รูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน


สาระที่ 9  รูปแบบการเรียนรู้และการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

ผู้เรียนแต่ละคน แต่ละกลุ่ม แต่ละระดับการเรียนรู้นั้นต่างก็มีพื้นฐานการในกรีเยนรู้ที่แตกต่างกัน มีจุดอ่อนและจุดแข็งที่แตกต่างกัน ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้ที่ครูจัดให้แก่ผู้เรียนนั้นจึงควรมีลักษณะที่หลากหลาย ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวผู้เรียนเอง

รูปแบบการเรียนรู้แบบต่างๆ ได้แก่

     1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือของ Johnson & Johnson (1974: 213-240) ที่กล่าวไว้ว่าผู้เรียนควรร่วมมือกันในการเรียนมากกว่าแข่งขันกันในการเรียน โดยการเรียนรู้แบบนี้นั้นต้องถือว่าทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูล มีกระบวนการทำงานกลุ่มร่วมกัน มีผลงานเป็นรายบุคคลและรายกลุ่มที่สามารถตรวจสอบและประเมินได้

     2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ 4 ส. เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาจาก 4 MAT โดย 4 ส. มีทั้งหมด 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) สำรวจ - ให้ผู้เรียนได้ทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะเริ่มเรียนเรื่องใหม่ อาจจะเป็นการคิดคนเดียวหรือร่วมกันคิดวิเคราะห์กับเพื่อนก็ได้ 2) เสริม - ให้ผู้เรียนได้เสริมสร้างความรู้ในสาระที่เนื้อหา โดยวิธีการหาความรู้ที่หลากหลายและสรุปความรู้ 3) สร้าง - ให้ผู้เรียนมีทักษะความชำนาญในเรื่องที่เรียน โดยอาจจะมีการสร้างชิ้นงานขึ้นมา 4) เสนอ – ให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอผลงาน เยแพร่ความรู้ซึ่งกันและกัน

     3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ โดยเน้นจากประสบการณ์หรือการลงมือปฏิบัติเองของผู้เรียนเพื่อพัฒนาเป็นความรู้ใหม่ๆ องค์ประกอบของการจัดความรู้แบบนี้มี 4 อย่างได้แก่ 1) ประสบการณ์ 2) การสะท้อนความคิดและอภิปราย 3) ความเข้าใจและเกิดความคิดรวบยอด 4) การทดลองหรือประยุกต์แนวคิด

     4. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ จะเป็นการจัดการเรียนรู้ที่สามารถตอบสนองการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาศักยภาพและความถนัดของผู้เรียน โดยทฤษฎีพหุปัญญานี้เป็นของการ์ดเนอร์ ซึ่งได้กล่าวว่าผู้เรียนทุกคนมีสติปัญญา/พหุปัญญาทั้ง 8 ด้านคือ ด้านภาษา ตรรกะ/คณิตศาสตร์ มิติสัมพันธ์/ศิลปะ ความถนัดทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ดนตรี/จังหวะ มนุษยสัมพันธ์ ความเข้าใจตนเอง ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้ง 8 ด้านนี้ทุกคนจะมีมากน้อยแตกต่างกันไป เราสามารถพัฒนาพหุปัญญาในแต่ละด้านให้สูงขึ้นได้ ถ้ามีการให้กำลังใจ ฝึกฝนอบรม มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ความร่วมมือของผู้ปกครอง  

     5. รูปแบบการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ คือการใช้แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ เว็ปไซต์ ชุมชน ตัวบุคคล โดยครูยอมถอยหลังออกมาหนึ่งก้าวเพื่อจับตามมองการเรียนรู้ของนักเรียนผ่านแหล่งเรียนรู้

     6. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นการเน้นความคิดการหาเหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์โดยกะบวนการทางวิทยาศาสตร์คือ 1) การสอนแบบสืบสอบ (การใช้คำถาม) 2) กระบวนการแก้ปัญหา 3) เรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย 4) เรียนรู้ตาแนวความคิด Constructionism คือการเรียนการสอนเพื่อสร้างชิ้นงานใหม่

     7. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามสภาพความเป็นจริง เป็นรูปแบบการเรียนที่มีการเชื่องโยงระหว่างประสบการณ์และการเรียนเข้าด้วยกัน โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้ใช้วิธีสืบสอบ คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินและตัดสินใจด้วยตนเอง สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ปฏิบัติในชีวิตจริงได้


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

    ครูทุกคนควรต้องมีการพัฒนารูปแบบการสอนของตนเองให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อให้ผู้เรียนทุกคนบรรลุผลการเรียนในระดับสูง มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการดำรงชีวิต ซึ่งในการพัฒนาการสอนนั้นเราควรคำนึงถึงจุดประสงค์ของบทเรียน ลักษณะของเนื้อหาสาระ ลักษณะของผู้เรียน เวลา สถานที่และจำนวนผู้เรียนเป็นหลัก โดยการสอนที่ดีนั้นจำเป็นต้องมีการวางแผนและการเตรียมการสอนที่ดี วิธีการสอนควรมีวิธีที่หลากหลาย รวมไปถึงการใช้นวัตกรรมหรือสื่อการเรียนการสอนที่ใหม่ๆ

บรรณานุกรม

กิ่งแกว อารีรักษ์  ละเอียด จุฑานันท์  ทิศนา แขมมณี  ชาริณี ตรีวรัญญู (บรรณาธิการ). (2548). การจัดการเรียนรู้  โดย           ใช้รูปแบบหลากหลาย. กรุงเทพฯ : บริษัท เมธีทิปส์ จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.


หมายเลขบันทึก: 544473เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2013 02:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2013 02:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท