับความศรัทธาและไว้วางใจจากผู้ตามมากกว่า       หลังจากที่ได้เรียนเรื่องภาวะผู้นำกับท่านอาจารย์ ดร.จีระ แล้วก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากว่า ผู้นำที่ดี นั้นต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ อีก เช่น       1.ผู้นำควรมีจิตวิทยาสูง เพื่อให้สามารถโน้มน้าวจูงใจและเป็นกำลังใจให้ผู้ตามปฏิบัติภารกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความเต็มใจ มีความเข้าใจและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น       2.ผู้นำควรมีความรู้และใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา ต้องทำตนให้ทันโลก ทันเหตุการณ์ และก้าวทันเทคโนโลยี อยู่เสมอ      3.ผู้นำควรปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้ผู้ตามรู้สึกศรัทธาและปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ      4.ผู้นำควรมีบุคลิกภาพ สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี มีจิตใจที่มั่นคงและอดทนสูง      5.ผู้นำควรมีวิสัยทัศน์ มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ประมวลสถานการณ์ และคาดการณ์ล่วงหน้าได้      6.ผู้นำต้องไม่เก่งคนเดียว การทำให้ผู้ตามเก่งคือความเก่งของผู้นำ      7.ผู้นำควรมองภาพกว้างได้ มองการณ์ไกลเป็น มองเห็นในแง่มุมที่ผู้อื่นอาจจะมองไม่เห็น        ในอดีตที่ผ่านมาผู้ชายมักได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำมากกว่าผู้หญิงแต่ดิฉันมีความเห็นว่าปัจจุบันเมื่อแลกกำลังเปลี่ยนไป  ผู้หญิงได้รับโอกาสและได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ ความสามารถมากขึ้น แม้แต่หญิงไทยก็ไม่ต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนเหมือนแต่ก่อน ผู้หญิงจึงมีโอกาสและมีความสามารถที่จะก้าวสู่การเป็นผู้นำได้มากขึ้นและเปิดเผยขึ้น ผู้หญิงจึงควรนำคุณสมบัติที่ดีที่มีอยู่เช่น ความอดทน ความละเอียดอ่อน ความประนีประนอม ความนุ่มนวลอ่อนหวานภายนอกแต่แฝงความเข้มแข็งไว้ภายในบวกกับความสามารถด้านต่างๆ ที่มีมาเป็นพลังเพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำ และใช้โอกาสแห่งความเป็นแม่ ดูแล ปลูกฝัง ความคิด ทัศนคติต่างๆ ถ่ายทอดสู่บุตรหลานตั้งแต่ยังเยาว์วัย เพื่อสร้างเยาวชนทั้งชายและหญิงให้ได้เป็นผู้นำที่ดีต่อไปในอนาคต
ชูกิตต์ อุณสุทธิยานนท์
        ก่อนเรียนเรื่องภาวะผู้นำ มีความเข้าใจอยู่บ้างว่าผู้นำมีหลายแบบขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือเหตุการณ์นั้นๆ และผู้ตามว่าต้องการผู้นำแบบใดบางคนได้เป็นผู้นำเพราะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำโดยตำแหน่งหรือตามกฎหมาย แต่บางคนก็ได้เป็นผู้นำเพราะคุณความดีและความสามารถที่ผู้อื่นยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ   ผู้นำประเภทหลังจะมีความยั่งยืนและได้รับความศรัทธาและไว้วางใจจากผู้ตามมากกว่า       หลังจากที่ได้เรียนเรื่องภาวะผู้นำกับท่านอาจารย์ ดร.จีระ แล้วก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากว่า ผู้นำที่ดี นั้นต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ อีก เช่น       1.ผู้นำควรมีจิตวิทยาสูง เพื่อให้สามารถโน้มน้าวจูงใจและเป็นกำลังใจให้ผู้ตามปฏิบัติภารกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความเต็มใจ มีความเข้าใจและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น       2.ผู้นำควรมีความรู้และใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา ต้องทำตนให้ทันโลก ทันเหตุการณ์ และก้าวทันเทคโนโลยี อยู่เสมอ      3.ผู้นำควรปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้ผู้ตามรู้สึกศรัทธาและปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ      4.ผู้นำควรมีบุคลิกภาพ สุขภาพกาย สุขภาพจิตดี มีจิตใจที่มั่นคงและอดทนสูง      5.ผู้นำควรมีวิสัยทัศน์ มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ประมวลสถานการณ์ และคาดการณ์ล่วงหน้าได้      6.ผู้นำต้องไม่เก่งคนเดียว การทำให้ผู้ตามเก่งคือความเก่งของผู้นำ      7.ผู้นำควรมองภาพกว้างได้ มองการณ์ไกลเป็น มองเห็นในแง่มุมที่ผู้อื่นอาจจะมองไม่เห็น        ในอดีตที่ผ่านมาผู้ชายมักได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำมากกว่าผู้หญิงแต่ดิฉันมีความเห็นว่าปัจจุบันเมื่อแลกกำลังเปลี่ยนไป  ผู้หญิงได้รับโอกาสและได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ ความสามารถมากขึ้น แม้แต่หญิงไทยก็ไม่ต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนเหมือนแต่ก่อน ผู้หญิงจึงมีโอกาสและมีความสามารถที่จะก้าวสู่การเป็นผู้นำได้มากขึ้นและเปิดเผยขึ้น ผู้หญิงจึงควรนำคุณสมบัติที่ดีที่มีอยู่เช่น ความอดทน ความละเอียดอ่อน ความประนีประนอม ความนุ่มนวลอ่อนหวานภายนอกแต่แฝงความเข้มแข็งไว้ภายในบวกกับความสามารถด้านต่างๆ ที่มีมาเป็นพลังเพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำ และใช้โอกาสแห่งความเป็นแม่ ดูแล ปลูกฝัง ความคิด ทัศนคติต่างๆ ถ่ายทอดสู่บุตรหลานตั้งแต่ยังเยาว์วัย เพื่อสร้างเยาวชนทั้งชายและหญิงให้ได้เป็นผู้นำที่ดีต่อไปในอนาคต

คุณยมคะ.

   กิตต์พยายามส่งการบ้านแล้ว แต่ไม่สามารถจะจัดให้เป็นข้อ ๆได้ เช่น

    1.

     2

      3.

    ขอความกรุณาคุณยมช่วยดูให้ด้วยนะคะ. ขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

"ผู้นำ" ในฝันของสังคมไทย
"ผู้นำ" ในฝันของสังคมไทยโดย กาลัญ วรพิทยุต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มติชนรายวัน วันที่ 03 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 10099เป็นที่ยอมรับกันมาเป็นเวลานานว่า ประเทศไทยกับ "วิกฤตผู้นำ" เป็นของคู่กันเสมอ ถ้าจะถามถึงเหตุผลคงต้องย้อนกลับไป ตั้งแต่เรายังเป็นเด็ก เพราะระบบการศึกษาที่ผ่านมาไม่เคยปลูกฝังค่านิยมความเป็นผู้นำ "ที่ดี" ไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนในทุกระดับชั้น นอกจากใส่ไว้ในกิจกรรมอย่าง "ลูกเสือสำรอง" เท่านั้นประเทศที่เจริญแล้วในแถบเอเชียต่างปลูกฝังทัศนคติและความเป็นผู้นำที่ดีให้กับเยาวชนของเขาตั้งแต่ยังเล็กๆในประเทศญี่ปุ่นหนังการ์ตูนแนวฮีโร่ทั้งหลาย ก็สะท้อนแนวคิดของความเป็นผู้นำที่ดี เป็นการสร้างการเรียนรู้ทางอ้อมให้กับเด็ก ให้รู้จักรับผิดชอบ การทำงานร่วมกันเป็นทีม การเสียสละ การให้อภัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างค่านิยมทาง "ด้านบวก" ให้เกิดขึ้นในสังคมภาพรวมของญี่ปุ่น เพราะเมื่อคนเหล่านั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ก็กลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพย้อนกลับมาที่บ้านเราคงจำกันได้ตอนเราเป็นเด็ก โดยธรรมชาติของคนไทยมักจะมีทัศนคติกับความเป็นผู้นำที่ผิด เช่น ความเอื้ออาทรกับพวกพ้อง เห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ส่วนรวม การปัดความรับผิดชอบสิ่งต่างๆ เหล่านี้ติดอยู่กับคนไทยมาเป็นเวลานานอยู่ในสายเลือด ที่มีผลกระทบมาถึงภาวะ "วิกฤตผู้นำ" ในปัจจุบันประเทศไทยผ่านการมีผู้นำมาแล้วหลายรูปแบบ หลายลักษณะ มีทั้งผู้นำแบบเผด็จการทางทหาร ผู้นำในลักษณะเจ้าสัว นักธุรกิจผู้ยิ่งใหญ่ ผู้นำที่มาจากชาวบ้าน แต่ถ้าพิจารณาจะพบว่าในจำนวนนี้มีผู้นำจำนวนน้อยมากที่สามารถเข้าถึง "จิตใจของประชาชน" ได้อย่างแท้จริงซึ่งผู้นำของประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมาสามารถแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ตามการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ผู้นำในอดีตมีความเป็นเผด็จการสูง(ระบบทหาร) สั่งอะไรต้องทำตาม การปกครองมีความชัดเจนในลักษณะของ "นายกับลูกน้อง" หลังจากนั้นได้มีการปรับตัว ผู้นำเริ่มเรียนรู้ศาสตร์ "ที่ทันสมัย" นำเข้ามาผสมผสานในการทำงาน แต่ยังคงปกครองด้วยความเด็ดขาดเหมือนเดิมผู้นำยุคกลางความเป็นเผด็จการลดลง เริ่มมีการผ่อนปรน และมีความสนิทสนมในลักษณะของการวิพากษ์วิจารณ์ได้บ้าง เริ่มนำเอารูปแบบการบริหารงานจากต่างประเทศมาใช้ การทำงานเริ่มทำเป็นทีมมากขึ้น แต่ผลสำเร็จและความล้มเหลวในการทำงาน ยังขึ้นอยู่กับคนเพียงคนเดียว ผู้นำยุคใหม่มีความรู้ และความเข้าใจเรื่องของการจัดการ(Management) และมีหลักจิตวิทยา(Psychology) รวมถึงศาสตร์ทางด้านอื่น ที่จะช่วยพัฒนาและต่อยอดในการเรียนรู้และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับตนเอง และพร้อมที่จะผลักดันให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ประสบความสำเร็จเช่นกันในลักษณะของการทำงานรับผิดชอบเป็นทีมจากการแบ่งลักษณะผู้นำในแต่ละยุคจะพบว่าสังคมไทยยังไม่มีผู้นำในลักษณะที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ในลักษณะของผู้นำ "ในฝัน" อย่างแท้จริง สังคมไทยผ่านผู้นำยุคเผด็จการผู้นำประชาชนจนมาถึงผู้นำยุคใหม่ ที่เริ่มต้นได้ดี แต่สุดท้ายก็ต้องผิดหวังกับ "ภาวะเสื่อม" อีกครั้งและคงจะเป็นเช่นนี้ต่อไปและถ้าถามว่าจริงๆ แล้ว ผู้นำที่แท้จริงควรจะมีคุณลักษณะใดเกณฑ์มาตรฐานที่ดีของผู้นำ "ในฝัน" นั้นก็ควรจะออกมาในลักษณะนี้1.แสดงความเป็นของแท้ (Authenticty)  ความเป็นของแท้จะถูกพิสูจน์ด้วยเงื่อนไขของเวลา คือ ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ต้องคงไว้ ซึ่งความเป็นของแท้ที่ดีอยู่นั่นเอง ที่สำคัญต้องไม่มีสิ่งใดมาโน้มน้าว หรือบั่นทอนลงได้2.การมีวิสัยทัศน์(Vision)  ผู้นำยุคใหม่ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นประเด็นในการพยายามสร้างภาพว่าตนเองมี "วิสัยทัศน์" มากกว่าคุณลักษณ์อื่นๆ เนื่องจากว่า "วิสัยทัศน์" นั้นจะสะท้อนความเป็นคนทันสมัย มีมุมมองที่กว้างไกล3.ต้องมีความกล้าตัดสินใจ (Decisveness)  เป็นสิ่งที่จำเป็นมากความเด็ดขาดเป็นสิ่งที่สังคมไทยต้องการ แต่การกล้าตัดสินใจที่ดี นั้นต้องขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่ส่วนตน4.แสดงความใส่ใจ (Focus)  คุณลักษณะข้อนี้เป็นการ "ซื้อใจ" ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างแท้จริง เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากและมักได้ผลเสมอทุกครั้ง สามารถเปลี่ยนความตึงเครียดให้ผ่อนคลายได้5.สร้างความรู้สึกประทับใจเป็นส่วนตัว (Personal touch)  ต้องมีพื้นฐานจากความจริงใจในการแสดงออก ต้องสม่ำเสมอสร้างความรู้สึกด้านบวก6.มีความสามารถในการสื่อสาร (Communication & people skills)  เป็นสิ่งที่ผู้นำในสังคมไทยทุกระดับยังขาดอยู่ เพราะการสื่อสารเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการเป็นผู้นำที่มีคุณภาพ สื่อสารอย่างไรให้เข้าถึง เข้าใจ และเกิดการยอมรับ7.การพัฒนาตนเองอยู่เสมอ (Everforward)  การยอมรับการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงและส่งเสริมศักยภาพของตนเองตลอดเวลา การเป็นผู้ฟังที่ดี การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมโดยรวมกล่าวโดยสรุป คุณลักษณะของผู้นำที่ดีที่ยกตัวอย่างมา จะพบว่าสังคมไทยยังขาดผู้นำที่มีลักษณะเหล่านี้อยู่ผู้นำบางคนมีลักษณะเกือบครบทุกประการ ผู้นำบางคนมีลักษณะของผู้นำที่ดีบางประการและที่เลวร้ายไปกว่านั้นผู้นำบางคนถึงขั้นไม่มีข้อใดเลย การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ด้วยการปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามให้กับเด็กรุ่นใหม่ที่กำลังจะเติบโตขึ้น ด้วยการมองการเสียสละ ประโยชน์ส่วนตนทุกด้าน เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหัวใจสำคัญ ก็จะทำให้สังคมไทยเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นเพราะมีผู้นำรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพเป็นผู้นำ "ในฝัน" อย่างแท้จริง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท