ดำนาวันแม่..เก็บเกี่ยววันพ่อ


แม้จะคิดว่า..จะไม่ท้อต่อปัญหา..แต่ก็อยากจะก้าวผ่านอุปสรรคทั้งปวงไปให้ได้

ได้ยินครั้งแรก เมื่อปีที่แล้ว เป็นคำพูดของครูนิรุต ครูเกษตรของโรงเรียน ตอนหลังก็มักจะได้ยินคำนี้บ่อยขึ้น ทางสื่อมวลชน ถามครูนิรุตว่าทำไมต้องทำอย่างนั้น ครูบอกว่า เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม ทั้งน้ำฝน สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งก็เหมาะสมกับปฏิทินกิจกรรมของโรงเรียนด้วย


ปีที่แล้วดำนาเร็วไปหน่อย จะเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ทำให้เพลี้ยลงหรือไม่ ครูบอกว่า ก็เกี่ยวกัน เพราะเราทำไม่พร้อมชาวบ้าน  และระบบน้ำก็มีส่วน ที่สำคัญ เราขาดประสบการณ์ ในการเรียนรู้ภูมิคุ้มกัน ที่ดี ในเมื่อชาวบ้านในชุมชน เขาใช้สารเคมี ถ้าเราไม่ใช่้ เราจะต้องป้องกันให้ดียิ่งขึ้น


ครูเตรียมการตามที่ครูพูดอย่างไร กับคำว่า "ระบบน้ำ" ถ้าฝนไม่ตก หรือ ตกน้อยเกินไปจะทำอย่างไร ผมจึงเฝ้าสังเกตการทำงานของครู พบว่า ครูเตรียมเดินท่อส่งน้ำไว้เป็นอย่างดี พร้อมวิดน้ำเข้านาทันที เมื่อน้ำแห้ง  วันก่อนก็เห็นมีการไถนา ครูบอกว่า ครั้งแรกเรียกว่า ไถดะ ผมก็ลืมทุกที เห็นรถไถมาโรงเรียนแล้วครั้งหนึ่ง ก็คิดว่า ควายเหล็ก ไถครั้งเดียวก็คงเอาอยู่ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่


วันนี้ รถไถ วิ่งลงไปในนาอีก ๑ ชั่วโมง ครูบอกว่าวันนี้จะ ไถแปร ครั้งสุดท้าย ผมเฝ้าดูรถไถย่ำดินในนาจนเละไปหมด เป็นดินเลน ที่ไม่จับตัวเป็นก้อน ครูปล่อยน้ำเข้านาไม่มากนัก พอให้พื้นผิวดินเลนได้ระดับพอดี ผมอยากให้ใส่น้ำลงไปอีก ครูบอกว่าถ้าน้ำมาก กว่านี้ การดำนาแบบโยนกล้า ต้นกล้าที่โยนไปจะลอยไปกับน้ำหมด


ปีนี้ เพิ่มพื้นที่ทำนามากขึ้นอีกหน่อย  จากสี่เหลี่ยมจตุรัส เป็นผืนนา รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดูสวยดี และมีคันนาพร้อมให้นักเรียนและผู้ปกครอง(แม่) ยืนโยนกล้า อย่างสบาย


การทำนา ที่ช้าไปเดือนเศษ ทำให้มีเวลาเตรียมตัว เตรียมต้นกล้าพันธุ์ข้าวขาวมะลิ ไม่ต้องรีบร้อน นี่เองที่เรียกว่า ทำนาวันแม่ ใครนะช่างคิด เพราะสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ที่วันแม่จะมีแม่มาโรงเรียนมากเป็นพิเศษ และแม่กับลูก จะจับมือ พร้อมทำนาไปด้วยกัน แค่คิดก็ได้ใจแล้ว


ผมคิดว่า..การวางแผนทำนาปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว จากการที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ เตรียมแก้ปัญหาไว้บ้างแล้ว ก็พอจะหวังผลได้บ้าง กับการ "เก็บเกี่ยววันพ่อ"


แม้จะคิดว่า..จะไม่ท้อต่อปัญหา..แต่ก็อยากจะก้าวผ่านอุปสรรคทั้งปวงไปให้ได้

 


          

                         

 

                                   

 

                     

                             

                                

                                         

 

             

 

                               

หมายเลขบันทึก: 545024เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2013 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2013 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การทำนาไม่ยากอย่างที่คิดกันหรอกค่ะ

อยากเห็นทุกโรงเรียนเป็นห่วง " ทักษะชีวิต"  มากกว่า ห่วงใยจะเป็นจะตายกับ " ผล

สัมฤทธิ์ของ o-net  ที่ไม่ได้ช่วยให้เด็กเอาตัวรอดได้เลย...ขอบคุณท่านผอ.คนเก่ง ที่

สอนทักษะชีวิตให้กับเด็ก ๆ นะจ๊ะ   พาอาจารย์บุญเสริม   แก้วพรหม มาทักทายท่าน ผอ.

คนเก่ง ด้วยจ้ะ

 

 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท