Fake Guru
นาย พิชชานันท์ พิงคประเสริฐ

แย่ที่สุดสำหรับผู้ปฏิบัติ ทรงคุณค่าที่สุดสำหรับตัวเอง 1


หลังจากใช้เวลา 1-2 อาทิตย์จัดทำระบบจัดเก็บข้อมูลเพื่อเก็บผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดเมืองไทยแข็งแรงสำหรับปี 2547 เสร็จเรียบร้อยแล้วผมและทีมงานรู้สึกภาคภูมิใจมากแต่หาได้รู้ว่ามีสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นภาระและส่งผลกระทบกับผู้ปฏิบัติมากมาย

หลังจากใช้เวลา 1-2 อาทิตย์จัดทำระบบจัดเก็บข้อมูลเพื่อเก็บผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดเมืองไทยแข็งแรงสำหรับปี 2547 เสร็จเรียบร้อยแล้วผมและทีมงานรู้สึกภาคภูมิใจมากแต่หาได้รู้ว่ามีสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นภาระและส่งผลกระทบกับผู้ปฏิบัติมากมายอันได้รวบรวมไว้หลังจากประชุมชี้แจงนิยามตัวชี้วัดและสั่งการให้มีการจัดเก็บข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ดังนี้

ปัญหา - กรมที่ทำหน้าที่ดูแลตัวชี้วัดแต่ละตัว ไม่อยากจะรับผิดชอบต่อนิยามตัวชี้วัดของตนเอง แต่ละคนพยายามจะบอกปัดว่าผู้ใหญ่คิดขึ้น ตนไม่ได้มีส่วนร่วมและมารับรู้ทีหลัง อยากจะปรับแก้ไขจะได้หรือไม่
ตอบ  - จะแก้ไขได้อย่างไร ในเมื่อรัฐมนตรีประกาศ ทั้งเป้าหมายและตัวชี้วัด เป็นวาระแห่งชาติแล้ว และเมื่อมันลอยมาแล้วกรมเจ้าของตัวชี้วัดต้องรับไป
ข้อสังเกต - เมื่อจังหวัด ไม่เข้าใจในวิธีปฏิบัติ เช่น ตัวชี้วัดข้อหนึ่งบอกว่า ประชาชนอายุ 6 ปีขึ้นไปมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จะใช้อะไรในการวัดว่าแต่ละคนมีการออกกำลังกาย ใช้อะไรวัดและเป็นบรรทัดฐาน จะย้อนถามกรมก็ไม่ได้จัดเตรียมแบบสอบถามหรือแนวทางเอาไว้ให้ชัดเจนในปีแรก จะไปว่าก็ไม่ได้ถูกมัดมือชกนี่นา

ปัญหา - แล้วจะเก็บข้อมูลไปทำไมลึกไปในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ทำไมไม่เป็นผลรวมระดับจังหวัดไปเลยแถมปี 2547 ให้กรอกส่งมาทุกเดือนอีกต่างหากงานเยอะนะ ไม่ได้มีงานนี้งานเดียว
ตอบ - ผู้ใหญ่สั่งมาว่าต้องการอย่างนี้ ซึ่งตอนนั้นเราก็ตอบไปแบบนี้ ไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่านี้ เพราะมันคิดและศึกษาไม่ทันเสียจริงๆ
ข้อสังเกต - เดือดร้อนให้ผู้ปฏิบัติต้องตาเหลือก หาอินเตอร์เน็ตมากรอกข้อมูลกัน เพราะผมและทีมผู้จัดทำก็ไม่ได้คิดและตระหนักเอาเสียเลยว่ามีตั้งเยอะแยะที่เค้าไม่มีโครงสร้างพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ที่พร้อม

ปัญหา -ข้อมูลที่ได้อาจเป็นขยะ เพราะจากการแอบสอบถามคนรู้จักหลายๆคนในพื้นที่ก็คือพวกเค้าเตรียมการที่จะกรอกกันมาให้แบบมั่วๆนั่นเอง
ตอบ - กรอกมาเถอะขอให้มันมีข้อมูลมาแสดงให้เห็นไปก่อนว่าสภาพพื้นที่ตามวาระแห่งชาติเป็นอย่างไร เพราะต้องการจุดประกายให้เห็นว่าเรากระตือรือร้นให้เรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ
ข้อสังเกต - ข้อดีของส่วนนี้ก็มีอยู่บ้าง นั่นคือทำให้เรื่องเมืองไทยแข็งแรง เป็นที่กล่าวถึงและรู้จักกันในหมู่ชาวสาธารณสุขว่าจะต้องทำอะไรบ้าง และอีกแง่มุมนึงที่แย่คือถูกด่าว่าให้รายงานข้อมูลทำให้งานเยอะขึ้น

ปัญหา - เมื่อมีคำถามเกิดขึ้นว่าตัวชี้วัดแต่ละตัวจะต้องทำอย่างไร ทำให้ กรมต่างๆ , สนย. ต้องรับโทรศัพท์เละ รวมไปถึงพวกเราด้วยที่ต้องคอยตอบคำถาม แต่ก็โยนกันไปโยนกันมาเพราะแทบจะหาคนรู้จริงมาตอบไม่ได้เลย
ตอบ - เราก็ต้องมาคุยกันและตกลงว่าจะให้กรมช่วยร่างวิธีการปฏิบัติเป็นแนวทางแต่ละตัวชี้วัดแล้วจะจัดส่งให้แต่ละจังหวัดไว้เป็นแนวทางต่อไป

ปัญหาเหล่านี้ทำให้ผมและทีมงานต้องมาคิดหาวิธีแก้ไข โดยผู้ใหญ่ก็ได้บอกว่าจะจัดประชุมชี้แจงผู้รับผิดชอบทั้งฝ่ายนโยบายและแผน และเจ้าหน้าที่ศูนย์ IT ของ สสจ. ให้เกิดความเข้าใจอีกครั้ง โดยท่านปลัดวัลลภจะมาเป็นประธานเปิดการประชุมและมอบนโยบายให้

-ในประเด็นของความไม่ชัดเจนในวิธีปฏิบัติแต่ละตัวชี้วัด คุยกันว่าให้ สนย. รวบรวมจากกรมมาจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานสำหรับแต่ละตัวชี้วัด พร้อมทั้งให้กรมส่งตัวแทนมาชี้แจงในวันประชุม
-ในประเด็นของโปรแกรมรายงานผ่านอินเตอร์เน็ต ทีมงานตกลงจะทำโปรแกรมเพิ่มให้สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีระบบอินเตอร์เน็ตหรือช้า หรือไม่พร้อม
-ในประเด็นของการรายงานยังคงละไว้ให้รายงานทุกเดือนไปก่อน ผมก็ต้องไปศึกษาและหาวิธีแก้ต่างให้ว่ามีเหตุผลอะไรที่จำต้องรายงานทุกเดือน
-ในประเด็นของการตอบคำถามและข้อสงสัยต่างๆ ทางสนย.จะช่วยตอบคำถามและประสานกรณีที่มีปัญหาในแนวทางปฏิบัติตามที่กรมชี้แจง หรือไม่ครอบคลุมตามที่เคยชี้แจง
-ประเด็นระบบสารสนเทศทีมงานของผมจะตอบคำถามให้เอง

เมื่อเตรียมพร้อมในเรื่องต่างๆ แล้วก็ถึงเวลาประชุมชี้แจงสำหรับปี 2547 ครั้งใหญ่อีกครั้ง ซึ่ง สนย.โดยกลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ทำหน้าที่เป็น modulator ส่วนตัวแทนกรมรับหน้าที่ตอบคำถามแต่ละตัวชี้วัดเป็นรายตัวชี้วัด และทีมงานของผม ชี้แจงการจัดเก็บและนับจำนวนในเชิงปริมาณ ตลอดจนการวัดและประเมินผลตัวชี้วัดต่อไป

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 54367เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2006 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท