สะท้อนประเด็น "การถอดบทเรียนความสำเร็จ"


คำว่า “ความสำเร็จ” ของแต่ละคนนั้น อาจมีนิยามที่ไม่เหมือนกัน หลายท่านบอกว่าถ้าดำเนินการได้ตามเป้าหมายก็เรียกว่าสำเร็จ แต่ในเชิง KM แล้ว ผมมองว่าคำว่า “ความสำเร็จ” นั้นกว้างขวางกว่านั้นมาก

               เมื่อวันก่อนผมไปเป็นวิทยากร (สมทบ) ในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติ (Workshop) หลักสูตร “การถอดบทเรียนความสำเร็จซึ่งมีคุณนภินทร ศิริไทย (หญิง) ทำหน้าที่เป็นวิทยากรหลักตลอดทั้งสองวัน ในช่วงบ่ายวันที่สองเป็นช่วงที่เปิดให้พูดคุยกันแบบสบายๆ ใครสงสัยอะไรมีประเด็นอะไรก็พูดคุยกันได้ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

                จำได้ว่าวันนั้นผมเริ่มต้นการพูดคุยด้วยการบอกผู้เข้าร่วมว่า “หากเราต้องการพัฒนา เราจะต้องใจกว้าง (เปิดใจ) อย่าเอาความรู้เดิมมาปิดกั้นความรู้ใหม่ มิฉะนั้นเราก็จะไม่รู้อะไรใหม่ๆ” ตัวอย่างเช่น คำว่า “ความสำเร็จ” ของแต่ละคนนั้น อาจมีนิยามที่ไม่เหมือนกัน หลายท่านบอกว่าถ้าดำเนินการได้ตามเป้าหมายก็เรียกว่าสำเร็จ แต่ในเชิง KM แล้ว ผมมองว่าคำว่า “ความสำเร็จ” นั้นกว้างขวางกว่านั้นมาก หากเราสามารถก้าวข้ามปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ นานาได้ผมก็เรียกว่าสำเร็จ นอกจากนั้นการทำสิ่งต่างๆ ที่ผ่านมาแล้วทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดการพัฒนาผมก็เรียกว่าสำเร็จด้วยเช่นกัน สรุปสั้นๆ ว่าความสำเร็จตามนิยาม (ของผม) นั้น หมายถึง

  1. สำเร็จ เพราะ ดำเนินการได้ตามเป้าหมาย
  2. สำเร็จ เพราะ ก้าวข้ามปัญหา/อุปสรรคได้และ
  3. สำเร็จ เพราะ คนทำงานเกิดการพัฒนา

ผู้เข้าร่วมสัมมนาถามผมต่อไปว่า “ทำไมต้องถอดบทเรียน?” ผมตอบ (แบบไม่ตอบ) ว่า . . คำว่า “ถอดบทเรียน” กับคำว่า “การเรียนรู้” สำหรับผมแล้วมันไม่ได้แตกต่างอะไรเลย ชีวิตคือการเรียนรู้ คนเราเรียนรู้หรือถอดบทเรียนกันอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีการเรียนรู้ (ไม่ถอดบทเรียน) ชีวิตก็จะไม่ก้าวหน้า ชีวิตก็จะไม่มีการพัฒนา เราคงเคยได้ยินกันมาแล้วว่า “ผู้ที่เรียนรู้ผ่านบทเรียน (ที่ผ่านมา) ของตน ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ฉลาด แต่ผู้ที่ฉลาดยิ่งกว่าก็คือผู้ที่รู้จักเรียนรู้ผ่านบทเรียนของคนอื่นนั่นเอง” คำถามที่ว่า “ทำไมต้องถอดบทเรียน?” ผมเองอาจจะไม่ได้ตอบไปตรงๆ แต่ก็ได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นเรื่อง น้ำมันรั่วชายฝั่งจังหวัดระยอง น้ำท่วมเมื่อปี 2554 หรือการจัดการกับผู้ชุมนุมทุกครั้งที่ผ่านมา ผมอยากให้ทุกคนตอบคำถามนี้ด้วยตัวเองว่า “ทำไมต้องถอดบทเรียน?” การถอดบทเรียนจากสิ่งที่ผ่านมามีประโยชน์อย่างไร?

ผมได้อธิบายเสริมไปว่าความรู้ที่ได้จากการถอดบทเรียนนั้นเป็นไปได้ทั้งสองรูปแบบ คือออกมาเป็นประเด็นความรู้ที่ชัดเจน ที่เราเรียกกันว่า Explicit Knowledge หรืออาจจะออกมาเป็นเคสๆ (Case) ในลักษณะของเรื่องเล่าความสำเร็จ (Success Story) หรือ Lessons Learned ก็ได้ สรุปว่าสิ่งที่เป็นผลพวงของการถอดทบเรียนนั้นไม่มีรูปแบบตายตัว บางทีก็ได้องค์ความรู้ออกมาในลักษณะข้อสรุป Flowchart หลักปฏิบัติ (Procedure) แนวทาง (Guideline) หรืออะไรๆ ก็ตามแต่ หรือบางครั้งก็ได้องค์ความรู้ที่แฝงอยู่ในรูปของกรณีศึกษา (Case Study) ก็ได้ ต้องเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ที่จะนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 545546เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2013 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2013 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ท่านอาจารยห่าง G2K ไปนานเลยครับ

หน่วยงานราชการของไทยยังดำเนินการการจัดการความรู้กันอย่างแข็งขันไหมค่ะอาจารย์

กว้างจริงๆ ค่ะ หลายครั้งที่สับสนว่าจะเลือกใช้เครื่องมือตัวใดดี จึงจะเหมาะสม 

ใช้วิธีทดลองทำ ผิด ทำถูก และ ถาม ผู้รู้ไปเรื่อยๆ กว่าจะได้รูปแบบที่เหมาะสมก็ทำเอาเหนื่อยทีเดียว ค่ะ

กลับมาเรียนรู้ใหม่ค่ะ

ขอบพระคุณบทเรียนดีดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท