คือแรงบันดาลใจให้เรียนรู้


อ่านข้อคอมเม้นท์ของท่าน SR.. ในอนุทิน มะเขือพวง ใจความว่า" Three cheers for (wild) pea eggplants! I like them but mind you they are definitely "acquired taste" ;-) 

ฉันจึงฉุกคิดและ เมื่อศึกษาเพิ่มเติมกลับพบว่าได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับมะเขือพวงไว้แล้วและเป็นสิ่งที่ดี ทีฉํนควรจดจำนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และครอบครัว เพื่อนๆที่รักของฉัน เพราะวิกิพีเดีย สารานุกรมออนไลน์ ได้กล่างถึงสารสำคัญๆที่พบในมะเขือพวงดังนี้คือ

  1. ·. ทอร์โวไซด์ เอ, เอช (torvoside A, H) เป็นสตีรอยด์ไกลไซด์จากผลมะเขือพวง มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 (Herpes simplex virus type 1) โดยมีฤทธิ์ยับยั้งไวรัสมากกว่ายาอะไซโคลเวียร์ 3 เท่า
  2. ·  ทอร์โวนิน บี (torvonin B) เป็นซาโพนินชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์ขับเสมหะ
  3. ·  โซลานีน (solanine) เป็นอัลคาลอยด์ สารที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลของแคลเซียมในร่างกาย ผู้ป่วยโรคไขข้อควรหลีกเลี่ยง
  4. ·  โซลาโซนีนและโซลามาจีน (solasonine and solamagine)  เป็นไกลโคซิเลตอัลคาลอยด์ที่พบร้อยละ ๐.๐๔ ของใบแห้ง ในมะเขือพวงบางสายพันธุ์แถบแคริบเบียน มีปริมาณสารเหล่านี้มาก อาจเกิดอาการของระบบทางเดินอาหารและระบบประสาทได้
  5. ·  โซลาโซดีน (solasodine) เป็นสารที่มีสรรพคุณต้านโรคมะเร็ง
  6. ·  เพกติน เป็นสารที่ละลายน้ำได้ ช่วยเคลือบที่ผิวของลำไส้ ทำให้ลำไส้ดูดซึมแป้งและน้ำตาลที่ย่อยแล้วได้ช้าลงจึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน[3]

คัดลอกข้อมูลจาก : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%87

ฉันสนใจเรื่องเพ็กทินในประเด็นที่มีสารต้านมะเร็งที่ชื่อว่า Solassodine เพราะ เรื่องมะเร็งที่ฉันเชื่อว่ามันคุกคามทุกชีวิตจากอาหารที่มีพิษเจอปน จากอากาศที่ปนเปื้อนสารพิษ และจากสภาพจิตใจที่ไม่เบิกบานด้วยไม่อาจนำพาตนเองหลุดพ้นได้ แม้ฉันเอง ความพยายามที่จะให้ร่างกายรับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ทำให้ฉันต้องเรียนรู้ บางทีมันอาจจะเป็นการดีกว่าอยู่นิ่งๆแม้ว่าการเรียนรู้ของฉันเป็นไปแบบธรรมดาๆก็ตาม

หากมะเขือพวงมีสารอัลคาลอยด์จริง(สารานุกรมออนไลน์,วิกิพีเดีย) ฉันคิดว่า ผู้ป่วยโรคเก๋าก็ไม่ควรจะกินมะเขือพวง น่าเสียดายจังเลยที่ขาดโอกาส และถ้าเขาเป็นเบาหวานด้วยแล้ว เขาต้องหาทางหาพืชชนิดอื่นทดแทนมะเขือเทศแต่ต้องเป็นพืชที่ไม่มีอัลคาลอยด์

เพ็กทิน ทำให้ฉันสงสัยว่าเปลือกส้มโอ เปลือกมะกรูด และเนื้อ ผลไม้เหลืองๆที่ฉันทำน้ำหมักจะเป็นตัวเดียวกับที่

บทความวิจัยนี้ น่าสนใจมาก ฉันยังรู้สึกสงสัยเจ้าสารที่มีลักษณะเหมือนวุ้นที่เกิดจากการหมักผลไม้นานเกิน 1 ปีและพบเห็นวุ้นตัวนี้เช่นนี้เดียวกับคนอื่นๆที่หันมาทำน้ำหมักดื่มเสริมสุขภาพ ถ้าใช่ละก็เจ๋งเลยที่ภูมิปัญญาชาวบ้านธรรมดาๆหลายๆคนได้ทำขึ้นมาและกล่าวว่ามันเกิดมาเพื่อรักษาทั้งมะเร็ง ที่เกิดจากสารพันธุกรรมผิดปกติอันมีผลมาจากสารก่อมะเร็ง จากคำบอกเล่า และตัวอย่างผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นหลังใช้น้ำหมักเป็นยารักษา ความดัน ตับ ไต และเบาหวานได้บอกถึงอาการดีขึ้นของร่างกาย แต่มันก็เป็นเพียงคำกล่าวที่ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการพิสูจน์ชัดเจน แต่ถึงกระนั้นน้ำหมักก็เป็นที่ชื่นชอบติดอันดับต้นๆของคนจนและ ผปู้  ผู้ที่เชื่อมั่นในคุณภาพของมันไปแล้ว นับว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของการเรียนรู้ที่ถูกสกัดกั้นอย่างแรงจากค่ายความรู้สมัยใหม่ ในขณะที่ค่ายความรู้บางค่ายได้ประนีประนอมเปิดใจเรียนรู้ทั้งโบราณและใหม่ ด้วยความฉลาดเหนือกฎเกณฑ์ และกรอบทางความคิด และเร่งทำการทดลองโดยความเห็นชอบจากผู้ถูกทดลองโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ดีกว่าทั้งในแง่ประหยัดค่าใช่จ่าย เวลา และประหยัดร่างกาย และเพื่อความมั่นคงในความเป็นมนุษย์....เรียนรู้เยอะไปก็เหนื่อยเอาเป็นว่าฉันเองก็เป็นมนุษย์ทดลองเหมือนกัน 


หมายเลขบันทึก: 544703เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2013 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2013 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

น่าสนใจมาก ที่ไร่ปลูกไว้ต้มจิ้มน้ำพริกและใส่น้ำพริกครับ

ขอบคุณเรื่องราวที่ดีมีประโยชน์มากนะคะ

ขอบคุณค่ะน้องอ.ดร.

ขจิต ฝอยทอง ลองเอามาย่างไฟพอสุกซิคะหอมจิ้มน้ำพริกอร่อยมาก

พี่กำลังคิดจะเก็บที่ไร่มาหมัก และนำมาสกัดน้ำเมือกเหนียวๆของมะเขือมาใช้

เป็นส่วนผสมของเครื่องดื่มเผื่อว่าจะช่วยให้คนที่ทานไม่ได้ได้มีโอกาสทานมันได้

 

ขอบคุณค่ะ ดร. พจนา แย้มนัยนา

เป็นพืชที่วิเศษมากๆค่ะยังมีอีก1มะเขือค่ะ เป็นมะเขือป่าขึ้นเอง

พี่นกน้อยถ่ายมูลไว้ให้หลายต้น ทนแล้งมากค่ะ ผลสีเหลือง วิธีรับยประทานก็เอามาทุบให้แตก

แล้วแช่น้ำเกลือไม่ให้ดำ หลังจากนั้นก็ตำเครื่องแกงป่านะคะ แกงไก่ป่าอร่อยมากค่ะ 

เพื่อนนักชิมที่มหาชัยเขาเอามาแกงนกสับ แกงกระรอก ใครทานเนื้อแกะก็โอเลย

แต่พี่ขอเพียงแกงไก่หรือหมูพอ อิอิ แล้วก็ใส่ในน้ำหริกกะปิ หรือย่างก็พอ

ขอบคุณค่ะ อ.นุ สบายดีนะคะ ไม่ทราบน้อง tuknarakชอบทานมะเขือพวงไหมคะ อิอิ คุณ ทะเลงามละคะชอบไหม

น้อง เสงี่ยม ยาดโยชน์ เคยทานไหมคะ ส่วนมากสาวๆจะไม่ชอบรับประทานมะเขือ บางทีเราอาจนำไปเผาเช่นมะเขือยาวพอสุกก็เอามายำเติมพริกมะนาวน้ำตาลเล็กน้อย เพราะมะเขือสุขจะมีรสหวานอมขื่อเล็กน้อย ใ่เครืองปรุงเยอะๆอาจช่วยให้คนไม่ชอบได้รับประทานมะเขือได้อร่อยขึ้นมาก็ได้นะคะ ขอบคุณค่ะ

 

May I add from http://en.wikipedia.org/wiki/Solanum_torvum :

It is also known as Devil's Fig, Prickly Nightshade, Shoo-shoo Bush, Wild Eggplant, Pea Eggplant, Pea Aubergine, susumba, boo, terongan, tekokak, berenjena cimarrona, berenjena de gallina, berenjena silvestre, tabacón, pendejera, tomatillo, bâtard balengène, zamorette, friega-platos, sundaikkai (Tamil: சுண்டைக்காய்), Thibbatu (Sinhala), makhua phuang (Thai: มะเขือพวง), and many other names (Howard 1989, Little and others 1974, Pacific Island Ecosystems at Risk 2001). [ In Malaysia, it is called terung pipit.]

In Jamaica this berry is called susumba,or gully beans, and is usually cooked in a dish along with saltfish and ackee. It is believed to be full of iron (it does have a strong iron like taste when eaten) and is consumed when one is low in iron.

Turkey berry contains a number of potentially pharmacologically active chemicals including the sapogenin steroid, chlorogenin.[3]

Aqueous extracts of turkey berry are lethal to mice by depressing the number of erythrocytes, leukocytes and platelets in their blood (Tapia and others 1996). A related chemical, cholecalciferol, is the active ingredient in a number of commercial rodentacides.[4]

Extracts of the plant are reported to be useful in the treatment of hyperactivity,[5] colds and cough,[6] pimples, skin diseases, and leprosy.[7]

Methyl caffeate, extracted from the fruit of S. torvum shows an antidiabetic effect in streptozotocin induced diabetic rats.[8]

///

A Google search with "Solanum torvum research" lists a good number (25,800) of studies into pea eggplant (but I didn't go on ;-)

(And thank you for your very kind words.)

 

ขอบพระคุณค่ะ มี key wordsอีกมากที่ต้องหาโอกาสเรียนรู้

บางทีสิ่งที่เราคิดไม่ถึงไม่เคยมีข้อมูลเลย อาจเชื่อมโยงกันมา

และหรือส่งสายใยของคุณค่าของมันเชื่อมโยงเพื่อพัฒนาพันธุ์กรรมก็ได้นะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท