"วิจัยจากศูนย์(ZERO) : สูตรสำเร็จบนความเรียบง่าย"2. โดยศาสตราจารย์ ดร. นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร


"ตราบใดที่ยังมีเวลานอน ต้องมีเวลาทำวิจัย!"

(ขอบคุณภาพจาก www.neutron.remutphysics.com)


ที่มาของบันทึก
***จากงานประชุมวิชาการ "วลัยลักษณ์วิจัย" ครั้งที่ ๕ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑-๒ สิงหาคม ๒๕๕๖
ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช***

จากบันทึกครั้งที่แล้ว ผู้เขียนลืมบอกกล่าวโดยมารยาทแล้ว

นั่นคือ หากการถอดความหรือสรุปความที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ "วลัยลักษณ์วิจัยครั้งที่ ๕ "นี้ เกิดความผิดพลาดไปจากจุดประสงค์หรือไม่ใช่สิ่งที่ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร ได้บรรยายไว้(อาจจดไม่ทัน, ฟังแล้วจับประเด็นไม่ได้ฯลฯ) ขอให้ถือเป็นความผิดพลาดของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว และขออภัยต่อท่านศาสตราจารย์ ดร. นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร  และผู้อ่านgotoknow ไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

กลับมาเล่ากันใหม่ ในตอนแรกนั้น อาจารย์บรรยายโดยถ่อมตัวมาก(คุณลักษณะของบัณฑิตที่แท้จริง!)
บอกว่าจะมาแชร์ประสบการณ์และเล่าชีวิตส่วนตัวเรื่องการทำวิจัยให้ฟัง
แต่ท่านเริ่มด้วยสไลด์ที่น่าดูเกือบทุกสไลด์
และฉายภาพงานของท่านที่ทำอยู่ เป็นภาพของคนป่วยด้วยโรคหัวใจแบบฉับพลันทันใด ที่เราเรียกว่า
Heart Attack  ท่านเล่าว่าที่ไปเรียนPhd.ด้านนี้เพราะหากย้อนไปเมื่อ 20 กว่าปีก่อนนั้น โรคไหลตายทางภาคอีสาน ภาคเหนือ โด่งดังมากและเชื่อมโยงกับเรื่องผีแม่ม่าย(หลายคนพยักหน้า) ที่ไม่มีใครค้นพบสาเหตุที่แท้จริง ท่านจึงสนใจว่าสาเหตุที่แท้จริงคืออะไรกันแน่
ท่านฉายภาพของหัวใจที่มีเส้นเลือดห่อหุ้มอยู่ด้านนอก ( อธิบายเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายเกี่ยวกับงานที่ท่านทำอยู่ว่าท่านวิจัยอะไร ทำงานอะไร)
ฉายภาพหัวใจสดๆจากเตียงผ่าตัดคนไข้ที่หัวใจยังเต้นตุ๊บ...ตุ๊บ..อยู่ให้เราดูและอธิบายว่า
"หัวใจนี้หากขาดเลือดไปเลี้ยงจากเส้นเลือดเส้นนี้....(ว่าแล้วก็ชี้ภาพเส้นเลือดที่หุ้มหัวใจอยู่ภายนอก)
ภายในไม่กี่นาที คนไข้จะตาย"  และพบว่ากล้ามเนื้อหัวใจตายด้วย
หรือหากมีการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ คนไข้จะเกิดHeart Attack
ภาพของหัวใจที่เต้นตุ๊บๆเมื่อสักครู่ อาจารย์ก็เปลี่ยนเป็นภาพสามมิติของหัวใจที่เต้นอยู่และเป็นสีสันสดใสหลายสี
ท่านบอกว่าในหัวใจของเรามีความต่างศักย์ไฟฟ้าอยู่ด้วย และท่านทำงานด้านนี้
ปัจจุบันศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทย์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ก่อตั้งโดยศาสตราจารย์ ดร. นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร  ขอเพิ่มเติมในตอนที่ 2 นี้ว่า
นอกจากอาจารย์จะกลับมาเมืองไทยด้วยคำพูดที่พลิกแผ่นดินของบุคคลที่อาจารย์ไม่ประสงค์จะเอ่ยนามนั้น
ท่านยังบอกอีกว่า เมื่อตอนท่านเป็นStaff  ที่อเมริกานั้น เวลาได้รับเชิญให้มาบรรยายเรื่องที่ท่านเรียนมา
ท่านจะรู้สึกว่าด้วยการฉายสไลด์เป็นภาษาอังกฤษว่า

Being invited to give a lecture here in Thailand several times

."NOBODY Knew anything that I know!"

ท่านแปลกใจมาก ว่าทำไมเรื่องที่ท่านรู้ในเมืองไทยไม่มีใครรู้เลย!!!และไม่มีใครทำวิจัยในเรื่องดังกล่าว

ท่านบอกว่า ให้คิดเสมอว่าให้มีใจรักที่จะทำงานวิจัย และต้องทำงานวิจัยเพื่อ....

"ให้ผลจากการนำวิจัยไปใช้เพื่อปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่  เป็นอยู่ ให้ดีขึ้น!"

ส่วนเรื่องการได้ตีพิมพ์ การขอผลงานทางวิชาการ ตำแหน่ง เงิน จะตามมาเอง!!!!
  ท่านย้ำตัวโตในสไลด์ว่า

การวิจัยและการสอน เป็นหัวใจของการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
 

ท่านยังบอกอีกว่า กตัญญู นั้น ให้เรากตัญญูต่อ Mentor มากๆ

เพราะ Mentor = คนที่ช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการทำวิจัย โดยใช้เวลาสั้นลงครึ่งหนึ่งของเวลาที่ควรจะต้องใช้ 
ถ้าไม่มีต้องตอกบันไดเอง(แน่นอนว่าช้ากว่า!)


จากบทความครั้งที่แล้ว ผู้เขียนมีเวลาพิมพ์ได้ช่วงหนึ่ง  (อ่านแล้วงงมั้ย??? ว่าเขียนหรือพิมพ์555!) (ต้องรีบบึ่งไปสอนช่วงเย็น) จึงยังค้างหัวข้อเรื่อง   ให้ นับ 1 - 10 ไว้

คืออาจารย์ยึดหลักในการทำงาน 2 ข้อใหญ่ๆ
ข้อแรกคือ
1.ให้ เพียร กตัญญู    ซึ่งท่านอธิบายแต่ละความหมายของคำที่มาเชื่อมต่อกันอย่างสนิทไว้แล้ว
สำหรับคำว่า กตัญญูนั้น  ท่านยังบอกอีกว่า หากงานวิจัยที่เราทำได้รับการตีพิมพ์ แสดงว่าเป็นการขอบคุณผู้ให้ทุนวิจัย ที่ท่านถือว่า เป็นการ "แสดงความกตัญญูชั้นต่ำ!" แล้ว (ถึงตอนนี้ที่ประชุมหัวเราะ)
ท่านฉายภาพ เครื่องชั่งเก่าๆ (ถ้าจำไม่ผิด หน้าตาคล้ายเครื่องชั่งไฟฟ้า หากผิดพลาดต้องขออภัยค่ะ)
บอกว่า

"ผมกลับมาใหม่ๆ ไม่มีอะไรทั้งสิ้น เครื่องไม้เครื่องมือทุกอย่าง!"
การทำวิจัยในคนไข้หรือแม้แต่ใช้เครื่องมือที่ต้องเอาไว้รักษาคนไข้โรคหัวใจนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในเมืองไทย"
เครื่องนี้ ผมเรียกว่า "ทอง" และเป็นของภรรยาผม! ไม่ใช่เป็นของผม! (ที่ประชุมหัวเราะ)



2.  นับ 1 - 10  คือคำที่มีความหมายจำนวน 10 คำ
ท่านใช้ว่า 1 -10   มีอะไรบ้างเรามาดูกันเลย

THEN  1------------------------10   Letter word ----NOW

1.    " I "     I ตัวนี้คือพยัญชนะภาษาอังกฤษ แปลว่า ตัวกู ของกูนั่นเอง ให้เรา Avoid It! อย่างที่ได้บอกไป
2.     WE     ให้ USE it!  หมายถึงให้มีเครือข่ายในการทำงานวิจัย ใช้คำว่า WE ในงานวิจัย
และเวลาเขียนProposal หากท่านอ่านพบแล้วมีการใช้ I นับเป็นงานวิจัยที่อหังการ์มาก ใม่ดี
ท่านยังบอกอีกว่า  ทุกวันนี้การทำวิจัยไม่มีการ Isolate เรื่องเดียว มันเชื่อมโยงกันหมด
อย่างท่านทำเรื่องกระแสไฟฟ้าในหัวใจของคนไข้ ตอนหลังก็พบว่า คนไข้ที่เป็นเบาหวานก็มีความเสี่ยงในเรื่อง Heart attack  
3.  EGO.  บ่อนทำลายความสำเร็จทางงานวิจัย ให้เรา Kill it! อย่าให้มีเกิดขึ้นในใจ!
               Too  much ECO. will  KILL your Talent.
4. LOVE  ให้มีความรักในงานวิจัย  ท่านบอกว่าทางพุทธศาสนาคือฝึกให้มีอิทธิบาท ๔ นั่นเอง
5.SMILE    ให้ KEEP IT! 
              "ลองยิ้มให้ตัวเองในกระจก  เรื่องที่หนักจะเบาไปครึ่งหนึ่ง!"
6.RUMOUR     ให้ Ignore it!    ท่านเล่าว่าเป็นเรื่องปรกติ ตอนท่านกลับมาใหม่ๆ ก็มีคนพูดว่า
 "นิพนธ์น่ะเหรอ??? โธ่! อยู่ไม่ถึง 2 ปีหรอก!  เชื่อเหอะ!  เดี๋ยวมันก็ไป!"
"มันทำวิจัยเรื่องอะไรก็ไม่รู้!" ไม่มีใครรู้เลยเนี่ย!
  อาจารย์บอกว่า  อย่าไปสนใจ ให้พยายามมุ่งมั่นไป  ถึงคนรอบข้างไม่เห็น แต่ให้คิดว่า "ฟ้ามีตา"
7.SUCCESS   ให้ Achieve it!   เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
8.JEALOUSY!  เรื่องนี้อาจารย์ว่า เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทย!เป็นธรรมชาติของคนไทย อยู่ในสายเลือด!  มันคือบ่อนทำลายความเจริญของเรา ให้ Distance it!
และหัดชื่นชมคนอื่นให้เป็นกิจวัตรประจำวัน!
ท่านยังเล่าอีกว่า มีลูกน้องมาฟ้องทุกวัน  ว่าเจ้าหน้าที่คนหนึ่งในแล็ปซุ่มซ่ามมาก
"คอยดูนะ! ไอ้เนี่ย! วันนี้มันจะทำอะไรแตกอีก!"   เดี๋ยวบิกเกอร์แตก เดี๋ยวTest Tube แตก
ท่านว่าความจริงควรจะโมโห เพราะแตกได้ทุกวัน หมายถึงงบประมาณที่ต้องสูญเสียไป
ท่านไม่เคยว่าหรือเอ็ดลูกน้องคนนี้ แต่สังเกตว่าวันไหนเขาไม่ทำอะไรแตก ท่านจะชื่นชมมาก
"เออ! วันนี้เก่งมากเลย ไม่ทำอะไรแตกเลย!"
รีบเข้าไปชมให้เขารู้สึกว่าเขามีคุณค่า!  เขาจะระมัดระวังมากขึ้นเอง

9. KNOWLEDGE..  ให้แสวงหาความรู้
10.CONFIDENCE.   ท่านให้กำลังใจว่า งานวิจัยที่ทำเสร็จแล้วแม้ข้อมูลที่ได้อาจไม่เป็นไปตาม Hypothesis ที่ตั้งไว้ แต่ไม่แน่ว่าอาจเป็นการค้นพบสิ่งใหม่!
ตัวท่านเองเวลาอ่านงานวิจัย มักไม่ชอบอ่านงานที่ได้ข้อสรุปเหมือนHypothesis 
ท่านบอกว่าปัจจุบันโลกเปลี่ยนไปเร็วมากขึ้น ศาสตร์ทุกอย่างมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
งานวิจัยที่เราทำไว้วันนี้อาจเป็นประโยชน์เมื่อมีคนนำไปต่อยอด
ท่านยกตัวอย่างว่า คนไข้ที่เป็นโรคโลหิตจางนั้น จำเป็นต้องกินยาขับเหล็ก มิฉะนั้นเหล็กจะไปอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ จึงมีการศึกษาถึงเคสลักษณะนี้ว่าเหล็กเข้าไปได้อย่างไร
และท่านเพิ่งตีพิมพ์บทความดังกล่าวลงในวารสารระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นการค้นพบครั้งแรกในประเทศไทย
ไม่กี่เดือนก็มีนักวิจัยต่างประเทศก็นำบทความวิจัยของท่านไปต่อยอดศึกษาเรื่องดังกล่าวต่อ
ต่อไปการผลิตยาตัวใหม่หรือเครื่องมือเพื่อป้องกันโรคนี้จะเกิดขึ้น!
งานวิจัยที่เราทำวันนี้อาจไม่มีประโยชน์ทันทีทันใด หรือบางคนมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว
แต่ความจริงแล้วอาจส่งผลในอนาคตที่มาถึงและเป็นประโยชน์

อาจารย์บอกว่าทำแล้วไม่ต้องลงตีพิมพ์ก็ได้ แต่จะเกิดประโยชน์อะไร? สู้เราเผยแพร่ไปในวงกว้าง
ในไม่ช้าไม่นาน ยาตัวใหม่เกิดขึ้น! สิ่งประดิษฐ์ใหม่เกิดขึ้น!
อาจารย์บอกว่า ไม่อยากใช้คำว่า "มนุษยชาติ" มากนัก

สิ่งที่ผู้เขียนชื่นชมอาจารย์มากคือ
อาจารย์เล่าให้ฟังตอนนึงว่า
เคยนำProposal ไปเสนอเพื่อขอทุนวิจัยในองค์กรหนึ่ง แต่ไม่ได้รับเพราะกรรมการเห็นว่างานที่เสนอมานั้น
ยังไม่........perfect (ชักไม่แน่ใจ! จดไม่ทันค่ะขออภัย)  แต่ลึกๆแล้วอาจารย์ทราบดีว่าไม่ใช่!
อาจารย์บอกว่า     เรื่องแบบนี้นี้มีอยู่ทั่วไปในสังคมไทย เราต้องเชื่อมั่นในงานวิจัยของเราและอาจารย์ก็เชื่อว่า
งานวิจัยที่อาจารย์เสนอเป็นประโยชน์ น่าจะมีคนสนใจ
จึงยื่นขอทุนไปในหน่วยงานที่สูงกว่าหน่วยงานแรก งบประมาณมากกว่าและได้รับทุนวิจัยจากหน่วยงานนั้น!
อาจารย์บอกว่า "แน่นอนต้องมีคนหน้าแหก!" แต่เราไม่ไปแสดงหรือทำอะไรที่เป็นการเยาะเย้ย เสียดแทงจิตใจเขา!
ได้เวลาจบ! อย่างไม่อยากให้จบเลย


คำถามจากฟอร์ที่น่าสนใจ

ผู้เขียนส่งคำถามขึ้นไปว่า อาจารย์มีเวลาออกกำลังกายบ้างมั้ย? และบริหารเวลาอย่างไร เมื่อว่างปุ๊บอาจารย์ทำอะไร?  (พิธีกรสรุปคำถามแล้วถามให้)
ท่านยิ้มแล้วตอบว่า
"โดยอาชีพหมอแล้ว  มักบอกคนไข้ว่า ให้ออกกำลังกาย ให้ทานผักและผลไม้เยอะๆ แต่ตัวผมเองเป็นคนไม่ชอบทานผักเท่าไหร่ ชอบข้าวขาหมู(หัวเราะเบาๆ).."
สมัยหนึ่ง"ผู้บังคับบัญชาสูงสุดที่บ้านผม บังคับให้ผมวิ่งทุกเช้า.."
"และถ้าว่างต้องให้เวลาครอบครัว"

มีคำถามที่ดีมากอีกคำถามนึงคือ

จะเขียนProposal ให้ดีได้อย่างไร???
ท่านตอบว่า คนที่จะเขียนProposal ให้ดีได้ต้องอ่านProposal ที่ดีมาก่อน!
ท่านแนะนำว่า ท่านเองตอนอยู่อเมริกาอ่านProposal  ต่างๆของMentor  
อ่านมากใช้เวลาอ่านเป็นปีจึงลงมือเขียน

คำถามนึงถามว่าอาจารย์ได้ลูกศิษย์มาได้ยังไง??
ท่านบอกว่า เป็นความโชคดีที่ลูกศิษย์ทุกคนของท่าน ท่านไม่ได้ไปเสาะแสวงหา ลูกศิษย์มาหาท่านเอง
ท่านเล่าว่าที่ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทย์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่ท่านดูแลอยู่นั้น STAFF ทุกคน เป็นบัณฑิตแพทยศาสตร์เกียรตินิยมเหรียญทอง!!!
ทุกคนได้ทุนกาญจนาภิเษกไปเรียนต่อPhd.  และทุกคนเยี่ยมมาก สอนเพียงครั้งเดียวก็ทำได้!ไม่ต้องให้บอกซ้ำ
ซึ่งสามารถสอนให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปได้โดยง่าย!
แต่ขณะเดียวกันอาจารย์ให้กำลังใจคนถาม ว่า "แต่ถ้าเรามีลูกศิษย์ที่ต้องคอยบอกซ้ำหลายครั้งหลายหน
แล้วงานยังไม่ดี ขอให้อดทนเพราะเป็นหน้าที่ของอาจารย์"
ถึงท่านนี้พิธีกรบอกกับลูกศิษย์ที่มานั่งฟังบรรยายว่า เห็นมั้ยไม่ต้องเสียใจถ้าProposal ยังไม่ผ่านให้พยายามต่อไป!
(ที่ประชุมหัวเราะ)
  อาจารย์(ศ.ดร.นพ.นิพนธ์)เสริมว่า  "ทุนนี้เป็นทุนให้เปล่า ลูกศิษย์ผมที่ไปเรียนนั้น
มีAdvicer เขียนมาขอตัวกันเกือบทุกคน
ผมบอก   "แล้วแต่เด็ก"
          " แต่ก่อนไป ผมล้างสมองลูกศิษย์ผมไว้แล้ว"   ต่อด้วยประโยคที่ว่า
           ถ้าคุณไม่กลับมาแสดงว่าคุณ "เนรคุณ!" (ที่ประชุมหัวเราะ)
           ทุกคนก็ไม่มีใครไปแล้วไม่กลับ!

จะตั้งคำถามหรือหัวข้อวิจัยอย่างไร????
ท่านแนะนำว่าให้อ่านProposal อย่างน้อย 60 เรื่อง!   แล้วหาคำตอบที่หาไม่ได้จากเรื่องที่อ่าน
นั่นคือคำถามงานวิจัย!!!

ผู้เข้าประชุมยกกรณีเรื่องสังคมยุคโลกาภิวัฒน์มาแลกเปลี่ยน และอาจารย์ให้แง่คิดว่า
"ผมเป็นคนไม่เล่นFacebook! ไม่มีเฟสบุ๊ค!" ที่สำคัญคือ ท่านบอกว่า
"เฟสบุ๊คเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คนฉลาด คิด!    คนโง่ใช้!"

 

"ถ้าเราทุกข์จากที่ทำงาน  กลับถึงบ้านต้องไม่มีทุกข์!
บ้านควรจะเป็นที่ที่มีความสุขเท่านั้น"


"ตราบใดที่ยังมีเวลานอน ต้องมีเวลาทำวิจัย!"


 "ไม่ต้องไปถามว่าเราจะพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นได้ยังไง
ขอให้เรา "พัฒนาตัวเราให้ดีที่สุด! แล้วสังคมจะพัฒนาเอง
"

 


"หากเราตั้งเป้าหมายสูงแล้วไปไม่ถึง   ก็ยังดีกว่าเราตั้งเป้าหมายต่ำแล้วประสบความสำเร็จ!"

 

ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์นิพนธ์ ฉัตรทิพากร กล่าวในตอนท้ายว่า
นักวิจัยที่จะประสบความสำเร็จได้ต้อง “มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง” โดยยกคำของ ไมเคิล แอนเจลโลที่ว่า
“The greatest danger for most of us is not that our aim is too
high and we miss it, but that it is too low and we reach it”

"หากเราตั้งเป้าหมายสูงแล้วไปไม่ถึง   ก็ยังดีกว่าเราตั้งเป้าหมายต่ำแล้วประสบความสำเร็จ!"

อาจารย์สรุปว่าข้อนี้หมายถึง  "อย่าใฝ่ต่ำ! " นั่นเอง(ที่ประชุมหัวเราะ)
ให้ใฝ่สูง!

และได้สรุปการบรรยายโดยอ้างคำของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ที่ว่า "True success is not the learning, but in its application to the benefit
of mankind"

ฟังอาจารย์บรรยายสิ้นสุดลงแล้วเดินออกจากห้องประชุมด้วยหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง!
งานวิจัยของผู้เขียนที่ค้างอยู่จะต้องเสร็จให้ได้ในเร็ววัน!

ไม่รู้คิดเข้าข้างตัวเองมั้ย???เหมือนอาจารย์ตั้งใจมาสอนหนูโดยเฉพาะเลยค่ะ!!!
กราบขอบพระคุณอาจารย์มากๆค่ะ!




คำสำคัญ (Tags): #proposal
หมายเลขบันทึก: 544478เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2013 05:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2013 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จะตั้งคำถามหรือหัวข้อวิจัยอย่างไร????
ท่านแนะนำว่าให้อ่านProposal อย่างน้อย 60 เรื่อง!   แล้วหาคำตอบที่หาไม่ได้จากเรื่องที่อ่าน
นั่นคือคำถามงานวิจัย!!!

...

ขอชมว่า จดได้ละเอียด อ่านสนุกมากคะ
วันนี้ วิจัยอันหนึ่ง เพิ่งโดน reject จากวารสาร ก็ได้คำตอบและยิ้มออกแล้ว :)

แวะมาอ่านขอบอกว่ามีความสุขมากๆค่ะ แม้บางประเด็น บางคำยังไม่เข้าใจได้ลึกซึ้ง ทว่าต้องขอขอบคุณเจ้าของบันทึกนะคะ ที่ทำให้หัวใจคนแก่รับรู้ถึงคุณค่าของคนดีของเมืองไทยยังมีมากขอบคุณมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท