ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

การบริหารเวลา การตรงต่อเวลา


การบริหารเวลา การตรงต่อเวลา

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

                จากการสังเกตของกระผม คนไทยเราเป็นจำนวนมากมักมีปัญหาในเรื่องของการตรงต่อเวลา เมื่อถึงเวลานัดหมายมักไปสายหรือไปช้ากว่าเวลาที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นการอบรม การสัมมนา การนัดหมายเพื่อทำธุระส่วนตัว หรือ การเข้าชั้นเรียนของบรรดานิสิต นักศึกษา

                การฝึกให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีข้อดีหลายอย่าง เช่น จะทำให้เราได้ผลงานเป็นจำนวนมาก ฝึกตนเองให้เป็นคนมีวินัย ฝึกการฝืนใจตนเอง ฝึกการปฏิเสธใจของตนเอง เป็นต้น ตัวอย่าง ถ้าหากคุณเป็นนักเขียน คุณกำหนดเวลาตั้งแต่ 20:00-23:00 น. คุณจะเขียนหนังสือ แต่หากมีเพื่อนชวนไปดูภาพยนตร์หรือชวนไปเดินเที่ยว แล้วคุณไม่มีวินัยหรือไม่กล้าปฏิเสธ ก็จะทำให้เวลาเขียนหนังสือของคุณลดน้อยลงไป ผลงานหนังสือที่ต้องการก็จะไม่ได้ตามกำหนดที่ได้ตั้งไว้ แต่หากว่าเรามีการทำงานที่ตรงต่อเวลา ก็จะทำให้ร่างกาย จิตใจของเราเปลี่ยนสภาพ เตรียมพร้อม เตรียมพลังงานไว้สำหรับเวลานั้นๆ(กำหนดเวลาตั้งแต่ 20:00-23:00 น. เขียนหนังสือ)

                การตรงต่อเวลานี้ ยังรวมไปถึง การไม่ยอมส่งงานตามเวลาที่กำหนด ทำให้หลายคนติดนิสัยผัดวันประกันพรุ่ง ทำให้งานค้างเป็นจำนวนมาก ดังสุภาษิตว่า “ ดินพอกหางหมู ” บางคนงานค้างจนกระทั่ง “ ดินจะพอกตัวของหมูไปอีกต่างหาก” ฉะนั้น หากใครรู้ว่ามีนิสัยผัดวันประกันพรุ่งก็จงแก้ไขโดยเร็ว เพราะการผัดวันประกันพรุ่งจะทำให้งานง่ายเปลี่ยนเป็นงานยากและงานที่ยากอยู่แล้วเป็นงานที่ยิ่งยากขึ้นอีก

                ลักษณะการตรงต่อเวลา จึงเป็นนิสัยของคนทำงานเก่ง

                พลตรีหลวงวิจิตรวาทการเป็นตัวอย่างเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ท่านเป็นคนที่มีลักษณะตรงต่อเวลา ด้วยความเพียรทำให้ท่านมีผลงานการเขียนมากถึง 200 กว่าเรื่อง

                โทมัส อัลวา เอดิสัน ด้วยความเพียรและทำงานตรงต่อเวลาที่ตนเองได้กำหนด ทำให้เขามีสิ่งประดิษฐ์มากกว่า 1,000 ชิ้นซึ่งเขาได้นำไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์

                ตรงกันข้าม คนที่ไม่ตรงต่อเวลา มักจะเป็นคนที่ขี้เกียจ คนที่ไม่มีระเบียบวินัย เป็นคนที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ เช่นการผิดนัดเป็นประจำ(ข้อแนะนำควรไปก่อนเวลานัดสักประมาณ 10 นาที)หรือไม่ยอมส่งงานตามกำหนดเวลาหรือไม่ยอมให้บริการตามเวลาที่กำหนดไว้(ตัวอย่าง สายการบินใด ไม่ตรงต่อเวลา ความน่าเชื่อถือก็จะลดลง) เป็นคนหลีกเลี่ยงงาน ฉะนั้น หากท่านต้องการความสำเร็จ ท่านควรฝึกการวางแผนการใช้เวลา ไม่จะเป็นเวลากิน เวลานอน เวลาทำงานต่างๆ ให้ติดตัวของท่าน อีกทั้งควรหาเครื่องมือช่วย เช่น มีนาฬิกาตั้งเวลาหรือนาฬิกาคอยเตือน , มีหนังสือวางแผนงาน , มีการทบทวน ตรวจสอบการใช้เวลาก่อนเข้านอน เป็นต้น

                  

               

 

                

หมายเลขบันทึก: 545369เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2013 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2013 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท